สิทธิ จริยธรรม จรรยาบรรณ และวิชาชีพ

การพิทักษ์สิทธิ์ผู้ป่วย

บทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลที่จะตอบสนองตอบต่อสิทธิผู้ป่วย

1.การตอบสนองต่อสิทธิพื้นฐานที่จะรับบริการด้านสุขภาพตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

2.ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลต้องปฏิบัติต่อผู้ใชบริการโดยไม่เลือกปฏิบัติ

3.สิทธิที่จะได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอในด้านบริการสุขภาพ

4.ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลต้องปฏิบัติในการช่วยเหลือ

5.ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลต้องแสดงข้อมูลบ่งชื่ ชื่อ สกุล ตำแหน่ง แลคุณวุฒิ ของตนเองแก่ผู้รับบริการ

6.บทบาทของพยาบาลไม่เปิดเผยข้อมูลหรือความลับของผู้รับบริการ

7.บทบาทของพยาบาลในการให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน

8.ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลต้องมีบทบาทในการกำหนดระเบียบขั้นตอนการปฏิบัติ เพื่อสิทธิของผู้ป่วยในการขอทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาของตน

9.ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลต้องมีบทบาทในการปกป้องการละเมิดสิทธิของผู้ป่วยทั้งในด้านของการ ปฏิบัติการพยาบาล และการเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม

สิทธิ

สิทธิเด็ก

"เด็ก"คือ บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี

ความสำคัญของสิทธิเด็ก

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กนั้น จัดทำขึ้นตามหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติที่ว่าด้วยศักดิ์ศรี และคุณค่าของมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน โดยคำนึงว่า เด็กมีสิทธิที่จะได้รับการเลี้ยงดู และช่วยเหลือทั้งในสภาพแวดล้อมของครอบครัว และการเลี้ยงดูอื่นๆบนพื้นฐานของประเพณี และค่านิยมทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ และสังคม โดยมีหลักการที่สำคัญคือ "การไม่เลือกปฏิบัติ และประโยชน์สูงสุดของเด็ก"

สาระสำคัญเรื่องสิทธิของเด็ก 4 ด้าน

1.สิทธิที่จะมีชีวิตรอด

2.สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง

3.สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา

4.สิทธิที่จะมีส่วนร่วม

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิเด็ก

1.พึงได้รับสิทธิเท่าเทียมกัน

2. พึงได้รับการพิทักษ์และคุ้มครองเป็นพิเศษ

3. มีสืทธิที่จะได้มีชื่อ มีสัญชาติแต่กำเนิด

4. พึงได้รับความมั่นคงทางสังคม

5.เด็กที่พิการทั้งร่างกาย สองและจิตใจ มีสิทธิที่จะได้รับการรักษาพิเศษ

6. พึงได้รับความรักความอบอุ่นจากครอบครัว

7. มีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

8. พึงได้รับการคุ้มครองและสงเคราะห์ทุกกรณี

9. พึงได้รับการปกป้องให้พ้นจากการถูกทอดทิ้ง

10. มีโอกาสแสดงความคิดเห็นด้วยจิตสำนึกต่อสังคม

สิทธิผู้ป่วย

ความสำคัญของสิทธิผู้ป่วย

ฐานข้อมูลทดลองใช้ห้องสมุดหรือสารสนเทศนำมาทดลองใช้บริการกับผู้ใช้ก่อน

1. ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะได้รับการรักษาพยาบาลและการดูแลด้านสุขภาพตามมาตรฐาน
วิชาชีพจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

2. ผู้ป่วยที่ขอรับการรักษาพยาบาลมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลที่เป็นจริงและเพียงพอเกี่ยวกับการเจ็บป่วยการตรวจ การรักษา ผลดีและผลเสียจากการตรวจ การรักษาจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ด้วยภาษาที่ผู้ป่วยสามารถเข้าใจได้ง่าย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบ
วิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉิน อันจำเป็นเร่งด่วนและเป็นอันตรายต่อชีวิต

3. ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตมีสิทธิได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้าน
สุขภาพโดยทันทีตามความจำเป็นแก่กรณี โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่

4. ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับทราบชื่อ สกุล และวิชาชีพของผู้ให้การรักษาพยาบาลแก่ตน

5. ผู้ป่วยมีสิทธิขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่นที่มิได้เป็นผู้ให้การรักษาพยาบาลแก่
ตน และมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพหรือเปลี่ยนสถานพยาบาลได้ ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสิทธิการรักษาของผู้ป่วยที่มีอยู่

6. ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับการปกปิดข้อมูลของตนเอง เว้นแต่ผู้ป่วยจะให้ความยินยอมหรือเป็นการปฏิบัติ
ตามหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ เพื่อประโยชน์โดยตรงของผู้ป่วยหรือตามกฎหมาย

7. ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วนในการตัดสินใจเข้าร่วมหรือถอนตัวจากการเป็น
ผู้เข้าร่วมหรือผู้ถูกทดลองในการทำวิจัยของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ

8. ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตนที่ปรากฎในเวชระเบียนเมื่อ
ร้องขอตามชั้นตอนของสถานพยาบาลนั้น ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิหรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของผู้อื่น

9. บิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม อาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปดปี
บริบูรณ์ ผู้บกพร่องทางกายหรือจิต ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเองได้

สิทธิพยาบาล

ความสำคัญของสิทธิพยาบาล

มีดังนี้

1. พยาบาลแต่ละคน มีความรับผิดชอบที่จะต้องให้รายรายละเอียดแก่สถาบันหรือหน่วยงานที่ตนปฏิบัติงานอยู่เกี่ยวกับคุณวุฒิทางการศึกษาทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ประสบการณ์ความสามารถทางคลินิก และความเชื่อทางศีลธรรมของตนที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน

2. พยาบาลแต่ละคน มีความรับผิดชอบที่จะเปลี่ยนแปลง ปรับตัวหรือถอนตัวออกจากสถานการณ์
เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับความรู้ ความสามารถและความเชื่อของตน

3. สถาบันหรือหน่วยงานที่พยาบาลปฏิบัติงานอยู่จะต้องจัดสรรวัสดุอุปกรณ์สำหรับใช้เพื่อบริการ
สุขภาพอนามัยได้อย่างเพียงพอกับผู้รับบริการ

4. พยาบาลมีสิทธิและความรับผิดชอบที่จะร่วมมือกับสถาบันหรือหน่วยงานที่ตนอยู่ในการที่จะ
เสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้สามารถให้บริการทางสุขภาพอนามัยได้ดียิ่งๆ ขึ้น

5. หน่วยงานหรือสถาบันที่พยาบาลปฏิบัติงานอยู่ต้องให้ความเคารพเชื่อถือต่อความรู้ ความสามารถ
ค่านิยมและบุคลิกส่วนตัวของพยาบาลแต่ละบุคคลในการปฏิบัติหน้าที่

ฟาจินและปูเลน ได้กล่าวถึงสิทธิของพยาบาลไว้ 4 ประการ

1. พยาบาลมีสิทธิที่จะสร้างรูปแบบความสัมพันธ์กับผู้ป่วยตามที่เห็นสมควร โดยการวางแผนการให้
การพยาบาลและปฏิบัติการพยาบาล ตามที่เห็นสมควรและเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายตามมาตรฐานวิชาชีพและมีสิทธิได้รับการยอมรับ เชื่อถือ ความเคารพและรางวัลตามที่สมควรได้

2. พยาบาลมีสิทธิที่จะเข้าใจและยอมรับความรู้สึกของตนเอง

3. พยาบาลมีสิทธิที่จะดำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและการแสดงออกของตนเอง หมายถึง การมีสิทธิที่จะรับฟัง ซักถาม สงสัย ผิดพลาด หรือไม่ตอบ มีสิทธิที่จะได้รับคำแนะนำ ช่วยเหลือร่วมมือจากผู้อื่น และมีสิทธิที่จะให้
ผู้อื่นช่วยรับรู้และปัดเป่าความหวาดกลัวหรือคับข้องใจของตนเองได้

4. พยาบาลมีสิทธิที่จะพ้นจากสภาพการทำงานที่มีผลต่อการบั่นทอนสุขภาพอนามัยที่ดีของตน หากสภาพการทำงานก่อให้เกิดความรู้สึกตึงเครียดหรือคับข้องใจต่อปัญหาศีลธรรมบางประการที่หาข้อยุติไม่ได้ พยาบาลย่อมมีสิทธิที่จะปลีกตัวหรือถอนตัวจากเหตุการณ์

สิทธิมนุษยชน

ตามปฏิญญาสากลมีดังนี้

1. มนุษย์ทุกคนเกิดมามีอิสรภาพและมีความเสมอภาค ปฏิบัติต่อกันด้วยการให้เกียรติกัน

2. ทุกคนมีสิทธิและอิสรภาพ โดยปราศจากความแตกต่างกัน ทั้งในเรื่อง เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา กำเนิด สังคม ทรัพย์สิน

