พรบ. ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

พระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยวิธีแบบปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๕๓

“ทรัพย์สินสารสนเทศ” หมายความว่า

๑ ). ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบงานคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศ
๒ ). ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกข้อมูล และอุปกรณ์อื่นใด
๓ ).ข้อมูลสารสนเทศ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์

“ความมั่นคงปลอดภัย” (information security) หมายความว่า การป้องกันทรัพย์สินสารสนเทศจากการเข้าถึง ใช้ เปิดเผย ขัดขวาง เปลี่ยนแปลงแก้ไข ทำให้สูญหาย ทำให้เสียหาย ถูกทำลาย และล่วงรู้โดยมิชอบ

วิธีการเพื่อความปลอดภัยมี ๓ ระดับ

๑. ระดับเคร่งครัด
๒. ระดับกลาง
๓. ระดับพื้นฐาน

วิธีการแบบปลอดภัยในแต่ละระดับให้มีมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยของระบบสารสนเทศจามหลักเกณฑ์ หรือแตกต่างกันตามความจำเป็นดังนี้

๑.การสร้างความมั่นคงปลอดภัยด้านบริหารจัดการ
๒.การจัดโครงสร้างด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ ในส่วนการบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานหรือองค์กร
๓.การบริหารจัดการทรัพย์สินสารสนเทศ
๔.การสร้างความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศด้านบุคลากร
๕.การสร้างความมั่นคงปลอดภัยด้านกายภาพและสภาพแวดล้อม
๖.การบริหารจัดการด้านการสื่อสารและการดำเนินงานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบงานคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศ
๗.การควบคุมการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบงานคอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศ ข้อมูลสารสนเทศ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์
๘.การจัดหาหรือจัดให้มี การพัฒนา และการบำรุงรักษาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบงานคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศ
๙.การบริหารจัดการสถานการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยที่ไม่พึงประสงค์ หรือไม่อาจคาดคิด
๑๐.การบริหารจัดการด้านการบริการหรือการดำเนินงานของหน่วยงานหรือองค์กรเพื่อให้มีความต่อเนื่อง
๑๑.การตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบาย มาตรการ หลักเกณฑ์ หรือกระบวนการใด ๆรวมทั้งข้อกำหนดด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ

พระราชบัญญัติ
ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๑

พรบ.ฉบับปรับปรุงเพื่อคุ้มครองการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
โดยการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้เป็นต้นฉบับและใช้ในกฎหมายได้
แต่ต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

ซึ่งใน พรบ.ฉบับที่ 2 นี้ กำหนดไว้ว่าเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงสิ่งพิมพ์ออก สามารถใช้เป็นต้นฉบับได้ กล่าวคือเอกสารที่ได้มาจากการ Scan เก็บในรูป Digital Format สามารถนำมาใช้เป็นต้นฉบับได้

พระราชกฤษฎีกา
กำหนดประเภทธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ยกเว้นมิให้นำ
กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้บังคับ
พ.ศ. ๒๕๔๙

มีด้วยกันทั้งหมด ๔ มาตรา แต่มาตราที่มีสาระสำคัญที่สุด นั่นก็คือ
มาตรา ๓ มิให้นำบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้บังคับแก่ธุรกรรม ดังต่อไปนี้
(๑) ธุรกรรมเกี่ยวกับครอบครัว
(๒) ธุรกรรมเกี่ยวกับมรดก

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากการทำธุรกรรม 2 ประเภทนี้ยังไม่เหมาะสมที่จะให้กระทำได้ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

พระราชกฤษฎีกา
กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๔๙

1.เรียกพระราชกฤษฎีกานี้ว่าแบบนี้

2.ให้ใช้หลังการประกาศ

3. ข้อบังคับการทำเอกสาร

3.1 เอกสารต้องเหมาะสม ครบถ้วน ใช้ภายหลังได้

3.2 กำหนดเวลาเริ่มต้นสิ้นสุดของเอกสาร

3.3 มีวิธีและข้อมูลระบุคนส่งได้

3.4 กำหนดวิธีตอบรับเพื่อเป็นหลักฐานว่าได้ดำเนินการแล้ว

4.เมื่อรัฐจัดทำการพิจารณาทางปกครอง เอกสารต้องมีลักษณะดังนี้ เว้นแต่มีกฎหมายกำหนดอย่างอื่น

4.1.มีวิธีการสื่อสารกับผู้ยื่นคําขอในกรณีที่เอกสารมีข้อบกพร่องหรือมีข้อความที่ผิด

มีวิธีการแจ้งสิทธิและหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาทางปกครองตามความจําเป็นในกรณีกฎหมายกำหนด

4.2ในกรณีมีความจําเป็นตามลักษณะเฉพาะของธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐใด หน่วยงานของรัฐนั้นอาจกําหนดเงื่อนไขว่าคู่กรณียินยอมตกลงและยอมรับการดําเนินการพิจารณาโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิก

5.ต้องจัดทำแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ ประกอบด้วย

5.1การเข้าถึงหรือควบคุมการใช้

5.2การจัดให้มีระบบสารสนเทศและสำรองที่พร้อมใช้งานเผื่อฉุกเฉิน

5.3การตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ

6.ในกรณีที่มีการรวบรวม จัดเก็บ ใช้หรือเผยแพร่ข้อมูล หรือข้อเท็จจริงที่ทําให้สามารถระบุตัวบุคคล ให้หน่วยงานของรัฐจัดทําแนวนโยบายและแนวปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วย

7.นโยบายของมาตรา5และ6ให้ผ่านกรรมการก่อนถึงใช้ได้ หน่วยงานรัฐต้องทำตามนโยบาย

8.ให้หน่วยงานที่กรรมการมอบหมายจัดทำแนวนโยบายนี้ตามพระราชกฤษฎีกา เป็นตัวอย่างเบื้องต้น และหากหน่วยงานไหนมีการปรับปรุงก็อาจเพิ่มเติมเป็นระเบียบ คำนึงถึงความถูกต้องครบถ้วนน่าเชื่อถือ พร้อมใช้งานและความมั่นคง

9.ไม่มีข้อยกเว้นทางกฎหมาย

10.นายกรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

จากมาตรา 5 แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ

จากมาตรา 6 แนวนโยบายและแนวปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ข้อบังคับจากมาตรา3
3.1 เอกสารต้องเหมาะสม ครบถ้วน ใช้ภายหลังได้
3.2 กำหนดเวลาเริ่มต้นสิ้นสุดของเอกสาร
3.3 มีวิธีและข้อมูลระบุคนส่งได้
3.4 กำหนดวิธีตอบรับเพื่อเป็นหลักฐานว่าได้ดำเนินการแล้ว

Kattintson ide a térkép középre állításához
Kattintson ide a térkép középre állításához