ความรู้พื้นฐานของการวิจัย
(Foundation of Research)

3. แนวคิดพื้นฐานของการวิจัย

3.1 กฎเหตุและผลของธรรมชาติ(Deterministic Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่าปรากฏการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นจะสามารถแสวงหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์นั้นได้เสมอ ๆ หรือเมื่อกำหนดสถานการณ์ใด ๆ ที่เป็นสาเหตุย่อมจะหาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน

3.2 กฎความเป็นระบบของธรรมชาติ(Systematic Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่าปรากฏการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นตามกฎของเหตุและผลของธรรมชาติจะมีรูปแบบของความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ค่อนข้างจะชัดเจน เพื่อที่ผู้วิจัยจะได้นำรูปแบบ ดังกล่าวไปใช้อธิบายในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทั่ว ๆ ไปได้

3.3 กฎความสัมพันธ์ของธรรมชาติ(Associative Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่า ในการเกิดปรากฏการณ์ใด ๆ ที่แตกต่างกันนั้น จะมีความมากน้อยของตัวแปรที่เป็นสาเหตุและตัวแปรผลที่แตกต่างกัน

3.4 กฎองค์ประกอบหลักของธรรมชาติ(Principle Component of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่าตัวแปรสาเหตุและตัวแปรผลที่เกิดขึ้นนั้น ๆ ไม่ได้เป็นความสัมพันธ์เชิงเดี่ยว แต่จะมีตัวแปรอื่นๆ ที่มักจะมาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ๆ

3.5 กฎความน่าจะเป็นของธรรมชาติ(Probabilistic Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่าในปรากฏการณ์ ใด ๆ นั้น ความรู้ความจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จะเป็นผลลัพธ์ของปรากฏการณ์ ที่มีความน่าจะเป็นในการเกิดขึ้นที่ค่อนข้างสูง

4. คุณลักษณะของการวิจัย

4.1 การวิจัย เป็นการแก้ปัญหาที่ช่วยให้สามารถบรรลุเป้าหมายสุดท้าย ที่เป็นการค้นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล

4.2 การวิจัย เป็นการพัฒนาข้อสรุป หลักเกณฑ์และทฤษฎีที่สามารถนำไปใช้อ้างอิงหรือคาดการณ์โดยเฉพาะในกรณีที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

4.3 การวิจัย มีแนวคิดพื้นฐานของการได้รับข้อมูลที่สรุปจากประสบการณ์ที่ได้จากการสังเกตหรือข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical) ดังนั้นในบางคำถามที่น่าสนใจไม่สามารถที่จะนำมาดำเนินการวิจัยได้ เพราะไม่สามารถสังเกตหรือแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ได้

4.4 การวิจัยจำเป็นจะต้องมีกระบวนการสังเกตที่ถูกต้อง ชัดเจน และบรรยายปรากฏการณ์ที่
เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณหรือวิธีการของการวิจัยเชิงคุณภาพ

4.5 การวิจัย เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่จากแหล่งปฐมภูมิ หรือใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วใน
การตอบคำถามตามจุดประสงค์ใหม่ ไม่ใช่เป็นการจัดระบบใหม่ (Reorganizing) โดยการนำข้อมูล ที่
ผู้อื่นค้นพบแล้วมาสรุปอีกครั้งหนึ่ง เพราะทำให้ไม่ได้รับความรู้ใหม่ ๆ

4.6 การวิจัยจะต้องมีระบบ มีวิธีการ แบบแผนการวิจัย และการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง ชัดเจน ที่
จะทำให้ได้ข้อสรุปการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ

4.7 การวิจัย จะต้องเป็นการดำเนินการโดยใช้ความรู้ความชำนาญของผู้วิจัยที่จะต้องรับรู้ปัญหาที่ตนเองจะทำวิจัย และปัญหาดังกล่าวมีบุคคลใดประเด็นใดที่ได้ทำวิจัยไปแล้วบ้าง รวมทั้งเรียนรู้ คำศัพท์เฉพาะที่ใช้ ความคิดรวบยอดและทักษะทางเทคนิค ที่จะสามารถนำมาใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง

4.8 การวิจัย จะต้องก าหนดวัตถุประสงค์ โดยใช้เหตุผลตามหลักความเป็นจริงที่จะสามารถทดสอบได้และวิธีการที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เป็นจริง มีเหตุผล และจะต้องไม่มีอคติของผู้วิจัยมาเกี่ยวข้อง

4.9 งานวิจัย จะต้องเป็นการดำเนินการแสวงหาคำตอบที่นำมาใช้ตอบคำถามของปัญหาที่ ยัง
ไม่สามารถแก้ไขได้

4.10 การวิจัย เป็นกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการด้วยความอดทน ไม่เร่งรีบ และจะต้อง
ยอมรับ/เผชิญอุปสรรคในวิธีการได้มาของคำตอบในการวิจัย

4.11 การวิจัย จะต้องมีการจดบันทึกข้อมูล และจัดทำรายงานการวิจัยด้วยความระมัดระวัง
ในการใช้คำที่มีความหมาย วิธีการดำเนินการวิจัย หรือการอ้างอิงข้อมูลที่ได้นำมากล่าวอ้างอิงอย่าง
ถูกต้อง

สรุปได้ว่า การวิจัย เป็นวิธีการ ๆ หนึ่งที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ความ
จริง ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่มีระบบและขั้นตอนชัดเจน และมีการกำหนดจุดมุ่งหมายของการ
วิจัย ในแต่ละครั้งอย่างชัดเจนว่าต้องการอะไร ที่ผู้วิจัยจะใช้เป็นแนวทางในการแสวงหาคำตอบ เพื่อใช้
อธิบาย พยากรณ์ และควบคุมปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ๆ

5. ธรรมชาติของการวิจัย

5.1 การวิจัยเป็นกระบวนการเชิงประจักษ์ หมายถึง การวิจัยเป็นกระบวนการแสวงหาคำตอบที่
ต้องใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่มีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และมีความชัดเจนที่สามารถตรวจสอบได

5.2 การวิจัยเป็นการด าเนินการที่เป็นระบบ หมายถึง การวิจัยเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) ที่มีการวางแผนอย่างมีเหตุผลและลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน ที่จะทำให้ได้ข้อค้นพบที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ

5.3 การวิจัยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน หมายถึง การวิจัยเป็นการด าเนินการที่มีจุดมุ่งหมายใน 4
ลักษณะ คือ บรรยาย อธิบาย พยากรณ์ และควบคุม ในปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

5.4 การวิจัยมีความเที่ยงตรง (Validity) หมายถึง การวิจัย ใด ๆ จำเป็นต้องมีความเที่ยงตรง
ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ ความเที่ยงตรงภายใน ที่สามารถระบุได้ว่าผลการวิจัยที่ได้เกิดจากตัวแปรที่ศึกษา
เท่านั้น หรือผลการวิจัยสามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และความเที่ยงตรง
ภายนอก ที่จะสามารถน าผลการวิจัยที่ได้ไปใช้ในสถานการณ์ที่มีความคล้ายคลึงกันได้อย่างครอบคลุม

5.5 การวิจัยมีความเชื่อมั่น (Reliability) หมายถึง การวิจัยต้องมีความคงเส้นคงวาใน การดำเนินการวิจัย ที่การวิจัยจะดำเนินการซ้ำกี่ครั้งด้วยการดำเนินการวิจัยแบบเดิม ๆ ก็จะได้ผลการวิจัยที่คล้ายคลึงกัน

5.6 การวิจัยมีเหตุผล หมายถึง การวิจัยเป็นการดำเนินการที่จะต้องมีเหตุผลที่ชัดเจนใน การดำเนินการทุกขั้นตอนเพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่ถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือและสามารถตรวจสอบ ได้อย่างชัดเจน

5.7 การวิจัยเป็นการแก้ปัญหา หมายถึง การวิจัยเป็นการดำเนินการที่จะเริ่มต้นด้วยปัญหาที่
เกี่ยวพันกันระหว่างปัญหา(ตัวแปรตาม) กับวิธีการแก้ปัญหา(ตัวแปรต้น) แล้วจึงจะใช้วิธีการทาง
วิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการในการดำเนินการตรวจสอบการแก้ปัญหานั้น ๆ

