การเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม
Reference and Blibiography

การอ้างอิงเอกสาร

เอกสารอ้างอิง

รายชื่อเอกสารที่ผู้เขียนใช้ศึกษาค้นคว้าในการเรียบเรียงรายงานเรื่องนั้นๆ และเป็นเอกสารที่ได้เขียนรายการอ้างอิงไว้ในส่วนเนื้อเรื่องเท่านั้น

บรรณานุกรม

รายชื่อเอกสารที่ผู้เขียนใช้ศึกษาค้นคว้าในการเรียบเรียงรายงานเรื่องนั้นๆ ทั้งที่ได้เขียนรายการอ้างอิงไว้ในส่วนเนื้อเรื่อง และเอกสารที่ไม่ได้ใช้อ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่องแต่ได้อ่านประกอบเรียบเรียง นำมาใส่ไว้ในส่วนท้ายรายงาน

ารบอกแหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิงในการเขียนผลงาน

อ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง

อ้างอิงเอกสารส่วนท้ายเรื่องหรือท้ายรายงาน

การจัดเรียงเอกสารอ้างอิงไว้ส่วนท้ายรายงานเรียกว่า บรรณานุกรม

การเขียนบรรณานุกรมท้ายเล่มเอกสารหรือรายงาน

รูปแบบ

บรรณานุกรมสำหรับหนังสือทั่วไป (General Books)

ชื่อผู้แต่ง.(ปีพิมพ์).ชื่อเรื่อง.ครั้งที่พิมพ์(ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป).สถานที่พิมพ์:สำนักพิมพ์.

ภัทราวดี มีชูธน. (2541). ปาก(กา)ไม่ว่าง. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพฯ:ฟิวเจอร์พับลิชชิ่ง.

*ส่วนสำคัญของการเขียนอ้างอิง คือ ชี่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง การพิมพ์

การลงชื่อหนังสือหรือชื่อเรื่อง

ชื่อเรื่องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ใส่เฉพาะ
ภาษาไทย

เรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับประเทศไทย (Essay on Thailand)

เรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับประเทศไทย

Subtopic

ชื่อหนังสือที่เขียนเป็นภาษาไทยแต่ชื่อเรื่องเป็นภาษาอังกฤษให้ถอดคำเป็นภาษาไทยก่อนแล้วจึงใส่ชื่อภาษาอังกฤษไว้ในวงเล็บ

อินเทอร์เน็ต (Internet)

การลงชื่อผู้แต่ง(Author's Name)

หนังสือที่มีผู้แต่ง 1 คน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรจน์ บัณฑิตย์

อรรจน์ บัณฑิตย์

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ

Harry Potter

Potter, Harry

Michael J. Corey

Corey, Michael J.

หนังสือที่มีผู้แต่ง 2 คน

ใช้คำว่า และ หรือ and เชื่อม

ดิชิตชัย เมตตาริกานนท์ และ ศิวนาถ นันทพิชัย

Geoffrey, Beale and Meigs, Robert F.

หนังสือที่มีผู้แต่ง 3-6 คน

ระบุชื่อคนแรกไปจนถึงคนที่ 5 จึงเชื่อมด้วยคำว่า และ

หิรัญ หิรัญประดิษฐ์, สุขวัฒน์จันทรปรณิก, สาธร คงสุข และ เสริมสุข สลักเพ็ชร.

Toplis, John, Dulewicz, Vitor and Fletcher, Clive.

หนังสือที่มีผู้แต่งมากกว่า 6 คน

ระบุชื่อคนที่ 1-6 จากนั้นให้ใช้คำว่า และคณะ หรือ และคนอื่นๆ (ภาษาอังกฤษ and others)

พิภพ ปราบณรงค์, เดชา นันทพิชัย, สุธีรัตน์ทองขาว, เจนกิจ แก้วรัตน์, ธีระพันธ์ จุฬากาญจน์, ชัยยะ ฉัตรเวชศิริกุล,และคนอื่นๆ

Toplis, John, Dulewicz, Vitor, Fletcher, Clive, Geoffrey, Beale, Herren, Ray V., Meigs, Robert F., and others.

หนังสือที่ผู้แต่งใช้นามแฝง

ถ้าทราบชื่อจริงให้วงเล็บต่อท้าย

ทมยันตี (วิมล เจียมเจริญ)

ถ้าไม่ทราบให้วงเล็บไว้ว่า นามแฝง

ชมจันทร์(นามแฝง)

หนังสือที่ผู้แต่งเป็นนิติบุคคล

เว้นวรรคจากหน่วยงานใหญ่คั่นด้วยเครื่องหมาย . ตามด้วยหน่วยงานย่อย

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์

การโจรกรรมทางวรรณกรรมผลงานของตนเอง

การนำเอางานส่วนใหญ่ หรืองานทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมด ของตนเองมาทำเป็นงานใหม่ โดยไม่ได้เเจ้งให้ชัดเจน บทความ ส่วนใหญ่มักเป็นบทความตีพิมพ์ซ้ำ (Multiple Publication)

