การสืบค้นสารสนเทศและความรู้

การสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต

เวิล์ดไวด์เว็บ เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่ให้บริการค้นหาและน าเสนอสารสนเทศซึ่งประกอบไปด้วยเว็บเพจที่เป็นสาระและเป็นประโยชน์
มหาศาล ซึ่งผู้ใช้จึงควรท าความเข้าใจในเนื้อหา (Content) ของเอกสารที่มักปรากฏบน WWW
เพื่อที่จะได้น าไปเป็นแนวทางสืบค้นได้ ซึ่งลักษณะเนื้อหาที่มีให้บริการใน WWW แบ่งได้ดังนี้
(รังสิมา เพ็ชรเม็ดใหญ่, 2542)
1. ข้อมูลการตลาดส าหรับสินค้า และผลิตภัณฑ์ รวมถึงสื่อโฆษณาต่าง ๆ (Product
Information)
2. นามานุกรมของพนักงานของแต่ละหน่วยงาน (Staff Directory)
3. การจัดแบ่งหมวดหมู่ของสิ่งพิมพ์ในสถาบันบริการสารสนเทศ (Library Catalog)
4. ข่าวสารทันสมัย (Current News)
5. ข่าวสารข้อมูลทางราชการ (Governmental Information)
6. การแถลงข่าวแก่สื่อมวลชน (Press Release)
7. บทความที่เลือกสรรเฉพาะ (Selected Article Reprints)
8. ข้อมูลทางด้านบันเทิง ทีวี เกม ภาพยนตร์ เพลง และอื่นๆ ดังนั้นเพื่อการสืบค้นสารสนเทศได้อย่างสะดวก รวดเร็วจึงมีเว็บไซต์ที่ท าหน้าที่ค้น
สารสนเทศแก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตให้ค้นพบรายละเอียดที่ต้องการได้ง่าย โดยเว็บไซต์ที่ท าหน้าที่ค้น
ข้อมูลมี 2 ประเภท คือ แบบนามานุกรมบนเว็บไซต์ (Web Directories) และ แบบที่เป็นเครื่องมือ
สืบค้น (Search Engines) เป็นโปรแกรมท าหน้าที่ค้นหาสารสนเทศบนเวิล์ดไวด์เว็บซึ่งทั้ง 2ประเภทมีรายละเอียด ดังน

Subtopic

1. นามานุกรม

เป็นเครื่องมือในการสืบค้นที่รวบรวมสารสนเทศ
บนอินเทอร์เน็ต และคัดแยกสารสนเทศเหล่านั้นออกเป็นกลุ่ม ตามสาขาวิชาหรือตามหลักเกณฑ์ที่ผู้จัดทำกำหนดขึ้น

2.เครื่องมือสืบค้น

เป็นเครื่องมือในการสืบค้นที่อาศัยการท างาน
ของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น โดยแต่ละตัวได้รับการพัฒนาจากบุคคลหลายๆ หน่วยงาน มีผลให้ Search Engine แต่ละตัวมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ทั้งในด้านฐานข้อมูลที่ครอบคลุมและวิธีการทำดรรชนีช่วยค้น

องค์ประกอบของกลไกการสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต

1) ตัวสำรวจหรือรวบรวมข้อมูล (Spider หรือ Crawler หรือ Robot) เป็นซอฟต์แวร์
ส าหรับสำรวจเว็บ โดยจะทำหน้าที่ตระเวณไปยังเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อทำการรวบรวม
สารสนเทศ และส่งกลับมายังดรรชนีหรือฐานข้อมูลเพื่อทำการประมวลผล

2) ตัวดรรชนี (Indexer) หรือ Catalog ซึ่งเป็นฐานข้อมูลท าหน้าที่รวบรวมคำ และ
ตำแหน่งทุกๆ เพจที่ตัวสำจรวบรวมมาได้ ในส่วนนี้จะมีโปรแกรมช่วยในการจัดทำดรรชนีเพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาสารสนเทศได้สะดวกขึ้น

3) โปรแกรมค้นข้อมูล (Search Engine Software หรือ Query Processor) ทำหน้าที่เปรียบเทียบความเกี่ยวข้องระหว่างเว็บไซต์และความต้องการของผู้สืบค้นว่ามี
ความเกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใด จากนั้นจะจัดลำดับความเกี่ยวข้องของเว็บต่าง ๆ
ออกมาแสดงผล

เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ต

เทคนิคตรรกบูลลีน แบ่งได้ออกเป็น 3 ลักษณะ

การใช้ And, Or, Not ประกอบเป็นประโยคการค้น

การใช้เทคนิคตรรกบูลลีนจากเมนูทางเลือก (Drop down menu) ว่าต้องการ
สืบค้นการที่เกี่ยวข้องกับคำค้นอย่างไร

การใช้เครื่องหมาย + (Plus) หรือ – (Minus) ก าหนดหน้าคำค้นที่ต้องการ
เครื่องหมาย + หมายถึงในผลการค้นต้องมีค าที่กำหนดนั้น และเครื่องหมาย –
หมายถึงไม่ต้องการให้พบคำนั้นในผลการสืบค้น

