Basic of Statistic and Data collection สถิติพื้นฐานเพื่อวิจัย

คําจํากัดความ

สถิติ (statistics) มาจากภาษาเยอรมันมีรากศัพท์มาจาก stat หมายถึง ข้อมูลหรือสารสนเทศ

สถิติ หมายถึง ตัวเลขหรือข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมสถิติในความหมายที่กล่าวมานี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าข้อมูลทางสถิติ

ประเภทของข้อมูล

นามบัญญัติ (Nominal Scale)

เป็นระดับการวัดที่หยาบที่สุด จัดข้อมูลหรือตัวแปรออกเป็นกลุ่ม เช่น เพศ อาชีพ

ใช้สถิติง่ายๆ ในการคำนวณ คือ ความถี่ สัดส่วน ร้อยละ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นเพียงตัวแทนของชื่อกลุ่มเท่านั้น จะนำไป บวก ลบ คูณ หาร กันไม่ได้ในทางสถิติ เพราะไม่มีความหมาย

เรียงอันดับ (Ordinal Scale)

เป็นข้อมูลที่ใช้จัดอันดับของสิ่งต่างๆ โดยเรียงอันดับของข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้จากสูงสุดไปหาต่ำสุด

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่สัดส่วน ร้อยละ

อัตราภาค (Interval)

เป็นข้อมูลที่บอกถึงความแตกต่างระหว่างค่าที่
วัดได้แต่ละช่วง ที่มีความห่างเท่ากัน ทุกช่วง
เป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลข สามารถ บวก ลบ กันได้
แต่ไม่มีศูนย์แท้

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่ สัดส่วน
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และ
สถิตชั้นสูงทุกตัว

อัตราส่วน (Ratio Scale)

ข้อมูลประเภทนี้ เป็นข้อมูลที่ใช้วัดในระดับสูงสามารถบวก ลบ คูณ หาร ได้ และมีศูนย์แท้เช่น น้ำหนัก ความเร็ว ความกว้าง ความหนา พื้นที่ จำนวนเงิน อายุ ระยะทาง ซึ่งถ้ามีค่าเป็น 0 หมายถึง ไม่มี

ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปวิเคราะห์กับสถิติได้
ทุกตัว

ประเภทของข้อมูล

Descriptive Statistics

สถิติเชิงพรรณนำ

การใช้สถิติเพื่ออธิบายข้อมูลที่มีอยู่

ไม่ได้นำไปพยากรณ์ประชากร แต่อย่างใด

ลักษณะที่จะพรรณนาข้อมูลนั้น มีอยู่สองลักษณะ

การใช้ตัวอักษรหรือตัวเลข

การใช้แผนภาพ

Inferential Statistics

สถิติพารามิเตอร์ (Parametric Statistics )

สถิติว่าด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวม
มาจากกลุ่มตัวอย่างเพื่ออธิบาย สรุป
ลักษณะบางประการของประชากร

ข้อมูลระดับช่วงขึ้นไป (Interval Scale)

มีการแจกแจงเป็นโค้งปกติ

ประชากรแต่ละกลุ่มที่นำมาศึกษาจะต้องมีความ
แปรปรวนเท่ากัน

การเขียนแสดงค่าใช้อักษรกรีกเป็นสัญลักษณ์

การเขียนแสดงค่าสถิติใช้ภาษาอังกฤษเป็น
สัญลักษณ์

-สถิตไร้พารามิเตอร์ (Nonparametric Statistics)

• เป็นวิธีการทางสถิติที่สามารถ
นำมาใช้ได้โดยปราศจากข้อตกลง
เบื้องต้นทั้ง 3 ประการข้างต้น

