ความรู้พื้นฐานของการวิจัย

ความหมายของการวิจัย (Meaning of Research)

การวิจัย เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ที่มีระบบ มีขั้นตอนที่ชัดเจนปราศจาก
อคติส่วนตัว สามารถตรวจสอบได้ที่ผู้วิจัยน ามาใช้ศึกษา ค้นคว้าข้อเท็จจริง เพื่อน าไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ ทางสังคม หรือพัฒนาเป็นกฎ ทฤษฏี หรือน าไปใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แม่นย าและเชื่อถือได

จุดมุ่งหมายของการวิจัย

เป้าหมายของการวิจัย คือ มุ่งหาค าตอบเพื่อน ามาใช้แก้ปัญหา โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีความเป็นเหตุและเป็นผลซึ่งกันและกันอย่างชัดเจน

การวิจัยเป็นการสรุปผล หลักเกณฑ์ และทฤษฏีที่ใช้ในการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หรือเป็นการศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพื่อที่น าผลสรุปอ้างอิงไปสู่ประชากร

การวิจัยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือปรากฏการณ์ที่สังเกตได้มาใช้ในการสรุปผล โดยที่ปัญหาในบางปัญหาไม่สามารถท าการวิจัยได้เนื่องจากไม่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้

ประเภทของการวิจัย

จำแนกตามประโยชน์ที่ได้รับหรือเหตุผลในการวิจัย

การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์(Basic Research or Pure Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหาความรู้ความจริงเชิงทฤษฎี/ปรากฏการณ์ ที่น ามาใช้ใน การสนับสนุน หรือขัดแย้งกับกฎเกณฑ์ หรือทฤษฎีที่มีอยู่

การวิจัยการน าไปใช้(Applied Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ใน การน าผลการวิจัยจากการวิจัยพื้นฐานมาใช้ประโยชน์ต่อการด ารงชีวิตของมนุษย์ได้ในปัจจุบัน ตัดสินใจ หรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และถ้าเป็นการวิจัยเพื่อใช้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะเรื่อง จะเรียกว่า การวิจัย เชิงปฏิบัติการ

จำแนกตามลักษณะ(ความลึก/ความกว้าง)ของข้อมูล

การวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) เป็นการวิจัยที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวแปรที่มีลักษณะเป็นตัวเลขที่ระบุระดับความมาก/น้อยของปรากฏการณ์ตามเกณฑ์ที่ก าหนดให้ค่อนข้างชัดเจน ที่ท าให้ง่ายและสะดวกต่อผู้วิจัยในการน าผลมาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุปที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัยค่อนข้างง่าย

การวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) เป็นการวิจัยที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวแปรที่มีลักษณะเป็นข้อความที่บรรยายลักษณะ เหตุการณ์หรืออธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไรตามสภาพแวดล้อม ท าให้มีการสรุปผลการวิจัยเชิงลึก ที่ค่อนข้างมีความซับซ้อน

จำแนกตามระเบียบวิธีวิจัย(Methodology)

การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์(Historical Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ ใช้ข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีตที่มีหลักฐานปรากฏอยู่

การวิจัยเชิงบรรยาย(Descriptive Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้บรรยายคุณลักษณะ หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามสภาพการณ์ธรรมชาติของปรากฏการณ์นั้น ๆในปัจจุบัน โดยที่ผู้วิจัยเป็นบุคคลที่เข้าไปศึกษา

จำแนกตามลักษณะของวิชา หรือศาสตร์

การวิจัยทางวิทยาศาสตร์(Scientific Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ที่มักจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติที่เกี่ยวกับสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต หรือในสถานการณ์จ าลองในการทดลองที่สามารถควบคุมความแปรปรวนที่เกิดขึ้นได้

การวิจัยทางสังคมศาสตร์(Social Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อ
ศึกษาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม การเมือง การ
ปกครอง และการศึกษา

จำแนกตามเวลาที่ใช้ในการท าวิจัย

การวิจัยแบบตัดขวาง/ระยะสั้น(Cross-section Research) เป็นการวิจัยที่ใช้
เวลาในการวิจัยช่วงใดช่วงหนึ่งที่ผู้วิจัยสนใจแล้วน ามาสรุปผลในภาพรวมของปรากฏการณ์นั้น ๆ