เทคนิคการตัดค า สามารถท าได้ 2 ลักษณะ

การใช้เครื่อง กลไกส่วนใหญ่ใช้เครื่องหมาย * (asterisk) แทนการตัดคำส่วน
ใหญ่เป็นการตัดท้ายคำค้นที่ต้องการ

การสืบค้นในลักษณะของ Stemming หมายถึง การสืบค้นจากรากคำ เช่น
คำค้นเป็น think กลไกจะสืบค้นคำอื่น ๆ ที่ขึ้นต้นด้วย think เช่น thinking

เทคนิคการใช้คำใกล้เคียง โดยใช้คำว่า ADJ, NEAR, FAR และ BEFORE ประกอบ
เป็นประโยคการค้น เพื่อกำหนดลักษณะของผลการสืบค้นที่ต้องการว่าต้องการให้มี
คำใด อยู่ในลักษณะใด โดย
3.1 ADJ หมายถึง ให้คำที่ค้นอยู่ใกล้กัน สลับล าดับคำได้
3.2 NEAR หมายถึง ให้คำที่ค้นอยู่ใกล้เคียงกันในระยะ 25 คำสลับที่ได้
3.3 FAR หมายถึง ให้คำค้นอยู่ห่างกันได้ 25 คำหรือมากกว่านั้น
3.4 BEFORE หมายถึงให้คำค้นอยู่ห่างกันในระยะ 25 คำโดยต้องอยู่ตามลำดับที่
กำหนดเท่านั้น

เทคนิคการใช้รหัสกำกับคำค้น

1 สืบค้นจากเมนูทางเลือก (Drop down menu) ซึ่งกลไกสืบค้นหลาย ๆ กลไก
ก าหนดให้ผู้สืบค้นเลือกเขตข้อมูลที่ต้องการสืบค้นได้จากเมนูทางเลือก โดยให้
เลือกได้จากภาษา เขตข้อมูลชื่อ URL ช่วงปีที่ต้องการ Domain ของแหล่ง
สารสนเทศ

.2 สืบค้นโดยใช้เขตข้อมูลกำกับลงในประโยคการค้น เช่น title:nba หมายถึงให้
ค้นเพจที่มีคำว่า nba ปรากฏในชื่อเรื่อง before:30/9/99 หมายถึง ให้สืบค้น
เอกสารที่มีการจัดทำก่อนวันที่ 30 ก.ย. 1999 เป็นต้น กลไกที่มีลักษณะการ
สืบค้นแบบนี้ ได้แก่ Hotbot

การทำสารสนเทศด้วยฐานข้อมูลออนไลน์

ฐานข้อมูลออนไลน์เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่และขนาดใหญ่ช่วยให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากที่สุด

2.1 ฐานข้อมูลออนไลน์ห้องสมุดหรือศูนย์ข้อมูลแจ้งให้ทราบว่าเป็นสมาชิกฐานข้อมูลออนไลน์ 2.2 ฐานข้อมูลคณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือฐานข้อมูลเป็นฐานข้อมูลระดับสูงและระบบฐานข้อมูลแบบบูรณาการ สารสนเทศ 2.3 ฐานข้อมูลทดลองใช้ฐานข้อมูลลักษณะนี้เป็นฐานข้อมูลที่ห้องสมุดหรือศูนย์
สารสนเทศนำมาทดลองให้บริการกับผู้ใช้ก่อน ก่อนที่ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศจะตัดสินใจซื้อหรือสมัครเป็นสมาชิกของฐานข้อมูลนั้นจริงๆ

การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์

1. วิเคราะห์เรื่องที่ต้องการสืบค้นและกำหนดความสำคัญเพื่อใช้ในการค้น การวิเคราะห์
เรื่องที่ต้องการสืบค้นคือ ต้องรู้ว่าต้องการข้อมูลในเรื่องใด แล้วจึงกำหนดเรื่องที่
ต้องการค้นเป็นคำสำคัญในการสืบค้น
2. เลือกค้นจากฐานข้อมูลที่เหมาะสม ทั้งนี้ต้องทราบว่าเรื่องที่สืบค้นนั้นเป็นเรื่องใน
สาขาใด เลือกฐานข้อมูลให้ตรงหรือใกล้เคียงกับสาขาวิชาที่สืบค้น เพื่อช่วยให้ได้ผล
การสืบค้นที่ตรงกับความต้องการ
3. ลงมือสืบค้น โดยทั่วไปสามารถสืบค้นได้2 วิธีคือการใช้เมนูในการสืบค้น และการ
สืบค้นโดยการพิมพ์คำสั่ง การสืบค้นโดยใช้เมนูสามารถทำได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องมี
ความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูลที่สืบค้นมากนัก แต่การสืบค้นโดยใช้คำสั่ง ผู้ใช้จำเป็นต้อง
ศึกษาคำสั่งต่างๆ ในการสืบค้น โดยฐานข้อมูลแต่ละฐานที่จัดทำโดยบริษัทที่แตกต่าง
กัน มักมีวิธีการสืบค้นที่แตกต่างกันด้วย
4. แสดงผลการสืบค้น เมื่อสืบค้นจนได้ปริมาณรายการที่พอเพียงกับความต้องการ
แล้วสามารถแสดงผลรายการที่สืบค้นได้3 รูปแบบใหญ่คือ
4.1 การแสดงผลแบบเต็มรูปแบบ แสดงผลทุกเขตข้อมูลที่รายการนั้นมีอยู่
4.2 การแสดงผลแบบย่อ แสดงผลเฉพาะรายการทางบรรณานุกรมเท่านั้น
4.3 การแสดงผลแบบอิสระแสดงผลที่ก าหนดเขตข้อมูลในการแสดงผลด้วย
ตัวเอง
5. เลือกรายการที่ตรงกับความต้องการและบันทึกผลข้อมูล เพื่อให้ระบบทราบว่า
ต้องการรายการใดบ้างในพิมพ์ผลออกทางกระดาษ