5.8 การวิจัยต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่ หมายถึง การวิจัยในแต่ละครั้งจะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่เพื่อตอบค าถามตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้น ๆ แต่ถ้าใช้ข้อมูลเดิมจะต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ใหม่ที่นำข้อมูลที่มีอยู่แล้วมาสังเคราะห์เพื่อให้เกิดคำตอบของปัญหาที่ชัดเจนตามที่กำหนด

5.9 การวิจัยมีวิธีการที่หลากหลาย หมายถึง การวิจัยจะมีวิธีการในการดำเนินการวิจัยที่ให้ผู้วิจัยได้เลือกใช้อย่างหลายหลายวิธีการตามความเหมาะสมของปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์ หรือการดำเนินการวิจัย

5.10 การวิจัยต้องใช้ศักยภาพของผู้วิจัย หมายถึง การวิจัยที่มีประสิทธิภาพจะต้องดำเนินการโดยที่ผู้วิจัยที่มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ในการวิจัยที่จะสามารถดำเนินการวิจัยตั้งแต่การวิเคราะห์ปัญหา การวิจัยจนกระทั่งได้ผลการวิจัยถูกต้อง และน่าเชื่อถือ

2. จุดมุ่งหมายของการวิจัย

2.1 สถานภาพการวิจัยใช้วิธีแก้ปัญหาโดยการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกัน

2.2 การวิจัยเป็นการสรุปผล หลักเกณฑ์ และทฤษฏีที่ใช้ในการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หรือเป็นการศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพื่อที่นำผลสรุปอ้างอิงไปสู่ประชากร

2.3 การวิจัยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือปรากฏการณ์ที่สังเกตได้มาใช้ในการสรุปผล โดยที่ปัญหาในบางปัญหาไม่สามารถท าการวิจัยได้เนื่องจากไม่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้

1. ความหมายของการวิจัย (ความหมายของการวิจัย)

เป็นกระบวนการที่มีความชัดเจนและเป็นระบบที่สามารถนำมาใช้ในการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์หรือพัฒนาเป็นกฎทฤษฏี ใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องย้ำและแบทช์

บทสรุป

โดยสรุปแล้วการวิจัย คือการแสวงหาความรูอยางเปนระบบ ซึ่งจะนำเสนอตามวัตถุประสงค
ที่ผูวิจัยไดกำหนด ซึ่งเปนประโยขน์ การศึกษาคนควาของตนเอง หรือองคกร เปนการตอบ
ปรากฏการณ์สภาพการ การแกปญหา หรือการประเมิน ซึ่งมีการกำหนดกลุมเปาหมายในการ วิจัยที่สามารถอางอิงได โดยใชเครื่องมือในการประเมินอยางมีคุณภาพ วิเคราะหขอมูลที่ใชหลักการ ตามกระบวนการวิทยาศาสตรผานการตีความหมายอยางถูกตองและเกิดความเขาใจ ตลอดจนนำเสนอในรูปแบบรายงานที่มีรูปแบบอยางสมบูรณและเปนสากล ซึ่งมีสวนสำคัญประกอบดวย ความสำคัญและปญหาของการวิจัย วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวของ วิธีการดำเนินการวิจัย ผลการวิเคราะหข้อมูล สรุป อภิปรายและขอเสนอแนะ เปนสิ่งที่สำคัญจะชวยใหนักวิจัยไดทราบถึงสภาพปญหาปัจจุบัน ความตองการ แนวทางการพัฒนา ที่จะชวยใหการศึกษามีความสมบูรณขึ้นและเป
นประโยชน์ตอองคกรตอไป

ขั้นตอนในการวิจัย

1) เลือกหัวข้อปัญหา เป็นการตอบคำถามที่ว่าเราจะทำวิจัยเรื่องอะไร ซึ่งจะต้องพิจารณาให้รอบคอบด้วยความมั่นใจและเขียนชื่อเรื่องที่จะวิจัยออกมา

2) การกำหนดขอบเขตของปัญหา เมื่อได้ปัญหาที่จะท าการวิจัยแน่นอนแล้วควรจะกำหนดขอบเขตของปัญหาให้ชัดแจ้ง

3) การศึกษาเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยการศึกษาสาระความรู้ แนวคิด ทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นในตำรา หนังสือ วารสาร รายงานการวิจัยและเอกสาร อื่น ๆ ซึ่งจะ
มีประโยชน์ต่อผู้วิจัย

4) การกำหนดสมมุติฐาน หมายถึง การเขียนข้อความที่เป็นข้อคาดหวังเกี่ยวกับความ แตกต่าง
ที่อาจเป็นไปได้ ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ซึ่งสมมุติฐานนั้นไม่จ าเป็นว่าจะต้องเป็นจริงเสมอไป

5) การเขียนเค้าโครงการวิจัย การเขียนเค้าโครงการวิจัยเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นหนึ่ง เนื่องจาก
เค้าโครงการวิจัยนั้นจะเป็นแบบแผนในการดำเนินงานวิจัยอย่างมีระบบ

6) การสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล ก่อนที่จะดำเนินการรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยจะต้องทราบว่า
จะใช้เครื่องมืออะไรในการเก็บรวบรวมข้อมูล และเครื่องมือนั้นมีหรือยัง ถ้ายังไม่มีต้องดำเนินการ
สร้างและนำเครื่องมือนั้นไปทดลองใช้ เพื่อหาคุณภาพของเครื่องมือ

7) ขั้นด าเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยจะต้องทราบว่า
ในการทำการวิจัยนั้นสามารถจะรวบรวมข้อมูลจากกลุ่ม ประชากรทั้งหมด

6. ประเภทของการวิจัย

6.1 จำแนกตามประโยชน์ที่ได้รับหรือเหตุผลในการวิจัย

6.1.1 การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์(Basic Research or Pure Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหาความรู้ความจริงเชิงทฤษฎี/ปรากฏการณ์ ที่นำมาใช้ใน การสนับสนุน หรือขัดแย้งกับกฎเกณฑ์ หรือทฤษฎีที่มีอย

6.1.2 การวิจัยการน าไปใช้(Applied Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ใน การนำผลการวิจัยจากการวิจัยพื้นฐานมาใช้ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้ในปัจจุบัน ตัดสินใจ หรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และถ้าเป็นการวิจัยเพื่อใช้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะเรื่อง จะเรียกว่า การวิจัย เชิงปฏิบัติการ(Action Research)

6.2 จำแนกตามลักษณะ(ความลึก/ความกว้าง)ของข้อมูล

6.2.1 การวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) เป็นการวิจัยที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวแปรที่มีลักษณะเป็นตัวเลขที่ระบุระดับความมาก/น้อยของปรากฏการณ์ตามเกณฑ์ที่กำหนดให้ค่อนข้างชัดเจน

6.2.2 การวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) เป็นการวิจัยที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวแปรที่มีลักษณะเป็นข้อความที่บรรยายลักษณะ เหตุการณ์หรืออธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไรตามสภาพแวดล้อม ทำให้มีการสรุปผลการวิจัยเชิงลึก

6.3 จำแนกตามระเบียบวิธีวิจัย(Methodology)

6.3.1การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์(Historical Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ ใช้ข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีตที่มีหลักฐานปรากฏอยู่ อาทิ รูปภาพ สิ่งพิมพ์ บันทึกเหตุการณ์ หรือซากวัสดุต่าง ๆ เป็นต้น

6.3.2 การวิจัยเชิงบรรยาย(Descriptive Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้บรรยายคุณลักษณะ หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามสภาพการณ์ธรรมชาติของปรากฏการณ์นั้น ๆ

การวิจัยเชิงส ารวจ(Survey Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้
บรรยายคุณลักษณะหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร อาทิ การสำรวจโรงเรียน/ชุมชน/ ประชามติ

การศึกษาความสัมพันธ์ (Interrelationship Studies) เป็นการวิจัยที่ มี
วัตถุประสงค์เพื่อใช้บรรยายความสัมพันธ์ของคุณลักษณะ หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

การศึกษาพัฒนาการ(Developmental Studies) เป็นการวิจัยที่มี
วัตถุประสงค์เพื่อใช้บรรยายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อระยะเวลาผ่านไป

