การสืบค้นสารสนเทศและความรู้
(Knowledge inquiry)

การสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลบรรณานุกรมออนไลน์
(Online Public Access Catalog : OPAC)

1. วิธีการสืบค้นโดยใช้ทางเลือกต่าง ๆ ใน OPAC

1.หน้าจอรายการหลักของ OPAC ให้เลือกรายการที่ต้องการจะใช้ ทางเลือกเพื่อสืบค้นข้อมูลจากเมนู เช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง

2.ป้อนข้อมูลที่ต้องการสืบค้นตามรายการที่ใช้เป็นทางเลือก เช่น เลือก
ทางเลือกผู้แต่ง พิมพ์ชื่อผู้แต่ง ,เลือกทางเลือกคำสำคัญ พิมพ์คำสำคัญที่ต้องการสืบค้น เป็นต้น แล้วคลิกค้นหา ระบบจะทำการสืบค้น และแสดงผลการสืบค้นบนหน้าจอ พร้อมทั้งบอกจำนวนรายการที่ค้นได้

3.หากต้องการได้รายละเอียดโดยย่อของรายการใด ให้คลิกที่
รายการที่ต้องการ ระบบจะแสดงรายละเอียดของรายการดังกล่าว ซึ่ง
จะประกอบไปด้วยชื่อเรื่อง ชื่อผู้รับผิดชอบ และปีพิมพ์

4.หากต้องการได้รายละเอียดที่สมบูรณ์ของรายการใด ให้คลิกที่
รายการที่ต้องการระบบจะแสดงรายละเอียดที่สมบูรณ์ของรายการ
นั้น ๆ

2. ข้อมูลที่ได้จาการสืบค้นด้วย OPAC

1.ข้อมูลบรรณานุกรม (Bibliographic description)

2.ข้อมูลดรรชนีวารสาร (Periodical Index)
ของบทความในวารสารภาษาไทย

การสืบค้นสารสนเทศด้วยฐานข้อมูลออนไลน์

ในปัจจุบันห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศขนาดใหญ่ ๆ เช่น ห้องสมุด สถาบันอุดมศึกษา จะมีฐานข้อมูลออนไลน์ไว้บริการผู้ใช้อยู่ 3 ลักษณะ ดังนี้

1.ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศบอกรับเป็นสมาชิก
คือ ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศนั้น ๆ บอกรับหรือซื้อฐานข้อมูลนั้นมาให้บริการกับผู้ใช้โดยสามารถใช้ฐานข้อมูลได้ในระหว่างเป็นสมาชิกของฐานข้อมูล เช่น ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ บอกรับเป็นสมาชิกพร้อมขอบเขตเนื้อหา ได้แก่ ScienceOnline & ScienceNOW ,Proquest Agriculture Journal และ Cambridge Journals Online

2.ฐานข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ ฐานข้อมูล ThaiLIS (Thai Library Integrated System)
เป็นฐานข้อมูลที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และโครงการ Thai Library Integrated System เช่าใช้ฐานข้อมูลวิชาการโดยมีสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษารับผิดชอบค่าใช้จ่าย เพื่อให้มหาวิทยาลัยของรัฐร่วมกันใช้บริการ สืบค้นสารสนเทศ ภายใต้ฐานข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้
H.W. Wilson ,Academic Search Elite และ Science Direct

3.ฐานข้อมูลทดลองใช้
ฐานข้อมูลลักษณะนี้เป็นฐานข้อมูลที่ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศนำมาทดลองให้บริการกับผู้ใช้ก่อน ก่อนที่ศูนย์สารสนเทศจะตัดสินใจซื้อ หรือสมัครเป็นสมาชิกของฐานข้อมูลนั้นจริง ๆ ตัวอย่างฐานข้อมูลทดลองใช้ในศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ณ ปี พ.ศ. 2552 เช่น Oxford Journals (OUP), Medical Online, Oxford Scholarship Online เป็นต้น

การสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต

การสืบค้นสารสนเทศได้อย่างสะดวก รวดเร็วจึงมีเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่ค้น สารสนเทศแก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตให้ค้นพบรายละเอียดที่ต้องการได้ง่าย โดยเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่ค้นข้อมูลมี 2 ประเภท คือ

1.นามานุกรม (Web Directories)
เป็นเครื่องมือในการสืบค้นที่รวบรวมสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต และคัดแยกสารสนเทศเหล่านั้นออกเป็น กลุ่มตามสาขาวิชาหรือตามหลักเกณฑ์ที่ผู้จัดทำกำหนดขึ้น เช่น