Subtopic

การสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลบรรณานุกรมออนไลน์

เป็นรูปแบบหนึ่งของเครื่องมือช่วยค้นพบทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดหรือศูนย์ข้อมูลเพื่อช่วยในการบันทึกข้อมูลในรูปแบบของเอกสารในรูปแบบของเอกสาร OPAC ผู้บรรยายมีทางเลือกในการอ่านหลายคำแนะนำขั้นตอนและวิธีการลงมือจะแฉะบนหน้าจอเสมอผู้ใช้ พียงทำตามคำแนะนำที่บอกให้ไปตามลำดับ

วิธีการสืบค้นโดยใช้ทางเลือกต่างๆ ใน OPAC

ข้อมูลที่ได้จากการลงทะเบียนด้วย OPAC

เทคนิคอื่นๆ

1 เทคนิคการค้นด้วยเครื่องหมายค าพูด “…..” (Exact phrased search) ซึ่ง
ผลลัพธ์ที่ใช้เทคนิคนี้จะเป็นเว็บที่มีค าอยู่ติดกันเท่านั้น เช่น ต้องการค้นคำว่า
Information Society โดยให้ทั้งสองค าอยู่ติดกันสามารถสืบค้นได้โดย
“Information Society” เป็นต้น

2 เทคนิคการค้นหาค าพ้องความหมาย (Synonyms) ด้วยเครื่องหมาย ~
กล่าวคือ ถ้าใช้เครื่องหมาย ~information ในการค้นหา ผลลัพธ์ในการค้นจะ
ไม่หาคำว่า information เพียงอย่างเดียวแต่จะหาคำที่มีความหมายคล้ายหรือ
ใกล้เคียงกับคำดังกล่าว เช่น คำว่า Statistics เป็นต้น

3 เทคนิคการค้นกลุ่มค าหรือคำที่ไม่แน่ใจด้วยเครื่องหมาย * (Wildcard) โดย
เทคนิคนี้สามามารถใช้เครื่องหมาย * แทนคำพูดที่ผู้ค้นไม่แน่ใจในการค้นหาแต่
ต้องใช้ภายในเครื่องหมาย “....” เช่น หากต้องการค้นหาเว็บที่มีคำว่า
กระทรวง ขึ้นต้น สามารถสืบค้นได้โดย “กระทรวง*” ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะปรากฏ
เว็บไซต์ที่มีคำว่ากระทรวงทุกเว็บ เป็นต้น

4 เทคนิคค้นหาช่วงชุดของตัวเลข (Number range) ด้วยเครื่องหมาย .. โดย
เทคนิคนี้ใช้เมื่อต้องการค้นข้อมูลที่มีช่วงตัวเลข เช่น ต้องการค้นหา DVD ที่มี
14
ราคาระหว่าง $50-$100 สามารถสืบค้นได้โดยใช้ค าว่า DVD $50..$100

5 เทคนิคการหานิยามหรือความหมายของค า (Definition) โดยใช้คำว่า define:
ตามด้วยค าที่ต้องการทราบความหมาย เช่น ต้องการทราบความหมายของคำ
ว่า Information สามารถสืบค้นได้โดยพิมพ์ define: information (การ
ค้นหาด้วยตัวพิมพ์เล็กหรือพิมพ์ใหญ่ไม่มีผล)

6. เทคนิคการกรองสิ่งที่ค้นหา (SafeSearch Filtering) เทคนิคนี้จะมีใช้สำหรับ
Search Engine บางตัว เช่น Google โดย Google สามารถกรองเว็บไซต์ที่มี
เนื้อหาไม่เหมาะสม หรือรุนแรงได้ โดย Google สามารถกรองตัวอักษร และ
รูปภาพได้ถึง 3 ระดับ

7 ควรใช้ค าที่หลากหลายและไม่ควรใช้คำที่ค้นหาเกิน 32 คำ ซึ่งการใช้คำที่
หลากหลายเพื่อค้นหาจะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า

Klik her, for at centrere dit kort.
Klik her, for at centrere dit kort.