ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา/ภาวะปัญญาอ่อน (Intellectual Disabilities: ID/Mental Retardation: MR)

การวินิจฉัย

Criteria A. มีความบกพร่องทางเชาวน์ปัญญา โดยมีระดับเชาว์ปัญญา ต่ำกว่า 70

CriteriaB. มีความบกพร่องในการทำหน้าที่ของตน หมายถึงผู้ป่วยมีความบกพร่องในการจัดการสิ่งต่าง ๆ
ในชีวิต

Criteria C. ความบกพร่องทางสติปัญญาและการปรับตัว หมายถึงการที่เด็กเริ่มแสดงความบกพร่องทางสติปัญญาและการปรับตัวในช่วงวัยเด็กหรือวัยรุ่น

สาเหตุ

พันธุกรรม

ดาวน์ซินโดรม (Down
syndrome),

ภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด

การติดเชื้อ

ที่เกิดชึ้นภายหลัง

การขาดสารอาหารบางชนิด

อาการ

1) ภาวะบกพร่องทางด้านสติปัญญา/ภาวะปัญญาอ่อนระดับเล็กน้อย (mind intellectual disabilities/mental retardation)

ระดับ IQ เท่ากับ 50-70

พัฒนาการสูงสุดของเด็กกลุ่มนี้เท่ากับเด็กอายุ 9-12 ป

ฝึกงานอาชีพที่ทำซ้ำๆ จนเกิดความเคยชิน เช่น งานช่างยนต์ ช่างไม้ ช่างตัดผม

2) ภาวะบกพร่องทางด้านสติปัญญา/ภาวะปัญญาอ่อนระดับปานกลาง (moderate intellectual disabilities/mental retardation)

ระดับ IQ เท่ากับ 35-49

พัฒนาการสูงสุดเท่ากับเด็กอายุ 6-9 ปี

ฝึกให้ช่วยเหลือตนเองในด้านต่างๆ และทำงานง่ายๆ โดยมีคอยแนะนำได้ เช่น งานล้างจาน ซักรีดเสื้อผ้า กวาดบ้านถูบ้าน

3) ภาวะบกพร่องทางด้านสติปัญ ญา/ภาวะปัญ ญาอ่อนระดับรุนแรง (severe intellectual disabilities/mental retardation)

ระดับ IQ เท่ากับ 20-34

พัฒนาการสูงสุดเท่ากับเด็กอายุ 3-5 ปี

ฝึกให้ช่วยเหลือตนเองด้านกิจวัตรประจำวันง่ายๆ เช่น รับประทานอาหาร อาบน้ำ แปรงฟัน เป็นต้น โดยต้องมีคนแนะนำ ช่วยเหลือตลอดเวลา

4) ภาวะบกพร่องทางด้านสติปัญญา/ภาวะปัญญาอ่อนระดับรุนแรงมาก (profound intellectual disabilities/mental retardation)

ระดับ IQ ต่ำกว่า 20

ช่วยเหลือตนเองได้น้อยมากหรือไม่ได้เลย ต้องให้การดูแลเช่นเดียวกับเด็กเล็ก

หมายถึง ภาวะที่บุคคลมีความสามารถด้านสติปัญญาและพฤติกรรมด้านการปรับตัวต่ำกว่าบุคคลปกติ มีค่าระดับสติปัญญาและพฤติกรรมด้านการปรับตัวต่ำกว่าบุคคลปกติ มีค่าระดับสติปัญญา (Intelligent Quotient: IQ) ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 70 ลงมา

การบำบัดทางการพยาบาล

1) สอน แนะนำ หรือให้คำปรึกษาครอบครัวในเรื่องโรค

2) การกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการโดยเน้นทักษะด้านร่างกาย และทักษะในการดำรงชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง

3) จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยไม่เกิดอันตราย

4) การให้คำปรึกษาครอบครัวในการระบายความรู้สึก

5) การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดอย่างต่อเนื่องเป็นรายบุคคล

6) การทำกายภาพบำบัด

7) การทำกิจกรรมบำบัด เป็นการฝึกใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก

8) การฝึกพูด ต้องกระทำตั้งแต่เด็กอายุต่ำกว่า 4 ขวบจึงจะได้ผลดีที่สุด

9) การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยสนับสนุนให้ได้เรียนรู้ชีวิตในสังคมร่วมกับคนปกต

10) การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ เริ่มที่อายุ 15 – 18 ปี

การบำบัดรักษา

หลักการพื้นฐานคือช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมตามปกติได้มากที่สุด

ออกหนังสือรับรองความพิการตาม พ.ร.บ. การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ซึ่งบัญญัติว่า “คนพิการ” หมายถึง คนที่มีความผิดปกติหรือบกพร่องทางร่างกาย ทางสติปัญญา และทางจิตใจ