6.4 จำแนกตามลักษณะของวิชา หรือศาสตร์

6.4.1 การวิจัยทางวิทยาศาสตร์(Scientific Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ที่มักจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติที่เกี่ยวกับสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต หรือในสถานการณ์จำลองในการทดลองที่สามารถควบคุมความแปรปรวนที่เกิดขึ้นได้ โดยใช้เครื่องมือ ที่เป็นมาตรฐาน

6.4.2 การวิจัยทางสังคมศาสตร์(Social Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม การเมือง การปกครอง และการศึกษา

6.5 จำแนกตามเวลาที่ใช้ในการทำวิจัย

6.5.1 การวิจัยแบบตัดขวาง/ระยะสั้น(Cross-section Research) เป็นการวิจัยที่ใช้เวลาในการวิจัยช่วงใดช่วงหนึ่งที่ผู้วิจัยสนใจแล้วนำมาสรุปผลในภาพรวมของปรากฏการณ์นั้น ๆ ในอนาคตมากกว่าสภาพในปัจจุบันหรืออดีต มีข้อดี คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่อาจจะไม่เห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

6.5.2 การวิจัยแบบต่อเนื่อง (Longitudinal Research) เป็นการวิจัยที่ใช้เวลาอย่างต่อเนื่องในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำให้ได้ผลสรุปของข้อมูลที่ชัดเจน ละเอียด และได้เห็นกระบวนการการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ผู้วิจัยจะต้องใช้ค่าใช้จ่าย/เวลาที่ค่อนข้างสูง

6.6 จำแนกประเภทการวิจัยตามเป้าหมายหลักของการวิจัย

6.6.1 การวิจัยที่มุ่งบรรยายตัวแปร(Descriptive-Oriented Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อบรรยายลักษณะของตัวแปรในประชากร ที่อาจเป็นเฉพาะกรณี การสำรวจปรากฏการณ์ในอดีต หรือปัจจุบัน หรือการเปรียบเทียบหรือประเมินความแตกต่างระหว่างประชากร

6.6.2 การวิจัยที่มุ่งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร(Correlation-OrientedResearch) เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวหรือมากกว่า การทำนายค่าของตัวแปรที่สนใจ การตรวจสอบกระบวนการและลำดับขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลาของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่สนใจ หรือการศึกษาโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

6.6.3 การวิจัยที่มุ่งแสวงหาความเป็นเหตุเป็นผลระหว่างตัวแปร(Causal-OrientedResearch) เป็นการวิจัยที่แสวงหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่อาจจะเป็นการศึกษา ที่สืบหาสาเหตุย้อนหลังระหว่างตัวแปรภายใต้สภาวะธรรมชาติ การจัดกระทำเพื่อทดสอบความเป็นเหตุ และเป็นผลระหว่างตัวแปรภายใต้สภาพการทดลองที่จัดขึ้น

6.7 ประเภทของการวิจัยจำแนกตามการจัดกระทำ

6.7.1 การวิจัยแบบทดลองเบื้องต้น(Pre Experimental Research) เป็นการวิจัยที่ศึกษาปรากฏการณ์ที่เป็นธรรมชาติ โดยไม่ได้มีการจัดกระทำสิ่งทดลองให้ในการทดลองเนื่องจากอาจจะมี ปัญหาจริยธรรมในการวิจัย

6.7.2 การวิจัยกึ่งทดลอง(Quasi Experimental Research) เป็นการวิจัยที่ไม่สามารถดำเนินการในกระบวนการวิจัยได้อย่างครบถ้วน

6.7.3 การวิจัยแบบทดลองที่แท้จริง(True Experimental Research) เป็นการวิจัย ที่ใช้
ตรวจสอบความเป็นเหตุเป็นผลระหว่างตัวแปร โดยมีการจัดกระท าให้กับกลุ่มตัวอย่างหรือ การ
ทดลองอย่างครบถ้วน มีการควบคุมตัวแปรอย่างเคร่งครัด และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่ปราศจากความ
ลำเอียงหรือใช้แบบแผนการสุ่มที่สมบูรณ์

地図を中央に表示するには、ここをクリックしてください。
地図を中央に表示するには、ここをクリックしてください。