การประเมิณ วิเคราะห ์ สังเคราะห์สารสนเทศ (Evaluate, Analysis, Synthesis)

ลักษณะของสารสนเทศที่ดี

ต้องมีความถูกต้อง (Accuracy)

มีความน่าเชื่อถือ (Rellable)

ต้องมีความสมบูรณ์ (Completeness)

สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ (Relevance)

เข้าถึงได้ง่าย (Accessible)

ตรวจสอบได้ (Verifiability)

ทันต่อความต้องการใช้ (Timeliness)

มีความทันสมัย เป็นปัจจุบัน (Up to date)

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาสารสนเทศที่ดี

พิจารณาความน่าเชื่อถือ

ความเที่ยงตรง

พิจารณาเนื้อหาว่ามีส่วนใดที่ทำให้เกิดความลำเอียง

ผู้แต่งใช้ข้อเท็จจริงสนับสนุนการแสดงความคิดเห็นหรือไม่

พิจารณาแหล่งที่มาของสารสนเทศ

พิจารณาสำนักพิมพ์หรือแหล่งผลิต

ผู้จัดพิมพ์เป็นที่รู้จักกันดีในสาขาวิชานั้นหรือไม่

จัดพิมพ์จำนวนมากหรือน้อยเพียงใด

เป็นโรงพิมพ์ของมหาวิทยาลัยหรือไม่

ผู้จัดพิมพ์เป็นองค์กรหรือสมาคมมืออาชีพที่มีประสบการณ์หรือไม่

พิจารณาผู้แต่ง

มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับหรือไม่

มีคุณวุฒิและประสบการณ์ในเรื่องที่เขียนหรือไม่

มีผลงานเขียนที่เกี่ยวข้องกันในที่อื่นอีกหรือไม่

พิจารณาขอบเขตเนื้อหา

เป็นสารสนเทศที่มีเนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์หรือเป็นเพียงบทสรุป บทคัดย่อ สาระสังเขป

เป็นสารสนเทศที่มีเนื้อหาครอบคลุมหัวข้อเรื่องหรือสาขาวิชาอย่างครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่

เป็นสารสนเทศให้ความรู้ในระดับใด

ถ้าเป็นสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ตให้ดูว่ามีการเชื่อมโยงรายละเอียดกับเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ หรือมีการทำคำอธิบายประกอบครบถ้วนสมบูรณ์เพียงใด

พิจารณาให้ตรงกับความต้องการ

ต้องการสารสนเทศที่มีเนื้อหาอย่างไร เพื่อตอบโจทย์คำถามอะไร

ต้องการสารสนเทศจากแหล่งใด หรือรูปแบบใด

ต้องใช้สารสนเทศไปทำอะไร

พิจารณาช่วงเวลาที่เผยแพร่

สารสนเทศถูกจัดพิมพ์เผยแพร่เมื่อใด

สารสนเทศที่ไม่ได้ระบุช่วงเวลาที่จัดพิมพ์ให้พิจารณาถึงแหล่งที่มาอย่างรอบคอบว่าควรจะนำมาอ้างอิงหรือไม่

เป็นสารสนเทศที่ทันสมัย จัดพิมพ์เผยแพร่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ถ้าเป็นสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ตให้ดูวัน เวลาในการปรับปรุงเว็บไซต์นั้น ซึ่งมักจะอยู่ด้านล่างของหน้าเอกสาร

การเลือกใช้สารสนเทศ

ความหมายของการประเมินสารสนเทศ

การประเมินสารสนเทศ คือ การตรวจสอบว่าสสารสนเทศที่ได้มานั้นสามารถตอบคำถามที่ตั้งไว้ได้ละเอียดครอบคลุมทุกประเด็น มีคำอธิบายที่เป็นเหตุเป็นผลและมีเอกสารอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือเพียงใด

ความสำคัญของการประเมินสารสนเทศ

เป็นขั้นตอนในการประเมินเพื่อคัดเลือกสารสนเทศที่เราได้จากการสืบค้นที่มีคุณค่า มีความน่าเชื่อถือในทางวิชาการ เป็นการพิจารณาคัดเลือกจากแหล่งสารสนเทศต่างๆ ทั้งจากห้องสมุด อินเทอร์เน็น เป็นต้น

ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

พิจารณาว่าเป็นเรื่องที่ตรงกับความต้องการอย่างแท้จริหรือไม่

พิจารณาว่าเป็นสารสนเทศที่มีความน่าเชื่อถือหรือไม่

พิจารณาว่าเนื้อหาของสารสนเทศอยู่ในระดับใด

การสังเคราะห์สารสนเทศ

การจัดการสารสนเทศโดยทั่วไป

จัดกลุ่ม (ประเด็นใหญ่/ประเด็นย่อย)

เรียงตามลำดับตัวอักษร

ตามลำดับเวลา

ตั้งแต่จนจบ

ใช้หลายๆวิธีข้างต้นผสมผสานกัน

วิธีการจัดสารสนเทศ

นำเอกสาร หรือข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งต่างๆที่ได้มาอ่านอีกครั้ง

