ความรู้พื้นฐานของการวิจัย
(Foundation of Research)

ความหมายของการวิจัย

เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ที่มีระบบ มีขั้นตอนที่ชัดเจนปราศจากอคติส่วนตัว สามารถตรวจสอบได้ที่ผู้วิจัยน ามาใช้ศึกษา ค้นคว้าข้อเท็จจริงเพื่อนำไปใช้อธิบาปรากฏการณ์ ทางสังคม หรือพัฒนาเป็นกฎ ทฤษฏี หรือนำไปใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยำและเชื่อถือได้

จุดมุ่งหมายของการวิจัย

จุดมุ่งหมายของการวิจัยมีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
2.1 เป้าหมายของการวิจัย คือ มุ่งหาคำตอบเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีความเป็นเหตุและเป็นผลซึ่งกันและกันอย่างชัดเจน
2.2 การวิจัยเป็นการสรุปผล หลักเกณฑ์ และทฤษฏีที่ใช้ในการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หรือเป็นการศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพื่อที่นำผลสรุปอ้างอิงไปสู่ประชากร
2.3 การวิจัยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือปรากฏการณ์ที่สังเกตได้มาใช้ในการสรุปผล โดย
ที่ปัญหาในบางปัญหาไม่สามารถทำการวิจัยได้เนื่องจากไม่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้

คุณลักษณะของการวิจัย

การวิจัย เป็นวิธีการหนึ่งที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ความจริง ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่มีระบบและขั้นตอนชัดเจน และมีการกำหนดจุดมุ่งหมายของการวิจัย ในแต่ละครั้งอย่างชัดเจนว่าต้องการอะไร ที่ผู้วิจัยจะใช้เป็นแนวทางในการแสวงหาคำตอบ เพื่อใช้อธิบาย พยากรณ์ และควบคุมปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ๆ

ประเภทของการวิจัย

6.1 จำแนกตามประโยชน์ที่ได้รับหรือเหตุผลในการวิจัย
6.2 จำแนกตามลักษณะ(ความลึก/ความกว้าง)ของข้อมูล
6.3 จำแนกตามระเบียบวิธีวิจัย(Methodology)
6.4 จำแนกตามลักษณะของวิชา หรือศาสตร์
6.5 จำแนกตามเวลาที่ใช้ในการทำวิจัย
6.6 จำแนกประเภทการวิจัยตามเป้าหมายหลักของการวิจัย
6.7 ประเภทของการวิจัยจำแนกตามการจัดกระทำ

แนวคิดของการวิจัย

1. กฎเหตุและผลของธรรมชาติ(Deterministic Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่า
ปรากฏการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นจะสามารถแสวงหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์นั้นได้เสมอ

2. กฎความเป็นระบบของธรรมชาติ(Systematic Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่า
ปรากฏการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นตามกฎของเหตุและผลของธรรมชาติจะมีรูปแบบของความสัมพันธ์ของ
ตัวแปรที่ค่อนข้างจะชัดเจน

3. กฎความสัมพันธ์ของธรรมชาติ(Associative Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่า ใน
การเกิดปรากฏการณ์ใด ๆ ที่แตกต่างกันนั้น จะมีความมากน้อยของตัวแปรที่เป็นสาเหตุและตัวแปร
ผลที่แตกต่างกัน

4. กฎองค์ประกอบหลักของธรรมชาติ(Principle Component of Nature) เป็นแนวคิดที่
ระบุว่าตัวแปรสาเหตุและตัวแปรผลที่เกิดขึ้นนั้น ๆ ไม่ได้เป็นความสัมพันธ์เชิงเดี่ยว แต่จะมีตัวแปร
อื่นๆ ที่มักจะมาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ

5. กฎความน่าจะเป็นของธรรมชาติ(Probabilistic Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่า
ในปรากฏการณ์ ใด ๆ นั้น ความรู้ความจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จะเป็นผลลัพธ์ของปรากฏการณ์ ที่
มีความน่าจะเป็นในการเกิดขึ้นที่ค่อนข้างสูง

