ความรู้พื้นฐานของการวิจัย
(Foundation of Research)

1.ความหมายของการวิจัย

ค้นคว้า วิเคราะห์หรือทดลองอย่างมีระบบ
โดยใช้อุปกรณ์หรือวิธีการ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง

2.จุดมุ่งหมายการวิจัย

2.1 เป้าหมายของการวิจัย คือ มุ่งหาคำตอบเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา
2.2 การวิจัยเป็นการสรุปผล หลักเกณฑ์ และทฤษฏีที่ใช้ในการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะ
เกิดขึ้นในอนาคต
2.3 การวิจัยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือปรากฏการณ์ที่สังเกตได้มาใช้ในการสรุปผล

3.แนวคิดพื้นฐานการวิจัย

3.1 กฎเหตุและผลของธรรมชาติ(Deterministic Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่า
ปรากฏการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นจะสามารถแสวงหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์นั้นได้เสมอ ๆ
3.2 กฎความเป็นระบบของธรรมชาติ(Systematic Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่า
ปรากฏการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นตามกฎของเหตุและผลของธรรมชาติจะมีรูปแบบของความสัมพันธ์ของ
ตัวแปรที่ค่อนข้างจะชัดเจน
3.3 กฎความสัมพันธ์ของธรรมชาติ(Associative Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่า ใน
การเกิดปรากฏการณ์ใด ๆ ที่แตกต่างกันนั้น จะมีความมากน้อยของตัวแปรที่เป็นสาเหตุและตัวแปร
ผลที่แตกต่างกัน
3.4 กฎองค์ประกอบหลักของธรรมชาติ(Principle Component of Nature) เป็นแนวคิดที่
ระบุว่าตัวแปรสาเหตุและตัวแปรผลที่เกิดขึ้นนั้น ๆ ไม่ได้เป็นความสัมพันธ์เชิงเดี่ยว แต่จะมีตัวแปร
อื่นๆ ที่มักจะมาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ๆ
3.5 กฎความน่าจะเป็นของธรรมชาติ(Probabilistic Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่า
ในปรากฏการณ์ ใด ๆ นั้น ความรู้ความจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

4.คุณลักษณะของการวิจัย

เป็นวิธีการ ๆ หนึ่งที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือ
ในการแสวงหาความรู้ความจริง ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่มีระบบและขั้นตอนชัดเจน และมีการกำหนดจุดมุ่งหมายของการวิจัยในแต่ละครั้งอย่างชัดเจนว่าต้องการอะไร ที่ผู้วิจัยจะใช้เป็นแนวทางในการแสวงหาคำตอบ เพื่อใช้อธิบาย พยากรณ์ และควบคุมปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ๆ

5.ธรรมชาติของการวิจัย

5.1 การวิจัยเป็นกระบวนการเชิงประจักษ์
5.2 การวิจัยเป็นการดำเนินการที่เป็นระบบ
5.3 การวิจัยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน
5.4 การวิจัยมีความเที่ยงตรง (Validity)
5.5 การวิจัยมีความเชื่อมั่น (Reliability)
5.6 การวิจัยมีเหตุผล
5.7 การวิจัยเป็นการแก้ปัญหา
5.8 การวิจัยต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่
5.9 การวิจัยมีวิธีการที่หลากหลาย
5.10 การวิจัยต้องใช้ศักยภาพของผู้วิจัย

6.ประเภทของการวิจัย

6.1 จำแนกตามประโยชน์ที่ได้รับหรือเหตุผลในการวิจัย
6.2 จำแนกตามลักษณะ(ความลึก/ความกว้าง)ของข้อมูล
6.3 จำแนกตามระเบียบวิธีวิจัย(Methodology)
6.4 จำแนกตามลักษณะของวิชาหรือศาสตร์
6.5 จำแนกตามเวลาที่ใช้ในการทำวิจัย
6.6 จำแนกประเภทการวิจัยตามเป้าหมายหลักของการวิจัย
6.7 ประเภทของการวิจัยจำแนกตามการจัดกระทำ

ขั้นตอนการวิจัย

1)เลือกหัวข้อปัญหา
2) การกำหนดขอบเขตของปัญหา
3) การศึกษาเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
4) การกำหนดสมมุติฐาน
5) การเขียนเค้าโครงการวิจัย
6) การสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล
7) ขั้นดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล

Click here to center your diagram.
Click here to center your diagram.