ความรู้พื้นฐานของการวิจัย
(Foundation of Research)

1.ความหมายของการวิจัย

ค้นคว้า วิเคราะห์หรือทดลองอย่างมีระบบ
โดยใช้อุปกรณ์หรือวิธีการ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง

2.จุดมุ่งหมายการวิจัย

2.1 เป้าหมายของการวิจัย คือ มุ่งหาคำตอบเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา
2.2 การวิจัยเป็นการสรุปผล หลักเกณฑ์ และทฤษฏีที่ใช้ในการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะ
เกิดขึ้นในอนาคต
2.3 การวิจัยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือปรากฏการณ์ที่สังเกตได้มาใช้ในการสรุปผล

3.แนวคิดพื้นฐานการวิจัย

3.1 กฎเหตุและผลของธรรมชาติ(Deterministic Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่า
ปรากฏการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นจะสามารถแสวงหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์นั้นได้เสมอ ๆ
3.2 กฎความเป็นระบบของธรรมชาติ(Systematic Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่า
ปรากฏการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นตามกฎของเหตุและผลของธรรมชาติจะมีรูปแบบของความสัมพันธ์ของ
ตัวแปรที่ค่อนข้างจะชัดเจน
3.3 กฎความสัมพันธ์ของธรรมชาติ(Associative Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่า ใน
การเกิดปรากฏการณ์ใด ๆ ที่แตกต่างกันนั้น จะมีความมากน้อยของตัวแปรที่เป็นสาเหตุและตัวแปร
ผลที่แตกต่างกัน
3.4 กฎองค์ประกอบหลักของธรรมชาติ(Principle Component of Nature) เป็นแนวคิดที่
ระบุว่าตัวแปรสาเหตุและตัวแปรผลที่เกิดขึ้นนั้น ๆ ไม่ได้เป็นความสัมพันธ์เชิงเดี่ยว แต่จะมีตัวแปร
อื่นๆ ที่มักจะมาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ๆ
3.5 กฎความน่าจะเป็นของธรรมชาติ(Probabilistic Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่า
ในปรากฏการณ์ ใด ๆ นั้น ความรู้ความจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

4.คุณลักษณะของการวิจัย

เป็นวิธีการ ๆ หนึ่งที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือ
ในการแสวงหาความรู้ความจริง ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่มีระบบและขั้นตอนชัดเจน และมีการกำหนดจุดมุ่งหมายของการวิจัยในแต่ละครั้งอย่างชัดเจนว่าต้องการอะไร ที่ผู้วิจัยจะใช้เป็นแนวทางในการแสวงหาคำตอบ เพื่อใช้อธิบาย พยากรณ์ และควบคุมปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ๆ

5.ธรรมชาติของการวิจัย

5.1 การวิจัยเป็นกระบวนการเชิงประจักษ์
5.2 การวิจัยเป็นการดำเนินการที่เป็นระบบ
5.3 การวิจัยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน
5.4 การวิจัยมีความเที่ยงตรง (Validity)
5.5 การวิจัยมีความเชื่อมั่น (Reliability)
5.6 การวิจัยมีเหตุผล
5.7 การวิจัยเป็นการแก้ปัญหา
5.8 การวิจัยต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่
5.9 การวิจัยมีวิธีการที่หลากหลาย
5.10 การวิจัยต้องใช้ศักยภาพของผู้วิจัย

6.ประเภทของการวิจัย

6.1 จำแนกตามประโยชน์ที่ได้รับหรือเหตุผลในการวิจัย
6.2 จำแนกตามลักษณะ(ความลึก/ความกว้าง)ของข้อมูล
6.3 จำแนกตามระเบียบวิธีวิจัย(Methodology)
6.4 จำแนกตามลักษณะของวิชาหรือศาสตร์
6.5 จำแนกตามเวลาที่ใช้ในการทำวิจัย
6.6 จำแนกประเภทการวิจัยตามเป้าหมายหลักของการวิจัย
6.7 ประเภทของการวิจัยจำแนกตามการจัดกระทำ

ขั้นตอนการวิจัย

1)เลือกหัวข้อปัญหา
2) การกำหนดขอบเขตของปัญหา
3) การศึกษาเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
4) การกำหนดสมมุติฐาน
5) การเขียนเค้าโครงการวิจัย
6) การสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล
7) ขั้นดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล

地図を中央に表示するには、ここをクリックしてください。
地図を中央に表示するには、ここをクリックしてください。