ภาษีมูลค่าเพิ่ม(Value Added Tax)
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
1.ผู้ประกอบการ
1.1.บุคคลตามมาตรา77/1(1)
บุคคลธรรมดา รวมถึง กองมรดก
คณะบุคคลที่่ไม่ใช่นิติบุคคล และกิจการของเอกชนที่กระทำโดยบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
นิติบุคคล
1.2. กิจการที่ต้องเสียภาษี
การขายสินค้า
ขาย : การจำหน่าย จ่าย ดอนสินค้า การแจกสินค้า การแถม
การให้เช่าซื้อสินค้าหรือซื้อขายผ่อนชำระ
การส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนเพื่อขาย
การส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร
การนำสินค้าไปให้ เว้นแต่ เอาสินค้าไปใช้เพื่อกิจการของตนเอง
มีสินค้าขาดจากรายการสินค้า
มีสินค้าคงเหลือ
สินค้า : ทรัพย์สินที่มีและไม่มีรูปร่าง มีไว้เพื่อขาย/เพื่อการใดๆ
การให้บริการ
การกระทำใดๆอันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่า ซึ่งไม่ใช่การขายสินค้า
กฎหมายไม่ถือว่าเป็นบริการ
ใช้เพื่อประกอบกิจการของตนเอง
หาประโยชน์โดยการนำเงินไปฝากธนาคาร/ซื้อพันธบัตร
1.3. ประกอบกิจการในราชอาณาจักร
การขายสินค้าจะต้องเป็นการขายในราชอาณาจักรไทยเท่านั้น
การให้บริการในราชอาณาจักรไทยเท่านั้น
ไม่คำนึงว่าการใช้บริการนั้นจะอยู่ในต่างประเทศ
2.ผู้นำเข้า
นำเข้ามาจากต่างประเทศต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
3.ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตร82/1
3.1 ตัวแทน
3.2 ผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการ ภาษีมูลค่าเพิ่ม 0%
3.3 ผู้ที่มีความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรหรือผู้รับโอนสินค้า
3.4 ผู้ที่ควบเข้ากันและผู้ประกอบการใหม่ในกรณีที่มีการควบเข้ากัน
3.5 ผู้โอนและผู้รับกรณีโอนกิจการ
3.6 ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรแล้วเข้ามาประกอบกิจการในราชอาณาจักรชั่วคราว
3.7 ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และมีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
การยื่นแบบ
กลุ่ม1 ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
เสียภาษีร้อยละ7
ยื่นแบบภ.พ.30 ยื่นแบบในวันที่15ขงเดือนถัดไป
กลุ่ม 2 ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
(1)ผู้จ่ายเงินที่จ่ายค่าซื้อสินค้าหรือบริการ
(2)ผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในการบริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้วในอัตราร้อยละ0
(3)ผู้ทอดตลาดซึ่งขายทรัพย์สินของผู้ประกบการจดทะเบียน
ยื่นแบบภ.พ.36 (1)และ(3)ยื่นนำส่งภายใน7วันนับแต่วันสิ้นเดือน
(2) ยื่นนำส่งภายใน 30วัน นับแต่วันที่ได่รับโอนกรรมสิทธิ์สินค้าหรือได้รับชำระราคาค่าบริการ
กลุ่ม 3 ผู้นำเข้า
แบบใบขนส่งสินค้าขาเข้า
ยื่นแบบภ.พ.30 ยื่นใบขนส่งสินค้าขาเข้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับชำระอากรขาเข้า ณ ด่านศุลกากรที่มีการนำสินค้าเข้า
ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา82/5(1)-(6)
1.กรณีไม่มีใบกำกับภาษี เว้นแต่
1.ถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัย
2.ไม่สามารถขอใบแทนใบกำกับภาษีจากผู้ขายสินค้า
2.มีใบกำกับภาษี แต่ไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ว่า
มีการชำระภาษีซื้อ
3.มีใบกำกับภาษี แต่ข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์
4.ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวของโดยตรงกับการประกอบกิจการ
6.ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี
5.ภาษีซื้อที่เกิดจากรายการเพื่อการรับรอง
ภาษีซื้อต้องห้ามตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
1ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือการรับโอนรถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน10คน
2.ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือการรับโอนรถยนต์
ที่มิใช่รถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งเกิน10คน
