การสืบค้นสารสนเทศและความรู้

1. การสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลบรรณานุกรมออนไลน์

เรียกว่า OPAC
(Online Public Access Catalog)การสืบค้นสารสนเทศจาก OPAC ผู้สืบค้นมีทางเลือกในการสืบค้นหลายทาง เช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง คำสำคัญ เลขเรียกหนังสือ เป็นต้น ซึ่งผู้สืบค้นทราบข้อมูลส่วนใด ก็เพียงเลือกทางเลือกในการสืบค้น และพิมพ์คำค้นลงไป ระบบจะดำเนินการสืบค้น เมื่อพบรายการที่ต้องการ ระบบจะแสดงผลออกมา

1.1 วิธีการสืบค้นโดยใช้ทางเลือกต่างๆ ใน OPAC

1.1.1 จากหน้าจอรายการหลักของ OPAC ให้เลือกรายการที่ต้องการจะใช้เป็นทางเลือกในสืบค้นจากเมนู เช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง เป็นต้นนอกจากนี้ค วรเลือกให้ถูกต้องด้วยว่าต้องการสืบค้นหนังสือโสตทัศนวัสดุ หรือบทความในวารสาร ตามช่องที่กำหนด

1.1.2 ป้อนข้อมูลที่ต้องการสืบค้นตามรายการที่ใช้เป็นทางเลือก เช่น เลือกทางเลือกผู้แต่ง พิมพ์ชื่อผู้แต่ง เลือกทางเลือกคำสำคัญ พิมพ์คำสำคัญที่ต้องการสืบค้น เป็นต้น ลงในช่องสี่เหลี่ยม แล้วคลิกเม้าส์ที่คำว่าค้นหา หรือ สืบค้น ระบบจะทำการสืบค้น และแสดงผลการสืบค้นบนหน้าจอ พร้อมทั้งบอกจำนวนรายการที่ค้นได้

1.1.3 หากต้องการได้รายละเอียดโดยย่อของรายการใด ให้คลิกเม้าส์ที่รายการที่ต้องการ ระบบจะแสดงรายละเอียดของรายการดังกล่าว ซึ่งจะประกอบไปด้วยชื่อเรื่อง ชื่อผู้รับผิดชอบ และปีพิมพ์

1.1.4 หากต้องการได้รายละเอียดที่สมบูรณ์ของรายการใด ให้คลิกเม้าส์ที่รายการที่ต้องการระบบจะแสดงรายละเอียดที่สมบูรณ์ของรายการ
นั้นๆ หากเป็นหนังสือหรือโสตทัศนวัสดุรายละเอียดที่ได้ประกอบด้วย
เลขเรียกหนังสือ สถานที่ที่มีทรัพยากรสารสนเทศนั้น รายละเอียดทาง
บรรณานุกรม สถานภาพของหนังสือว่ามีกี่เล่ม มีอยู่ที่ใด อยู่บนชั้นหรือ
มีผู้ยืมไป ถ้ามีผู้ยืมจะบอกวันที่กำหนดส่งคืน (date due)

1.2 ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นด้วย OPAC

1.2.1 ข้อมูลบรรณานุกรม (Bibliographic description)

ชื่อผู้แต่ง (Author) อาจเป็นชื่อบุคคลหรือหน่วยงาน

ชื่อเรื่อง(Title) ของหนังสือ ชื่อวารสาร รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์โสตทัศนวัสดุ

พิมพลักษณ์ (Imprint) ประกอบด้วยครั้งที่พิมพ์ (Edition) สถานที่พิมพ์
(Place) ได้แก่เมืองและประเทศ ส านักพิมพ์(Publisher) และปีพิมพ์(Year
of publication)

สถานภาพ (Status) สถานภาพของทรัพยากรสารสนเทศ มีหลายลักษณะได้แก่มีการยืมออกก็จะระบุวันก าหนดส่ง เช่น Due 12-06-04 อยู่บนชั้น

เลขเรียกหนังสือ (Call number) เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนทรัพยากรแต่ละ
รายการ

รูปเล่ม (Description) บอกข้อมูลเกี่ยวกับจ านวนหน้า ภาพประกอบ และ
ขนาด

หมายเหตุ (Note) เป็นการระบุข้อมูลของทรัพยากรเพิ่มเติม เช่นมีข้อมูล
บรรณานุกรม

สถานที่ (Location) เป็นการบอกว่าทรัพยากรรายการนั้นอยู่ที่ห้องสมุดใด

หัวเรื่อง (Subject) เป็นการระบุคำหรือกลุ่มคำที่ใช้แทนเนื้อหาของทรัพยากร มีประโยชน์ในแง่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถหาสารสนเทศได้มากยิ่งขึ้น

