การสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และอาจารย์ของสาขาบัญชี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่มีต่อการเรียน การสอนออนไลน์ในช่วงโควิด- 19
ที่มาและความสำคัญ
มหาวิทยาลัยในประเทศไทยหลายแห่งเริ่มออกประกาศการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ไวรัส COVID-19 การนำ “เทคโนโลยี” มาใช้กับระบบการเรียนการสอนมากขึ้นเพื่อทำให้ภาคการศึกษาทั่วโลกยังคงดำเนินต่อไปได้อย่างไม่สะดุด และ ไม่ว่าผู้สอน – ผู้เรียนจะอยู่ในที่แห่งใดก็สามารถเข้าถึงการศึกษาได้
วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และอาจารย์ของสาขาบัญชี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่มีต่อการเรียน การสอนออนไลน์ ในช่วงโควิด- 19
เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
คำถามการวิจัย
นักศึกษามีความคิดเห็นต่อรูปแบบการเรียนออนไลน์อย่างไร
อาจารย์มีความคิดเห็นต่อรูปแบบการเรียนออนไลน์อย่างไร
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บริการสื่อการศึกษากับการเรียนการสอนบน MOOC : ประสบการณ์ ของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ปรัชญาและวัตถุประสงค์ ของหลักสูตรบัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
สมมติฐานการวิจัย
จากการสำรวจนักศึกษาและอาจารย์ของสาขาบัญชี พบว่า การจัดรูปแบบการเรียน การสอนออนไลน์ นั้นไม่มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการเรียนในห้องเรียนแบบปกติ
ตัวแปรต้น ได้แก่ ความพร้อมในการเรียน ความเข้าใจในการเรียน สภาพแวดล้อม
ตัวแปรตาม ได้แก่ ความคิดเห็นของนักศึกษาและอาจารย์ที่มีต่อการเรียนออนไลน์ในช่วงโควิด – 19
ขอบเขตของการวิจัย
นักศึกษาชั้นปีที่1 และอาจารย์ของสาขาบัญชี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
สามารถนำข้อมูลในการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนและสถานการณ์ในปัจจุบันได้ดีมากยิ่งขึ้น
การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย
ประสิทธิภาพ หมายถึง กระบวนการ วิธีการ ที่นำไปสู่ผลสำเร็จ โดยใช้เวลาและทรัพยากรน้อยที่สุด
ระเบียบวิธีวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร: นักศึกษาชั้นปีที่1 และอาจารย์ของสาขาบัญชี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
กลุ่มตัวอย่าง: นักศึกษาสำนักวิชาการจัดการ สาขาบัญชี ชั้นปีที่ 1 จำนวน 67 คน และอาจารย์สาขาบัญชีที่สอนนักศึกษาชั้นปี 1 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล