แนวปัฏิบัติเพื่อสุขภาพดีในสังคมดิจิทัล
มารยาทเน็ต 10 ข้อ (Netiquette)
กฎข้อที่ 1 ตระหนักว่ากำลังติดต่อกับบุคคลที่มีตัวตน
กฎข้อที่ 2 การสื่อสารออนไลน์ให้ยึดมาตรฐานความประพฤติเดียวกับการสื่อสารในชีวิตจริง
กฎข้อที่ 3 รู้ว่าเราอยู่ที่ไหนในไซเบอร์สเปซ
กฎข้อที่ 4 เคารพเวลาและการใช้แบนด์วิธ
กฎข้อที่ 5 ทำให้ตัวเองดูดีเวลาออนไลน์
กฎข้อที่ 6 แบ่งปันความรู้ของผู้เชี่ยวชาญ
กฎข้อที่ 7 ช่วยกันควบคุมสงครามการใส่อารมณ์
กฎข้อที่ 8 เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น
กฎข้อที่ 9 อย่าใช้อำนาจในทางไม่สร้างสรรค์
กฎข้อที่10 ให้อภัยในความผิดพลาดของผู้อื่น
การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ (Cyberbullying)
การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์หรือการรังแกบนโลกไซเบอร์ หมายถึง การข่มขู่ คุกคาม ด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยการใช้โทรศัพท์มือถือ หรือสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ในการรังแกกัน เช่น การส่งข้อความไปก่อกวนผู้อื่น การนำข้อมูลที่ทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียไปเผยแพร่ การนำข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลที่เป็นความลับของผู้อื่นนำไปเปิดเผย โดยผู้กระทำมีเจตนาให้ผู้อื่นรู้สึกเจ็บปวดทางจิตใจ ได้รับความเสียหาย เกิดความทุกข์ใจ อับอาย เสื่อมเสีย และขาดความน่าเชื่อถือ (ธันยากร ตุดเกื้อ , 2557) การรังแกรูปแบบนี้สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา
Subtopic
นักเลงคีย์บอร์ด
ความหมายของนักเลงคีย์บอร์ด
นักเลงคีย์บอร์ด หมายความว่า บุคคลที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว คอยระราน และทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน โดยออกมาในรูปแบบการพิมพ์ ผ่านสื่อออนไลน์ต่าง ๆ เช่น เกมออนไลน์ เฟซบุ๊ก หรือ ตามเว็บบอร์ดต่าง ๆ เป็นต้น มักจะให้คำนิยามสั้น ๆ กับบุคคลประเภทนี้ว่า “เกรียน”
สาเหตุการเกิดนักเลงคีย์บอร์ด
1. สภาพแวดล้อมในโลกของเกมออนไลน์ ซึ่งสาเหตุเกิดจากการถูกกดดันจากผู้เล่นอื่น
2. การไม่ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง ในเว็บบอร์ดที่มีการพูดคุยกันถึงประเด็นใดประเด็นหนึ่ง
3. มาจากนิสัยส่วนตัวของนักเลงคีย์บอร์ด คนกลุ่มนี้จะมีความสนุกที่ได้เห็นผู้อื่นเดือดร้อน หากยิ่งยั่วยุให้ผู้อื่นโมโหได้จะยิ่งมีความสุข
วิธีจัดการกับนักเลงคีย์บอร์ด
1. อย่าโกรธตอบ เมื่อได้โต้ตอบสักพักแล้วรู้ตัวว่าคู่สนทนาคือนักเลงคีย์บอร์ด
2. ตอบโต้แต่ไม่หลงกล สำหรับคนที่ทนอยู่นิ่งเฉยไม่ได้ สามารถเลือกจะโต้ตอบได้
3. เข้าใจเกรียน ไม่เดือดตาม พยายามมองอย่างเข้าใจด้วยวุฒิปัญญา
การนำมารยาทในชีวิตประจำวันมาใช้กับโลกดิจิทัล
1. มารยาทการพูดคุยในโลกดิจิทัล
1.1 ใช้ข้อความภาษาถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
1.2 ใช้คำให้เหมาะสมกับกาลเทศะบุคคลในแต่ละวัย
1.3 ใช้ข้อความที่กระชับ ชัดเจน อ่านแล้วเข้าใจง่าย เพื่อไม่ให้เสียเวลา
1.4 ใช้คำสุภาพ รู้จักคำกล่าวทักทาย ขอบคุณ ขอโทษ หรือคำกล่าวตอบรับหากได้รับข้อความแล้ว
2. เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น ไม่อาศัยแฟซบุ๊ก ไลน์ ทวิตเตอร์ อินสตราแกรม หรือโปรแกรมแชทต่าง ๆ
3. มารยาทการรู้จักประมาณตน ควรใช้อย่างพอดีไม่มากเกินไปและใช้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ รู้จัก เหตุผล ไม่ทำตัวเองให้เด่น เรียกร้องความสนใจมากเกินไป
4. มีมารยาทเป็นผู้ฟัง เมื่อมีการพูดคุยกัน ควรมีช่องว่างให้ผู้รับได้ตอบโต้พูดหรือส่งข้อความถึงผู้ส่งด้วย
5. การช่วยเหลือกันในสังคม การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุขต้องมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน มีน้ำใจช่วยเหลือกัน
ออฟฟิศซินโดรม
อาการของออฟฟิศซินโดรม
อาการของออฟฟิศซินโดรมที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะค่อย ๆ สะสม เริ่มจากน้อยไปหามาก และใช้เวลาค่อนข้างนาน บางรายใช้เวลาสะสมเป็นสิบปี ผู้ป่วยแทบทุกรายมักไม่ใส่ใจกับอาการที่เป็นเริ่มแรกและปล่อยให้เป็นหนักลุกลามเรื้อรังจนทนไม่ได้ แล้วค่อยคิดหาวิธีรักษาอย่างจริงจัง เมื่อนั่งอยู่กับโต๊ะทำงาน เวลาที่ต้องนั่งทำงานนาน ๆ ส่วนใหญ่จะเกิดอาการเหล่านี้ (ฉัตริษา ศรีสานติวงศ์, 2553)
1. อาการปวดศีรษะเล็กน้อย ปวดต้นคอเรื่อยมาจนถึงไหล่
2. อาการปวดเมื่อยบริเวณหลังส่วนล่าง นั่นคือช่วงเอว บางรายจะปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขั้นเสียวแปลบ ๆ และร้าวลงขา มีอาการชาที่ปลายเท้าร่วมด้วย นั่นคืออาการของ “หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท” “กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท” “กระดูกสันหลังเสื่อม” “กระดูกสันหลังบิดเบี้ยว คด งอ” หรืออาจจะเป็นโรคอื่น ๆ ซึ่งล้วนแต่ร้ายแรงทั้งนั้น
3. อาการปวดตาเนื่องมาจากแสงของคอมพิวเตอร์และแสงภายในอาคาร บางรายเป็นโรคตาแห้งถาวร หินปูนบนเปลือกตา น้ำตาไหล ตาพร่ามัว
4. อาการปวดข้อมือเนื่องมาจากการใช้ เมาส์หรือการเขียนนาน ๆ
5. อาการปวดข้อนิ้วมือหรือนิ้วล็อค
6. อาการปวดบริเวณก้นและสะโพกเพราะนั่งนานเกินไป
7. อาการชาลงปลายนิ้วมือและเท้าแบบเป็น ๆ หาย ๆ
8. อาการปวดเข่า เสียวแปลบ ๆ ทุกครั้งเมื่อต้องนั่ง งอเข่า หรือเดิน
9. อาการขาและเท้าบวมเพราะการยืนหรือนั่งนาน
10. อาการปวดฝ่าเท้าเพราะต้องยืนหรือเดินนาน ๆ
สาเหตุของออฟฟิศซินโดรม
1. การทำงานซ้ำซาก (Repetition)
2. ท่าทางที่ไม่เหมาะสม (Awkward Posture)
3. กล้ามเนื้อทำงานเกร็งค้างกับที่ (Static Muscle Work)
4. การออกแรง (Force)
5. ช่วงระยะเวลาการทำงาน (Duration of Exposure)
6. ความเครียด (Stress)
การรักษาออฟฟิศซินโดรม
1. การรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยตนเอง
1.1 หมั่นออกกำลังกายเพื่อยืดและคลายกล้ามเนื้อให้เหมาะสมกับอาการซึ่งการออกกำลังกายที่จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
1.2 ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่นปรับระดับความสูงของเก้าอี้ให้เท้าสามารถวางจรดกับพื้นขณะนั่ง
1.3 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานกล้ามเนื้อให้เหมาะสม เช่น ในระหว่างทำงานเมื่อรู้สึกอ่อนล้า
