การสืบค้นสารสนเทศและความรู้

การสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลบรรณานุกรมออนไลน์

วิธีการสืบค้นโดนใช้ทางเลือกต่างๆใน OPAC

จากหน้าจอรายการหลักของ OPAC ให้เลือกรายการที่ต้องการจะใช้เป็นทางเลือกในการสืบค้นจากเมนู เช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวข้อ เป็นต้น

ป้อนข้อมูลที่ต้องการสืบค้นตามรายการที่ใช้เป็นทางเลือก เช่น เลือกทางเลือกผู้แต่ง พิมพ์ชื่อผู็แต่ง เลือกทางเลือกคำสำคัญ พิมพ์ คำสำคัญที่ต้องการสืบค้น เป็นต้น

หากต้องการได้รายละเอียดโดยย่อของรายการใด ให้คลิกเม้าส์ที่รายการที่ต้องการ ระบบจะแสดงรายละเอียดของรายดังกล่าว ซึ่งจะประกอบไปด้วยชื่อเรื่อง ชื่อผู้รับิดชอบ และปีพิมพ์

หากต้องการได้รายละเอียดที่สมบูรณืของรายการใด ให้คลิกเม้าส์ที่รายการที่ต้องการระบบจะแสดงรายละเอียดที่สมบูรณ์ของรายการนั้นๆ หากเป็นหนังสือหรือโสตทัศนวัสดุรายละเอียดที่ได้ประกอบด้วยเลขเรียกหนังสือ สถานที่ที่มีทรัพยากรสารสนเทศนั้น

ข้อมูลที่ได้รับจากการสืบค้นด้วย OPAC

ข้อมูลบรรณานุกรม [Bibliographic description] ประกอบด้วย

ชื่อผู้แต่ง [Author] อาจเป็นชื่อบุคคลหรือหน่วยงาน

ชื่อเรื่อง [Title] ของหนังสือ ชื่อวารสาร รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ โสตทัศนวัสดุ

พิมพลักษณ์ [Imprint] ประกอบด้วยครั้งที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์ ได้แก่เมืองและประเทศ สำนักพิมพ์ และปีที่พิมพ์

สถานภาพ [Status] สถานภาพของทรัพยากรสารสนเทศ มีหลายลักษณะได้แก่มีการยืมออกก็จะระบุวันกำหนดส่ง เช่น Due 12-06-04 อยู่ชั้นบน

เลขเรียกหนังสือ [Call number] เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนทรัพยากรแต่ละรายการ หากเป็นสิ่งที่พิมพ์จะติดไว้ที่สันหนังสือ เป็นข้อมูลที่มีความสำคัญที่ผู้ใช้ห้องสมุดต้องจดเพื่อไปหาหนังสือบนชั้น

รูปเล่ม [Description] บอกข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนหน้า ภาพประกอบ และขนาด

หมายเหตุ [Note] เป็นการระบุข้อมูลของทรัพยากรเพิ่มเติม เช่นมีข้อมูลบรรณานุกรม

สถานที่ [Location] เป็นการบอกว่าทรัพยากรรายการนั้นอยู่ที่ห้องสมุดใด

หัวเรื่อง [Subject] เป็นการระบุคำหรือกลุ่มคำที่ใช้แทนเนื้อหาของทรัพยากร มีประโยชน์ในแง่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถหาสารสนเทศได้มากยิ่งขึ้น

เลขมาตรฐาน [ISBN] เป็นเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือแต่ละรายการ

ข้อมูลดรรชนีวารสาร [Periodical Index]

ชื่อผู้แต่ง [Author] อาจเป็นบุคคลหรือหน่วยงาน

ชื่อเรื่อง [Title] เป็นชื่อบทความวารสาร

ปี [Year] ได้แก่ ปีพิมพ์ของวารสาร

ชื่อห้องสมุดที่บอกรับวารสารชื่อนั้นๆ [Library that have this journal] บอกข้อมูลเกี่ยวกับห้องสมุดและปีที่ ฉบับที่ของวารสารที่ห้องสมุดบอกรับ