การวิจัยแบบต่อเนื่อง (Longitudinal Research) เป็นการวิจัยที่ใช้เวลาอย่าง
ต่อเนื่องในการเก็บรวบรวมข้อมูล ท าให้ได้ผลสรุปของข้อมูลที่ชัดเจน ละเอียด

จำแนกประเภทการวิจัยตามเป้าหมายหลักของการวิจัย

การวิจัยที่มุ่งบรรยายตัวแปร(Descriptive-Oriented Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายส าคัญเพื่อบรรยายลักษณะของตัวแปรในประชากร ที่อาจเป็นเฉพาะกรณ

การวิจัยที่มุ่งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร(Correlation-Oriented
Research) เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวหรือมากกว่า การท านายค่าของตัวแปรที่สนใจ

การวิจัยที่มุ่งแสวงหาความเป็นเหตุเป็นผลระหว่างตัวแปร(Causal-Oriented
Research) เป็นการวิจัยที่แสวงหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่อาจจะเป็นการศึกษา ที่สืบหาสาเหตุย้อนหลังระหว่างตัวแปรภายใต้สภาวะธรรมชาติ

ประเภทของการวิจัยจ าแนกตามการจัดกระท า

การวิจัยแบบทดลองเบื้องต้น(Pre Experimental Research) เป็นการวิจัยที่
ศึกษาปรากฏการณ์ที่เป็นธรรมชาติ โดยไม่ได้มีการจัดกระท าสิ่งทดลองให้ในการทดลองเนื่องจาก
อาจจะมี ปัญหาจริยธรรมในการวิจัย

การวิจัยกึ่งทดลอง(Quasi Experimental Research) เป็นการวิจัยที่ไม่สามารถ
ด าเนินการในกระบวนการวิจัยได้อย่างครบถ้วน

การวิจัยแบบทดลองที่แท้จริง(True Experimental Research) เป็นการวิจัย ที่ใช้ตรวจสอบความเป็นเหตุเป็นผลระหว่างตัวแปร โดยมีการจัดกระท าให้กับกลุ่มตัวอย่างหรือ การทดลองอย่างครบถ้วน มีการควบคุมตัวแปรอย่างเคร่งครัด และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่ปราศจากความล าเอียงหรือใช้แบบแผนการสุ่มที่สมบูรณ์

แนวคิดพื้นฐานของการวิจัย

กฎเหตุและผลของธรรมชาติ เป็นแนวคิดที่ระบุว่าปรากฏการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นจะสามารถแสวงหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์นั้นได้เสมอ ๆ

กฎความเป็นระบบของธรรมชาติเป็นแนวคิดที่ระบุว่าปรากฏการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นตามกฎของเหตุและผลของธรรมชาติจะมีรูปแบบของความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ค่อนข้างจะชัดเจน

กฎความสัมพันธ์ของธรรมชาติเป็นแนวคิดที่ระบุว่า ในการเกิดปรากฏการณ์ใด ๆ ที่แตกต่างกันนั้น จะมีความมากน้อยของตัวแปรที่เป็นสาเหตุและตัวแปรผลที่แตกต่างกัน

กฎองค์ประกอบหลักของธรรมชาติ เป็นแนวคิดที่ระบุว่าตัวแปรสาเหตุและตัวแปรผลที่เกิดขึ้นนั้น ๆ ไม่ได้เป็นความสัมพันธ์เชิงเดี่ยว แต่จะมีตัวแปรอื่นๆ ที่มักจะมาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ๆ

กฎความน่าจะเป็นของธรรมชาติ เป็นแนวคิดที่ระบุว่าในปรากฏการณ์ ใด ๆ นั้น ความรู้ความจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จะเป็นผลลัพธ์ของปรากฏการณ์ ที่มีความน่าจะเป็นในการเกิดขึ้นที่ค่อนข้างสูง

คุณลักษณะของการวิจัย

การวิจัย เป็นวิธีการ ๆ หนึ่งที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ความ
จริง ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่มีระบบและขั้นตอนชัดเจน และมีการก าหนดจุดมุ่งหมายของการวิจัย ในแต่ละครั้งอย่างชัดเจนว่าต้องการอะไร ที่ผู้วิจัยจะใช้เป็นแนวทางในการแสวงหาค าตอบ เพื่อใช้อธิบาย พยากรณ์ และควบคุมปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ๆ

ธรรมชาติของการวิจัย

การวิจัยเป็นกระบวนการเชิงประจักษ์ หมายถึง การวิจัยเป็นกระบวนการแสวงหาค าตอบที่ต้องใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่มีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และมีความชัดเจนที่สามารถตรวจสอบได้ topic