ทำ Highligh / Mark ที่ประโยค หรือข้อความที่สำคัญที่จะใช้

ลองจัดกลุ่มความสัมพันธ์ของเรื่องหรือข้อมูล โดยการใส่ตัวเลขหรือตัวอักษรที่ข้อความนั้นๆ

จัดเรียงข้อมูลที่ได้เพื่อจัดกลุ่มใหม่อีกครั้ง

จะได้กลุ่มข้อมูลหรือโครงร่างคร่าวๆที่มองเห็นภาพของข้อมูล

กระบวนการของการสังเคราะห์สารสนเทศ

จัดกลุ่มสารสนเทศที่มีแนคิดเดียวกันไว้ด้วยกัน

นำสารสนเทศที่มีแนวคิดเดียวกันมาจัดกลุ่มอีกครั้ง เพื่อสร้างความสัมพันธ์ตามลำดับขั้น

นำแนวคิดต่างๆที่เราได้สร้างความสัมพันธ์ในแต่ละกลุ่มของแนวคิดมารวบรวมเป็นโครงสร้างใหญ่ในรูปของโครงร่าง

ประเมินโครงร่างที่ได้ครอบคลุมครบถ้วนหรือไม่ กรณีไม่ครบถ้วนต้องกลับไปเริ่มที่กระบวนการแสวงหาคำตอบใหม่

การวิเคราะห์สารสนเทศ

ความหมายของการวิเคราะห์สารสนเทศ

การวิเคราะห์สารสนเทศ หมายถึง กระบวนการแยกแยะสารสนเทศที่สำคัญและสอดคล้องกับเรื่องที่ต้องการออกเป็นกลุ่มย่อยๆ โดยให้สารสนเทศที่มีเนื้อหาเดียวกันหรือที่ค้นได้จากสำคัญเดียวกันอยู่ด้วยกัน

กระบวนการของการวิเคราะห์สารสนเทศ

การอ่านเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศที่ผ่านการประเมินแล้วว่า สามารถนำมาใช้งานได้จริงๆ

ดึงเนื้อหาของสารสนเทศที่สอดคล้องกับประเด็นแนวคิดต่างๆที่เราต้องการศึกษา

ทำการบันทึกเนื้อหาลงใน"บัตรบันทึก"

นำบัตรบันทึกมาจัดกลุ่มตามประเด็นแนวคิดเพื่อใช้ในการเรียบเรียงเนื้อหาของรายงานต่อไป

ขั้นตอนการวิเคราะห์สารสนเทศ

อ่านจับใจความสำคัญของเรื่อง

พิจารณาเนื้อหาสารสนเทศที่สอดคล้องกับประเด็นแนวคิดต่างๆที่ต้องการจะศึกษา

บันทึกสารสนเทศที่สอดคล้องกับเรื่องที่ต้องการ

จัดกลุุ่มเนื้อหา

บัตรบันทึกความรู้

วิธีเขียนบันทึกเนื้อหา

แบบย่อความ (Summary Note) หรือสรุปความ

อ่านเอกสารในหัวเรื่องที่กำลังบันทึกให้ตลอดเสียก่อนเพื่อสำรวจเนื้อหาสาระ และแนวคิดของเรื่อง

วิเคราะห์เนื้อหาและเก็บประเด็นหรือสาระสำคัญหลักของหัวเรื่องให้ครบถ้วน

ประเด็นรองหรือรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของแต่ละประเด็นให้รวบรวมและจัดให้เป็นระเบียบกะทัดรัดไว้ที่ประเด็นนั้นๆ

แบบคัดลอกข้อความ (Quotation Note)

เป็นการบันทึกด้วยการเลือกคัดลอกข้อความบางตอนที่ต้องการจากต้นฉบับตามตัวอักษรทุกประการ

แบบถอดความ (Parahrase Note)

ต้นฉบับเป็นบทร้อยกรอง แต่ต้องการใช้เป็นร้อยแก้ว

ต้นฉบับเป็นภาษาที่ไม่แพร่หลายคุ้นเคย

ต้นฉบับเป็นภาษาต่างประเทศ

ขั้นตอน การประเมิน วิเคราะห์ สังเคราะห์สารสนเทศ

สารสนเทศจากการสืบค้น

สารสนเทศมีจานวนมาก

ประเมิน (Evaluate)

ได้สารสนเทศที่สามารถใช้งานได้จริง

ตรงกับความต้องการ

น่าเชื่อถือ

ระดับเนื้อหา

วิเคราะห์ (Analysis)

รับรู้ ( อ่าน ดูฟัง) บันทึกเนื้อหาของสารสนเทศ

รับรู้สารสนเทศ

แยกแยะเนื้อหา

สังเคราะห์ (Synthesis)

จัดกลุ่มและสร้างความสัมพันธ์ของสารสนเทศ

จัดกลุ่มเนื้อหา

จัดทำโครงร่าง

ทบทวนและปรับปรุง