สังคมความรู้

r

Natthida Samwang 62103239School of Pharmacy

ความหมาย

เป็นกระบวนการทางสังคมที่เกื้อหนุนส่งเสริมให้
บุคคลหรือสมาชิกในสังคมเกิดการเรียนรู้โดยผ่านสื่อ เทคโนโลยี สารสนเทศ จนสามารถสร้างความรู้ สร้างทักษะ มีระบบจัดการความรู้และระบบการเรียนรู้ที่ดี มีการถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนร่วมกัน

ลักษณะสังคมแห่งการเรียน

1. ไม่จำกัดขนาดและสถานที่ตั้ง

2. เน้นการจัดการเรียนรู้เป็นปัจจัยหลัก

3. ประชาชนได้รับโอกาสพัฒนา

4. สถาบันทางสังคมในพื้นที่เป็นตัวหลักในการริเริ่ม

5. มีกลุ่มภาคประชาชนเป็นแกนกลาง เพื่อรวมตัวกันจัดกิจกรรมพัฒนาชุมชน

6.มีการพัฒนานวัตกรรมและระบบการเรียนรู้

7. มีภาคีเครือข่ายที่ร่วมดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

8. ริเริ่มและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลส

9. สถานศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนแห่งการเรียนรู้

10. ความรับผิดชอบเป็นหน้าที่ของบุคคลและชุมชนร่วมกัน

11.ทุกคนเป็นครูและผู้เรียน

กระบวนการจัดการความรู้

กระบวนการที่ช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้

1.การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าจะทาอย่างไรให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย โดยจะคัดเลือก ว่าจะใช้เครื่องมืออะไร และขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร โดยอาจจะ พิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร
2.การสร้างและแสวงหาความรู้ ซึ่งสามารถทาได้หลายทาง เช่น การสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กาจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
3.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสาหรับการเก็บ ความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อการเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องในอนาคต
4.การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น การปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ ภาษาเดียวกัน และปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์และเหมาะสม
5.การเข้าถึงความรู้ เป็นการทาให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก โดย การใช้พวกระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ(IT) หรือการประชาสัมพันธ์บน Web board

6.การจัดการความรู้ในองค์กรการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทาได้หลายวิธีการซึ่งจะแบ่งได้ สองกรณีได้แก่ Explicit Knowledge อาจจะจัดทาเป็นเอกสาร ฐานความรู้ และเทคโนโลยี สารสนเทศต่างๆ หรือ Tacit Knowledge จัดทาเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ และนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว และเวทีการ แลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
7.การเรียนรู้ ควรทาให้การเรียนรู้เป็นส่วนหน่ึงของงาน เช่น การเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนาความรู้ไปใช้ให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ และนาความรู้ที่ได้ไปหมุนเวียนต่อไป อย่างต่อเนื่อง

ยุคของสังคมความรู้

สังคมความรู้ยุคที่ 1

เป็นสังคมความรู้ที่มีพลังและอำนาจอยู่ด้วยกัน เกิดการผลิต มีความสามารถในการแข่งขัน และความอยู่รอดซึ่งในยุคนี้นักวิชาการจะมีบทบาทในการจัดการความรู้ ซึ่งบุคคลนี้จะต้องมีความสามารถ 5 ด้านดังนี้

ด้านที่1 Knowledge Access คือ การเข้าถึงความรู้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น Internet ต้องประกอบไปด้วยความสามารถในการเข้าถึงความรู้ ความใฝ่รู้ เวลาในการหาความรู้ และการทำความรู้ให้ใช้ได้ง่าย

ด้านที่ 2 Knowledge Validation คือ การประเมินความถูกต้องของความรู้ เพราะ ความรู้มีทั้งจริงและเท็จ ดังนั้นจึงต้องมีการประเมินความถูกต้องของความรู้

