ผู้สูงอายุหญิง (อายุ 74ปี)
ลักษณะทั่วไป
ศีรษะ
ผมเรียงตัวกันปกติ เส้นผมสีดำและสีขาวสลับกันไป เหมาะสมตามวัย ไม่มีความผิดปกติของศีรษะ ไม่มีเชื้อรา ไม่มีรอยโรคต่างๆ
หู
ผู้สูงอายุมีภาวะหูตึง จึงต้องใช้เสียงดังเล็กน้อยในการคุยกัน
ตา
ผู้สูงอายุไม่มีโรคต้อกระจก (Cataract) โรคต้อหิน (Glaucoma) มีสายตายาว วัดสายตาโดยให้ผู้สูงอายุอ่านภาพตัวอักษรที่ห่างออกไป 6 เมตร อ่านตัวเลขได้ โดยใส่แว่นสายตา ไม่มีอาการตาเหลือง
คอ
ไม่มีเส้นเลือดดำโป่งนูนที่คอ ไม่มีรอยโรคต่างๆ อุณหภูมิปกติไม่ร้อนและไม่เย็นเกินไป
จมูก
สามารถดมกลิ่นและสามารถบอกได้ว่าคือกลิ่นอะไร สามารถดมกลิ่นปกติได้ทั้งสองข้าง
ช่องปากและคอ
เหงือกปกติ ไม่มีบวม ฟันมีสีดำเนื่องจากการเคี้ยวหมากพลูมาเป็นเวลานาน ฟันแท้เหลืออยู่ 30 ซี่ ฟันกรามหักไป 2ซี่ การรับรสปกติ
ผิวหนัง
ไม่มีเชื้อราบริเวณผิวหนัง มีมีรอยโรค มีผิวแห้งเล็กน้อยและผิวหนังเหี่ยวย่นตามวัยผู้สูงอายุ มีขุยเล็กน้อย
ทรวงอกและปอด
การหายใจปกติไม่มีการใช้กล้ามเนื้อช่วยในการหายใจ การหายใจไม่มีการหายใจแบบหอบเหนื่อย การหายใจ 18 ครั้ง/นาที
หัวใจและหลอดเลือด
ไม่มีเส้นเลือดขอด ไม่มีภาวะหัวใจโต สามารถคลำชีพจรได้ทุกจุด ชีพจร 71 ครั้ง/นาที
ช่องท้อง
ตรวจช่องท้อง สีผิวีสีที่อ่อนกว่าสีผิวภายนอก ไม่มีการเกร็งหน้าท้อง ไม่มีการคลำเจ็บบริเวณใดๆ ทั้งแบบคลำตื้น และแบบคลำลึก ไม่มีรอยโรคต่างๆ มองไม่เห็นเส้นเลือดที่มาเลี้ยงบริเวณหน้าท้อง หายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องแฟบ
อวัยวะสืบพันธ์
การขับถ่ายปัสสาวะ
มีขนขึ้นที่บริเวณหัวหน่าวปกติ ขนกระจายตัวปกตอ
การขับถ่ายปกติ ถ่ายอุจจาระวันละ 1-2 ครั้ง/วัน
ปัสสาวะวันละ 3-4 ครั้ง/วัน
กระดูก กล้ามเนื้อ
ไขสันหลัง ข้อต่อ แขนขา
มีปวดข้อหัวเข่า ปวดบ่าบางครั้ง ปวดแขนขาบางครั้ง
ประสาทสัมผัส
การเคลื่อนไหว
การมองเห็น
ใช้แว่นสายตายาวในการช่วยมองเห็น สายตาไม่พร่ามัว
การได้ยิน
การได้ยินไม่ปกติ มีอาการหูตึงเล็กน้อย เมื่อพูดคุยต้องพูดด้วยน้ำเสียงที่ดังกว่าปกติเล็กน้อย
การทรงตัว
มีการทรงตังที่ดี มีการใช้ไม้เท้าในการเดินบางครั้ง
การใช้เแบบประเมิน
การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
ADL
20 แปลผล ผู้สูงอายุกลุ่มที่ 1(กลุ่มติดสังคม) พึ่งตนเองได้ ช่วยเหลือผู้อื่น ชมชน และสังคมได้
การคัดกรองสุขภาวะทางตา
มีปัญหาด้านการมองเห็น
ช่องปาก
ช่องปาก
ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับช่องปาก
ภาวะการกลืนลำบาก
0 แปลผล ไม่มีภาวะการกลืนลำบาก
ภาวะสมองเสื่อม
MMSE
22 (ผู้สูงอายุเรียนระดับประถมศึกษา) แปลผล ไม่มีภาวะสมองเสื่อม