วัตถุประสงค์โดยทั่วไปของการใช้สถิติเพื่อการวิจัย

พรรณนาคุณสมบัติของหน่วยศึกษา/วิเคราะห์

ศึกษาความแตกต่างระหว่างกลุ่มต่างๆ ที่เป็น
เป้าหมายของการศึกษา

ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

ศึกษาการประมาณค่าหรือการพยากรณ์

ข้อพิจารณาการใช้สถิติเพื่อการวิจัย

ทราบวัตถุประสงค์ของการนำวิธีการสถิติมาใช้

ทราบประเภทของสถิติที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์

รู้ลักษณะของข้อมูลว่ามีการวัดระดับใด (Level of Measurement )

หลักการเบื้องต้นที่สำคัญของการใช้สถิติ

หลีกเลี่ยงการเสนอซ้ำซาก

เสนอในรูปแบบมาตรฐานของแต่ละวิธีการหรือที่วงวิชาการยอมรับ

แปลผลค่าสถิติต่างๆ ได้ถูกต้อง

ตีความหมาย

หลักกำรเบื้องต้นที่สำคัญของการใช้สถิติ

หลีกเลี่ยงการนำเสนอที่ซ้ำซาก โดยเสนอให้น้อยที่สุดแต่สิ่งที่เสนอต้องสื่อความหมายให้ได้มากที่สุดหรือครบถ้วนสมบูรณ์ในตัวของมันเอง

ทำการเสนอที่ได้รูปแบบมาตรฐานของแต่ละวิธีการที่ใช้กัน
ในวงการวิจัย

ทำการอ่านผลค่าสถิติต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง

ทำการตีความหมายผลที่ได้จากการวิเคราะห์ ให้เป็นไปตาม
หลักการหรือเกณฑ์ที่กำหนด

ตัวแปร

ประเภทตัวแปรตามบทบาท

ตัวแปรอิสระ (Independent Variables)

ตัวเเปรที่กำหนดขึ้นเพื่อทดสอบสมมติฐาน

ตัวแปรตาม (Dependent Variables)

ตัวเเปรที่เปลี่ยนไปตามตัวเเปรต้น

ประเภทของตัวแปรตามระดับของการวัด

ตัวแปรกลุ่ม หรือ นามมาตร หรือ นามกำหนด (Norminal)

ตัวแปรอันดับ (Ordinal)

ตัวแปรช่วงหรืออันตรภาค (Interval)

ตัวแปรอัตราส่วน (Ratio)

สถิติพรรณนากับการวิจัย

ช่วยสรุปคุณสมบัติของสิ่งศึกษา (ประชากรหรือกลุ่มหน่วยวิเคราะห์)

ช่วยสรุปตัวเลขหรือหน่วยจำให้เห็นเป็นรูปธรรม

เหมาะสำหรับการรายงานวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ

ช่วยในการตัดสินใจเบื้องต้นว่าการวิจัยได้เก็บข้อมูล

จากกลุ่ม/หน่วยวิเคราะห์ที่เหมาะสมหรือไม่ ทั้งในด้านจำนวนและในด้าน
คุณสมบัติ

สถิติพรรณนำสำหรับตัวแปรเชิงคุณภาพ

ส่วนใหญ่ใช้กับข้อมูลที่เก็บจากแบบสอบถาม

ต้องมีการลงรหัสข้อมูลให้เป็นตัวเลข (Coding) ถ้ารหัสใดไม่
ต้องการวิเคราะห์ให้เป็น Missing Value(s)

ค่าสถิติเชิงพรรณนาที่สำคัญจากการวิเคราะห์สถิต

ค่าความถี่(Frequency)

อัตราส่วนร้อยปกติ (Percent) เป็นการนำข้อมูลทุกกรณีมาวิเคราะห์
ไม่ว่าข้อมูลจะขาดหายไป

อัตราส่วนที่ถูกต้อง (Valid Percent) เป็นการคำนวณที่ไม่
นำเอาค่าที่ไม่ต้องการหรือขาดหาย (Missing) มาใช้ในการ
วิเคราะห์

การเสนอผลสถิติพรรณนาในรายงานวิจัย

เสนอในรูปตาราง

ระบุหมายเลขและชื่อตาราง

ไม่ใส่คำที่ไม่ใช่สาระ