ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานวิจัย
ความหมาย
วิจัย คือ กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์
จุดมุ่งหมาย
1.เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่หรือเพื่อสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ เพื่อสร้างทฤษฎีหรือกฎเกณฑ์ใหม่ซึ่งเป็นการขยายขอบเขตของความรู้ให้กว้างยิ่งขึ้น
2.เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในหลายๆด้าน
ประโยชน์ของงานวิจัย
ประโยชน์ต่อสังคม
เป็นความเจริญทางวิทยาการทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถอธิบาย แก้ปัญหา และพัฒนาปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ความเป็นอยู่ของสังคมให้ดียิ่งขึ้น
ประโยชน์ต่อผู้วิจัย
ช่วยให้นักวิจัยได้รับความรู้ใหม่ๆมากขึ้น กว้างขึ้นและลึกซึ้งมากขึ้น ทำให้นักวิจัยเป็นผู้รอบรู้ ทันสมัยทางวิขาการอยู่เสมอ
พัฒนาการของวิธีการแสวงหาความรู้
1.การแสวงหาความรู้อย่างไม่มีแบบแผน
1.1การได้รับความรู้โดยบังเอิญ (By Chance) เป็นการได้รับความรู้ไม่ได้ตั้งใจ ไ่ม่ได้คาดคิดมาก่อน
1.2การได้รับความรู้โดยการลองผิดลองถูก (Trial and Error)
เป็นการแสวงหาความรู้โดยการเดา
1.3การได้รับความรู้จากผู้รู้ (Authory) ผู้รู้คือผู้ที่มีความรู้ สติปัญญา ซึ่งเป็นที่ยอมรับ
1.4การได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญหรือนักปราชญ์ (Expert or Wiseman)
1.5การได้รับความรู้จากประเพณีและวัฒนธรรม(Tradition and Culture)
1.6การได้รับความรู้จากประสบการณ์ของตนเอง(Personal Experience )
2.การแสวงหาความรู้ด้วยระบบเหตุผล (Syllogism)
2.1 วิธีอนุมาน หรือ นิรนัย เป็นการใช้เหตุผลซึ่งประกอบด้วยกฎเกณฑ์หรือข้อความ
2.2 วิธีอุปมาน หรืออุปนัย เป็นการคิดด้วยเหตุผลที่เริ่มขึ้น การคิดวิธีอุปมานทีความแตกต่างกับการคิดวิธีอนุมาน
2.3 วิธีอนุมาน - อุปมาน คือการศึกษาค้นคว้าใดๆก็ตามควรใช้วิธีการแสวงหาความรู้ทั้งวิธีอนุมานและอุปมานร่วมกัน เพื่อลดข้อบกพร่องในการใช้วิธีเฉพาะวิธีใดวิธีหนึ่ง
3.การแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
3.1 ขั้นระบุปัญหาหรือกำหนดปัญหา เป็นการตระหนักว่ามีปัญหา และมีความต้องการที่จะแก้ปัญหา
3.2 ขั้นตั้งสมมุติฐาน เป็นการคาดคะเน ความน่าจะเป็นของคำตอบของปัญหาไว้ล่วงหน้า
3.3 ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการเก็บรวบรวมข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับปัณหาศึกษาที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการต่างๆเช่น การสอบถาม ทดลอง สังเกต การสัมภาษณ์
3.4 ขั้นวิเคราะห์และตีความข้อมูล เป็นการแยกแยะและแปรผลข้อมูล นำมาพิจารณาตรวจสอบว่าสมมุติฐานที่ตั้งไว้เป็นไปตามแผนหรือไม่
3.5 ขั้นสรุปผล เป็นการสรุปจากการที่ได้วิเคราะห์และการตีความข้อมูล ซึ่งจะทำให้ได้คำตอบของปัญหาที่ศึกษา เพื่อนำไปใช้เป้นประโยชน์ต่อไป
ขั้นตอนของงานวิจัย
1.การเลือกและกำหนดปัญหา
2.การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.การเก็บรวบรวมข้อมูล
4.การวิเคราะห์ข้อมูล
5.การสรุปผลการวิจัย
ประเภทของงานวิจัย
1.การจำแนกประเภทตามลักษณะของข้อมูล
1.1 การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือวิจัยเชิงคุณลักษณะ
1.2 การวิจัยเชิงปริมาณ
2.การจำแนกประเภทตามจุดมุ่งหมายของงานวิจัย
2.1 การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์
2.2 การวิจัยประยกต์
3.การจำแนกประเภทตามระเบียบวิจัย
3.1การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์
3.2 การวิจัยเชิงบรรยายหรทอเชิงพรรณา
3.3 การวิจัยเชิงทดลอง
การวิจัยเชิงทดลองแท้
การวิจัยกึ่งทดลอง
จรรยาบรรณของนักวิจัย
1.มีความเชื่อในหลักวิทยาศาสตร์
2.การมีความซื่อสัตย์
3.การมีจิตสำนึก
4.มีความรับผิดชอบ
5.การยอมรับในสิทธิส่วนบุคคลของผู้ให้ข้อมูล
คุณสมบัติของนักวิจัย
1.ด้านความรู้หรือพุทธิพิสัย
2.ด้านความสามารถหรือทักษะพิสัย
3.ด้านเจตคติหรือจิตพิสัย