AMT
19 แปลผล การรู้คิดปกติ
ภาวะซึมสับสนเฉียบพลัน
CAM
ไม่มี delirium
โภชนาการ
BMI
25.56 แปลผล อ้วน
MNA
12 แปลผล ภาวะโภชนาการปกติ
กระดูก
คัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อมทางคลินิก
ปวดเข่า และ ตอบใช่ 1 ข้อ แปลผล มีโอกาสที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
โรคกระดูกพรุน OSTA index
-2.2 แปลผล มีความเสี่ยงปานกลาง
การประเมินภาวะหกล้ม
TUGT
ผู้สูงอายุใช้เวลาในการเดินตั้งแต่ 30 วินาทีขึ้นไป ถือว่า มีความเสี่ยงต่อภาวะหกล้ม
ภาวะซึมเศร้า
2Q, 9Q
6 แปลผล ไม่มาการของโรคซึมเศร้าหรือมีอาการของโรคซึมเศร้าระดับน้อยมาก
TGDS
4 แปลผล ค่าปกติในผู้สูงอายุไทย ไม่มีความเศร้า
ด้านร่างกาย
ระบบผิวหนัง
เหี่ยว
ย่น
ขุย
กละ
แห้ง
ทฤษฎีการเชื่อมตามขวาง (Cross-linking theory) เมื่ออายุมากขึ้นเนื้อเยื่อคอลลาเจนและอิลาสตินจะมีการเชื่อมตามขวางมากขึ้นทําให้สูญเสียความยืดหยุ่น มีลักษณะแข็งแตกและฉกขาดง่ายขึ้น ก่อให้เกิดผลต่อการซึมผ่านของสารที่เยื่อเอ็นจะแข็งและแห้งผิวหนังแหงเหี่ยว
ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการเกิดบาดแผล
เนื่องจากผิวหนังแห้ง
ข้อมูลสนับสนุน
S -ผู้สูงอายุบอกว่าผิวแห้ง
O –ทบสอบดู ผู้สูงอายุมีผิวแห้ง
เป็นขุยๆเล็กน้อย
เป้าหมาย
-ผู้สูงอายุไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิด
บาดแผล
เกณฑ์การประเมินผล
-ความชุ่มชื้นของผิวหนังเพิ่มขึ้น
-ผิวหนังไม่เป็นขุยๆ
กิจกรรมการพยาบาล
-แนะนำให้ผู้สูงอายุใช้สบู่หรือครีมอาบน้ำที่ไม่ทำลายผิว เพื่อป้องกันผิวหนัง
-แนะนำให้ผู้สูงอายุทาออยด์หรือโลชั่นหลังจากอาบน้ำเสร็จ เพื่อให้ผิวชุ่มชื้น
-แนะนำให้ผู้สูงอายุดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว เพื่อทำให้ผิวชุ่มชื้นไม่แห้งกร้าน
-แนะนำการดูแลผิวหนังและการบำรุงผิว เพื่อผิวหนังคงความสมบูรณ์และแข็งแรงมากขึ้น
-การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการดูแลและบำรุงผิวหนัง ได้แก่ โลชั่นหรือครีม ใช้ทาบริเวณผิวหนัง โดยเป้าหมาย เพื่อป้องกันหรือบรรเทาความแห้งของผิวหนังเนื่องจากสามารถเพิ่มปริมาณน้ำแก่ผิวหนังชั้น สตาตัมคอร์เนียม ทำให้ผิวหนังมีความเนียนนุ่ม ชุ่มชื้น เป็นการช่วยส่งเสริมความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของ ผิวหนัง
-แนะนำให้รับประทานอาหารประเภทโปรตีนจากเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ จำพวกปลา และปลา ทะเลน้ำลึก เพื่อ
ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ส่งเสริมการสร้างเซลล์ผิวใหม่
