สังคมความรู้ (Knowledge Society)

1.นิยาม

สังคมที่มีการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเครือข่ายสารสนเทศสูง จาก
ความรู้ที่มีบุคลากรทำงานโดยใช้ทักษะและความรู้สูง

2.ยุคของสังคมความรู้ (Knowledge Society Era)

2.1 สังคมความรู้ยุคที่1 เป็นสังคมความรู้ที่มีพลังและอำนาจอยู่ด้วยกัน เกิดการผลิต มีความสามารถในการแข่งขัน กลไกตลาด และความอยู่รอด มี 5 ด้าน ดังนี้

1) Knowledge Access คือ การเข้าถึงความรู้ด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ การเข้าถึงความรู้ ทาง Internet หรือ ICT Connectivity ต่าง ๆ

2) Knowledge Validation คือ การประเมินความถูกต้องของความรู้ ความรู้มีทั้งของจริงและของหลอก

3) Knowledge Valuation คือ การตีค่า การตีความรู้ ว่าเมื่อมีการใช้ความรู้นั้นแล้วมีความคุ้มค่าหรือไม่ ซึ่งในการตีค่าความรู้ที่มีหลักฐานถูกต้องตามหลักวิชาการแต่ไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้

4) Knowledge Optimization คือ การทำความรู้ให้ง่ายที่จะใช้ การนำความรู้ออกมาเป็นกฎเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ

5) Knowledge Dissemination คือ การกระจายความรู้ ปัจจุบันความรู้เป็นสมบัติสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ อยู่ที่ความสามารถของแต่ละคนที่จะเข้าถึงความรู้การวิจัยหรือ ความรู้จึงเป็นเครื่องมือสำคัญ

2.2 สังคมความรู้ยุคที่ 2 เป็นสังคมความรู้แบบพอเพียง สมดุล บูรณาการ ประชาชนและทุกภาคส่วนมีบทบาทในการร่วมกันเป็นเจ้าของ และเป็นผู้ใช้ความรู้ให้เป็นพลัง มีความเป็นอิสระ และพึ่งตนเอง

ลักษณะสำคัญ

1. มีการสะสมความรู้ภายในสังคม
2. มีการถ่ายโอนความรู้ภายสังคม
3. มีการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ในสังคม
4. มีการประยุกต์ความรู้มาใช้ภายในสังคม

3.ลักษณะสังคมแห่งการเรียนรู้

3.1 ไม่จำกัดขนาดและสถานที่ตั้ง

3.2 เน้นการจัดการเรียนรู้เป็นปัจจัยหลัก

3.3 ประชาชนได้รับโอกาสการพัฒนา (Key Individuals)

3.4 สถาบันทางสังคมในพื้นที่เป็นตัวหลักในการริเริ่ม/ดำเนินการ (Key Institutions)

3.5 มีกลุ่มภาคประชาชนเป็นแกนกลาง (Core Groups) เพื่อรวมตัวกันจัดกิจกรรมพัฒนาชุมชน

3.6 มีการพัฒนานวัตกรรมและระบบการเรียนรู้

3.7 มีภาคีเครือข่ายที่ร่วมดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

3.8 การริเริ่ม/การเปลี่ยนแปลงมีอยู่ตลอดเวลา

3.9 สถานศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนแห่งการเรียนรู้

3.10 ความรับผิดชอบเป็นหน้าที่ของบุคคลและชุมชนร่วมกัน

3.11 ทุกคนเป็นครูและผู้เรียน

5. กระบวนการจัดการความรู้ (Processes of Knowledge)

5.1 การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าจะทำอย่างไรให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย

5.2 การสร้างและแสวงหาความรู้ ซึ่งสามารถทำได้หลายทาง

5.3 การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบ

5.4 การประมวลและกลั่นกรองความรู้

5.5 การเข้าถึงความรู้

5.6 .การจัดการความรู้ในองค์กรการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้

5.7 การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน

4.ความรู้ (Knowledge)

4.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ความรู้
ข้อมูล สารสนเทศและความรู้ มีความหมายที่เกี่ยวข้องกันจนในบางครั้งไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ซึ่งคำทั้ง 3 คำมีนักวิชาการหลายๆ ท่านได้อธิบายความสัมพันธ์ ระหว่างข้อมูล สารสนเทศและความรู้

4.1.1 ความหมายของข้อมูล (Data) สรุปได้ว่า ข้อมูล คือ กลุ่มของสัญลักษณ์ ข้อเท็จจริง ตัวเลข ข้อความ
ภาพ และเสียงที่ยังไม่ผ่านกระบวนการประมวลผล วิเคราะห์หรือสังเคราะห์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์

4.1.2 ความหมายของสารสนเทศ (Information) สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความรู้ต่างๆ ที่ผ่านการประมวลผลแล้วและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ โดยสารสนเทศนั้นบันทึกไว้ในรูปแบบของวัสดุตีพิมพ์ได้แก่ หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสาร แผ่นพับ จุลสาร เอกสารจดหมายเหตุและวัสดุไม่ตีพิมพ์

4.1.3 ความหมายของความรู้ (Definition of Knowledge) ความรู้ หมายถึง ความเข้าใจในเรื่องบางเรื่อง หรือสิ่งบางสิ่ง ซึ่งอาจจะรวมไปถึงความสามารถในการนำสิ่งนั้นไปใช้เพื่อเป้าหมายบางประการ โดยอาศัยกระบวนการที่แปรผลมาจากข้อมูล สารสนเทศ การศึกษา ประสบการณ์ต่างๆ ที่สะสมในอดีต และสามารถเพิ่มขึ้นได้อย่างไม่จำกัดในอนาคต

4.2 ประเภทรูปแบบความรู้ (Type of Knowledge)
ประเภทของความรู้มีหลายลักษณะทั้งความรู้จากข้อเท็จจริง ความรู้จากประสบการณ์ ความรู้ที่ได้รับถ่ายทอดมาหรือความเชื่อ ความรู้ส่วนบุคคล (Individual knowledge) และความรู้องค์กร (Organizational knowledge) จากลักษณะต่างๆ ดังกล่าวสามารถแบ่งความรู้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

1.Tacit Knowledge ความรู้ที่ซ่อนอยู่ในแต่ละบุคคลหรือความรู้ที่ซ่อนเร้น เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญหรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำ ความเข้าใจในสิ่งต่างๆ

2.Explicit Knowledge ความรู้ที่เด่นชัดหรือความรู้ที่บันทึกไว้ เป็นความรู้ที่สามารถ
รวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น ฐานข้อมูล ระบบผู้เชี่ยวชาญ รายงาน ทฤษฎี คู่มือต่างๆในบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

Haga clic aquí para centrar el diagrama.
Haga clic aquí para centrar el diagrama.