สังคมความรู้ : Knowledge Society

Definition นิยาม

สังคมที่มีการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเครือข่ายสารสนเทศสูง
จากความรู้ที่มีบุคลากรทำงานโดยใช้ทักษะและความรู้สูง

ยุคของสังคมความรู้

ยุคที่ 1

กเกิดการผลิต มี ความสามารถในการแข่งขัน ในยุคนี้นักวิชาการหรือนักวิชาชีพ จะมีบทบาทหลัก ในการจัดการความรู้ มีความเป็นมืออาชีพการจัดการหรือพัฒนาความรู้ ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะมีความสามารถ 5 ด้านดังนี้

Knowledge Access การเข้าถึงความรู้

Knowledge Validation การประเมินความรู้

Knowledge Valuation การตีค่าความรู้

Knowledge Optimization การเพิ่มประสิทธิภาพ

Knowledge Dissemination การกระจายความรู้

ยุคที่ 2

เป็นสังคมความรู้แบบพอเพียง สมดุล ประชาชนและทุกภาคส่วนมีบทบาท
ในการร่วมเป็นเจ้าของ แต่นักวิชาชีพ จะมีบทบาทเป็น Knowledge Broker
และมีลักษณะสำคัญของยุคที่ 2 ดังนี้

Collect Knowledge การรวบรวมความรู้

Knowledge Transfer การถ่ายทอความรู้

Knowledge Creation การสร้างสรรค์ความรู้

Applied Knowledge การประยุกต์

กระบวนการจัดการความรู้

การบ่งชี้ความรู้ ทำอย่างไรให้บรรลุเป้าหมาย

การสร้างหรือแสวงหาความรู้

การจัดความรู้ให้เป็นระบบ

การประมวล กลั่นกรองความรู้

การเข้าถึงความรู้

การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้

การเรียนรู้

ลักษณะสังคมแห่งการเรียนรู้

ไม่จำกัดขนาดและสถานที่ตั้ง

เน้นการจัดการเรียนรู้เป็นปัจจัยหลัก

ประชาชนได้รับโอกาสการพัฒนา

สถาบันทางสังคมในพื้นที่เป็นตัวหลักในการริเริ่ม

มีกลุ่มภาคประชาชนเป็นกลาง

มีการพัฒนานวัตกรรมและระบบการเรียนรู้

มีเครือข่ายร่วมดำเนินการ

ริเริ่ม/เปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา

สถานศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้

ความรับผิดชอบ

ทุกคนเป็นครูและนักเรียน

ความรู้

ข้อมูล สารสนเทศและความรู้ ทั้ง 3 คำมีความหมาย
เกี่ยวข้องกัน บางครั้งไม่สามารถแยกออกจากกันได้

Data ข้อมูล
กลุ่มชองสัญลักษณ์ ข้อเท็จจริง ตัวเลข ข้อความ
ภาพ และเสียง ที่ยังไม่ผ่านกระบวนการประมวลผล

r

ความหมายของข้อมูลเพิ่มเติมAckoff (1989) กล่าวว่า ข้อมูล คือ สัญลักษณ์ที่ยังไม่ได้แปรความพรธิดา วิเชียรปัญญา (2547) กล่าวว่า ข้อมูล หมายถึง ข้อมูลดิบที่เกิดจากการทำงานประจำ ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลในระดับปฏิบัติการวิจารณ์ พานิช (2546) กล่าวว่า ข้อมูล หมายถึง ข้อมูลเชิงบรรยาย หรือข้อมูลเชิง ปริมาณเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ และครรชิต มาลัยวงศ์ (2549 : 35-37) กล่าวว่า ข้อมูล หมายถึง บันทึกที่แสดงความเป็นไปหรือเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์หนึ่งๆ หรือเกี่ยวกับ คน สิ่งของ หรือ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง

Information สารสนเทศ
ข้อมูล ข่าวสาร ช้อเท็จจริง ความรู้ต่างๆ
ที่ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้วและสามารถ
นำไปใช้ประโยชน์ได้