เลขมาตรฐาน (ISBN) เป็นเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือแต่ละรายการ

1.2.2 ข้อมูลดรรชนีวารสาร (Periodical Index)

ชื่อผู้แต่ง (Author) อาจเป็นชื่อบุคคลหรือหน่วยงาน

ชื่อเรื่อง (Title) เป็นชื่อบทความวารสาร

ปี(Year) ได้แก่ ปีพิมพ์ของวารสาร

ชื่อห้องสมุดที่บอกรับวารสารชื่อนั้นๆ (Library that have this journal) บอก
ข้อมูลเกี่ยวกับห้องสมุดและปีที่ฉบับที่ของวารสารที่ห้องสมุดบอกรับ

สถานที่ (Location) บอกสถานที่เก็บและให้บริการวารสาร

ชื่อวารสาร (Journal) บอกข้อมูลเกี่ยวกับชื่อวารสาร ปีที่ฉบับที่ เดือน ปีและ
เลขหน้าที่ปรากฏบทความ

เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN)

หัวเรื่อง (Subject) เพื่อใช้ในการสืบค้นต่อ

2.3 การสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต

เวิล์ดไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ WWW) เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่ให้บริการค้นหาและนำเสนอสารสนเทศซึ่งประกอบไปด้วยเว็บเพจที่เป็นสาระและเป็นประโยชน์มหาศาล ซึ่งผู้ใช้จึงควรทำความเข้าใจในเนื้อหา (Content) ของเอกสารที่มักปรากฏบน WWW
เพื่อที่จะได้นำไปเป็นแนวทางสืบค้นได้ ซึ่งลักษณะเนื้อหาที่มีให้บริการใน WWW

1. นามานุกรม (Web Directories)

เป็นเครื่องมือในการสืบค้นที่รวบรวมสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต และคัดแยกสารสนเทศเหล่านั้นออกเป็นกลุ่ม ตามสาขาวิชาหรือตามหลักเกณฑ์ที่ผู้จัดทำกำหนดขึ้น การสืบค้นสามารถทำได้โดยการเลือกกลุ่มสาขาวิชาที่ตรงกับความต้องการ และเลือกเรื่องต่างๆ ตามหัวข้อย่อยที่นามานุกรมรวบรวมไว้เครื่องมือประเภทนี้ทำหน้าที่คล้ายกับบัตรรายการของห้องสมุด สามารถการสืบค้นทำได้โดยเลือกกลุ่มสาขาวิชาที่ตรงกับเรื่องที่ต้องการ และเลือกเรื่องต่างๆ ตามหัวข้อย่อยที่กลไกรวบรวมไว้ ตัวอย่างของเว็บที่เป็นนามานุกรมและเป็นที่
นิยมใช้

- Yahoo (http://www.yahoo.com)
- Dmoz (www.dmoz.org/)
- Starting Point (www.stpt.com/directory/)
- Business.com (www.business.com/)
- Librarian’s Index Internet (http://wwwlii.org)

2. เครื่องมือสืบค้น (Search engine)

เป็นเครื่องมือในการสืบค้นที่อาศัยการทำงานของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น โดยแต่ละตัวได้รับการพัฒนาจากบุคคลหลายๆ หน่วยงาน มีผลให้Search Engine แต่ละตัวมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ทั้งในด้านฐานข้อมูลที่ครอบคลุมและวิธีการทำดรรชนีช่วยค้น ผู้สืบค้นต้องพิมพ์คำค้นของเรื่องที่ต้องการสืบค้นลงในช่องที่กำหนด จากนั้นกลไกจะทำหน้าที่คัดเลือกสารสนเทศที่ตรงกับคำค้นมาแสดงผล

องค์ประกอบของกลไกการสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต (Search Engine)

1) ตัวสำรวจหรือรวบรวมข้อมูล (Spider หรือ Crawler หรือ Robot) เป็นซอฟต์แวร์สำหรับสำรวจเว็บ โดยจะทำหน้าที่ตระเวณไปยังเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อทำการรวบรวมสารสนเทศ และส่งกลับมายังดรรชนีหรือฐานข้อมูลเพื่อทำการประมวลผล