สถานที่ [Location] บอกสถานที่เก็บและให้บริการวารสาร

ชื่อวารสาร [Journal] บอกข้อมูลเกี่ยวกับชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ เดือน ปี และเลขหน้าที่ปรากฏบทความ

เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร [ISSN]

หัวข้อ [Subject] เพื่อใช้ในการสืบค้นต่อ

การสืบค้นออนไลน์

ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศบอกรับสมาชิก คือฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศนั้นๆ บอกรับหรือซื้อฐานข้อมูลนั้นมาให้บริการกับผู้ใช้โดยมีการจำกัดระยะเวลาในการใช้

ฐานข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือฐานข้อมูล ThaiLIS [Thai Library Integrated System] เป็นฐานข้อมูลที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและ Thai Library Integrated System เช่าใช้ฐานข้อมูลวิชาการโโยมีสำนักงานคณธกรรมการอุดมศึกษารับผิดชอบค่าเช่า เพื่อให้มหาวิทยาลัยของรัฐร่วมกันใช้บริการสืบค้นสารสนเทศ ภายใต้ฐานข้อมูลต่างๆ

ฐานข้อมูลทดลองใช้ ฐานข้อมูลลักษณะนี้เป็นฐานข้อมูลที่ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศนำมาทดลองให้บริการกับผู้ใช้ก่อน ก่อนที่ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศจะตัดสินใจซื้อหรือสมัครเป็นสมาชิกของฐานข้อมูลนั้นจริงๆ

เทคนิคการสืบค้นชั้นสูง

วิเคราะห์เรื่องที่ต้องการสืบค้นและกำหนดคำสำคัญเพื่อใช้ในการค้น การวิเคราะห์เรื่องที่ต้องการสืบค้นคือ ต้องรู้ว่าต้องการข้อมูลในเรื่องใด แล้วจึงกำหนดเรื่องที่ต้องการค้นเป็นคำสำคัญในการสืบค้น

เลือกค้นจากรากฐานข้อมูลที่เหมาะสม ทั้งนี้ต้องทราบว่าเรื่องที่สืบค้นนั้นเป็นเรื่องในสาขาใด เลือกฐานข้อมูลให้ตรงหรือใกล้เคียงกับสาขาวิชาที่สืบค้น เพื่อช่วยให้ได้ผลการสืบค้นที่ตรงกับความต้องการ

ลงมือสืบค้น โดยทั่วไปสามารถสืบค้นได้2 วิธีคือการใช้เมนูในการสืบค้น และการ
สืบค้นโดยการพิมพ์ค าสั่ง การสืบค้นโดยใช้เมนูสามารถท าได้ง่าย ไม่จ าเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูลที่สืบค้นมากนัก แต่การสืบค้นโดยใช้ค าสั่ง ผู้ใช้จ าเป็นต้องศึกษาคำสั่งต่างๆ ในการสืบค้น โดยฐานข้อมูลแต่ละฐานที่จัดทำโดยบริษัทที่แตกต่างกัน มักมีวิธีการสืบค้นที่แตกต่างกันด้วย

แสดงผลการสืบค้น เมื่อสืบค้นจนได้ปริมาณรายการที่พอเพียงกับความต้องการ
แล้วสามารถแสดงผลรายการที่สืบค้นได้3 รูปแบบใหญ

การแสดงผลแบบเต็มรูปแบบ แสดงผลทุกเขตข้อมูลที่รายการนั้นมีอยู่

การแสดงผลแบบย่อ แสดงผลเฉพาะรายการทางบรรณานุกรมเท่านั้น

การแสดงผลแบบอิสระแสดงผลที่ก าหนดเขตข้อมูลในการแสดงผลด้วย
ตัวเอง

เลือกรายการที่ตรงกับความต้องการและบันทึกผลข้อมูล เพื่อให้ระบบทราบว่า
ต้องการรายการใดบ้างในพิมพ์ผลออกทางกระดาษ

การสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต

นามานุกรม (Web Directories)

Subtopic

เครื่องมือสืบค้น (Search engine)

องค์ประกอบของกลไกการสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต (Search Engine)

ตัวสำรวจหรือรวบรวมข้อมูล (Spider หรือ Crawler หรือ Robot) เป็นซอฟต์แวร์สำหรับสำรวจเว็บ โดยจะทำหน้าที่ตระเวณไปยังเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อทำการรวบรวมสารสนเทศ และส่งกลับมายังดรรชนีหรือฐานข้อมูลเพื่อทำการประมวลผล

ตัวดรรชนี (Indexer) หรือ Catalog ซึ่งเป็นฐานข้อมูลทำหน้าที่รวบรวมคำและตำแหน่งทุกๆ เพจที่ตัวสำรวจรวบรวมมาได้ ในส่วนนี้จะมีโปรแกรมช่วยในการจัดทำดรรชนีเพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาสารสนเทศได้สะดวกขึ้น วิธีการจัดท าดรรชนีในแต่ละกลไกการสืบค้นมักจะแตกต่างกันไป เช่น บางโปรแกรมทดรรชนีให้แก่คำทุกคำบางโปรแกรมทำดรรชนีให้เฉพาะส่วนชื่อเรื่องและหัวข้อใหญ่ เป็นต้น นอกจากนี้สารสนเทศที่ทำการจัดเก็บในฐานข้อมูลหรือในดรรชนีจะมีเฉพาะ URL ของเอกสารเท่านั้น เมื่อผู้สืบค้นพบแหล่งสารสนเทศที่ต้องการ กลไกจึงทำการเชื่อมโยงผู้สืบค้นไปยังแหล่งนั้นโดยตรง ฐานข้อมูลมิได้รวบรวมสารสนเทศทั้งหมดของแต่ละแหล่งสารสนเทศเอาไว้

โปรแกรมค้นข้อมูล (Search Engine Software หรือ Query Processor) ทำหน้าที่เปรียบเทียบความเกี่ยวข้องระหว่างเว็บไซต์และความต้องการของผู้สืบค้นว่ามีความเกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใด จากนั้นจะจัดลำดับความเกี่ยวข้องของเว็บต่างๆออกมาแสดงผล

เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ต

เทคนิคตรรกบูลลีน แบ่งได้ออกเป็น 3 ลักษณะคือ

การใช้ And, Or, Not ประกอบเป็นประโยคการค้น เช่นเดียวกับการสืบค้นในระบบออนไลน์อื่นๆ โดยเครื่องหมาย หรือตัวกระทำของตรรกบูลลีนจะ
แตกต่างกันไปในแต่ละกลไก บางกลไกสามารถใช้คำว่า And, Or, Not
ประกอบในประโยคการค้นได้โดยตรงบางกลไกใช้เครื่องหมาย &(ampersan), I (pipe) แ ล ะ ! (exclamation) แทนคำว่า And, Or, Not ตามลำดับเช่นใน Altavista เป็นต้น

การใช้เทคนิคตรรกบูลลีนจากเมนูทางเลือก (Drop down menu) ว่าต้องการ
สืบค้นการที่เกี่ยวข้องกับค าค้นอย่างไร เช่น Match all words, match any
words, must contain, must not contain เป็นต้น กลไกที่มีลักษณะการ
สืบค้นเช่นนี้ ได้แก่ Lycos, Hotbot, Excite เป็นต้น

การใช้เครื่องหมาย + (Plus) หรือ – (Minus) กำหนดหน้าคำค้นที่ต้องการ
เครื่องหมาย + หมายถึงในผลการค้นต้องมีคำที่กำหนดนั้น และเครื่องหมาย –
หมายถึงไม่ต้องการให้พบคำนั้นในผลการสืบค้น กลไกที่ลักษณะการสืบค้น
เช่นนี้ ได้แก่ Excite, Lycos, Altavista, Google เป็นต้น

เทคนิคการตัดคำสามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ

การใช้เครื่อง กลไกส่วนใหญ่ใช้เครื่องหมาย * (asterisk) แทนการตัดคำส่วน
ใหญ่เป็นการตัดท้ายคำค้นที่ต้องการ กลไกที่สามารถใช้เทคนิคการตัดคำได้
เช่น altavista เป็นต้น ส่วน Hotbot สามารถตัดค าได้ 2 ลักษณะคือ * และ ?โดย * หมายถึง ให้สืบค้นคำที่มีรากคำตามที่กำหนดโดยอาจมีตัวอักษรอื่น ๆต่อท้ายได้ไม่จำกัดจำนวน และ ? หมายถึง ให้สืบค้นคำที่มีรากคำตามที่ก าหนดและมีตัวอักษรตามหลังได้อีกไม่เกินจำนวน ? ที่กำหนดในคำค้น นอกจากนี้ Hotbot ยังสามารถตัดหน้าคำได้ด้วย เช่น *man ผลการคืนจะเรียกออกมาทั้งคำว่า woman, superman, spiderman เป็นต้น

การสืบค้นในลักษณะของ Stemming หมายถึง การสืบค้นจากรากคำ เช่น
คำค้นเป็น think กลไกจะสืบค้นคำอื่น ๆ ที่ขึ้นต้นด้วย think เช่น thinking,
thinkable เป็นต้น กลไกที่มีลักษณะการสืบค้นเช่นนี้ได้แก่ Hotbot, Infoseek เป็นต้น

เทคนิคการใช้คำใกล้เคียง

ADJ หมายถึง ให้คำที่ค้นอยู่ใกล้กัน สลับลำดับคำได

NEAR หมายถึง ให้คำที่ค้นอยู่ใกล้เคียงกันในระยะ 25 คำ สลับที่ได้

FAR หมายถึง ให้ค าค้นอยู่ห่างกันได้ 25 คำ หรือมากกว่านั้น

BEFORE หมายถึงให้คำค้นอยู่ห่างกันในระยะ 25 คำ โดยต้องอยู่ตามลำดับที่
กำหนดเท่านั้น

เทคนิคการใช้รหัสกำกับคำค้น สามารถทำได้ 2 ลักษณะได้แก่

สืบค้นจากเมนูทางเลือก (Drop down menu) ซึ่งกลไกสืบค้นหลาย ๆ กลไก
กำหนดให้ผู้สืบค้นเลือกเขตข้อมูลที่ต้องการสืบค้นได้จากเมนูทางเลือก โดยให้
เลือกได้จากภาษา เขตข้อมูลชื่อ URL ช่วงปีที่ต้องการ Domain ของแหล่ง
สารสนเทศ เป็นต้น

สืบค้นโดยใช้เขตข้อมูลก ากับลงในประโยคการค้น เช่น title:nba หมายถึงให้
ค้นเพจที่มีคำว่า nba ปรากฏในชื่อเรื่อง before:30/9/99 หมายถึง ให้สืบค้น
เอกสารที่มีการจัดท าก่อนวันที่ 30 ก.ย. 1999 เป็นต้น กลไกที่มีลักษณะการ
สืบค้นแบบนี้ ได้แก่ Hotbot เป็นต้น

เทคนิคอื่นๆ ได้แก

เทคนิคการค้นด้วยเครื่องหมายค าพูด “…..” (Exact phrased search) ซึ่ง
ผลลัพธ์ที่ใช้เทคนิคนี้จะเป็นเว็บที่มีคำอยู่ติดกันเท่านั้น เช่น ต้องการค้นคำว่า
Information Society โดยให้ทั้งสองค าอยู่ติดกันสามารถสืบค้นได้โดย
“Information Society” เป็นต้น

เทคนิคการค้นหาคำพ้องความหมาย (Synonyms) ด้วยเครื่องหมาย ~
กล่าวคือ ถ้าใช้เครื่องหมาย ~information ในการค้นหา ผลลัพธ์ในการค้นจะ
ไม่หาคำว่า information เพียงอย่างเดียวแต่จะหาคำที่มีความหมายคล้ายหรือใกล้เคียงกับคำดังกล่าว เช่น คำว่า Statistics เป็นต้น

