บทที่ 1
ความร้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีอากร
ความหมายของภาษีอากร
หมายถึง สิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากราษฎร โดยมิได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษีอากร แต่นําไปใช้เพื่อประโยชน์โดยส่วนรวม
วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีอากร
1. เพื่อหารายได้มาใช้จ่ายในกิจการของรัฐ
2. เพื่อควบคุมและส่งเสริมพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ
3. เพื่อการกระจายรายได้และทรัพย์สินให้เป็นธรรม
4. เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
5. เพื่อสนองนโยบายบางประการของรัฐบาล
ลักษณะของภาษีอากรที่ดี
1. หลักความเป็นธรรม
1.1 ความเป็นธรรมในแนวนอน คือ ทุกคนต้องเสียภาษีคนละเท่าๆกัน ไม่ว่าจะมีรายได้มากหรือน้อยเพียงใด
1.2 ความเป็นธรรมในแนวตั้ง คือ การพิจารณาถึงความสามารถในการเสียภาษีอากรของประชาชนแต่ละคน
2. หลักความแน่นอน ชัดเจน
ภาษีอากรต้องมีความแน่นอน ชัดเจนในกฎหมาย ระเบียบวิธี
ปฏิบัติ
3. หลักความสะดวก
ภาษีทุกชนิดควรสะดวกและง่ายในการปฏิบัติกับผู้เก็บภาษีและผู้เสียภาษี
4. หลักความมีประสิทธิภาพ
การจัดเก็บภาษีอากรที่มีประสิทธิภาพต้องก่อให้เกิดการประหยัด
รายจ่ายมากที่สุดทั ้งทางด้านผู้จัดเก็บและผู้เสียภาษ
5. หลักความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ
ภาษีอากรจะต้องไม่เปลี่ยนแปลงการบริโภค การออม
6. หลักอํานวยรายได้
ภาษีอากรที่เก็บได้ควรจัดเก็บให้มากเพียงพอกับรายจ่ายของรัฐบาล
7. หลักความยืดหยุ่น
ภาษีอากรที่ดีในบางสถานการณ์ต้องมีการปรับปรุง ยืดหยุ่น
ให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในช่วงนั้นๆ
การจําแนกประเภทภาษี
1. การแบ่งประเภทของภาษีอากรตามหลักการผลักภาระภาษี
(1) ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่ผู้เสียภาษีต้องแบกรับภาระภาษีไว้เอง ไม่สามารถผลักภาระภาษีให้ผู้อื่นได้
(2) ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่ผู้เสียภาษีไม่จําเป็นต้องแบกรับภาระ
ภาษีไว้เอง สามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ง่าย
2. การแบ่งประเภทของภาษีตามฐานภาษี
(1) ฐานรายได้ ภาษีที่เรียกเก็บจากฐานรายได้
(2) ฐานการบริโภค ภาษีที่เรียกเก็บจากฐานบริโภค
(3) ฐานทรัพย์สิน ภาษีที่เรียกเก็บจากฐานทรัพย์สิน
(4) ฐานอื่นๆ จะเป็นไปตามวัตถุประสงค์เฉพาะในการเก็บภาษีของรัฐบาล
3. การแบ่งประเภทของภาษีตามมูลค่าหรือสภาพของสินค้า
(1) ภาษีตามมูลค่าหรือราคา
(2) ภาษีตามสภาพหรือปริมาณ
4. การแบ่งประเภทภาษีตามระดับหน่วยงานที่จัดเก็บ
(1) กระทรวงการคลัง
กรมสรรพากร จัดเก็บภาษีอากรจากบุคคลธรรมดา
กรมสรรพสามิต เรียกเก็บภาษีจากสินค้าและบริการเฉพาะอย่าง
กรมศุลกากร เรียกเก็บภาษีจากสิ่งของที่นําเข้ามาหรือสินค้าส่งออก
(2) กระทรวงมหาดไทย
มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีท้องถิ่น ได้แก่ ภาษีบํารุงท้องที่
(3) กระทรวงอื่นๆ
เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม จัดเก็บภาษีค่าภาคหลวงแร่
โครงสร้างของภาษีอากร
1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี
โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์กับประเทศ ความสัมพันธ์เกี่ยวกับถิ่นที่อยู่หรือหลักถิ่นที่อยู่ ความสัมพันธ์เกี่ยวกับแหล่งเงินได้หรือหลักแหล่งเงินได้ และความสัมพันธ์เกี่ยวกับสัญชาติ
2. ฐานภาษี
คือ สิ่งที่เป็นมูลเหตุให้บุคคลต้องเสียภาษี
2.1 ฐานรายได้
เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
2.2 ฐานทรัพย์สิน
เช่น ภาษีรถยนต์
2.3 ฐานการบริโภค
เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.4 ฐานสิทธิพิเศษในการประกอบการ
เช่น ป่าไม้ รังนก
3. อัตราภาษี
คือ อัตราที่เรียกเก็บจากฐานภาษี
3.1 อัตราก้าวหน้า
เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
3.2 อัตราคงที่
เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม
3.3 อัตราถดถอย
4. การประเมินการจัดเก็บภาษี
5. การขจัดข้อโต้แย้งทางภาษีอากร
6. การบังคับใช้กฎหมายภาษีอากร