ลักษณะเด่นของภาษาไทย

การเรียงแบบ ประธาน กริยา กรรม

คำขยายอยู่หลังคำถูกขยายมากคนมากความ มีหลายเรื่องที่อยากบอก คำบอกปริมาณอยู่หลังคำที่ถูกขยาย

เช่น ฉันเขียนสวย

คำบอกจำนวนอยู่หลังคำที่ถูกขยาย ส่วนคำขยายกริยา และมีกรรมมารับ คำขยายจะอยู่หลังกรรม

เช่น ฉันอ่านหนังสือมากมาย

คำขยายจะเรียงไว้หลังที่ถูกขยายเสมอ เว้นแต่บอกปริมาณบางคำจะวางไว้ข้างหน้าหรือ ข้างหลังที่ถูกขยายก็ได้

เช่น ฉันกินไก่

มีเสียงวรรณยุกต์

ทำให้ระดับเสียงต่างกัน มีคำใช้กันมากขึ้น เกิดความไพเราะดังเสียง ดนตรีและสามารถเลียนเสียงธรรมชาติได้อย่างไกล้เคียง

ภาษาไทยมีเสียงวรรณยุกต์ ๔ รูป ๕ เสียง

เสียงสามัญ อยู่ในระดับเสียงกึ่งสูง-กลาง เช่น กา คาง

เสียงเอก อยู่ในระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ เช่น ก่า ข่า ปาก หมึก

เสียงโท อยู่ในระดับเสียงสูง-ต่ำ เช่น ก้า ข้า มาก

เสียงตรี อยู่ในระดับเสียงกึ่งสูง-สูง เช่น ก๊า ค้า ชัก

เสียงจัตวา อยู่ในระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ-กึ่งสูง เช่น ก๋า ข

มีการแบ่งวรรคตอนเป็นจังหวะ

จำเป็นต้องเว้นจังหวะให้ถูกต้อง เพื่อความชัดเจนของข้อความ

การสร้างคำเพื่อเพิ่มความหมายให้มากขึ้น

ยืมคำในภาษาต่างประเทศมาใช้ และบัญญัติศัพท์ใหม่

การนำคำไทยมาประสมกับคำในภาษาอังกฤษ เช่น

ของฟรี

เพลงเชียร์

รางชอล์ก

การนำคำไทยมาประสมกับคำไทย

พ่อมด

แม่น้ำ

วิ่งราว

ภาษาสันสกฤตสมาสกับคำภาษาสันสกฤต เช่น

วาตภัย

สัจธรรม

วีรบุรุษ

ภาษาเป็นคำโดด

ภาษาแบบที่ใช้คำที่มีลักษณะโดด ๆ คือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปไปตามหน้าที่หรือตามความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์เกี่ยวเนื่องกับคำอื่น

ขาว

ต่ำ

ดำ

สูง

พ่อ

แม่

มักจะมีพยางค์เดียวเป็นส่วนมาก

คำไทยแท้ส่วนมากมีพยางค์เดียว

เป็นคำที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว เข้าใจได้ทันที

แมว

กบ

แม่

นอน

สอน

สวย

หล่อ

ภาษาไทยมีลักษณะนาม

ก. คำลักษณะนามจะอยู่ข้างหลังคำวิเศษณ์บอกจำนวนนับ

เช่น ฉันรักแมวทั้ง 10 ตัว

เช่น เข้าได้รับบ้าน 1 หลัง ที่ดิน 2 แปลงเป็นมรดก

ข. คำลักษณะนามตามหลังคำนามเพื่อลักษณะของนามนั้น

ภาษาไทยมีคำเลือกใช้ตามกาลเทศะ

การเลือกใช้คำให้ถูกต้องเหมาะสมกับบุคคล สังคมไทยเป็นสังคมที่นับถือ อาวุโส

เพื่อแสดงถึงความยกย่องกันและกัน

สะกดตามมาตราตัวสะกดทั้ง 8 มาตรา

ไม่มีคำใช้ทัณฑฆาต หรือตัวการันต์

มาตราแม่กก

สะกดด้วย ก เช่น ปาก,มาก,นัก,จัก,บอก

มาตราแม่กด

สะกดด้วย ด เช่น ปาด,ลด,สอด,ปิด,จุด

มาตราแม่กบ

สะกดด้วย บ เช่น รบ,พบ,จับ,สิบ,งบ

มาตราแม่กง

สะกดด้วย ง เช่น ลง,ราง,พุ่ง,ว่าง,รอง

มาตราแม่กน

สะกดด้วย น เช่น ฝัน,ปีน,กิน,ตน,นอน

มาตราแม่กม

สะกดด้วย ม เช่น นม,ตูม,นิ่ม,ขม,ซ้อม

มาตราแม่เกย

สะกดด้วย ย เช่น ย้าย,เฉย,รวย,หาย,สวย

มาตราแม่เกอว

สะกดด้วย ว เช่น ดาว,เลว,ชาว,ทิว,กิ่ว