การสืบค้นสารสนเทศและความรู้

2. การสืบค้นสารสนเทศด้วยฐานข้อมูลออนไลน์

ฐานข้อมูลออนไลน์ (Online Database)

นิยาม เป็นแหล่งสารสนเทศที่มีขนาดใหญ่และขอบเขตกว้างขวาง ซึ่งผู้จัดทำได้จัดทำขึ้นเพื่อให้บริการสำหรับผู้ที่ต้องการสืบค้นสารสนเทศ โดยไม่มีข้อจำกัดในด้านระยะทาง ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม มีฐานข้อมูลออนไลน์ไว้บริการผู้ใช้อยู่ 3 ลักษณะ ดังนี้

1. ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศบอกรับเป็นสมาชิก คือฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศนั้นๆ บอกรับหรือซื้อฐานข้อมูลนั้นมาให้บริการกับผู้ใช้

2. ฐานข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ ฐานข้อมูล ThaiLIS (ThaiLibrary Integrated System) เป็นฐานข้อมูลที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

3. ฐานข้อมูลทดลองใช้ฐานข้อมูลลักษณะนี้เป็นฐานข้อมูลที่ห้องสมุดหรือศูนย์
สารสนเทศนำมาทดลองให้บริการกับผู้ใช้ก่อน ก่อนที่ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศจะตัดสินใจซื้อหรือสมัครเป็นสมาชิกของฐานข้อมูลนั้นจริงๆ

การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์

1. วิเคราะห์เรื่องที่ต้องการสืบค้นและกำหนดความสำคัญเพื่อใช้ในการค้น

2. เลือกค้นจากฐานข้อมูลที่เหมาะสม

3. ลงมือสืบค้น

4. แสดงผลการสืบค้น

4.1 การแสดงผลแบบเต็มรูปแบบ

4.2 การแสดงผลแบบย่อ

4.3 การแสดงผลแบบอิสระ

5. เลือกรายการที่ตรงกับความต้องการและบันทึกผลข้อมูล

เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ต

1. เทคนิคตรรกบูลลีน

1.1 การใช้ And, Or, Not ประกอบเป็นประโยคการค้น

1.2 การใช้เทคนิคตรรกบูลลีนจากเมนูทางเลือก (Drop down menu) ว่าต้องการสืบค้นการที่เกี่ยวข้องกับคำค้นอย่างไร เช่น Match all words, match anywords, must contain, must not contain เ

1.3 การใช้เครื่องหมาย + (Plus) หรือ – (Minus) กำหนดหน้าคำค้นที่ต้องการเครื่องหมาย + ลักษณะการสืบค้น เช่นนี้ ได้แก่ Excite, Lycos, Altavista, Google เป็นต้น

2. เทคนิคการตัดคำ

เครื่องมือสืบค้นสารสนเทศ

นิยาม เครื่องมือและรวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ ในการสืบค้นรายการสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วทันความต้องการ

การสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลบรรณานุกรมออนไลน์

การสืบค้นสารสนเทศด้วยฐานข้อมูลออนไลน์

การสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต

1. การสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลบรรณานุกรมออนไลน์ หรือที่เรียกว่า OPAC (Online Public Access Catalog) เป็นรูปแบบหนึ่งของเครื่องมือช่วยค้นทรัพยากรสารสนเทศ
ของห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศซึ่งปรับเปลี่ยนจากรูปแบบบัตรรายการในตู้บัตรรายการมาเป็นระเบียนบรรณานุกรมในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์

1.1 วิธีการสืบค้นโดยใช้ทางเลือกต่างๆ ใน OPAC

1.1.1 จากหน้าจอรายการหลักของ OPAC ให้เลือกรายการที่ต้องการจะใช้
เป็นทางเลือกในสืบค้นจากเมนู

1.1.2 ป้อนข้อมูลที่ต้องการสืบค้นตามรายการที่ใช้เป็นทางเลือก

1.1.3 หากต้องการได้รายละเอียดโดยย่อของรายการใด ให้คลิกเม้าส์ที่
รายการที่ต้องการ ระบบจะแสดงรายละเอียดของรายการดังกล่าวซึ่ง
จะประกอบไปด้วยชื่อเรื่อง ชื่อผู้รับผิดชอบ และปีพิมพ์

1.1.4 หากต้องการได้รายละเอียดที่สมบูรณ์ของรายการใด ให้คลิกเม้าส์ที่
รายการที่ต้องการระบบจะแสดงรายละเอียดที่สมบูรณ์ของรายการ
นั้นๆ

1.2 ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นด้วย OPAC

1.2.1 ข้อมูลบรรณานุกรม (Bibliographic description)

ชื่อผู้แต่ง (Author)

ชื่อเรื่อง(Title)

พิมพลักษณ์ (Imprint)

สถานภาพ (Status)

เลขเรียกหนังสือ (Call number)

รูปเล่ม (Description)

หมายเหตุ (Note)

สถานที่ (Location)

หัวเรื่อง (Subject)

เลขมาตรฐาน (ISBN)

1.2.2 ข้อมูลดรรชนีวารสาร (Periodical Index)

ชื่อผู้แต่ง (Author)

ชื่อเรื่อง (Title)

ปี(Year)

ชื่อห้องสมุดที่บอกรับวารสารชื่อนั้นๆ (Library that have this journal)

สถานที่ (Location)

ชื่อวารสาร (Journal)

เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN)

หัวเรื่อง (Subject)

Summary

การสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูล OPAC ฐานข้อมูลออนไลน์และบนอินเทอร์เน็ตนั้น เป็นความสามารถของแต่ละบุคคล ซึ่งความสามารถดังกล่าวประกอบไปด้วยทักษะ และเทคนิคของการสืบค้น ซึ่งผู้สืบค้นแต่ละคนจะมีมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับการฝึกฝนและพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ผู้สืบค้นควรมีทักษะของการคัดเลือกและการประเมินสารสนเทศที่ได้รับจากอินเทอร์เน็ตร่วมด้วย ขณะเดียวกันผู้สืบค้นก็ต้องรู้จักวิธีการที่คัดเลือกและประเมินสารสนเทศที่ค้นได้ในแต่ละครั้งด้วย เพื่อที่จะได้นำสารสนเทศที่มีคุณค่า ถูกต้อง และตรงกับความต้องการของตนเองไปใช้งานได้อย่างเหมาะสม

Klikkaa tästä keskittääksesi karttasi.
Klikkaa tästä keskittääksesi karttasi.