3.ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ
4.ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้
5.ภาษีซื้อที่เฉลี่ยเป็นของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
6.ภาีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการ
7.ภาษีซื้อที่เกืดจากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น
8.ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป มิได้จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์
การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
1.การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเรียกเก็บ(ภาษีขาย)
1.1. แยกภาษีออกจากราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ
ฐานภาษี*อัตราภาษี
1.2. รวมภาษีขายอยู่ในราคาสินคาหรือราคาค่าบริการ
ฐานภาษี*อัตราภาษี/100+อัตราภาษี
2.การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ
ภาษีขาย
ภาษีซื้อ
การจัดทำำรายงานทางภาษี
1.รายงานภาษีขาย
เรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้า
2.รายงานภาษีซื้อ
เมื่อได้เช็ค ทำใบภ.พ.30 ภายใน15วันของเดือนถัดไป
3.รายงานสินค้าและวัตถุดิบ
ประเภทใบกำกับภาษี
1.ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป
1.1รายการของใบกำกับภาษีเต็มรูป
คำว่าใบกำกับภาษีเห็นชัด
ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรองผู้ประกอบการ
ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ พรอมระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
หมายเลขลำดับและหมายเลขลำดับของเล่ม(ถ้ามี)
วันเดือนปีที่ออกใบกำกับภาษี
ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณและมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด
วิธีการจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป
รายการของใบกำกับภาษีต้องจัดทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษเท่านั้น
ห่วยเงงืนตราที่ระบุต้องเป็นหน่วยเงินตราไทย
ต้องมีรายการครบถ้วน
การจัดพิมพ์ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ
รายการของใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือแกเไขใดๆ
2.ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
รายการใบกำกับภาษีอย่างย่อ
เห็นคำว่า ใบกำกับภาษีอย่างย่อแบบชัดเจน
ชื่อหรือชื่อย่อ และเลขประจำตัวผูเสียภาษีอากร
หมายเลขลำดับและหมายเลขลำดับของเล่ม(ถ้ามี)
ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณและมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
ราคาสินค้าและบริการต้องระบุชัดเจนว่ารวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
วันเดือนปีที่ออกใบกำกับภาษี
กรณี ออกโดยเครื่องบันทึกการเก็บเงิน จะเพิ่ม เลขรหัสประจำเครื่องบันทึกการเก็บเงิน
3.ใบกำกับภาษีที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดให้มีรายการเป็นอย่างอื่น
ใบกำกับภาษีของสินค้าหรือบริการเฉพาะอย่าง
ใบกำกับภาษีของยาสูบหรือน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
ใบกำกับภาษีเต็มรูปที่ได้รับอนุมัติให้ทำเป็นภาษาต่างประเทศ
ใบกำกับภาษีของสินค้าหรือบริการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
4.เอกสารอื่นเป็นใบกำกับภาษี
ใบเพิ่มหนี้
ใบลดหนี้
ใบกำกับภาษี
ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี
ผู้ประกอบการจดทะเบียนเท่านั้น
ผู้ขายทอดตลาดที่มิใช่ส่วนราชการ
ตัวแทนในราชอาราจักร จดทะเบียนในราชอาณาจักร
ตัวแทนในราชอาณาจักร จดทะเบียนนอกราชอาณาจักร
ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร
ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ถูกขีดชือออกจากทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ประกอบการท่ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ไม่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษี
ผู้ประกอบการที่มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ประกอบการจดทะเบียน แต่ไม่ได้มีการขายสินค้าหรือให้บริการ
ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักร และได้ให้ตัวแทนของตนออกใบกำกับภาษีแทนตามมาตรา86/2
ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ทรัพย์สินถูกนำขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่นตามมาตราการ83/5
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
กลุ่มที่ 1 กิจการที่ได้รับการยกเว้น แต่สามารถขอเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้ (กลุ่มสวยเลือกได้)
1.มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
2.ขายพืชผลทางการเกษตร ทั้งนี้ต้องมีสภาพสด
ไข่ไก
หมู
ข้าวโพด
3. ขายสัตว์ที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นส่วนต่างๆของสัตว์ วัตถุพลอยได้จากสัตว์ ต้องมีสภาพสด
ปลา กุ้ง
โค กระบือ
ไข่ น้ำนม
4.การขายปุ๋ย
5. การขายปลาป่น อาหารสัตว์
6.การขายยาหรือเคมีภัณฑ์
7.การขายหนังสือ นิตยสาร ตำราเรียน
***หมายเหตุ ประสงค์ขอเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร และให้จดทะเบียนภาษีมูลคาเพิ่มภายใน 30วันนับแต่วันแจ้งอธิบดี ผู้ประกบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว เรียกว่า ผู้ประกอบารจดทะเบียน
กลุ่มที่ 2 กิจการที่ได้รับการยกเว้นและไม่สามารถขอเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้ (กลุ่มเป็ดขี้เหร่)
1.การนำข้าสินค้าของกลุ่มที่ 1 ข้อ2-7
2.การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาของทางราชการและเอกชน
3.การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรทั้งทางบก ทางน้ำ
และทางอากาศ
4.การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศทางบกและทางเรือ
ซึ่งมิใช่เรือเดินทะเล
5.การให้บริการรักาาพยาบาของสถานพยาบาลทางราชการและเอกชน
6.การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์
7.การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น
8.การให้บริการประกอบโรคศิลป์ การสอบบัญชี การว่าความ
9.การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ
10.การให้บริการงานศิลปะและวัฒนธรรม
11.การให้บริการวิจัยหรือทางวิชาการ
12.การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน
13.การให้บริการเช่าและขายอสังหาริมทรัพย์
14.การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น
15.การขายหรือให้บริการของกระทรวง ทบวง กรม
16.การให้บริการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนาหรือสาธารณกุศล
17.การบริจาคสินค้าให้แก่สถานพยาบาลและสถานศึกษของทางราชการ
18.การขายบุหรี่ซิกาแรด
19.การขายสถากกินแบ่งรัฐบาล สลากออมสินขิงรัฐบาล
และสลากบำรุงสากาชาดไทย
20.การขายแสตมป์ไปรษณีย์ แสตมป์อากร
21.การให้บริการสีข้าว
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1.รายรับไม่เกิน1.ล้านบาทต่อปี
2.ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมา
3.ให้บริการจากต่างประเทศและใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
4.อยู่นอกราชอาณาจักร เข้ามาประกอบกิจการเป็นครั้งคราว
กำหนดระยะเวลากรจดทะเบียน
1.ยื่นคำร้อภายใน30วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน1.8ล้านบาทต่อปี
2.ยื่นขอจดทะเบียนภายใน30วัน นับแต่วันที่แจ้งต่ออธิบดี
กรมสรรพากร
3.มีสิทธิ์ยื่นคำขอจดทะเบียน ก่อนวันเริ่มประกอบกิจการได้
3.1 มีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้
3.2 มีการดำเนินการเพื่อเตรียมประกิจการอันเป็นเหตุที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
แบบคำขอจดทะเบียนและเอกสารหลักฐาน
แบบคำข้อจดทะเบียน
ใช้แบบภ.พ.01 โดยให้ยื่นพร้อมกัน3ฉบับ
ชื่อผู้ประกอบการ
ที่อยู่สถานที่ตั้งสถานประกอบการ
ลงช่อและประทับตรานิติบุคคล(ถ้ามี)
เอกสารหลักฐาน
1.สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน
และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
2.สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคล
3.สำเนาหรือภาพถ่ายหรือหนังสือรับรองนายทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท หนังสือสำคัยแสดงการจัดตั้งเป็นนิติบุคคล สำเนาหนังสือ
บริคนห์ และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรนิติบุคคล(กรณีนิติบุคคล)
4.สำเนาหรือภาพถ่ายการดำเนินการค้าร่วม(ถ้ามี)
5.สำเนาหรือภาพถ่าย สัญญาเช่าอาคาร(กรณีเช่า) หรือหนังสือยินยอมให้ประกอบการ(กรณีอาคารเป็นของผู้อื่น)พร้อมสำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านที่ตั้งสถานประกอบการนั้น
6.สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์(กรณีที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์)
7.หนังสือมอบอำนาจและภาพถ่ายบัตรประจำตัวผู้รับมอบอำนาจ
สถานที่จดทะเบียน
ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่
ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ)
กรณีสถานประกอบการหลายแห่ง ยื่น ณ สำนักงานสรรพกรพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่
ใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
มีการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ใบทะเบียนภ.พ.20
กรณีชำรุด ถูกทำลายหรือสูญหาย ยื่นคำขอรับใบแทนภายใน15วัน นับแต่วันที่ชำรุด ถูกทำลาย หรือสูญหาย
การเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
เปิดกิจการเพิ่มเติม โอน ย้าย ต้องแจ้งก่อนมีการเปลี่ยนแปลงไม่น้อยกว่า15วัน
เปลี่ยนแปลงรายการ การปิด การเลิกกิจการต้องแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น โดยใช้แบบภ.พ.90
ความรับผิดชอบในการเสียภาษี
1.การขายสินค้า มาตรา 78
ขายเสร็จเด็ดขาด สัญญาจะขาย
เกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบสินค้า เว้นแต่
มีการโอนกรรมสิทธิ์
รับชำระราคา
ออกใบกำกับภาษีก่อนการส่งมอบ
เช่าซื้อขายผ่อนที่กรรมสิทธิ์ยังไม่โนไปยังผู้ซื้อ
เกิดขึ้นตามงวดที่ถึงกำหนดชำระ เว้นแต่
มีการชำระราคา
ออกใบกำกับภาษีก่อนถึงกหนดชำระแต่ละงวด
กาฝากขาย
เมื่อตัวแทนส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า เว้นแต่
ตัวแทนได้โอนกรรมสิทธิ์
รับชำระราคา
ออกใบกำกับภาษี
ตัวแทนนสินค้าไปใช้
การส่งออก
เมื่อมีการผ่านพิธีทางศุลกากร
การขายกระแสไฟฟ้า น้ำประปาหรือสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง
เมื่อรับชำระราคา เว้นแต่ ออกใบกำกับภาษีก่อน
การขายสินค้าด้วยเครื่องอัตโนมัติ
เมื่อนำเงินออกจากเครื่องอัตโนมัติ
กรณีจำหน่าย จ่ย โอนสินค้าโดยไม่มีค่าตอบแทน
เมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่ มีการโอนกรรมสิทธิ์ก่อนส่งมอบสินค้า
กรณีนำสินค้าไปใช้ในกิจการอื่น
เมื่อนำไปใช้
สินค้าขาดจากรายงาน
เมื่อตรวจพบ
กรณีสินค้าหรือทรัพย์สินในวันเลิกกิจการ
เมื่อเลิกกิจการ
กรณีรับโอนกรรมสิทธิ์สินค้าที่เคยเสียVAT%
เมื่อโอนกรรมสิทธิ์สินค้า
2.กการให้บริการ
การให้บริการโดยมีค่าตอบแทน
เมื่อรับชำระราคา เว้นแต่ มีการออกใกำกับภาษีก่อน
การให้บริการโดยไม่มีสิ่งตอบแทน
เมื่อมีการใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือคนอื่น
การให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและใช้บริการนั้นในไทย
เมื่อชำระราคาค่าบริการ(นำส่งVAT 7% โดยยื่นภ.พ.36)
การให้บริการด้วยเครื่ออัตโนมัติ
เมื่อนำเงินออกจากเครื่อง(กรณีการ์ดโฟนถือว่าชำระราคาก่อนให้บริการ
การรับชำระค่าบริการด้วยบัตรเครดิต
เมื่อมีการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต
กรณีโอนสิทธิ์ในการบริการที่เสียVAT0%
เมื่อชำระราคาค่าบริการ
3.การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าทุกกรณี
เมื่อผ่านพิธีการทางศุลกากร
การขายของตกค้าง(โดยกรมศุลกรกร)
เมื่อได้ขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่น
กรณีผิดเงื่อนไขเกี่ยวกับสินค้านำเข้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับการยกเว้นอากรขาเข้า
เกิดขึ้นพร้อมความรับผิดชอบตามกฎหมายว่าด้วยพอกัดอัตราศุลกากร
4.การขายสินค้าหรือให้บริการบางกรณี
