ความรู้พื้นฐานของการวิจัย
(Foundation of Research)

แนวคิดพื้นฐานของการวิจัย

1 กฎเหตุและผลของธรรมชาติ เป็นแนวคิดที่ระบุว่าปรากฏการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นจะสามารถแสวงหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์นั้นได้เสมอ ๆ

2 กฎความเป็นระบบของธรรมชาติ เป็นแนวคิดที่ระบุว่าปรากฏการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นตามกฎของเหตุและผลของธรรมชาติจะมีรูปแบบของความสัมพันธ์ของ ตัวแปรที่ค่อนข้างจะชัดเจน

3 กฎความสัมพันธ์ของธรรมชาติ เป็นแนวคิดที่ระบุว่า ในการเกิดปรากฏการณ์ใด ๆ ที่แตกต่างกันนั้น จะมีความมากน้อยของตัวแปรที่เป็นสาเหตุและตัวแปร ผลที่แตกต่างกัน

4 กฎองค์ประกอบหลักของธรรมชาติเป็นแนวคิดที่ระบุว่าตัวแปรสาเหตุและตัวแปรผลที่เกิดขึ้นนั้น ๆ ไม่ได้เป็นความสัมพันธ์เชิงเดี่ยว แต่จะมีตัวแปร
อื่นๆ ที่มักจะมาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ๆ

5 กฎความน่าจะเป็นของธรรมชาติ เป็นแนวคิดที่ระบุว่าในปรากฏการณ์ ใด ๆ นั้น ความรู้ความจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จะเป็นผลลัพธ์ของปรากฏการณ์ ที่มีความน่าจะเป็นในการเกิดขึ้นที่ค่อนข้างสูง

จุดมุ่งหมายของการวิจัย

1 เป้าหมายของการวิจัย คือ มุ่งหาคำตอบเพื่อน มาใช้แก้ปัญหา โดยศึกษาความสัมพันธ์
ระหว่างตัวแปรที่มีความเป็นเหตุและเป็นผลซึ่งกันและกันอย่างชัดเจน

2 การวิจัยเป็นการสรุปผล หลักเกณฑ์ และทฤษฏีที่ใช้ในการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะ
เกิดขึ้นในอนาคต หรือเป็นการศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพื่อที่น าผลสรุปอ้างอิงไปสู่ประชากร

.3 การวิจัยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือปรากฏการณ์ที่สังเกตได้มาใช้ในการสรุปผล โดย
ที่ปัญหาในบางปัญหาไม่สามารถท าการวิจัยได้เนื่องจากไม่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้

คุณลักษณะของการวิจัย

การวิจัย เป็นวิธีการ ๆ หนึ่งที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ความ
จริง ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่มีระบบและขั้นตอนชัดเจน และมีการก าหนดจุดมุ่งหมายของการวิจัย ในแต่ละครั้งอย่างชัดเจนว่าต้องการอะไร ที่ผู้วิจัยจะใช้เป็นแนวทางในการแสวงหาค าตอบ เพื่อใช้อธิบาย พยากรณ์ และควบคุมปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ๆ

ธรรมชาติของการวิจัย

1 การวิจัยเป็นกระบวนการเชิงประจักษ์ หมายถึง การวิจัยเป็นกระบวนการแสวงหาคำตอบที่
ต้องใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่มีความถูกต้อง เชื่อถือได

2 การวิจัยเป็นการดำเนินการที่เป็นระบบ หมายถึง การวิจัยเป็นการดำเนินการตามขั้นตอน
วิธีการทางวิทยาศาสตร

3 การวิจัยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน หมายถึง การวิจัยเป็นการดำเนินการที่มีจุดมุ่งหมายใน 4
ลักษณะ คือ บรรยาย อธิบาย พยากรณ์ และควบคุม ในปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

4 การวิจัยมีความเที่ยงตรง หมายถึง การวิจัยใดๆ จำเป็นต้องมีความเที่ยงตรง
ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ ความเที่ยงตรงภายในและความเที่ยงตรงภายนอก

5 การวิจัยมีความเชื่อมั่น หมายถึง การวิจัยต้องมีความคงเส้นคงวาใน การดำเนินการวิจัย

6 การวิจัยมีเหตุผล หมายถึง การวิจัยเป็นการดำเนินการที่จะต้องมีเหตุผลที่ชัดเจนใน การดำเนินการทุกขั้นตอนเพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่ถูกต้อง