-แนะนำให้ทานผักผลไม้ มีวิตามินซี วิตามินเอ และวิตามินอี จะมีส่วนช่วยในการสังเคราะห์คอลลาเจน เพื่อทำให้ผิวหนังมีความนุ่มเต่งตึง รวมถึงมีสารต้านอนุมูลอิสระ เพื่อช่วยในเรื่องการป้องกันการเสื่อมอายุของผิวหนัง ซ่อมแซมผิวหนังที่เสียไป และยังมีความสำคัญต่อกระบวนการเติบโตของผิวหนังให้มีการทำงานอย่างปกติ เพื่อช่วยให้ผิวหนังไม่แห้ง และยังสดใสเปล่งปลั่งอยู่เสมอ
การได้ยิน
ตึง
พูดเสียงปกติไม่ค่อยได้ยิน
ทฤษฎีความเสื่อมโทรม (Wear and tear theory)
เนื่องจากประสาทรับเสียงในหูชั้นในเสื่อมจากอายุที่มากขึ้น จึงทำให้ผู้สูงอายุรายนี้มีการได้ยินที่ไม่ค่อยชัดเจน
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากมี
มีปัญหาด้านการได้ยิน
ข้อมูลสนับสนุน
S -ผู้สูงอายุบอกว่าพูดคุยกับคนอื่นไม่
ค่อยได้ยิน
-ผู้สูงอายุบอกว่าพูดคุยกับคนอื่นไม่
ค่อยรู้เรื่อง
O -พูดด้วยน้ำเสียงปกติ ได้ยินไม่ชัดเจน
เป้าหมาย
-ผู้สูงอายุไม่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
เกณฑ์การประเมินผล
-ผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพการฟังที่ดีขึ้น
-ได้ยินเสียงผู้อื่นมากขึ้น
-พูดคุยกับคนอื่นได้ดีขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
-อธิบายเกี่ยวกับการได้ยินไม่ชัดเจนของผู้สูงอายุให้ครอบครัวและคนรอบข้างของตัวผู้สูงอายุได้เข้าใจ เพื่อให้ครอบครัวและคนรอบข้างจะได้เข้าใจตัวผู้สูงอายุมากขึ้น
-แนะนำให้ใช้ความระมัดระวังเวลาอยู่นอกบ้าน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
-แนะนำเกี่ยวกับการใช้น้ำเสียงในการพูดคุยกับผู้สูงอายุ เพื่อไม่ให้เกิดการเข้าใจผิดกันเกิดขึ้นเนื่องจากการพูดเสียงดังจนเกินไป จนทำให้ผู้สูงอายุคิดว่าตะคอกใส่
-ประสานงานกับ อสม. หรือครอบครัวจัดหาเครื่องช่วยฟัง เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการได้ยินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
-แนะนำให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิคสูง เช่น ผักใบเขียว เช่น ผักบุ้ง ผักโขม ผักกาด ผลไม้ประเภทส้ม มะเขือเทศ และอาหารประเภทถั่ว เพื่อชะลอการสูญเสียการได้ยินในผู้สูงอายุได้
-แนะนำให้ควรออกกำ ลังกายสม่ำเสมอ เพื่อเสริมระบบการไหลเวียนโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงประสาทหูได้ดีขึ้น
-ถ้าพบภาวะขี้หูอุดตันควรส่งต่อไปพบแพทย์หรือพยาบาลผู้ชำนาญการ ทั้งนี้แพทย์อาจให้สารที่ออกฤทธิ์ละลายขี้หู
(cerumenolytics) เพื่อสามารถทำให้การได้ยินดีขึ้นและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ดีขึ้น
ระบบทางเดินอาหาร
และการเผาผลาญ
อ้วน
