การเปรียบเทียบการฝึกทักษะการตีลูกโด่งหลัง
โดยใช้อุปกรณ์ริบบิ้นกับการฝึกแบบปกติในกีฬาแบดมินตัน

รูปแบบในการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ที่มีกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม ซึ่ง
ผู้วิจัยดัดแปลงจากรูปแบบ Pretest andPosttest Control
Group Design บุญเรียงขจรศิลป์(2542) โดยมีแผนการ
ทดลองดังนี้

R1 O1 T1 O2
R2 O2 T2 O2
R1 กลุ่มทดลองที่ 1
R2 กลุ่มทดลองที่ 2
01 ทดสอบก่อนการทดลอง
02 ทดสอบหลังการทดลอง
T1 แบบฝึกตามโปรแกรมโดยใช้อุปกรณ์ริบบิ้น
T2 แบบฝึกตามโปรแกรมโดยการฝึกแบบปกติ

กลุ่มเป้าหมาย

ประชากรเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาที่เข้า
มาเรียนแบดมินตันในสนามแบดมินตันเอราวัณ จังหวัด
อุดรธานีจำ นวน 25 คน

กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับนักเรียนระดับ

ประถมศึกษาที่เข้ามาเรียนแบดมินตันในสนามแบดมินตัน

เอราวัณ จังหวัดอุดรธานีจำ นวน 10 คนได้จากการเลือก

กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling)

คัดเลือกจากความสม่ำ เสมอในการมาเรียนแบดมินตัน

และดำ เนินการดังต่อไปนี้

1. ใช้แบบทดสอบการตีลูกโด่งหลัง (French

High Clear Test อ้างถึงในวันชัย กองพลพรหม, 2547)

2. ผู้วิจัยนำกลุ่มทดลองสองกลุ่มจัดเข้า
โปรแกรมทดลองโดยวิธีการสุ่ม (Random) โดยการจับฉลาก
และจัดเรียงเข้ากลุ่ม
1) กลุ่มทดลองที่ 1 ทำฝึกตามโปรแกรมโดยใช้อุปกรณ์เสริม Ribbin
2) ผลที่ 2 การฝึกตามโปรแกรมปกติโดยใช้ไม้กวาด

การเก็บรวบรวมข้อมูล

1. ผู้วิจัยได้เช่าสนามเช่าเอราวัณจังหวัด
อุดรธานีวันละ 1 ชั่วโมงในวันจันทร์วันพุธวันศุกร์ตั้งแต่
เวลา 16.30 น. ถึง 17.20 น. เป็นเวลา 8 สัปดาห์

2. ประชุมระเบียบและรายละเอียด
ของงานวิจัยรวมทั้งสาธิตขั้นตอนต่าง ๆ ให้ผลทดลองและผู้ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลได้รับทราบ

3. วิธีดำ เนินการทดลอง

1) ทดสอบกลุ่มทดลองก่อนการฝึก (Pretest)
โดยใช้แบบทดสอบตีลูกโด่งหลังของเฟรนด์ (French
High Clear Test)

2) ผู้ทดลองทั้งสองกลุ่มเข้ารับการฝึกตาม
โปรแกรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น รวมระยะเวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ
3 วัน คือ วันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์ โดยกลุ่มทดลองที่ 1
ฝึก ตั้งแต่เวลา 17.00 น.ถึง 17.45 น. และกลุ่มทดลองที่ 2
ฝึกตั้งแต่เวลา 17.00 น. ถึง 17.45 น. ณ สนามแบดมินตัน
เอราวัณ จังหวัดอุดรธานี โดยมีผู้วิจัยเป็นผู้ฝึกและเก็บ
รวบรวมข้อมูล

3) การทดสอบวิธีฝึก (Posttest)
หลังสัปดาห์ที่ 8 โดยใช้แบบทดสอบตีลูกโด่งหลังของ
เฟรนด์ (French High Clear Test)

4) ผู้วิจัยและผู้ช่วยควบคุมการทดลองและ
รวบรวมเก็บข้อมูลด้วยตนเอง

5) นำข้อมูลที่ได้จากการรายงานข้อมูลไป
วิเคราะห์ทางสถิติต่อไป

6) ช่วงเวลาในการทดลองใช้เวลาตลอดการ
ฝึกอบรมฝึกทักษะและเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นเวลา
8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วันคือวันจันทร์วันศุกร์ละ 50 นาที

การวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยนำคะแนนที่ได้จากการทดสอบมา
วิเคราะห์ข้อมูลโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อ
วิเคราะห์ข้อมูลดังนี้

1. นำข้อมูลที่ได้มาจากการฝึกของกลุ่มทดลอง

ทั้ง 2 กลุ่ม หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ค่ามัธยฐาน (Medain) ของคะแนนที่ได้มาจากการ

ทดสอบความสามารถในการตีลูกหน้ามือโด่งหลังในกีฬา

แบดมินตัน ก่อนการฝึก

2. นำข้อมูลที่ได้มาจากการฝึกของกลุ่มทดลอง
ทั้ง 2 กลุ่ม หา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(S.D.) ค่ามัธยฐาน (Medain) ของคะแนนที่ได้มาจาก

การทดสอบความสามารถในการตีลูกหน้ามือโด่งหลังใน

กีฬาแบดมินตัน หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8

3. วิเคราะห์ผลการทดสอบความแตกต่างของ
คะแนน ระหว่างกลุ่มทดลองที่ 1 กับกลุ่มทดลองที่ 2 โดย
ใช้สถิติทดสอบแบบ (t-test)

สรุปผลการวิจัย

1. ผลสัมฤทธิ์ของการฝึกด้วยอุปกรณ์เสริมใน
การฝึกทักษะการตีลูกโด่งหลังและการฝึกแบบปกติ ก่อน
การทดลองฝึก (Pretest) และหลังการทดสอบสัปดาห์ที่8 (Posttest) ของกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มที่ 2 แตกต่าง
กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. ผลสัมฤทธิ์ของการฝึกด้วยอุปกรณ์เสริมใน
การฝึกทักษะการตีลูกโด่งหลัง หลังการทดสอบสัปดาห์
ที่ 8 (Posttest) ของกลุ่มทดลองที่ 1 แตกต่างกับการฝึก
แบบปกติของกลุ่มทดลองที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05

วัตถุประสงค์

เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการใช้อุปกรณ์
เสริมริบบิ้นในการฝึกทักษะการตีลูกโด่งหลังกับการฝึก
แบบปกติในกีฬาแบดมินตัน

อ้างอิง

ธนะรัตน์ หงส์เจริญ. (2537). เทคนิคการเล่นแบดมินตัน. กรุงเทพฯ: สยามสปอร์ตซินดิเคท.

บุญเรียง ขจรศิลป์. (2542). สถิติวิจัย 1. กรุงเทพฯ: พี เอ็น การพิมพ์.

วันชัย กองพลพรหม. (2547). ผลสัมฤทธิ์ของการใช้อุปกรณ์เสริมในการฝึกทักษะการตีลูกหน้ามือโด่งหลังในกีฬา
แบดมินตัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ข้อเสนอแนะ

1. ควรมีการวิจัยเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ที่ใช้อุปกรณ์
ช่วยฝึกในทักษะกีฬาประเภทอื่นๆ เช่น เทนนิส เทเบิล
เทนนิส เป็นต้น

2. อุปกรณ์ช่วยฝึกที่ใช้ในการวิจัยนี้ เหมาะสม
กับผู้เริ่มฝึกหัดใหม่หรือผู้ที่ไม่มีพื้นฐานเกี่ยวกับกีฬา
แบดมินตันมาก่อน

3. อุปกรณ์นี้สามารถพัฒนาไปสู่ทักษะอื่น ๆ ที่
เกี่ยวกับแบดมินตันได้ เช่น ลูกสวนดาด ลูกงัดโด่งหลัง
และลูกตบ เป็นต้น

วิเคราะห์/สังเคราะห์

การวิจัยนี้ผมมองว่าสำคัญในการฝึกตีลูกโด่งหลัง กับการใช้อุปกรณ์และการฝึกแบบปกติ ซึ่งผลมัก็ต่างกัน ทำให้เราทราบถึงข้อด้อยของการฝึกแบบปกติและสามารถพัฒนาในการฝึกแบบปกติให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และสามารถพัฒนาทักษะอื่น เช่น ลูกสวนดาด ลูกงัดโด่งหลังและลูกตบ เป็นต้น และการวิจัยนี้อาจใช้ได้ในการพัฒนากีฬาประเภทเดียวกัน เช่น เทนนิส เทเบิลเทนนิส เป้นต้น