2) ตัวดรรชนี (Indexer) หรือ Catalog ซึ่งเป็นฐานข้อมูลทำหน้าที่รวบรวมคำ และตำแหน่งทุกๆ เพจที่ตัวส ารวจรวบรวมมาได้ ในส่วนนี้จะมีโปรแกรมช่วยในการจัดทำดรรชนีเพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาสารสนเทศได้สะดวกขึ้น วิธีการจัดทำดรรชนีในแต่ละกลไกการสืบค้นมักจะแตกต่างกันไป

3) โปรแกรมค้นข้อมูล (Search Engine Software หรือ Query Processor) ทำหน้าที่เปรียบเทียบความเกี่ยวข้องระหว่างเว็บไซต์และความต้องการของผู้สืบค้นว่ามีความเกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใด จากนั้นจะจัดลำดับความเกี่ยวข้องของเว็บต่าง ๆออกมาแสดงผล

เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ต

1. เทคนิคตรรกบูลลีน

1.1 การใช้ And, Or, Not ประกอบเป็นประโยคการค้น เช่นเดียวกับการสืบค้นในระบบออนไลน์อื่นๆ โดยเครื่องหมาย หรือตัวกระทำของตรรกบูลลีนจะแตกต่างกันไปในแต่ละกลไก บางกลไกสามารถใช้คำว่า And, Or, Not

1.2 การใช้เทคนิคตรรกบูลลีนจากเมนูทางเลือก (Drop down menu) ว่าต้องการสืบค้นการที่เกี่ยวข้องกับค าค้นอย่างไร

1.3 การใช้เครื่องหมาย + (Plus) หรือ – (Minus) กำหนดหน้าคำค้นที่ต้องการเครื่องหมาย + หมายถึงในผลการค้นต้องมีคำที่กำหนดนั้น และเครื่องหมาย –หมายถึงไม่ต้องการให้พบคำนั้นในผลการสืบค้น กลไกที่ลักษณะการสืบค้น

2. เทคนิคการตัดคำ

2.1 การใช้เครื่อง กลไกส่วนใหญ่ใช้เครื่องหมาย * (asterisk) แทนการตัดคำส่วนใหญ่เป็นการตัดท้ายคำค้นที่ต้องการ กลไกที่สามารถใช้เทคนิคการตัดคำได้

2.2 การสืบค้นในลักษณะของ Stemming หมายถึง การสืบค้นจากรากคำ

3. เทคนิคการใช้คำใกล้เคียง

โดยใช้คำว่า ADJ, NEAR, FAR และ BEFORE ประกอบ
เป็นประโยคการค้น เพื่อกำหนดลักษณะของผลการสืบค้นที่ต้องการว่าต้องการให้มีคำใด อยู่ในลักษณะใด

4. เทคนิคการใช้รหัสกำกับคำค้น

4.1 สืบค้นจากเมนูทางเลือก (Drop down menu) ซึ่งกลไกสืบค้นหลาย ๆ กลไกกำหนดให้ผู้สืบค้นเลือกเขตข้อมูลที่ต้องการสืบค้นได้จากเมนูทางเลือก

4.2 สืบค้นโดยใช้เขตข้อมูลกำกับลงในประโยคการค้น

บทสรุป

การสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูล OPAC ฐานข้อมูลออนไลน์และบนอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นความสามารถของแต่ละบุคคล ซึ่งความสามารถดังกล่าวประกอบไปด้วยทักษะ และเทคนิคของการสืบค้น ซึ่งผู้สืบค้นแต่ละคนจะมีมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับการฝึกฝนและพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ผู้สืบค้นควรมีทักษะของการคัดเลือกและการประเมินสารสนเทศที่ได้รับจากอินเทอร์เน็ตร่วมด้วย ขณะเดียวกันผู้สืบค้นก็ต้องรู้จักวิธีการที่คัดเลือกและประเมินสารสนเทศที่ค้นได้ในแต่ละครั้งด้วย เพื่อที่จะได้นำสารสนเทศที่มีคุณค่า ถูกต้อง และตรงกับควาต้องการของตนเองไปใช้งานได้อย่างเหมาะสม

เครื่องมือสืบค้นสารสนเทศ

หมายถึง เครื่องมือและรวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการสืบค้นรายการสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วทันความต้องการโดยทั่วไปเครื่องมือสืบค้นสารสนเทศ

