บทที่ 8
การเขียนรายงาน
การศึกษาค้นคว้าและการทำรายงาน
1. การศึกษาค้นคว้า หมายถึง การหาข้อมูลหรือการหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อหาคำตอบจากปัญหาหนึ่งโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้รับความรู้ในเรื่องนั้นๆการศึกษาค้นคว้าจึงเป็นการแสวงหสารสนเทศและความรู้
2. การวิจัย (Research) หมายถึง การสำรวจ ตรวจหา เพื่อหาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างมีระบบและแบบแผนตามขึ้นตอนและระเบียบวิธีวิจัย
3. ภาคนิพนธ์ (Term paper) มีลักษณะเช่นเดียวกับรายงาน เพียงแต่เรื่องที่ผู้ทำภาคนิพนธ์มีรายละเอียดลึกซึ้งมากกว่า ต้องใช้เวลาในการศึกษาค้นคว้ามากกว่าเช่นใช้เวลา 1 ภาคการศึกษา การทำภาคนิพนธ์
4. วิทยานิพนธ์ ( Thesis/Dissertation) เป็นรายงานผลของการค้นคว้าวิจัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในระดับปริญญามหาบัณฑิต หรือปริญญาดุษฎีบัณฑิต โดที่ผู้เรียนจะต้องเลือกหัวข้อเรื่องที่
ทำด้วยตนเอง
5. รายงาน (Report) เป็นผลที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า วิจัย มีการเรียบเรียงตามระเบียบขั้นตอนทางวิชาการ ตามรูปแบบการเขียนรายงาน ซึ่งรายละเอียดต่างๆ ของรายงานและการเขียนรายงาน มีดังนี้
5.1 ประโยชน์ของการทำรายงาน
ดังนั้นการทำรายงานจึงมีประโยชน์หลายประการ ดังนี้
1. ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และข้อเท็จจริงใหม่ๆทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ
2. ทำให้มีพัฒนาการทางวิชาการในสาขาวิชาต่างๆ
3. ช่วยให้ทราบข้อมูลที่แท้จริง รวมทั้งข้อบกพร่อง เพื่อน ามาใช้แก้ปัญหาหรือนำมาใช้พัฒนาการปฏิบัติงาน
4. ทำให้เกิดการรู้จักใช้ความคิดอย่างมีเหตุผล และสร้างทักษะในการแก้ไขปัญหา
5. เพิ่มพูนทักษะในการเขียนรายงานทางวิชาการ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์ผลงานวิชาการอื่นๆ ต่อไป
5.2 ส่วนประกอบของรายงาน มีรายละเอียดดังนี้
ส่วนนำ หมายถึง ส่วนที่อยู่ต้นเล่มของรายงาน ก่อนถึงเนื้อเรื่อง ส่วนนำประกอบด้วย ปกนอก หน้าปกใน คำนำ และสารบัญ
ส่วนเนื้อเรื่อง (Body of contents) หมายถึงส่วนที่อยู่ต่อจากส่วนนำเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของรายงานส่วนเนื้อเรื่องจะประกอบด้วยบทนำ เนื้อเรื่อง และสรุป ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ส่วนอ้างอิง (Citation) หมายถึง ส่วนที่แสดงหลักฐานประกอบการค้นคว้า และการเขียนรายงานเพื่อให้ทราบว่าผู้ทำรายงานได้ค้นคว้ามาจากแหล่งใดบ้าง ซึ่งประกอบด้วย
5.3 ขั้นตอนการเขียนรายงาน การเขียนรายงาน หรือการเขียนผลงานทางวิชาการมีขั้นตอนการดำเนินงาน 10 ขั้นตอน ดังนี้
เลือกและกำหนดหัวข้อการทำรายงาน
อ่านข้อมูลของเนื้อหาวิชาเพื่อเป็นพื้นความรู้และกำหนดวัตถุประสงค์ของการทำรายงาน
การจัดทำเค้าโครงรายงาน โครงเรื่อง ประกอบด้วย บทนำ หัวข้อใหญ่ หัวข้อรอง หัวข้อย่อย และบทสรุป
รวบรวมบรรณานุกรม ในการ
รวบรวมข้อมูล จำเป็นต้องรู้จักแหล่งข้อมูล เช่น ห้องสมุด รวมทั้งรู้จักใช้แหล่งสารสนเทศประเภทต่างๆ
การอ่านและจดบันทึก เป็นการอ่านอย่างพินิจพิจารณา อาจจะอ่านตั้งแต่บทแรกเรียงตามลำดับไปจนจบ
การใช้สารสนเทศจากแหล่งต่าง ๆ ก่อนใช้สารสนเทศจากแหล่งต่างๆ ให้พิจารณาสิ่งต่อไปนี้ ความเชื่อถือได้ความทันสมัย ครั้งที่พิมพ์รูปเล่ม วิธีการจัดพิมพ์รายการบรรณานุกรมประกอบ ให้ใช้หนังสืออ้างอิงให้มากที่สุด และควรใช้แหล่งสารสนเทศจากหนังสือ ตำรา บทความวารสาร อินเทอร์เน็ต ฐานข้อมูลและแหล่งอื่นๆ เพิ่มเติม
การจัดทำโครงเรื่องครั้งสุดท้าย การจัดทำโครงเรื่องรายงานครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นจากการที่มีข้อมูลในแต่ละบท แต่ละตอนครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในการกำหนด
การเรียบเรียงรายงาน ในการเรียบเรียงเนื้อหาของรายงานจากข้อมูลทั้งหมดที่ได้บันทึก ผู้เรียบเรียงควรเขียนด้วยสำนวนของตนเองมากที่สุด ใช้ภาษาอย่างถูกต้อง
