เด็กหญิง อายุ 3 ปี 9 เดือน

ด้านการเจริญเติบโต

น้ำหนัก
สูตร (อายุ(ปี)*2)+8 =(3*2)+8 =14
แปลผล เด็กน้ำหนก19 kg แปลผลได้ว่าเด็กน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์อายุ

ส่วนสูง
สูตร (อายุ(ปี)*6+77 = (3*6) +77= 95 cm
แปลผล เด็กสูง 90cm แปลผลว่าส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์อายุ

ทักษะการคิดเชิงบริหาร Executive function

ทักษะการคิดเชิงบริหาร Executive function คือ ทักษะจำเพาะที่เกิดจากการทำงานของสมองส่วนหน้าในการควบคุม จัดระเบียบและตรวจสอบความคิด ประกอบด้วยทักณพที่สำคัญ 3 ด้าน
Working memory คือ ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล
Cognitive or mental flexibility คือ ความสามารถในการคงอยู่ของความสนใจและมีการเปลี่ยนแปลงในเวลาที่เหมาะสม
Inhibitory control คือ ความสามารถในการควบคุมความคิดและการกระทำ

ตัวอย่าง กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหารเด็กอายุ 3 - 5 ปี
ช่วงอายุ 3 -5 ปี เป็นช่วงวัยอนุบาล ซึ่งมีการพัฒนาทักษะเชิงบริหารมากที่สุด ดังนั้นสิ่งสำคัญ คือ ปรับกิจกรรมให้เหมาะกับความสามารถ โดยมีเป้าหมาย คือ เด็กสามารถควบคุมตนเองได้ โดยที่ผู้ปกครองค่อย ๆ ลดการควบคุมเด็ก
ส่งเสริมการเล่นเชิงจินตนาการ ( Imaginary play )
ส่งเสริมให้เด็กเป็นผู้เล่านิทานเองในเเบบของเด็กเอง
เกมส์เคลื่นไหวโดยใช้ดนตรีเป็นสื่อวนการเล่น
เกมส์ที่ต้องใช้ความเงียบหรือสมาธิ เช่น การจับคู่ภาพเหมือน จัดหมวดหมู่ผักผลไม้ การต่อจิ๊กซอว์

ด้านพัฒนาการ

ด้านการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดใหญ่

เด็กมีการวิ่งกระโดนขาเดียวได้ ซึ่งเป็นไปตามวัย

การฝึกทักษะ :
1.ผู้ดูแลควรร่วมทำกิจกรรมไปพร้อมๆกับเด็ก เพื่อคอยกระตุ้นพัฒนาการ และป้องกันอุบัติเหตุ
2.ชวนเด็กเล่นกระโดดขาเดียว ตามการละเล่นในแต่ละภาค เช่น เล่นตั้งเต เป็นต้น

ด้านการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก และสติปัญญา

เด็กวาดรูวงกลมได้ ซึ่งตามวัยควรที่จะเลียนแบบวาดรูปบวก

การฝึกทักษะ :
1.วาดให้เด็กดูเป็นตัวอย่าง ถ้าเด็กทำไม่ได้ให้ทำเป็นเส้นประ และให้จับมือเด็กลากเส้น
2.เมื่อเด็กทำได้ ปล่อยให้เด็กทำเองโดยไม่มีเส้นประ และให้ใช้สีแตกต่างกันเพื่อกระตุ้นความสนใจของเด็ก
3.ทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก กระตุ้นให้เด็กวาดภาพบ่อยๆ

ด้านความเข้าใจ

ตามวัยสามารถที่จะเลือกวัตถุที่มีขนาดใหญ่กว่า และเล็กกว่าได้

การฝึกทักษะ :
1.ฝึกเด็กในชีวิตประจำวัน เช่น ขฯะรับประทานอาหาร สอนเด็กให้รู้จักถ้วยใบใหญ่ ถ้วยใบกลาง ถ้วยใบเล็ก
2.ชี้ที่ถ้วยใบกลาง พร้อมชี้ที่ถ้วยใบใหญ่แล้วบอกเด็กว่า “ถ้วยนี้ใหญ่กว่าอันกลาง” และชี้ถ้วยใบเล็ก แล้วบอกว่า “ถ้วยนี้เล็กกว่าอันกลาง”
3.ทดสอบความเข้าใจ ดดยชี้ไปที่ถ้วยบกลาง แล้วถามเด็กว่า “อันไหนใหญ่กว่าอันนี้” “อันไหนเล็กกว่าอันนี้” ฝึกเด็กบ่อย ๆ โดยการเปลี่ยนแลอุปกรณ์ให้หลากหลาย

