มาตรฐานการเชื่อมต่อและสถาปัตยกรรมเครือข่าย

มาตรฐาน IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers)

เป็นองค์กรสากลที่สร้างและพัฒนามาตรฐานด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและ
อิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงการสื่อสารและวิทยาการคอมพิวเตอร์ มาตรฐานของ IEEE เป็นผู้นำในการสร้างมาตรฐานให้กับ
แวดวงอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิด้านพลังงาน เวชภัณฑ์ เทคโนโลยีการสื่อสาร และอื่นๆ สำหรับมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการ
สื่อสารข้อมูลที่คุ้นเคยกันก็เช่น IEEE 802 ที่กำหนดมาตรฐานให้กับการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ LAN/MAN โดยมี IEEE 802.3
เป็นมาตรฐานให้กับเทคโนโลยีเครือข่าย Ethernet LAN และมาตรฐาน IEEE 802.11สำหรับเครือข่ายไร้สาย เป็นต้น มาตรฐาน
ที่เราพบได้บ่อยๆ คือ มาตรฐาน IEEE 802.3 ซึ่งใช้กำหนดมาตรฐานของรูปแบบเครือข่ายใน Ethernet LAN โดยมีการปรับปรุง
และพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นตั้งแต่ปี 1983 ที่ทาง IEEE ได้ออกมาตรฐาน IEEE 802.3 ขึ้นมาสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์

Client-Server

ระบบนี้จะทำงานโดยมีเครื่อง Server ที่ให้บริการ เป็นศูนย์กลางอย่างน้อย 1 เครื่อง
และมีการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ จากส่วนกลาง ซึ่งคล้ายกับระบบเครือข่ายแบบ
รวมศูนย์กลางแต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ เครื่องที่ทำหน้าที่ให้บริการในระบบ Client-Server นี้
จะเป็นเครื่องที่มีราคาไม่แพงมาก ซึ่งอาจใช้เพียงเครื่อง ไมโครคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงในการ
ควบคุมการให้บริการทรัพยากรต่างๆนอกจากนี้เครื่องลูกข่ายยังจะต้องมีความสามารถในการ
ประมวลผล และมีพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลท้องถิ่นเป็นของตนเองอีกด้วย

Peer-to-Peer

เครือข่ายนี้อาจเรียกว่า “เวิร์คกรุ๊ป (Workgroup)” เครือข่ายแบบนี้จะเก็บ
ไฟล์และการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้แต่ละคน
โดยไม่มีคอมพิวเตอร์ส่วนกลางที่ทำหน้าที่นี้ เรียกได้ว่าต่างคนต่างเก็บ ต่างคนต่างใช้
แต่ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถเรียกใช้ไฟล์จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ ถ้าคอมพิวเตอร์
เครื่องนั้นทำการแชร์ไฟล์เหล่านั้นไว้ เครือข่ายแบบ Peer-to-Peer นี้เหมาะสำหรับ
องค์กรขนาดเล็กที่มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันไม่เกิน 10 เครื่อง เนื่องจากติดตั้งง่าย
ราคาไม่แพง และการดูแลไม่ยุ่งยากนัก แต่ถ้าคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมีมากกว่า 10
เครื่องขึ้นไปควรจะใช้เครือข่ายแบบอื่นดีกว่า

OSI (Open Systems Interconnect) Model

1. Application-oriented Layers เป็น 4 เลเยอร์ด้านบน คือ เลเยอร์ ที่ 7, 6, 5 และ 4
(Application, Presentation, Session และ Transport) ทำหน้าที่เชื่อมต่อรับส่งข้อมูลระหว่างผู้ใช้
กับโปรแกรมประยุกต์ เพื่อให้รับส่งข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ที่อยู่ชั้นล่างได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะเกี่ยวข้อง
กับซอฟต์แวร์เป็นหลัก

2. Network-dependent Layers เป็น 3 เลเยอร์ด้านล่างคือ เลเยอร์ที่ 1, 2 และ 3
(Network, Data Link และ Physical) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับส่งข้อมูลผ่านสายส่ง และควบคุม
การรับส่งข้อมูลตรวจสอบข้อผิดพลาด รวมทั้งเลือกเส้นทางที่ใช้ในการรับส่ง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ
ฮาร์ดแวร์เป็นหลัก ทำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ต่างบริษัทกันได้อย่างไม่มีปัญหา

เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

Ethernet LAN

เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบ Ethernet LAN หรือเรียกว่าเครือข่ายแลน
แบบมีสาย เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยม เนื่องจากการติดตั้งที่ง่าย
และค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก ความเร็วที่ได้อยู่ในระดับ 10/100 Kbps และอุปกรณ์ที่ใช้ในการ
ติดตั้งเครือข่ายก็หาได้ง่าย เทคโนโลยีเครือข่าย Ethernet LAN ถูกพัฒนาเมื่อปี ค.ศ. 1972
และมีการกำหนดมาตรฐานภายใต้ IEEE 802.3 ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1980 ซึ่งเครือข่าย Ethernet
LAN นี้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและปัจจุบันได้เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความ
นิยมอย่างแพร่หลาย โดยในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 2 มาตรฐานใหญ่ๆ คือ Fast Ethernet
LAN และ Gigabit Ethernet LAN (นอกจากนั้นยังมีมาตรฐาน 10 Gigabit Ethernet
ที่จะตามมาในอนาคตด้วย)

Wireless LAN

เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบ Wireless LAN หรือที่เรียกว่า Wi-Fi
(ย่อมาจากคำว่า Wireless Fidelity) เป็นเครือข่ายไร้สายเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน
เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันโดยใช้คลื่นวิทยุแทนการใช้สายในการรับส่งข้อมูล
ทำให้สามารถผ่านอากาศ ทะลุกำแพง เพดานหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ไม่ต้องเดินสาย
สัญญาณให้ยุ่งยาก ทำให้การเคลื่อนย้ายเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นทำได้โดยสะดวก อีกทั้งยัง
สามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อลงได้ สำหรับรูปแบบการเชื่อมต่อ
เครือข่ายไร้สายส่วนใหญ่ จะมีอุปกรณ์กระจายสัญญาณเป็นตัวกลางสำหรับการเชื่อมต่อ
เรียกว่า Access Point ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับฮับของระบบแลนแบบมีสาย