ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่านหนังสือของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ชั้นปีที่หนึ่ง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

สมมุติฐาน

นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง สำนักวิชา รัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะมีความสัมพันธ์เรื่องปัจจัยที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการอ่านหนังงสือ และเทคนิคในการอ่านหนังสือของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกัน ซึ่งพฤติกรรมหรือเทคนิคต่างๆอาจมีผลต่อการสอบ

ขอบเขตของงานวิจัย

ขอบเขตประชากร

ประชากรกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาของสำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ สาขา นิติศาสตร์ ในภาคการศึกษาที่ 3 ปีการศึกษา 2563

ขอบเขตเนื้อหา

ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่านหนังสือ และ เทคนิคการอ่านหนังสือของนักศึกษา

ขอบเขตด้านระยะเวลา

เดือนมีนาคม ถึง เดือนเมษายน 2564 ในภาคการศึกษาที่ 3 ปีการศึกษาที่ 2563

การใช้คำนิยามเชิงปฎิบัติที่จะใช้ในการวิจัย

นักศึกษาสำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ชั้นปีที่หนึ่งปีการศึกษา 2563 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

นักศึกษาของสำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ สาขา นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่ลงทะเบียนเรียน สาขา นิติศาสตร์ ในภาคการศึกษาที่ 3 ปีการศึกษา 2563

การอ่าน

การรับรู้ความหมายจากถ้อยคำที่ตีพิมพ์อยู่ในสิ่งพิมพ์หรือในหนังสือ เป็นการรับรู้ว่าผู้เขียนคืออะไรและพูดอะไร

พฤติกรรม

การแสดงและกิริยาท่าทางซึ่งสิ่งมีชีวิต ระบบหรืออัตลักษณ์ประดิษฐ์ที่เกิดร่วมกันกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมระบบอื่นหรือสิ่งมีชีวิตโดยรวม เช่นเดียวกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ พฤติกรรมเป็นการตอบสนองของระบบหรือสิ่งมีชีวิตต่อสิ่งเร้าหรือการรับเข้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอก มีสติหรือไม่มีสติ ระลึกชัดเจนหรือแอบแฝง และโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ

เทคนิค

ศิลปะหรือกลวิธีเฉพาะวิชานั้นๆ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.ได้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อการอ่านหนังสือของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ชั้นปีที่หนึ่ง

2.ได้ทราบถึงเทคนิควิธีการอ่านหนังสือในช่วงสอบของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ชั้นปีที่หนึ่ง

ระเบียบวิธีวิจัย

รูปแบบ/ประเภทของงานวิจัย

วิจัยเชิงสำรวจ

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได่แก่ นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ สาขา นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 79คนเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม

เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย

Google Foem

Excel

ระยะเวลาในการรวบรวมข้อมูล

เดือนมีนาคม-เมษายน 2564

การเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยการทำแบบสอบถามออนไลน์ (Google Form) และใช้(Excel) โดยให้นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ สาขา นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 79 คน โดยการนำแบบสอบถามที่ได้มาเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทุกคนใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันและเป็นการลดการใช้ทรัพยากรที่สิ้นเปลืองอย่างไม่จำเป็น

การวิเคราะห์ข้อมูล

ใช้แบบสอบถาม(Google Form) ในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ความคิดเห็นจากนักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ สาขา นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 79คน

ความสำคัญและที่มาของงานวิจัย

จากการที่สมาชิกภายในกลุ่มได้ศึกษาในคณะนิติศาสตร์ชั้นปีที่หนึ่งระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมีสมาชิกทั้งหมดในสาขา 79 คน ซึ่งนักศึกษาในคณะนิติศาสตร์จะมีการสอบที่เ็นวิชาหลักที่เกี่ยวกับกฎหมายโดยมีเนื้อหาและมาตรามากมาย โดยแต่ละคนจะมีวิธีการอ่านหนังสือช่วงสอบที่แตกต่างกันจากที่ได้พบเจอมานั้นจึงเกิดมาเป็นความสงสัยและนำมาเป็นประเด็นในการทำวิจัยในครั้งนี้ วิจัยที่ได้จัดทำขึ้นนี้เพื่อการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่านหนังสือของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ชั้นปีที่หนึ่ง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อการศึกษาว่าในช่วงสอบ นักศึกษามีพฤติกรรมการอ่านหนังสือมากน้อยเพียงใด หรือแต่ละคนมีเทคนิควิธีการอย่างไร แล้ววิธีใดสามารถนำมาใช้แล้วเกิดผลชัดเจนมากที่สุด

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย

1.เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการอ่านหนังสือของนักศึกาาคณะนิติศาสตร์ชั้นปีที่หนึ่ง

2.เพื่ออยากทราบเทคนิคการอ่านหนังสือในช่วงสอบว่านักศึกษามีพฤติกรรมกันอย่างไร

คำถามของการวิจัย

1.พฤติกรรมในการอ่านหนังสือของนักศึกษาแต่ละคนเป็นอย่างไร

2.ปัจจัยอะไรที่มีส่วนช่วยหรือส่งผลต่อการอ่านหนังสืออย่างไร

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

รัถพร ซังธาดา (2531: 159-160) ได้รวบรวมทฤษฏีการอ่านไว้ 2 ทฤษฎี

1.ทฤษฎีของวิลเลียม เอส เกรย์ (William S. Gray) จัดกระบวนการอ่านเป็น 4 ขั้นตอน

1.1 ขั้นตอนการรู้จักคำ จำคำศัพท์ได้ถ่ายทอดเสียงและความหมายของคำในเรื่องนั้นๆได้

1.2 ขั้นตอนเข้าใจความหมายของคำวลีและประโยคโดยใช้ประสบการณ์เดิมมาช่วยตีความหมายและพิจารณาจุดประสงค์ของผู้เขียนตลอดจนความคิดที่ผู้เขียนต้องการสื่อกับผู้อ่าน

1.3 ขั้นปฎิกิริยา เป็นขั้นที่อ่านโดยมีสติปัญญาและความรู้สึกที่สามารถประเมินได้ว่าผู้เขียนสื่อความหมายอะไร

1.4 ขั้นบูรณาการ เป็นขั้นที่ผู้อ่านสามารถนำความรู้ความคิดและความหมายที่ได้จากการอ่านไปใช้ประโยชน์

2.ทฤษฏี SQ3R เบอร์มีสเตอร์ (Burmeister)ได้อธิบายว่าประกอบด้วย

2.1 ชันสำรวจ(Survey) หมายถึงการสำรวจดูผู้แต่ง ชื่อเรื่อง สำนักพิมพ์ ครั้งที่พิมพ์ ปีที่พิมพ์ จำนวนหน้า จุดมุ่งหมาย และเเนวคิดของหนังสือเล่มนั้นๆ

2.2 ขั้นตั้งคำถาม (Qestion) คือ ตั้งคำถามว่าต้องการอะไรจากหนังสือเล่มนั้น

2.3 ขั้นอ่าน (Read) คืออ่านเพื่อที่จะได้รับคำตอบตามที่ตั้งคำถามไว้แล้วในขั้นที่ 2 โดยพยายามมุ่งหารายละเอียดเพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดเจนในคำถามให้มากที่สุด

พฤติกรรมการอ่านหนังสือของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