บทที่ 5
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
นิยามภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีทางอ้อมที่จัดเก็บจากฐานการบริโภค ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคลใดๆ หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่า
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ บุคคล ดังต่อไปนี้
1. ผู้ประกอบการ
2. ผู้นำเข้า
3. ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/1
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
กฎหมายกำหนดให้ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และยังได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับข้อกำหนดตามกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ ไม่มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี เป็นต้น การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ผู้ประกอบการขายสินค้าหรือให้บริการในกลุ่มที่ 1 ที่มีความประสงค์ใช้สิทธิขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ซึ่งได้มีขายสินค้าหรือให้บริการราชอาณาจักรเป็นปกติธุระ มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร ซึ่งผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วเรียกว่า “ผู้ประกอบการจดทะเบียน”
ภาษีซื้อต้องห้าม
ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่นเรียกเก็บ (ภาษีซื้อ) มาหักภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บ (ภาษีขาย) เพื่อการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือนนั้นได้ต่อเมื่อภาษีซื้อนั้นเป็นภาษีซื้อที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ประมวลรัษฎากรกำหนดเท่านั้น ภาษีซื้อที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ไม่สามารถนำไปหักจากภาษีขายได้ ซึ่งเรียกว่า “ภาษีซื้อต้องห้าม” ได้แก่
ภาษีซื้อที่ต้องห้ามตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
การยื่นแบบแสดงรายการ
และการชำระภาษี
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
เครดิตภาษีและการขอคืนภาษี
ผู้ประกอบการจดทะเบียนหากคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วปรากฏว่า ภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายส่วนต่างดังกล่าวให้ถือเป็นเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ และมีสิทธิได้รับคืนภาษีหรือเครดิตภาษีไปชำระภาษี มูลค่าเพิ่มได้ตามเงื่อนไขตามมาตรา 84
ความผิดทางภาษี
ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จะต้องรับผิดทางภาษีตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบด้วย
การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มแบ่งออกเป็น 2 ช่วงระยะเวลา ดังนี้
ใบกำกับภาษี
คือ เอกสารหลักฐานสำคัญ เนื่องจากเป็นหลักฐานในการยื่นภาษีขายและภาษีซื้อในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทำทันทีที่เกิดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม(Tax Point) พร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้า หรือรับบริการในแต่ละครั้ง
ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี
ผู้ไม่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษี
กรณีที่ไม่จำเป็นต้องออกใบกำกับภาษี
ประเภทของใบกำกับภาษี
กิจการที่ได้รับการผ่อนปรนไม่ต้องออกใบกำกับภาษี
ความรับผิดในการเสียภาษี
หมายถึง จุดที่ผู้ประกอบการถูกกำหนดโดยกฎหมายว่ามีภาระภาษีเกิดขึ้นแล้ว และเป็นจุดที่ก่อให้เกิดสิทธิบางอย่างของผู้ประกอบการจดทะเบียน เช่น มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
แยกพิจารณาตามลักษณะของการประกอบกิจการได้เป็น 4 กรณี ดังนี้
1. การขายสินค้า
2. การให้บริการ
3. การนำเข้า
4. การขายสินค้าหรือการให้บริการบางกรณี
ผู้ประกอบการจะมีสิทธิหน้าที่ คือ
1. เรียกเก็บภาษีขายจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ คำนวณโดย
- คำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79/3
- คูณด้วยอัตราภาษีตามมาตรา 80 และพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 353)
2. ออกใบกำกับภาษีตามมาตรา 86
3. นำยอดขายไปลงในรายงานภาษีขายภายใน 3 วันตามมาตรา 87
4. นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขาย – ภาษีซื้อในแต่ละเดือน ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ.30
อัตราภาษี
อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่ใช้เป็นอัตราคงที่ที่รวมภาษีท้องถิ่นไว้ด้วยร้อยละ 10 อัตราภาษีที่จัดเก็บให้จัดเก็บตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร
ฐานภาษี
ฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีตามอัตราอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งแยกพิจารณาได้ดังนี้
1. การขายสินค้าหรือการให้บริการทั่วไป
2. การขายสินค้าหรือการให้บริการเฉพาะอย่าง
3. การนำเข้าสินค้า
4. การนำเข้าและการขายยาสูบ นํ้ามันดิบและผลิตภัณฑ์นํ้ามัน
5. กรณีอื่นที่กฎหมายกำหนดไว้กรณีเป็นพิเศษ