2.ฐานข้อมูลออนไลน์ (Online Database)

เป็นแหล่งสารสนเทศที่มีขนาดใหญ่และขอบเขตกว้างขวาง ซึ่งผู้จัดทำได้จัดทำขึ้นเพื่อให้บริการสำหรับผู้ที่ต้องการสืบค้นสารสนเทศ โดยไม่มีข้อจำกัดในด้านระยะทาง ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม นอกจากนั้นผู้ใช้บริการยังสามารถดาวน์โหลดรายละเอียดหรือพิมพ์ข้อมูลได้ในทันทีในปัจจุบันห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศขนาดใหญ่ๆ เช่น ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา จะมีฐานข้อมูลออนไลน์ไว้บริการผู้ใช้อยู่ 2 ลักษณะ

2.1 ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศบอกรับเป็นสมาชิก

คือฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศนั้นๆ บอกรับหรือซื้อฐานข้อมูลนั้นมาให้บริการกับผู้ใช้โดยมีการจำกัดระยะเวลาในการใช้นั้นคือจะสามารถใช้ฐานข้อมูลได้ในระหว่างเป็นสมาชิกของฐานข้อมูลนั้นในระยะเวลาที่กำหนด

2.2 ฐานข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ ฐานข้อมูล ThaiLIS (ThaiLibrary Integrated System)

เป็นฐานข้อมูลที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และโครงการ Thai Library Integrated System เช่าใช้ฐานข้อมูล วิชาการโดยมีสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับผิดชอบค่าใช้จ่าย เพื่อให้มหาวิทยาลัยของรัฐร่วมกันใช้บริการสืบค้นสารสนเทศ ภายใต้ฐานข้อมูลต่างๆ

2.3 ฐานข้อมูลทดลองใช้

เป็นฐานข้อมูลที่ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศนำมาทดลองให้บริการกับผู้ใช้ก่อน ก่อนที่ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศจะตัดสินใจซื้อ
หรือสมัครเป็นสมาชิกของฐานข้อมูลนั้นจริงๆ ทั้งนี้ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศอาจจะพิจารณาบอกรับเป็นสมาชิกโดยตรวจสอบจากการใช้บริการของผู้ใช้ว่ามีมากน้อยเพียงใด คุ้มหรือไม่หากต้องนำมาบริการจริงๆ

การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน

1. วิเคราะห์เรื่องที่ต้องการสืบค้นและกำหนดคำสำคัญเพื่อใช้ในการค้น การวิเคราะห์เรื่องที่ต้องการสืบค้นคือ ต้องรู้ว่าต้องการข้อมูลในเรื่องใด แล้วจึงกำหนดเรื่องที่ต้องการค้นเป็นคำสำคัญในการสืบค้น

2. เลือกค้นจากฐานข้อมูลที่เหมาะสม ทั้งนี้ต้องทราบว่าเรื่องที่สืบค้นนั้นเป็นเรื่องในสาขาใด เลือกฐานข้อมูลให้ตรงหรือใกล้เคียงกับสาขาวิชาที่สืบค้น เพื่อช่วยให้ได้ผลการสืบค้นที่ตรงกับความต้องการ

3. ลงมือสืบค้น โดยทั่วไปสามารถสืบค้นได้2 วิธีคือการใช้เมนูในการสืบค้น และการสืบค้นโดยการพิมพ์คำสั่ง การสืบค้นโดยใช้เมนูสามารถทำได้ง่าย

4. แสดงผลการสืบค้น เมื่อสืบค้นจนได้ปริมาณรายการที่พอเพียงกับความต้องการแล้วสามารถแสดงผลรายการที่สืบค้นได้3 รูปแบบใหญ่คือ

4.1 การแสดงผลแบบเต็มรูปแบบ แสดงผลทุกเขตข้อมูลที่รายการนั้นมีอยู่

4.2 การแสดงผลแบบย่อ แสดงผลเฉพาะรายการทางบรรณานุกรมเท่านั้น

4.3 การแสดงผลแบบอิสระแสดงผลที่ก าหนดเขตข้อมูลในการแสดงผลด้วย
ตัวเอง

5. เลือกรายการที่ตรงกับความต้องการและบันทึกผลข้อมูล เพื่อให้ระบบทราบว่าต้องการรายการใดบ้างในพิมพ์ผลออกทางกระดาษ

地図を中央に表示するには、ここをクリックしてください。
地図を中央に表示するには、ここをクリックしてください。