4.1การขายกระแสไฟฟ้า น้ำประปา หรือสินค้าที่มีลัษณะทำนองเดียวกัน
เกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาสินค้า
4.2การขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง
เกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาสินค้า เว้นแต่
โอนกรรมสิทธิ์สินค้า
ได้ออกใบกำกับภาษี
4.3การขายสินค้าหรือการให้บริการด้วยเครื่องอัตโนมัติโดยชำระราคาด้วยวิธีการหยอดเงินเหรียญ ธนบัตร
เกิดขึ้นเมื่อได้นำเงินออกจากเครื่องอัตโนมัติ
4.4การขายสินค้าโดยชำระราคาด้วยการใช้บัตรเครดิต
เกิดขึ้นเมื่อส่งมบสินค้า เว้นแต่
โอนกรรมสิทธิ์สินค้า
เมื่อมีการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต
ได้ออกใบกำกับภาษี
4.5การให้บริการโดยการชำระราคาด้วยการใช้บัตรเครดิต
เกิดขึ้นเมื่อออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต
เว้นแต่ ออกใบกำกับภาษีก่อน
อัตราภาษี
1.อัตราภาษีทั่วไป ร้อยละ 7 แบ่งเป็นภาษีท้องถิ่น 0.7%
แบ่งเข้าส่วนกลางส่งสรรพากร 6.3%
2.อัตราร้อยละ 0 สำหรับกิจการ 6 ประเภท
การส่งออก
การขายสินค้าในราชอาราจักรและใช้บริการนั้นในต่างประเทศ
การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ
การขายสินค้าหรือการให้บริการกับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเเหลือจากต่างประเทศ
การขายสินค้าหรือให้บริการกับองค์กรสหประชาชาติ สถานทูต สถานกงศุล
การขายสินค้าหรือการให้บริการของคลังสินค้าทัณฑ์บนแและของผู้ประกอบการที่อยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก
ฐานภาษี
1.การขายสินค้าหรือการให้บริการทั่วไป
มูลค่าของฐานภาษีไม่ให้รวมถึง
ส่วนลดหรือค่าลดหย่อน
ค่าชดเชยหรือเงินอุดหนุน
ภาษีขาย
การจำหน่าย จ่าย โอน ฐานเป็น0
ของแถม
แจกวันเดียวกับที่ซื้อ
เป็นนายหน้าให้แก่ผู้ประกอบการในต่างประเทศ
การขายสินค้าในเขตอุตสาหกรรมส่งออก
ให้เป็นของขวัญในโอกาสต่างๆ
เครื่องแบบที่นายจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่เกิน2ชุดต่อปีและเสื้อนอกไม่เกิน1ตัวต่อปี
สินค้าทดลองใช้งานก่อนซื้อ
2.การขายสินค้าหรือบริการเฉพาะอย่าง
2.1ฐานภาษีสำหรับการส่งออก
ใช้ราคาF.O.B.ของสินค้าบวกด้วยภาษีสรรพสามิตและภาษี และค่าธรรมเนียมอื่นๆ
ราคาF.O.B. ได้แก่ สินค้า ณ ด่านศุลกากรส่งออก โดยไม่รวมค่าประกันัยและค่าขนส่งจากด่านศุลกากร
2.2ฐานภาษีสำหรับการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ
รับขนคนโดยสาร : มูลค่าค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียมและอื่นๆที่เรียกเก็บในราชอาณาจักร
รับขนสินค้า : มูลค่าค่าระวาง ค่าธรรมเนียมและอื่นๆที่เรียกเก็บในหรือนอกราชอาณาจักร
3.การนำเข้าสินค้า
3.1 ฐานภาษีสำหรับการนำเข้าสินค้าทุกประเภท
มูลค่าของสินค้านำเข้าโดยใช้ราคาC.I.F ของสินค้า บวกด้วยอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต ค่าธรรมเนนียมพิเศษตามกฎหมาย
ราคาC.I.F. ได้แก่ ราคาสินค้าบวกด้วยค่าประกันภัยและค่าขนส่งถึงด่านศุลกากร
3.2 ฐานภาษีสำหรับกการนำเข้าสินค้าที่ำแนกปะเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับการยกเว้น
4.การนำเข้าและขายยาสูบ น้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์น้ำมัน
ฐานภาษีสำหรับการนำเข้าและการขายยาสูบ
การนำเข้ายาสูบ+VATไปแล้ว กรณีแยก *7/107
การขายยาสูบในราชอาณาจักร คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามอัตราภาษีที่รวมอยู่ในจำนวนเต็มของราคาขายปลีก
ฐานภาษีสำหรับการนำเข้าและการขายน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
การนำเข้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน+VATไปแล้ว กรณีแยก *7/107
การขายน้ำมันและผลิตภัณฑ์ ฐานภาษีคำนวณเช่นเดียวกับการขายสินคค้าและให้บริการทั่วไป
5.กรณีอื่นที่กฎหมายกำหนดไว้กรณีเป็นพิเศษ
5.1 การคำนวณการขายสินค้าหรือการให้บริการทั่วไป
มูลค่าฐานภาษีให้ยึดตามราคาตลาดของสินค้า
5.2 การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของฐนภาษีที่มีมูลค่าเป็นเงินตตราต่างประเทศ