เทคนิคการค้นกลุ่มคำหรือคำที่ไม่แน่ใจด้วยเครื่องหมาย * (Wildcard) โดย
เทคนิคนี้สามามารถใช้เครื่องหมาย * แทนคำพูดที่ผู้ค้นไม่แน่ใจในการค้นหาแต่
ต้องใช้ภายในเครื่องหมาย “....” เช่น หากต้องการค้นหาเว็บที่มีคำว่า
กระทรวง ขึ้นต้น สามารถสืบค้นได้โดย “กระทรวง*” ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะปรากฏ
เว็บไซต์ที่มีคำว่ากระทรวงทุกเว็บ เป็นต้น

เทคนิคค้นหาช่วงชุดของตัวเลข (Number range) ด้วยเครื่องหมาย .. โดย
เทคนิคนี้ใช้เมื่อต้องการค้นข้อมูลที่มีช่วงตัวเลข เช่น ต้องการค้นหา DVD ที่มี
14 ราคาระหว่าง $50-$100 สามารถสืบค้นได้โดยใช้คำว่า DVD $50..$100 เป็นต้น

เทคนิคการหานิยามหรือความหมายของคำ (Definition) โดยใช้คำว่า define:ตามด้วยค าที่ต้องการทราบความหมาย เช่น ต้องการทราบความหมายของคำว่า Information สามารถสืบค้นได้โดยพิมพ์ define: information (การค้นหาด้วยตัวพิมพ์เล็กหรือพิมพ์ใหญ่ไม่มีผล) เป็นต้น

เทคนิคการกรองสิ่งที่ค้นหา (SafeSearch Filtering) เทคนิคนี้จะมีใช้ส าหรับ
Search Engine บางตัว เช่น Google โดย Google สามารถกรองเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม หรือรุนแรงได้ โดย Google สามารถกรองตัวอักษร และ
รูปภาพได้ถึง 3 ระดับ แต่ค่าเริ่มต้นจะก าหนดไว้เพียงการกรองรูปภาพอนาจาร
และเกี่ยวกับเพศไม่ให้แสดงบนจอภาพผลลัพธ์จากการค้นหา ถ้าไม่ต้องการให้มี
การกรองสิ่งที่ค้นหาให้เลือก “Do not filter my search results” การกรอง
สิ่งที่ค้นหาไม่สามารถแยกผลลัพธ์ที่ไม่ต้องการออกไปได้ 100 เปอร์เซ็นต์ หาก
ต้องการให้การกรองมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรใช้ตัวกรองข้อมูลที่สามารถ
ควบคุมการแสดงผลข้อมูลได้ดีกว่า เช่น NetNancy (http://www.
netnancy.net/) หรือ Cyber Patrol(http://www.cyberpatrol.com/) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้กรองข้อมูลโดยเฉพาะ

ควรใช้ค าที่หลากหลายและไม่ควรใช้ค าที่ค้นหาเกิน 32 คำ ซึ่งการใช้คำที่
หลากหลายเพื่อค้นหาจะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า เนื่องจากการก าหนดคำที่
หลากหลายท าให้สามารถหาข้อมูลที่ใกล้เคียงที่สุดได้ เช่น ต้องการหาคำที่มี
ความหมายเดียวกับยาจีนชื่อ “qigong” หากพิมพ์เพียงค าเดียวอาจท าให้
Search Engine บางตัวไม่สามารถหาผลลัพธ์ที่ต้องการได้ แต่ถ้าพิมพ์ “qigong Chinese medicine internal exercises asthma” จะทำ
ให้Search Engine บางตัว เช่น Google สามารถหาผลลัพธ์ได้ใกล้เคียงกว่า
การกำหนดเพียงคำเดียว เป็นต้น

Haga clic aquí para centrar el diagrama.
Haga clic aquí para centrar el diagrama.