ควรจะต้องพักจากงานที่ทำอยู่เพื่อให้ร่างกายและสมองได้ผ่อนคลาย โดยอาจจะลุกขึ้นยืดเส้นยืดสาย หรือเดินไปสูดอากาศข้างนอก
2. การรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยวิธีทางการแพทย์
การรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยวิธีทางการแพทย์ หากไม่แน่ใจว่าเป็นออฟฟิศซินโดรมหรือไม่ หรือกังวลใจเกี่ยวกับอาการที่เป็น สามารถไปพบแพทย์ได้ ซึ่งในเบื้องต้นแพทย์ก็มักจะแนะนำให้ปรับพฤติกรรมและอาจให้ใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาบรรเทาอาการอักเสบของเอ็นและกล้ามเนื้อ
การป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม
1. ขณะพิมพ์คอมพิวเตอร์ต้องให้ข้อศอกอยู่ระดับเดียวกับคีย์บอร์ด เพื่อให้สามารถกดคีย์บอร์ดได้ถนัด
2. จอคอมพิวเตอร์อยู่ห่างจาก สายตาประมาณ 2 ฟุต และปรับหน้าจอด้านบนสุดให้อยู่ในแนวเดียวกับระดับสายตา
3. อย่านั่งจ้องหน้าคอมพิวเตอร์ นาน ๆ ให้พักสายตาทุก 15 นาที ด้วยการมองออกไปไกล ๆ จะทำให้ดวงตาไม่เกิดอาการล้าและหลับตา ทุก 1 ชั่วโมง
4. เมื่อรู้สึกเมื่อยตา ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางแตะที่หัวตาแต่ละข้าง นวดคลึงเบา ๆ และควรบริหาร ดวงตา เพื่อคลายความตึงเครียด ด้วยการกลอกตาเป็นวงกลม ประมาณ 5-6 รอบ
5. ควรปรับความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม
6. ควรปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกครั้ง ที่ไม่ได้ใช้งาน เพื่อลดระยะเวลาในการรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นสาเหตุของ โรคความดันโลหิตสูง
โรคติดสื่อสังคมออนไลน์
1. โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก (Facebook Depression Syndrome)
3. โรควุ้นในตาเสื่อม (Eye Floaters)
5. โนโมโฟเบีย (Nomophobia)
2. ละเมอเเชท (Sleep-Texting)
4. โรคสมาร์ทโฟนเฟซ (Smartphone face)
การบำบัดอาการเสพติดสื่อสังคมออนไลน์
การดีท็อกซ์คือการเอาสารพิษออกจากร่างกาย แล้วการบำบัดอาการเสพติดสื่อสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดีย ดีท็อกซ์ (Social Media Detox) หรือดิจิทัลดีท็อกซ์ (Digital Detox) เป็นการพาตัวเองออกห่างจากสมาร์ตโฟนและโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ทั้งหมด ซึ่งเป็นการพักใจ พักสมอง และเรียกคืนตัวเองกลับมา
1. ตัดกิจกรรมทุกอย่างที่เกี่ยวกับโซเชียลมีเดีย โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับอะไรที่สามารถเชื่อมต่อกับโซเซียลมีเดีย ตัดทุกทางที่จะทำให้พบเห็น หรือรับรู้ที่เกี่ยวกับโซเชียลมีเดีย
2. หากิจกรรมอื่นทำแทนการเล่นโซเชียลมีเดีย ซึ่งอาจจะเป็นกิจกรรมนอกบ้าน ออกท่องเที่ยวสัมผัสช่วงเวลาแห่งความสุข การเดินป่า ดำน้ำ โดยเป็นกิจกรรมที่ไม่มีแล็บท็อป โน๊ตบุ๊ค มาเกี่ยวข้อง
3. ลองกลับไปใช้ชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์
4. ถ้าทำใจเลิกเล่นโซเชียลมีเดียไม่ได้ ให้ลองคัดเพื่อนในโซเชียลมีเดียให้เหลือแต่คนที่สนิทกันจริง ๆ
5. ปรับทัศนคติในการเล่นโซเชียลมีเดียใหม่ จำไว้ว่าคนในโลกโซเชียลมีเดียมักจะเสนอแต่แง่มุมดี ๆ ของตัวเองทั้งนั้น แต่จริง ๆ แล้วคนเราย่อมมีทั้งสุขและทุกข์ปนกันไป