ทฤษฎีการสะสม (Accumulative theory) เกิดจากการรับประทานอาหารจำพวกไขมัน(มันหมู) ทำให้เกิดการสะสมของไขมันในรูปต่างๆ และไม่ได้มีการเผาผลาญไขมันจึงทำให้ผู้สูงอายุรายนี้มีรูปร่างที่อ้วน
ผู้สูงอายุมีภาวะอ้วน เนื่องจากค่า BMI เกิน
ข้อมูลสนับสนุน
S -ผู้สูงอายุบอกว่าอ้วน
O -ผู้สูงอายุมีลักษณะรูปร่างอ้วน
-ค่า BMI ของผู้สูงอายุเท่ากับ
25.56 แปลผล อยู่ในเกณฑ์อ้วน
-ไม่ออกกำลังกาย
เป้าหมาย
-ผู้สูงอายุไม่อยู่ในภาวะอ้วน
เกณฑ์การประเมินผล
-ค่า BMI ลดลงจากเดิม
-ค่า BMI อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
(18.5-22.9 กก./ตร.เมตร)
-ลักษณะรูปร่างผอมลงจากเดิม
กิจกรรมการพยาบาล
-บอกให้ผู้สูงอายุทราบถึงโรคแทรกซ้อนที่จะตามมา เพื่อให้ผู้สูงอายุตะหนักถึงภาวะอ้วน
-แนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย เพื่อป้องกันอันตรายจากการออกกำลังกายไม่เหมาะสมกับวัย
-แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่ไม่มีไขมันหรือจำกัดการบริโภคไขมัน เพื่อลดภาวะอ้วนในผู้สูงอายุ
-แนะนำออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวและเพิ่มการทรงตัวของผู้สูงอายุทำให้ไม่ล้มง่าย
-แนะนำออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อช่วยทำให้ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนจากการที่กระดูกถูกสลายได้น้อยลง
กระดูก
กล้ามเนื้อ
ปวดบริเวณข้อเข่า
ทฤษฎีความเสื่อมโทรม (Wear and tear theory) เกิดจากการที่กระดูกอ่อนซึ่งทำหน้าที่ปกป้องและดูดซับแรงกระแทกภายในข้อเข่ามีการสึกหรอและเสื่อมสภาพลง หากกระดูกอ่อนนี้เสียหายเป็นพื้นที่กว้าง กระดูกในข้อเข่าจะเสียดสีกันเอง ทำให้เกิดการอักเสบและมีอาการปวด ผู้สูงอายุจึงมีอาการปวดข้อเข่า
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะข้อเข่าเสื่อม
เนื่องจากกระดูกผิวข้อมีการเสื่อมตามอายุ
ข้อมูลสนับสนุน
S -ผู้สูงอายุบอกว่าปวดข้อเข่า
-เจ็บที่กระดูกข้อเข่า
O -จากการตรวจประเมินข้อเข่าเสื่อม
ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
-จากการประเมินความปวดด้วย
Pain score อยู่ที่ 4 คะแนน
เป้าหมาย
-ผู้สูงอายุไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิด
ภาวะข้อเข่าเสื่อม
เกณฑ์การประเมินผล
-การปวดข้อเข่าของผู้สูงอายุลดลง
-ข้อเข่ามีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
-การประเมินความปวดด้วย Pain
Score ลดลงจากเดิม หรือได้ 0 คือ
ไม่ปวดเลย
กิจกรรมการพยาบาล
-ประเมินการปวดข้อเข่าของผู้สูงอายุ เพื่อจะได้ให้การพยาบาลอย่างถูกวิธี
-แนะนำผู้สูงอายุ เมื่อมีอาการปวดข้อเข่าให้ทายานวด เพื่อบรรเทาอาการปวดของข้อเข่า