Yahoo

Dmoz

a

Business.com

2.เครื่องมือสืบค้น (Search engine)

Google

MSN Live Search

Ask

องค์ประกอบของกลไกการสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต (Search Engine)

1.ตัวสำรวจหรือรวบรวมข้อมูล (Spider หรือ Crawler หรือ Robot) เป็นซอฟต์แวร์สำหรับสำรวจเว็บ โดยจะทำหน้าที่ตระเวนไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อทำการรวบรวม สารสนเทศ และส่งกลับมายังดรรชนีหรือฐานข้อมูลเพื่อทำการประมวลผล

2.ตัวดรรชนี (Indexer) หรือ Catalog ซึ่งเป็นฐานข้อมูลทำหน้าที่รวบรวมคำ และตำแหน่งทุก ๆ เพจที่ตัวสำรวจรวบรวมมาได้ ในส่วนนี้จะมีโปรแกรมช่วยในการจัดทำดรรชนีเพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาสารสนเทศได้สะดวกข้ึน

3.โปรแกรมค้นข้อมูล (Search Engine Software หรือ Query Processor) ทำหน้าที่เปรียบเทียบความเกี่ยวข้องระหว่างเว็บไซต์และความต้องการของผู้สืบค้นว่ามีความเกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใด จากน้ันจะจัดลำดับความเกี่ยวข้องของเว็บต่าง ๆ ออกมาแสดงผล

เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ต

1. เทคนิคตรรกบูลลีน

การใช้ And, Or, Not ประกอบเป็นประโยคการค้น

การใช้เครื่องหมาย + (Plus) หรือ – (Minus) กำหนดหน้าคำค้นที่ต้องการ เครื่องหมาย + หมายถึงในผลการค้นต้องมีคำที่กำหนดน้ัน
และเครื่องหมาย – หมายถึงไม่ต้องการให้พบคำน้ันในผลการสืบค้น

2. เทคนิคการตัดคำ

สามารถตัดคำได้ 2 ลักษณะคือ * และ ?
โดย * หมายถึง ให้สืบค้นคำที่มีรากคำตามที่กำหนดโดยอาจมีตัวอักษรอื่น ๆ ต่อท้ายได้ไม่จำกัดจำนวน เช่น *man ผลการคืนจะเรียกออกมาทั้งคำว่า woman, superman, spiderman เป็นต้น
และ ? หมายถึง ให้สืบค้นคำที่มีรากคำตามที่กำหนด และมีตัวอักษรตามหลังได้อีกไม่เกินจำนวน ? ที่กำหนดในคำค้น

3. เทคนิคการใช้คำใกล้เคียง

ใช้คำว่า ADJ, NEAR, FAR และ BEFORE ประกอบ เป็นประโยคการค้นเพื่อกำหนดลักษณะของผลการสืบค้นที่ต้องการว่าต้องการให้มีคำใด อยู่ในลักษณะใด โดย
ADJ หมายถึง ให้คำที่ค้นอยู่ใกล้กัน สลับลำดับคำได้
NEAR หมายถึง ให้คำที่ค้นอยู่ใกล้เคียงกันในระยะ 25 คำ สลับที่ได้
FAR หมายถึง ให้คำค้นอยู่ห่างกันได้ 25 คำ หรือมากกว่านั้น
BEFORE หมายถึง ให้คำค้นอยู่ห่างกันในระยะ 25 คำ โดยต้องอยู่ตามลำดับที่กำหนดเท่านั้น

4. เทคนิคการใช้รหัสกำกับคำค้น

กลไกสืบค้นหลาย ๆ กลไก กำหนดให้ผู้สืบค้นเลือกเขตข้อมูลที่ต้องการสืบค้นได้จากเมนูทางเลือก โดยให้เลือกได้จากภาษา เขตข้อมูลชื่อ URL ช่วงปีที่ต้องการ Domain ของแหล่งสารสนเทศ

สืบค้นโดยใช้เขตข้อมูลกำกับลงในประโยคการค้น เช่น title:nba หมายถึงให้ ค้นเพจที่มีคำว่า nba ปรากฏในชื่อเรื่อง before:30/9/99 หมายถึง ให้สืบค้น เอกสารที่มีการจัดทำก่อนวันที่ 30 ก.ย. 1999 เป็นต้น

Fai clic qui per centrare la mappa.
Fai clic qui per centrare la mappa.