7 การวิจัยเป็นการแก้ปัญหา หมายถึง การวิจัยเป็นการดำเนินการที่จะเริ่มต้นด้วยปัญหาที่
เกี่ยวพันกันระหว่างปัญหา(ตัวแปรตาม) กับวิธีการแก้ปัญหา(ตัวแปรต้น) แล้วจึงจะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการในการดำเนินการตรวจสอบการแก้ปัญหานั้น ๆ

8 การวิจัยต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่ หมายถึง การวิจัยในแต่ละครั้งจะต้องมีการเก็บ
รวบรวมข้อมูลใหม่เพื่อตอบคำถามตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้น ๆ

9 การวิจัยมีวิธีการที่หลากหลาย หมายถึง การวิจัยจะมีวิธีการในการดำเนินการวิจัยที่ให้
ผู้วิจัยได้เลือกใช้อย่างหลายหลายวิธีการตามความเหมาะสมของปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์ หรือการดำเนินการวิจัย

10 การวิจัยต้องใช้ศักยภาพของผู้วิจัย หมายถึง การวิจัยที่มีประสิทธิภาพจะต้องดำเนินการ
โดยที่ผู้วิจัยที่มีความรู้ความสามารถ

ประเภทของการวิจัย

1 จำแนกตามประโยชน์ที่ได้รับหรือเหตุผลในการวิจัยจำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ

1.1 การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์ เป็น
การวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหาความรู้ความจริงเชิงทฤษฎี/ปรากฏการณ์ ที่นำมาใช้ใน การสนับสนุน หรือขัดแย้งกับกฎเกณฑ์ หรือทฤษฎีที่มีอยู่

1.2 การวิจัยการนำไปใช้เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ใน การนำผลการวิจัยจากการวิจัยพื้นฐานมาใช้ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้ในปัจจุบัน ตัดสินใจ

2 จำแนกตามลักษณะ (ความลึก/ความกว้าง)ของข้อมูลจำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ

2.1 การวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการวิจัยที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวแปรที่มีลักษณะเป็นตัวเลขที่ระบุระดับความมาก/น้อยของปรากฏการณ์ตามเกณฑ์ที่กำหนดให้ค่อนข้างชัดเจน

2.2 การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิจัยที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวแปรที่มีลักษณะเป็นข้อความที่บรรยายลักษณะ

3 จำแนกตามระเบียบวิธีวิจัย(Methodology) จำแนกได้2 ลักษณะ

3.1การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ ใช้ข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีตที่มีหลักฐานปรากฏอยู่ อาทิ รูปภาพ สิ่งพิมพ์ บันทึกเหตุการณ์ หรือซากวัสดุต่าง ๆ

3.2 การวิจัยเชิงบรรยาย เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้บรรยายคุณลักษณะ หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามสภาพการณ์ธรรมชาติของปรากฏการณ์นั้น ๆ

ขั้นตอนในการวิจัย

1) เลือกหัวข้อปัญหา

2) การกำหนดขอบเขตของปัญหา

3) การศึกษาเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยการศึกษาสาระความรู้ แนวคิด ทฤษฎี
และผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นในตำรา หนังสือ วารสาร รายงานการวิจัยและเอกสาร

4) การกำหนดสมมุติฐาน

5) การเขียนเค้าโครงการวิจัย

6) การสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล

7) ขั้นดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล

ความหมายของการวิจัย

การวิจัย เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ที่มีระบบ มีขั้นตอนที่ชัดเจนปราศจาก
อคติส่วนตัว สามารถตรวจสอบได้ที่ผู้วิจัยนำมาใช้ศึกษา ค้นคว้าข้อเท็จจริง เพื่อนำไปใช้อธิบาย ปรากฏการณ์ ทางสังคม หรือพัฒนาเป็นกฎ ทฤษฏี หรือนำไปใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่าง ถูกต้อง แม่นยำและเชื่อถือได้

ตัวแปรและสมมติฐาน

1. ความหมายของตัวแปร

2. ลักษณะและชนิดของตัวแปร

3. การนิยามตัวแปรและการหาข้อมูลหรือข้อเท็จจริง

4. สมมติฐาน

5. ประเภทของสมมติฐาน

6. แหล่งที่มาของสมมติฐาน

7. ลักษณะของสมมติฐานที่ดี

Klicka här för att centrera din tankekarta.
Klicka här för att centrera din tankekarta.