3. ทุกคนมีสิทธิในการดำรงชีวิตเสรีภาพและความมั่นคงแห่งตน

4. บุคคลจะถูกยึดเป็นทาสหรือภาระจำยอมไม่ได้

5. บุคคลจะถูกทรมานหรือได้รับการลงโทษที่โหดร้ายผิดมนุษย์ต่ำช้าไม่ได้

6. บุคคลเสมอภาคกันตามกฎหมายและมีสิทธิได้รับการคุ้มครองของกฎหมายเท่าเทียมกัน

7. บุคคลจะถูกกักขัง เนรเทศ จับกุม โดยพลการไม่ได้

8. บุคคลมีสิทธิที่จะปกป้องตนเองจากการถูกกล่าวหา และจะได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรม

9. บุคคลจะถูกสอดแทรกโดยพลการไม่ได้

10. บุคคลมีสิทธิที่จะออกจากประเทศใดๆ ไป รวมทั้งประเทศของตนและมีสิทธิจะกลับมาอีก

11. บุคคลมีสิทธิจะแสวงหาและพำนักในประเทศอื่นเพื่อลี้ภัยจากการประหัตประหาร

12. ชาย หญิง ที่มีอายุตามกฎหมายมีสิทธิที่จะทำการสมรส ได้โดยปราศจากการจำกัดใดๆ อันเนื่องจากเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาต

13. บุคคลจะถูกริบทรัพย์โดยพลการไม่ได้

14. บุคคลมีสิทธิในเสรีภาพแห่งความคิด นโนธรรมและศาสนา

15. บุคคลมีสิทธิเลือกในการทำงาน การเลือกงาน โดยอิสระในเงื่อนไขอันยุติธรรม

16. บุคคลมีสิทธิในการได้รับการรักษาทางการแพทย์ การบริการทางสังคมที่จำเป็น

17. บุคคลมีสิทธิในการได้รับการศึกษาภาคบังคับ

18. บุคคลมีสิทธิเข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมของสังคมโดยอิสระ

19. บุคคลมีหน้าที่ต่อประชาคมในการพัฒนาบุคลิกภาพแห่งตนโดยอิสระและเต็มที่

จรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล

ความหมาย

หลักแห่งความประพฤติหรือมารยาทของผู้ประกอบวิชาชีพ
การพยาบาลและการผดุงครรภ์

ความสำคัญ

มีความสำคัญ กับผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลที่ต้องคำนึงและปฏิบัติตามเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการบริการวิชาชีพไปในทิศทางเดียวกันสามารถทำงานของตนการทำงานร่วมกันในกลุ่มกลุ่มวิชาชีพได้ และสามารถที่จะพิทักษ์สิทธิ์เพื่อผลประโยชน์ความเป็นธรรมของวิชาชีพพยาบาลและผู้ใช้บริการได้(คณะพยาบาลศาตร์ มหาวิทยาลัยสยาม)

หลักจรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาลมี 9 ด้าน ดังนี้

1. พยาบาลรับผิดชอบต่อประชาชนผู้ต้องการการพยาบาลและบริการสุขภาพ

2. พยาบาลประกอบวิชาชีพด้วยความเมตตา กรุณา เคารพในคุณค่าของชีวิต ความมีสุขภาพดีและความผาสุกของเพื่อนมนุษย์

3. พยาบาลมีปฏิสัมพันธ์ทางวิชาชีพกับผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมงานและประชาชนด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีและสิทธิมนุษยชนของบุคคล

4. พยาบาลยึดหลักความยุติธรรมและความเสมอภาคในสังคมมนุษย์

5. พยาบาลประกอบวิชาชีพโดยมุ่งความเป็นเลิศ

6. พยาบาลพึงป้องกันอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ใช้บริการ

7. พยาบาลรับผิดชอบในการปฏิบัติให้สังคมเกิดความเชื่อถือไว้วางใจต่พยาบาลและต่อวิชาชีพการพยาบาล

8. พยาบาลพึงร่วมในการทำความเจริญก้าวหน้าให้แก่วิชาชีพการพยาบาล

9. พยาบาลพึงรับผิดชอบต่อสังคมเช่นเดียวกับรับผิดชอบต่อผู้อื่น

หลักจริยธรรม

ความหมาย

หลักของกฎเกณฑ์ทางศีลธรรมและค่านิยมที่ ควบคุม พฤติกรรมของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพื่อพิจารณาว่าสิ่งใดที่ถูกและสิ่งใดที่ผิด จริยธรรมจะสร้างมาตรฐานขึ้นมาว่าสิ่งไหนที่ดีหรือสิ่งไหนที่ไม่ดี เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ

ประกอปด้วย

1.ความรู้เชิงจริยธรรม

2.ทัศนคติเชิงจริยธรรม

3.เหตุผลเชิงจริยธรรม

4.ลักษณะเชิงจริยธรรม

ความสำคัญ

การปฏิบัติงานด้วยความรู้ ความสามารถโดยใช้หลักวิชาการ มีสีหน้าที่ยิ้ม
แย้มแจ่มใส พูดจาไพเราะอ่อนหวาน ถ่อมตน เข้าใจความทุกข์ทรมาน ความไม่สุขสบายของผู้ป่วย รวมทั้งเสียสละและอุทิศเวลาเพื่องานบริการทางสุขภาพ

การเข้าถึงการบริการสุขภาพ

ป้อนข้อมูลแค่ส่วนหนึ่งก็จะขึ้นที่เราค้นหาให้

ข้อมูลก็ได้จาก OPAC

ข้อมูลบรรณานุกรม

ข้อมูลดรรชนีวารสาร

เอกสิทธิ์ของพยาบาล

ความหมาย

ผู้ประกอบวิชาชีพการพยายาลสามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างอิสระ
ภายใต้ขอบเขตหน้าที่ของวิชาชีพและกฎหมาย สามารถตัดสินใจที่เกี่ยวข้อง
กับการดูแลผู้ป่วย โดยอาศัยความรู้ทางการพยายาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

ความสำคัญ

เป็นสิทธิเฉพาะของพยาบาลที่จะปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ

ทำให้มีความเป็นอิสระในการปฏิบัติงาน

ทำให้รู้สึกถึงคุณค่าของตนเอง กล้าแสดงความคิดเห็นกล้าตัดสินใจ มีความมั่นใจโตนเอง สามารถเผชิญกับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สามารถวางแผนและปฏิบัติได้ด้วยตนเองตามขอบเขตวิชาชีพ

เป็นที่ยอมรับจากวิชาชีพอื่น ๆ

มีภาพลักษณ์ที่ดี

เป็นที่ต้องการของสังคม

ดึงดูดบุคคลเข้าสู่วิชาชีพ

การเสริมสร้าง

1.การที่พยาบาลทุกคนลด ละทิฐิของแต่ละคน ทุกคนต่างตั้งใจในการทำงานร่วมกันเพื่อร่วมกันพัฒนาองค์กรพยาบาลให้มีความก้าวหน้า

2.การได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้องและเพียงพอ

3.การได้รับโอกาสในการทำงาน

4.การได้รับการเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถและทักษะต่างๆ

5.มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน

6.มีภาวะผู้นำ มีทักษะการทำงานเป็นทีม

เอกสิทธิ์ของพยาบาล

1.มีเอกสิทธิการประกอบวิชาชีพตามกฎหมาย ปฏิบัติการพยาบาลตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเป็นอิสระและด้วยความรับผิดชอบในการประทำ

2. สิทธิในการปฏิเสธการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การกระทำที่เกินความสามารถและจะยังเกิดผลเสียหารแก่ผู้ใช้บริการได้

3. สิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติจากผู้ร่วมงานในฐานะมนุษย์และผู้ประกอบวิชาชีพอย่างเท่าเทียมกัน

4. สิทธิในการรับเลือกเข้าทำงานหรือดำรงตำแหน่งโดยชอบตามหลักคุณธรรมจริยธรรม

5. สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในส่วนที่เกี่ยวข้อง

6. สิทธิที่จะได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม เหมาะสมกับภาระหน้าที่

7. สิทธิที่จะได้รับสวัสดิการที่พัก ความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิต

8. สิทธิที่จะรวมตัวกันเป็นสหพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพ

9. สิทธิที่จะกระทำผิดพลาดได้ในฐานะมนุษย์โดยมิได้เจตนา

10. ธำรงรักษาไว้ซึ่งสิทธิในการตัดสินใจเลือกสรรผู้แทน ผู้บริหารองค์กรทุกระดับ โดยมิควรให้มีการแทรกแซงโยผู้อื่นใด

11. สิทธิในการฟ้องร้อง ร้องเรียน ขอความเป็นธรรมได้ตามกฎหมาย หากได้รับการปฏิบัติที่มิชอบและไม่เป็นธรรม