การลอกงานเขียน ความคิดหรืองาน สร้างสรรค์ดั้งเดิมทั้งหมดหรือบางส่วนที่เหมือน หรือเกือบเหมือนงานดั้งเดิมของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นงานดั้งเดิมของตนเอง

แนวทางหลีกเลี่ยง

แสดงข้อเท็จจริงทั้งหมด อ้างไว้ในบทนำ ว่างานใหม่หรือ
ส่วนของงาน ใหม่ได้รวมงานเดิมไว้ด้วยอย่างไร

ต้องให้แน่ใจว่าไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด(ผลงานเดิมอาจเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์ ฯลฯ)

อ้างอิงงานเดิมไว้ในอ้างอิงหรือบรรณานุกรมท้ายงานใหม่

การลงปีที่พิมพ์

ให้ระบุเฉพาะตัวเลข ไว้ในเครื่องหมาย () เสมอ

(2541).

ถ้าไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ให้ใส่ ม.ป.ป. หมายถึง ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ หรือ n.d. หมายถึง no date แทนโดยใส่ไว้ในเครื่องหมาย []

[ม.ป.ป.].

[n.d.].

การโจรกรรมทางวรรณกรรม หรือการขโมยความคิด(Plagiarism)

ถือเป็น ความไม่สุจริตทางวิชาการ (Academic Dishonesty) หรือ
การฉ้อฉลทางวิชาการ (Academic Fraud) และผู้ที่กระทำผิดจะต้อง
ถูกตำหนิทางวิชาการ (Academic Censuses)

การเรียงลำดับบรรณานุกรม

เรียงลำดับตามลำดับอักษรตัวแรกของรายการที่ปรากฎ(ก-ฮ,A-Z)

ถ้ามีภาษาอังกฤษกับภาษาไทยให้เรียงแยกกัน โดยให้เรียงภาษาไทยมาก่อนเสมอ

ถ้าเรียงงานหลายงานที่มีชื่อผู้แต่งคนแรกเหมือนกัน โดยใช้หลักดังนี้

ให้เรียงรายการที่มีผู้แต่งคนเดียวมาก่อนรายการที่มีหลายคน

ถ้ามีผู้แต่งคนแรกซ้ำกัน ให้เรียงตามผู้แต่งคนต่อมา

ถ้าชื่อผู้แต่งเหมือนกัน ให้เรียงตามอักษรของชื่อต้นและชื่อกลาง

เอกสารผู้แต่งที่เป็นสถาบัน สมาคม หน่วยงาน ให้เรียงตามลำดับอักษรตัวแรกของชื่อสถาบันที่สะกดเต็ม โดยเรียงไปทีละลำดับตั้งแต่หน่วยงานใหญ่ถึงหน่วยงานย่อย

บรรณานุกรมจากอินเทอร์เน็ต

รูปแบบ

ชื่อผู้แต่ง.(ปีพิมพ์). ชื่อเอกสารออนไลน์. ค้นเมื่อ, ว/ด/ป(ที่ค้น)จาก+URL เว็บไซต์ที่พบข้อมูล

ศรีสมร คงพันธุ์. (2542). สมุนไพรกับอาหารไทย. ค้นเมื่อ23 พฤษภาคม 2553, จากhttp://ite.nectec.or.th/%7Eelib

บรรณานุกรมจากวารสาร

รูปแบบ

ชื่อผู้เขียนบทความ.(ปีพิมพ์). ชื่อบทความ.ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฏ.

กุลธิดา ท้วมสุข. (ปีพิมพ์). แหล่งสารนิเทศบนอินเทอร์เน็ต, มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(2), 1-13 .

การลงสำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์

ห้ามใส่คำว่า สำนักพิมพ์ หรือ Publisher

ในกรณีที่ไม่ปรากฏชื่อสำนักพิมพ์ หรือโรงพิมพ์ ให้ระบุคำว่า ม.ป.พ. หรือ n.p. (No Publisher) โดยระบุไไว้ในเครื่องหมาย []

สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช

ไทยวัฒนาพานิช.

การลงสถานที่พิมพ์

ถ้าไม่ปรากฏชื่อเมืองให้ใส่ ม.ป.ท. หมายถึง ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์ หรือ n.p. (no place) แทน โดยใส่ในเครื่องหมาย []

สมชาย ดีที่สุด. (2552).แหล่งสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต.[พิมพ์ครั้งที่ 2].[ม.ป.ท.].

การลงครั้งที่พิมพ์

ใส่ครั้งที่พิมพ์ตั้งแต่ครั้งที่สองเป็นต้นไป

พิมพ์ครั้งที่ 2.

ภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวย่อ ed.

สมชาย ดีที่สุด.(2558).แหล่งสาสรสนเทศบนอินเตอร์เน็ต.[พิมพ์ครั้งที่ 2].ขอนแก่น:รักษ์ไทยการพิมพ์.

Klik hier om uw map te centreren.
Klik hier om uw map te centreren.