r

สารสนเทศ มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “Information” ซึ่งมีผู้ได้ให้นิยามไว้ต่างๆ ดังนี้ -         สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ (2553) กล่าวว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่มีคุณค่าและ คุณประโยชน์ ทั้งในเชิงคำนวนและคุณภาพ เช่น ข้อมูลความเป็นจริงในการปฏิบัติงาน เป็นต้น -         มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2549) กล่าวว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ถูก มนุษย์วิเคราะห์และตีความแล้ว มีคุณค่าสูงกว่าข้อมูล เนื่องจากสามารถสื่อความหมายได้โดยมีความ ครอบคลุมที่กว้างกว่า -         คณาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (2544) กล่าวว่า สารสนเทศ หรือ สารนิเทศ หมายถึง แก่นหรือเนื้อหาที่สำคัญ ซึ่งได้มีการแจงแสดงออกให้ ทราบ อาจเป็นข้อมูลหรือข้อเท็จจริง ข่าวสาร ความรู้เรื่องราวทั่วไป ความรู้ทางวิชาการหรือศาสตร์ ความรู้สึก ความคิด ประสบการณ์ ซึ่งผ่านการกลั่นกรอง ประมวล เรียบเรียงและจัดเก็บโดยบันทึกสื่อ ชนิดต่างๆ มีหลากหลายรูปแบบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดสารให้ผู้อื่นทราบและใช้ประโยชน์ต่อไป -         Turban (2006) กล่าวว่า สารสนเทศ คือข้อมูลที่ผ่านการจัดการและตีความหมายแล้วมี คุณค่าต่อผู้รับเพื่อการนำไปใช้งาน เช่น เกรดเฉลี่ยสะสมของนักศึกษา เป็นต้น-         Orna (1998) กล่าวว่า สารสนเทศ คือ การถ่ายทอดความรู้ของมนุษย์เพื่อการสื่อสารไป ยังบุคคลอื่นทั้งในรูปแบบโสตวัสดุและทัศนวัสดุ สิ่งตีพิมพ์ สุนทรพจน์ หนังสือ บทความ รายงานการ ประชุม หรือฐานข้อมูล

Knowledge ความรู้
ความเข้าใจในเรื่องบางเรื่อง หรือสิ่งบางสิ่ง ซึ่งอาจรวมไปถึงความสามารถในการนำสิ่งนั้นไปใช้เพื่อเป้าหมายบางประการ

r

 ความหมายของความรู้(Definition of Knowledge) -         Davenport and Prusak (1998 : 5) กล่าวว่า ความรู้ หมายถึง ส่วนผสมที่เกิดจาก ประสบการณ์การทำงาน และประสบการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ที่พร้อมจะถูกนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจและการกระทำต่างๆ-         Haraldsson (2003) กล่าวว่าความรู้ คือ การไหลเวียนของความรู้สึกปฏิกริยาตอบกลับการตัดสินใจ สารสนเทศและกระบวนการเรียนรู้ นอกจากนั้นความรู้ดังกล่าวยังสามารถสูญหายและเกิดการทดแทนขึ้นมาใหม่ได้-         ภราดร จินดาวงศ์ (2549 : 4) กล่าวว่า ความรู้ คือ สิ่งที่ได้มาโดยการศึกษา ประสบการณ์ ทักษะ การอบรม การดูงาน หรืออาจเกิดจากการค้นหา ค้นคว้า ค้นพบ ได้เห็น ได้ฟังของแต่ละบุคคล เมื่อเวลาผ่านไปความรู้จะเกิดการสะสมเพิ่มพูนมากขึ้น-          วิศิณ ชูประยูร (2545 : 29) กล่าวว่า ความรู้ หมายถึงข้อเท็จจริงและ/หรือสารสนเทศทั้งใน ด้านวิทยาศาสตร์ หลักการ กฎธรรมชาติ ความช านาญเฉพาะทางและกระบวนการปฏิสัมพันธ์ใน สังคมเพื่อรู้เขารู้เรา อันจะน าไปสู่การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ทักษะทางเทคนิค และทักษะทางสังคม-         พรธิดา วิเชียรปัญญา (2547) กล่าวว่า ความรู้ คือกระบวนการขัดเกลา เลือกใช้ และบูรณา การ การใช้สารสนเทศเหล่านั้นจนเกิดความรู้ใหม่-         อลาวี และลีเดอร์ (Alavi and Leidner ,2001 : 109) กล่าวว่า ความรู้คือสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็น ว่าเป็นการเพิ่มขีดความสามารถที่จะนำมาซึ่งประสิทธิภาพที่ดีกว่า-         ชาร์ราชและยูโซโร(Sharratt and Usoro,2003:188) กล่าวว่า ความรู้คือความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องโดยตรงระหว่างความเข้าใจ ตลอดจนการให้ข้อมูลข่าวสารที่ชัด

ประเภทของความรู้

1. Tacit Knowledge

ความรู้ที่ซ่อนอยู่ในแต่ละบุคคลเป็นความรู้
ที่ได้จากประสบการ์ เช่น ทักษะการทำงาน
หรือจะเรียก ความรู้แบบนามธรรม

2. Explicit Knowledge

ความรู้เด่นชัดหรือความรู้ที่บันทึกไว้
สามารถถ่ายทอดได้ โดยฐานข้อมูลน