ธรรมชาติของการวืจัย

ในการวิจัยมีธรรมชาติของการวิจัย ที่ผู้วิจัยควรรับทราบ เพื่อให้การวิจัยมีการดำเนินการที่ถูกต้องและมีความสอดคล้องกัน ดังนี้
5.1 การวิจัยเป็นกระบวนการเชิงประจักษ์
5.2 การวิจัยเป็นการด าเนินการที่เป็นระบบ
5.3 การวิจัยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน
5.4 การวิจัยมีความเที่ยงตรง (Validity)
5.5 การวิจัยมีความเชื่อมั่น (Reliability)
5.6 การวิจัยมีเหตุผล
5.7 การวิจัยเป็นการแก้ปัญหา หมายถึง ก
5.8 การวิจัยต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่
5.9 การวิจัยมีวิธีการที่หลากหลาย
5.10 การวิจัยต้องใช้ศักยภาพของผู้วิจัย

ขั้นตอนการวิจัย

ในการวิจัยแต่ละประเภทอาจมีขั้นตอนแตกต่างไป ในที่นี้จะกล่าวถึงขั้นตอนในการวิจัยซึ่งไม่ได้หมายคลุมไปถึงว่าการวิจัยทุกประเภท ต้องมีขั้นตอนตามที่จะกล่าวต่อไปนี้ทุกประการ

1) เลือกหัวข้อปัญหา เป็นการตอบคำถามที่ว่าเราจะทำวิจัยเรื่องอะไร ซึ่งจะต้องพิจารณาให้
รอบคอบด้วยความมั่นใจและเขียนชื่อเรื่องที่จะวิจัยออกมา
2) การกำหนดขอบเขตของปัญหา เมื่อได้ปัญหาที่จะท าการวิจัยแน่นอนแล้วควรจะกำหนด
ขอบเขตของปัญหาให้ชัดแจ้ง เนื่องจากการก าหนดปัญหาที่แน่นอนช่วยผู้วิจัยได้ดังนี้
3) การศึกษาเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยการศึกษาสาระความรู้ แนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นในตำรา หนังสือ วารสาร รายงานการวิจัยและเอกสาร
4) การก าหนดสมมุติฐาน หมายถึง การเขียนข้อความที่เป็นข้อคาดหวังเกี่ยวกับความ แตกต่างที่อาจเป็นไปได้ ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ซึ่งสมมุติฐานนั้นไม่จ าเป็นว่าจะต้องเป็นจริงเสมอไป
5) การเขียนเค้าโครงการวิจัย การเขียนเค้าโครงการวิจัยเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นหนึ่ง เนื่องจากเค้าโครงการวิจัยนั้นจะเป็นแบบแผนในการดำเนินงานวิจัยอย่างมีระบบ
6) การสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล ก่อนที่จะด าเนินการรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยจะต้องทราบว่าจะใช้เครื่องมืออะไรในการเก็บรวบรวมข้อมูล และเครื่องมือนั้นมีหรือยัง ถ้ายังไม่มีต้องดำเนินการสร้างและนำเครื่องมือนั้นไปทดลองใช้ เพื่อหาคุณภาพของเครื่องมือ อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยไม่จำเป็นต้องสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลเองเสมอไป
7) ขั้นดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยจะต้องทราบว่าในการทำการวิจัยนั้นสามารถจะรวบรวมข้อมูลจากกลุ่ม ประชากรทั้งหมด หรือสุ่มตัวอย่าง ซึ่งในการสุ่มตัวอย่างนั้นก็ต้องทราบว่าจะต้องสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการใดที่จะให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดีของกลุ่มประชากร ข้อมูลที่ผู้วิจัยจะท าการรวบรวมนั้นมาจากไหน ปฐมภูมิ (Primary Source) หรือทุติยภูมิ (Secondary Source)

Fai clic qui per centrare la mappa.
Fai clic qui per centrare la mappa.