ด้านที่ 3 Knowledge Valuation คือ การตีค่าความรู้ว่าเมื่อมีการใช้ความรู้นั้นแล้วมีความคุ้มค่าหรือไม่

ด้านที่ 4 Knowledge Optimization คือ การทำความรู้ง่ายที่จะใช้ การนำความรู้ออกมาเป็นกฏเกณฑ์ ระเบียบต่างๆ โดยต้องมีพื้นฐานจากความรู้

ด้านที่ 5 Knowledge Dissemination คือ การกระจายความรู้

สังคมความรู้ยุคที่ 2

เป็นสังคมความรู้แบบพอเพียง สมดุล บูรณาการ ประชาชนและทุกภาคส่วนมีบทบาทในการร่วมกันเป็นเจ้าของและเป็นผู้ใช้ความรู้ให้เป็นพลัง นักวิชาชีพมีบทบาทเป็น Knowledge Broker ทำให้เกิดเป็นวิจัยแบบบูรณาการ ลักษณะสำคัญของสังคมความรู้ยุคที่2 คือ

1. มีการสะสมความรู้ภายในสังคม

2.มีการถ่ายโอนความรู้

3.มีการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ในสังคม

4. มีการประยุกต์ความรู้มาใช้ภายในสังคม

ความรู้

1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับความรู้

Data คือ ข้อมูลดิบ เป็นข้อเท็จจริงล้วนๆ อาจเป็น ตัวเลข,ตัวอักษร,รูปภาพ แต่ต้องยังไม่ผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความหมาย อะไรทั้งสิ้น

information เป็นการเอา Data ซึ่งเป็นข้อมูลดิบๆ ไปทำการ วิเคราะห์ ประมวลผล (process) ทำให้ข้อมูลนั้นเกิดความหมายขึ้น

knowledge เป็นการเอา information ไปใช้แก้ปัญหาหรือตัดสินใจ ความเข้าใจในเรื่องบางเรื่อง หรือสิ่งบางสิ่ง ซึ่งอาจจะรวมไปถึงความสามารถในการนำสิ่งนั้นไปใช้เพื่อเป้าหมายบางประการ โดยอาศัยกระบวนการที่แปรผลมาจากข้อมูล ประสบการณ์ต่างๆ

2. ประเภทรูปแบบความรู้

Tacit Knowledge เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางคนจึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม การจัดการความรู้ซ่อนเร้น จะเน้นไปที่การจัดเวทีเพื่อให้มีการแบ่งปันวามรู้ที่อยู่ในตัวผู้ปฏิบัติ ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน อันนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ ที่แต่ละคนสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ต่อไป

Explicit Knowledge เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวมถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้ง เรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม การจัดการความรู้เด่นชัด จะเน้นไปที่การเข้าถึงแหล่งความรู้ ตรวจสอบ และตีความได้ เมื่อนำไปใช้แล้วเกิดความรู้ใหม่ ก็นำมาสรุปไว้ เพื่อใช้อ้างอิง หรือให้ผู้อื่นเข้าถึงได้ต่อไป

สรุป

ความรู้ นับว่าเป็นสิ่งที่จาเป็นในสังคมความรู้ ผู้ท่ีมีความสามารถในการจัดการความรู้ได้ดี จะ ช่วยให้สามารถพัฒนาศักยภาพตนเอง ช่วยเหลือผู้อื่นในสังคมหรือองค์กรการเรียนรู้ได้ดี การสะสม ความรู้ ถ่ายโอนความรู้ สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ และการประยุกต์ความรู้มาใช้ภายในสังคมจะช่วยสร้าง และพัฒนาบุคคลหรือองค์กรให้มีความรู้ ความสามารถ รวมถึงทักษะต่างๆ ในการดารงชีพในสังคม ความรู้ในศตวรรษที่ 21

Natthida Samwang
62103239
School of Pharmacy

Klikkaa tästä keskittääksesi karttasi.
Klikkaa tästä keskittääksesi karttasi.