-แนะนำให้ผู้สูงอายุจำกัดการเดิน เพื่อลดอาการปวดของข้อเข่า
-แนะนำท่าให้ผู้สูงอายุ ลุง นั่ง เดินอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้การปวดข้อเข่าเป็นมากขึ้น
-การปรับเปลี่ยนท่าทางหรืออิริยาบถในชีวิตประจำวัน ลักษณะงานที่ทำ เพื่อลดการบาดเจ็บและแรงเค้นซ้ำๆต่อข้อเข่า
-แนะนำหลีกเลี่ยงการนั่งคุกเข่า การนั่ง ขัดสมาธิ การนั่งพับเพียบ เพราะการนั่งในท่าที่งอเข่ามากๆ จะทำให้เพิ่มแรงดันภายในข้อเข่า และกระดูกที่งอกจากโรคข้อเข่าเสื่อมจะกดทับเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อเข่าจะทำ ให้มีอาการปวดมากขึ้น
-แนะนำให้ผู้สูงอายุทำกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของข้อเข่าเพิ่มขึ้น
-แนะนำให้ผู้ป่วยไปพบแพทย์กระดูกเมื่อมีการปวดข้อมากขึ้น เพื่อรักษาข้อเข่าไม่ให้ดีขึ้น
ผู้สูงอายุไม่สุขสบาย เนื่องจากปวดข้อเข่า
ข้อมูลสนับสนุน
S -ผู้สูงอายุบอกว่า “ปวดหัวเข่า”
-ผู้สูงอายุบอกว่า “เวลาเดินจะปวด”
O -จากการตรวจประเมินข้อเข่าเสื่อม
ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
-จากการประเมินความปวดด้วย
Pain score อยู่ที่ 4 คะแนน
เป้าหมาย
-ผู้สูงอายุมีความสุขบาย
เกณฑ์การประเมินผล
-ผู้สูงอายุมีความปวดลดลง
-คะแนนPain score ลดลงจากเดิม
หรืออยู่ที่ 0 คือไม่ปวดเลย
กิจกรรมการพยาบาล
-ประเมินความปวดด้วย Pain score เพื่อนำมาทำกิจกรรมทางกายพยาบาล
-แนะนำผู้สูงอายุ เมื่อมีอาการปวดข้อเข่าให้ทายานวด เพื่อบรรเทาอาการปวดของข้อเข่า
-แนะนำท่าให้ผู้สูงอายุ ลุง นั่ง เดินอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้การปวดข้อเข่าเป็นมากขึ้น
-แนะนำท่าให้ผู้สูงอายุ ลุง นั่ง เดินอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้การปวดข้อเข่าเป็นมากขึ้น
-แนะนำให้ผู้สูงอายุหลีกเลี่ยงการใช้ข้อเข่า เพื่อไม่ให้เกิดการปวดข้อเพิ่มมากขึ้น
-การปรับเปลี่ยนท่าทางหรืออิริยาบถในชีวิตประจำวัน ลักษณะงานที่ทำ เพื่อลดการบาดเจ็บและแรงเค้นซ้ำๆ ต่อข้อเข่า
-แนะนำให้ผู้สูงอายุไปพบแพทย์เมื่อมีอาการปวดมากขึ้น เพื่อเข้ารับการรักษาอาการปวด
ด้านสังคม
ด้านจิตใจ
พฤติกรรม
เจ็บป่วยเล็กน้อยจะหายากินเอง
ไม่ค่อยออกกำลังกาย
ทานอาหารไม่ครบ 5 หมูบางมื้อ
ความคิด
ไม่มีความคิดที่หมกมุ่น
เกี่ยวกับอดีต
มีความคิดที่สมกับวัย
ความวิตกกังวล
ไม่มีความวิตกกังวล
อารมณ์
อารมณ์ดี
ยิ้มแย้ม แจ่มใส
บทบาท
หน้าที่ด้านสังคม
ปรับตัวเองได้
ยอมรับบาบาทหน้าที่
ของตัวเองที่เป็นอยู่
เป็นที่ปรึกษาให้
คนภายในครอบครัว
พิธีกรรมทางศาสนา ทำบุญ ตักบาตร
เยี่ยมญาติเมื่อญาติไม่สบาย
ทฤษฎีการมีกิจกรรมร่วมกัน (The Activity theory)