ด้านการใช้ภาษา

เด๋กพูดเป็นประโยคได้ 2 คำติดต่อกัน ซึ่งตามวัยควรที่จะพูดเป็นประโยค 3-5 คำได้

การฝึกทักษะ :
1.สอนให้เด็กพูดในโอกาสต่าง ๆ โดยพูดให้เด็กฟังเป็นตัวอย่างแล้วบอกให้เด็กพูดตาม
สอนให้เด็กยกมือไหว้และกล่าวขอบคุณทุกครั้งที่รับของจากผู้ใหญ่ เช่น ขอบคุณค่ะคุณน้า
สอนให้เด็กกล่าคำขอโทษทุกครั้งที่ทำผิด เช่น ขอโทษค่ะคุณแม่
สอนให้เด็กบอกลา เช่น หนูลาละนะคะ
2.เตือนเมื่อเด็กลืมกล่าวคำขอบคุณ สวัสดี ขอโทษ และบอกลาทุกครั้ง

ด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม

เด็กสามารถใส่กระดุมเสื้อได้ 1 เม็ด ซึ่งตามวัยควรใส่กระดุมขนาดใหญ่อย่างน้อย 2 ซ.ม. ได้เอง 3 เม็ด

การฝึกทักษะ :
1.แสดงวิธีการใส่กระดุมให็เด็กดู แล้วบอกเด็กให้ทำตาม
2.พยายามให้เด็กใส่ด้วยตัวเองซ้ำๆ จะได้เกิดความเคยชิน

ปัญหาและความต้องการของเด็กวัยนี้

ปัญหา

ด้านสุขอนามัย : ดูแลความสะอาดของผม หนังศีรษะ การอาบน้ำ และการแปรงฟันที่ถูกวิธี

ด้านอาหารและโภชนาการ : ดูแลการรับประทานอาหารให้เหมาะสมตามวัย และรับประทานอาหารพวกวิตามินเอ

ความต้องการ

ด้านความรัก : เนื่องจากพ่อแม่ต้องไปทำงานต่างจังหวัด ผู้ดูแลหลักของเด็ก คือ ยาย

อ้างอิง

ปัญหา

ภาวะอ้วน

ข้อมูลจากเคส :น้ำหนักมากกว่าเกณฑ์

สาเหตุ : อาหาร, พฤติกรรมการรับประทานอาหาร,พันธุกรรม,การเลี้ยงดู

Assessmentเพิ่ม แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กอายุ 1-3ปี , ประเภทอาหารที่เด็กชอบรับประทาน , พฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น กินแล้วนอน , เริ่มกินนมผงตอนอายุเท่าไหร่ , กิจกรรมที่ทำในแต่ละวันหรือการออกกำลังกาย , ส่วนสูงบิดา มารดา

คำแนะนำ

1. จัดอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่ จำนวน 3มื้อ ต่อวัน พลังงานที่ควรได้รับต่อวัน คือ 1,300Kcal/day หรือ 100Kcal/kg
และจัดให้มีอาหารมื้อว่าง เช่น นมสด หรือน้ำผลไม้
2. ไม่ให้อาหารว่างก่อนมื้ออาหารหลัก หรือให้อาหารบ่อยจนเด็กไม่เกิดความหิว โดยจัดอาหารว่างที่มีคุณภาพ เช่น ผลไม้แทนน้ำหวาน เบเกอรี่ ขนมกรุบกรอบ
3. ฝึกให้เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ทุกชนิด รวมถึงให้ลองอาหารชนิดใหม่ เช่นมะเขือเทศ ผักใบเขียว โดยเริ่มให้ครั้งละน้อย ๆ แล้วค่อยเพิ่มปริมาณ โดยไม่ควรบังคับเพราะจะทำให้เด็กไม่ชอบอาหารชนิดนั้น และไม่ยอมรับประทานอีก และถ้าเด็กอิ่มไม่ควรคะยั้นคะยอให้กินอีกจะทำให้เด็กปฏิเสธอาหารชนิดนั้น ๆ
4. การดัดแปลงสูตร / วิธีทำ รสชาติอาหาร ควรเน้นอาหารรสชาติอ่อน และมีการจัดอาหารให้มีลักษณะแตกต่างกัน เช่น นุ่ม กรอบ สีสัน กลิ่นหอมน่ารับประทาน
5. อาหารที่จัดให้เด็กควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย แต่ไม่จำเป็นต้องสับละเอียดทั้งนี้เพื่อฝึกเด็กได้ใช้ฟันในการขบเคี้ยวอาหาร
6.จัดอาหารให้ตรงเวลา
7.ส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 20นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง

สุขภาพช่องปาก

ข้อมูลเคส : พบฟันผุ 4 ซี่ และพบลิ้นเป็นฝ้าขาว

สาเหตุ : อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ,การนำขอเล่นเข้าปาก ,การดื่มนม,การแปรงฟัน ,อุปกรณ์แปรงฟัน

Assessment เพิ่มเติม : วิธีการแปรงฟัน,เด็กแปรงฟันเองหรือผู้ดูแลแปรงให้,อาหารการกิน,อุปกรณ์ที่ใช้ทำความสะอาดช่องปาก , การพบทันตแพทย์

คำแนะนำ :
1.เลือกแปรงสีฟันที่ขนนุ่ม ขนาดเหมาะสมกับวัย และเลือกใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์
2.ควรเปลี่ยนแปรงสีฟันทุก 3 เดือน หรือเร็วกว่านั้น ถ้าหากขนแปรงเริ่มบานออก หรือหลุด
3.แปรงฟันทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ เช้าและก่อนนอน
4.ควรแปรงฟันในแต่ละครั้งอย่างน้อย 2 นาที
5.หากเด็กแปรงฟันเอง ผู้ดูแลควรตรวจความสะอาดอีกครั้ง
6.งดดื่มหรือดินอาหารหลังแปรงฟัน
7.แนะนำให้ไปพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากทุก 6 เดือนหรือตามเเพทย์นัด

ความสะอาดร่างกาย

ศีรษะ

ข้อมูลจากเคส : พบมีเหาและไข่เหาบริเวณศีรษะ

สาเหตุ : การเล่นใกล้ชิดกับเพื่อน ,การดูแลความสะอาดของหนังศีรษะ

Assessmentเพิ่ม : สระผมสัปดาห์ละกี่ครั้ง , ใครเป็นคนทำความสะอาดให้เด็ก ,บุคคลใกล้ชิดเป็นเหาหรือไม่

คำแนะนำ
-สระผม2-3 ครั้ง/สัปดาห์ด้วยแชมพูขจัดเหา ระวังการแพ้
-ไม่ใช้หวีหรือผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่น
-หมั่นทำความสะอาด ปลอกหมอน ผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว และนำออกไปผึ่งแดดเป็นประจำ

ผิวหนัง

ข้อมูลเคส : พบผิวบริเวณแขนและขามีร่องรอยแผลพุพอง

สาเหตุ : การเล่นของเด็ก สถานที่เล่น ,การดูแลความสะอาดของร่างกาย

Assessment เพิ่ม : อาบน้ำวันละกี่ครั้ง , ใครอาบน้ำให้เด็ก ,สถานที่เล่นขอบเด็ก เช่น ดิน หญ้า โคลน เป็นต้น , การทำความสะอาดเสื้อผ้า

คำแนะนำ :
1.อาบน้ำทุกวัน วันละ 2-3 ครั้ง โดยฟอกสบู่และถูให้ทั่วทุกซอกทุกมุมของร่างกาย เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกายที่อ่อนๆ
2.เช็ดตัวให้แห้ง โดยเฉพาะตามซอกและข้อพับ เพื่อไม่ให้เกิดการอับชื้น นำไปสู่โรคผิวหนัง
3.หลังจากเช็ดตัวแห้งแล้ว แนะนำให้ทาโลชั่นหรือออยด์ ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิวของเด็ก
4.ตัดเล็บมือ เล็บเท้าให้สั้น เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค และเด็กอาจจะเอามือไปแกะเกาแผล ทำให้เกิดการลาม
5.ทำความสะอาดเสื้อผ้าของเด็ก ด้วยผลิตภัณฑ์ที่อ่อนๆ ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอมหรือสารเคมี เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว
6.ทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ เช่น ที่นอน ผ้าห่ม หมอน เพื่อกำจัดฝุ่น และเชื้อโรค
7.ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าขนหนู
8.แนะนำให้ผู้ดูแลพาเด็กไปพบแพทย์ เพื่อรักษาแผลพุพอง
9.ส่งเสริมการรับประทานวิตามินเอ เพื่อส่งเสริมการหายของแผล เช่น ผักบุ้ง แครอท ผักใบเขียวต่างๆ ตับ ไข่ ฟักทอง มะละกอสุก เป็นต้น

วัคซีน