การวิจัยเป็นการด าเนินการที่เป็นระบบ หมายถึง การวิจัยเป็นการด าเนินการตามขั้นตอนวิธีการทางวิทยาศาสตร์

การวิจัยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน หมายถึง การวิจัยเป็นการด าเนินการที่มีจุดมุ่งหมายใน 4ลักษณะ คือ บรรยาย อธิบาย พยากรณ์ และควบคุม ในปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

การวิจัยมีความเที่ยงตรง (Validity) หมายถึง การวิจัย ใด ๆ จ าเป็นต้องมีความเที่ยงตรงใน 2 ลักษณะ ได้แก่ ความเที่ยงตรงภายใน ที่สามารถระบุได้ว่าผลการวิจัยที่ได้เกิดจากตัวแปรที่ศึกษาเท่านั้น หรือผลการวิจัยสามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และความเที่ยงตรงภายนอก ที่จะสามารถน าผลการวิจัยที่ได้ไปใช้ในสถานการณ์ที่มีความคล้ายคลึงกันได้อย่างครอบคลุม

การวิจัยมีความเชื่อมั่น (Reliability) หมายถึง การวิจัยต้องมีความคงเส้นคงวาใน การด าเนินการวิจัย ที่การวิจัยจะด าเนินการซ้ ากี่ครั้งด้วยการด าเนินการวิจัยแบบเดิม ๆ ก็จะได้ผลการวิจัยที่คล้ายคลึงกัน

การวิจัยมีเหตุผล หมายถึง การวิจัยเป็นการด าเนินการที่จะต้องมีเหตุผลที่ชัดเจนใน การด าเนินการทุกขั้นตอนเพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่ถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือและสามารถตรวจสอบ ได้อย่างชัดเจน

การวิจัยเป็นการแก้ปัญหา หมายถึง การวิจัยเป็นการด าเนินการที่จะเริ่มต้นด้วยปัญหาที่เกี่ยวพันกันระหว่างปัญหา(ตัวแปรตาม) กับวิธีการแก้ปัญหา(ตัวแปรต้น)

การวิจัยต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่ หมายถึง การวิจัยในแต่ละครั้งจะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่เพื่อตอบค าถามตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้น ๆ

การวิจัยมีวิธีการที่หลากหลาย หมายถึง การวิจัยจะมีวิธีการในการด าเนินการวิจัยที่ให้ผู้วิจัยได้เลือกใช้อย่างหลายหลายวิธีการตามความเหมาะสมของปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค

การวิจัยต้องใช้ศักยภาพของผู้วิจัย หมายถึง การวิจัยที่มีประสิทธิภาพจะต้องด าเนินการโดยที่ผู้วิจัยที่มีความรู้ความสามารถ

บทสรุป

โดยสรุปแล้วการวิจัย คือการแสวงหาความรูอยางเปนระบบ ซึ่งจะน าเสนอตามวัตถุประสงคที่ผูวิจัยไดก าหนด ซึ่งเปนประโยขน์ การศึกษาคนควาของตนเอง หรือองคกร เปนการตอบปรากฏการณ์สภาพการ การแกปญหา หรือการประเมิน ซึ่งมีการก าหนดกลุมเปาหมายในการ วิจัยที่สามารถอางอิงได โดยใชเครื่องมือในการประเมินอยางมีคุณภาพ วิเคราะหขอมูลที่ใชหลักการ ตามกระบวนการวิทยาศาสตรผานการตีความหมายอยางถูกตองและเกิดความเขาใจ ตลอดจนน าเสนอในรูปแบบรายงานที่มีรูปแบบอยางสมบูรณและเปนสากล ซึ่งมีสวนส าคัญประกอบดวย ความส าคัญและปญหาของการวิจัย วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวของ วิธีการด าเนินการวิจัย ผลการวิเคราะหข้อมูล สรุป อภิปรายและขอเสนอแนะ เปนสิ่งที่ส าคัญจะชวยใหนักวิจัยไดทราบถึงสภาพปญหาปัจจุบัน ความตองการ แนวทางการพัฒนา ที่จะชวยใหการศึกษามีความสมบูรณขึ้นและเปนประโยชน์ตอองคกรตอไป

Fai clic qui per centrare la mappa.
Fai clic qui per centrare la mappa.