การเขียนรายการอ้างอิงและบรรณานุกรม บรรณานุกรม คือรายชื่อของสิ่งพิมพ์ทั้งหมดที่ผู้ทำรายงานใช้ค้นคว้า ส่วนรายการอ้างอิง
การเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์ เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการสร้างผลงาน ได้แก่ การตรวจทานต้นฉบับ การพิสูจน์อักษรที่สมบูรณ์ ตรวจสอบแหล่งที่มาของ ข้อมูล ตรวจสอบการอ้างอิง และการเขียนบรรณานุกรม ตรวจสอบการเรียงลำดับหน้า
การเรียงลำดับรายการอ้างอิง
หลังจากที่เขียนรายการอ้างอิงหรือบรรณานุกรมของเอกสารที่น ามาใช้อ้างอิงทั้งหมดแล้ว แต่ละรายการที่ปรากฏจะต้องเรียงล าดับตามลำดับอักษรตัวแรกของรายการที่ปรากฏ (ก-ฮ, A-Z) ถ้ามีภาษาอังกฤษกับภาษาไทย ให้เรียงแยกกันโดยให้เรียงภาษาไทยมาก่อนเสมอ การเรียงลำดับของรายการอ้างอิง ทำได้ 2 ลักษณะคือ
1) ถ้าจำนวนรายการไม่มาก ให้เรียงรวมทุกรายการไว้ด้วยกันโดยเรียงตามลำดับอักษรของผู้แต่ง
2) ถ้าจำนวนรายการมีจำนวนมาก ควรเรียงรายการแยกตามประเภทของเอกสารทั้งนี้ใน แต่ละประเภทให้เรียงตามลำดับอักษรของผู้แต่งด้วยเช่นกัน ประเภทเอกสารที่แยกได้มี
ดังนี
หลักการเรียงรายการตามลำดับอักษร
ให้เรียงเอกสารภาษาไทยก่อน จากนั้นจึงเรียงเอกสาร
ภาษาต่างประเทศ โดยเรียงลำดับตามลำดับอักษรตัวแรกที่ปรากฏตามแบบของพจนานุกรมฉบัราชบัณฑิตยสถาน หรือ Dictionary ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป
การใช้เครื่องหมายวรรคตอน
ในรายการอ้างอิง
เครื่องหมายมหัพภาค ( . period) ใช้ในกรณีดังต่อไปนี้
เครื่องหมายอัฒภาค ( ; semi-colon)
เครื่องหมายมหัพภาคคู่ ( : colon)
เครื่องหมายจุลภาค ( , comma) ใช้ในกรณีต่อไปนี้
การใช้คำย่อในการเขียนรายการอ้างอิง
การอ้างอิงเอกสาร
หมายถึง การบอกแหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิงในการเขียนผลงาน เพื่อเป็นการแสดงหลักฐานที่จะทำให้งานเขียนนั้นมีความน่าเชื่อถือเป็นการให้เกียรติแก่ผู้เขียนเดิม และแสดงเจตนาของผู้เขียนว่าไม่ได้คัดลอกข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่มี การอ้างอิง การอ้างอิงเอกสารในงานเขียนต้องมีการอ้างอิงไว้ในตัวผลงาน 2 ส่วน
การอ้างอิงเอกสารในส่วนเนื้อเรื่อง
การอ้างอิงเอกสารส่วนท้ายเรื่องหรือท้ายรายงาน ซึ่งหมายถึง การรวบรวมรายชื่อเอกสารทั้ง
บรรณานุกรม หมายถึง รายชื่อเอกสารที่ผู้เขียนใช้ศึกษาค้นคว้าในการเรียบเรียงรายงานเรื่องนั้น ๆ ทั้งที่ได้เขียนรายการอ้างอิงไว้ในส่วนเนื้อเรื่อง และเอกสารที่ไม่ได้ใช้อ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่องแต่ได้อ่านประกอบในการเรียบเรียง นำมาใส่ไว้ท้ายรายงาน เพราะคาดว่าอาจจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านอื่น ๆ
เอกสารอ้างอิง หมายถึง รายชื่อเอกสารที่ผู้เขียนใช้ศึกษาค้นคว้าในการเรียบเรียงรายงานเรื่องนั้น ๆ และเป็นเอกสารที่ได้เขียนรายการอ้างอิงไว้ในส่วนเนื้อเรื่องเท่านั้นการอ้างอิงเอกสารท้ายรายงานให้ใช้บรรณานุกรม หรือ เอกสารอ้างอิง อย่างใดอย่าง
หนึ่งเท่านั้น
การคัดลอกความคิดของผู้อื่น
โดยไม่มีการอ้างอิง
การศึกษาค้นคว้าในการศึกษาในระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาค้นคว้าจากความคิดทฤษฎีข้อมูลสถิติที่มีผู้ศึกษาไว้ก่อนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาค้นคว้าจากตำรา หนังสืออ้างอิง บทความวารสาร รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ หรือ อินเทอร์เน็ต ฯลฯ
การอ้างอิงเอกสาร เป็นจรรยาบรรณที่จำเป็นในวงวิชาการ เป็นการให้เกียรติกับเจ้าของผลงานเดิม ในการเรียบเรียงและน าเสนอสารสนเทศนั้น จะต้องนำเสนอให้ชัดเจนว่าข้อความส่วนใดเป็นการอ้างอิงความคิดของผู้อื่น และส่วนใดเป็นความคิดของเราเอง การลอกเลียนความคิดของผู้อื่นโดยไม่มีการอ้างอิง ถือเป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณร้ายแรงในวงวิชาการ