กลวิธีการแปลกริยาวลีในวรรณกรรมชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ ตอน ถ้วยอัคนี
ของ งามพรรณ เวชชาชีวะ

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. วิเคราะห์กลวิธีการแปลกริยาวลีภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ตามเกณฑ์การวิเคราะห์กลวิธีทั้ง 6 วิธี คือ การแปลตรงตัว การแปลเอาความ การแปลขยายความ การใช้สำนวนเทียบเคียง การใช้คำสแลง และ การละการไม่แปล

2. นำเสนอผลการวิเคราะห์กลวิธีการแปลกริยาวลีจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยในรูปของตารางแสดงค่าความถี่และค่าร้อยละ

3. สรุปผลการวิเคราะห์กลวิธีการแปลที่ผู้แปลเลือกใช้ในการแปลกริยาวลี และกลวิธีการแปลที่นำมาใช้ในการแปลมากที่สุดและน้อยที่สุดจากค่าความถี่ ค่าร้อยละ และลำดับ

ผลการวิจัย

ตอนที่ 1 กลวิธีการแปลที่ผู้แปลใช้ในการแปลกริยาวลีจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยในวรรณกรรมเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับถ้วยอัคนี

1. การแปลตรงตัว ตัวอย่าง ภาษาต้นฉบับ He got up and limped downstairs into the kitchen ฉบับแปล เขาลุกขึ้นและเดินลากขาลงบันไดมาในครัว

2. การแปลเอาความ ตัวอย่าง ภาษาต้นฉบับ She set out to explore the house, I think... ฉบับแปล คงจะออกไปสำรวจบ้านกระมัง คิดว่า...

3. การแปลขยายความ ตัวอย่าง ภาษาต้นฉบับ He opened his mouth and let out a scream ฉบับแปล แฟรงก์อ้าปากร้องโหยหวน

4. การละไม่แปล ตัวอย่าง ภาษาต้นฉบับ Dumbledore started to clap ; the student , following his lead , broke into applause too , many them of standing on tiptoe , the better to look at this woman ฉบับแปล ดัมเบิลร์เริ่มปรบมือ บรรดานักเรียนทำตามเขา ขณะที่มีจำนวนไม่น้อยที่เขย่งปลายเท้าเพื่อดูผู้หญิงคนนี้ให้ชัดถนัดตาขึ้นอีก

5. การใช้สำนวนเทียบเคียง ตัวอย่าง ภาษาต้นฉบับ I told you not to annoy Rita Skeeter ! She's made you out to to be some sort of - of scarlet woman ! ฉบับแปล ฉันบอกเธอแล้วว่าอย่าไปหาเรื่องกับริต้า สกีตเตอร์ ! ยายนี่ระบายสีจนเธอกลายเป็นพวกผู้หญิงปล่อยตัว

ตอนที่ 2 กลวิธีการแปลที่ผู้แปลเลือกใช้มากที่สุดและน้อยที่สุดในการแปลกริยาจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยในวรรณกรรมเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ กับถ้วยอัคนี

กลวิธีการแปลกริยาวลีที่ใช้มากที่สุดคือ การแปลตรงตัว 297 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 66.97

รองลงมาเป็นกลวิธีการแปลเอาความ 113 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 25.57

ลำดับสาม เป็นกลวิธีการแปลขยายความ 28 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 6.33

ลำดับที่สี่คือการละไม่แปล 3 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 0.68

กลวิธีที่ใช้น้อยที่สุดคือ การใช้สำนวนเทียบเคียง โดยใช้แค่ 2 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 0.45

ส่วนกลวิธี การใช้คำสแลง ไม่ได้ใช้ในการแปล คิดเป็นร้อยละ 0

บทสรุป

1. กลวิธีการแปลกริยาวลีจากภาาาอังกฤษเป็นภาษาไทยในวรรณกรรมเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์พบว่ามี 5 กลวิธีด้วยกัน ได้แก่ การแปลตรงตัว การแปลเอาความ การใช้สำนวนเทียบเคียง การแปลขยายความ และการละไม่แปล แต่ไม่พบกลวิธีการใช้คำสแลงในการแปลกริยาวลี

2. กลวิธีการแปลที่ผู้แปลเลือกใช้มากที่สุดในการแปลกริยาวลีจากภาาาอังกฤษเป็นภาษาไทยในวรรณกรรมเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี ได้แก่ การแปลตรงตัว คิดเป็นร้อยละ 66.97 และกลวิธีการแปลกริยาวลีที่ใช้น้อยที่สุดคือ การใช้สำนวนเทียบเคียง คิดเป็นร้อยละ 0.45 ส่วนกลวิธีการแปลกริยาวลีที่ไม่ใช้เลย คือการใช้คำสแลง คิดเป็นร้อยละ 0

อภิปรายผล

1. การวิจัยนี้สอดคล้องกับผลการศึกษาการแปลสำนวนในวรรณกรรมเยาวชนชุดนาร์เนีย เรื่อง ตู้พิศวง และเรื่องผจญภัยโพ้นทะเล จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยของศยามล ศรสุวรรณศรี(2551)

2. กลวิธีที่ผู้แปลใช้มากที่สุดในการแปลได้แก่ การแปลตรงตัว คิดเป็นร้อยละ 66.97 ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษากลวิธีการแปลสำนวนและกริยาวลีภาษาอังกฤษเป็นภาาาไทยในบทบรรยายภาพยนต์การ์ตูนของ ปิยะดา โล(2551)

3.กลวิธีที่ใช้น้อยที่สุดในการแปลวรรณกรรม ได้แก่ การใช้สำนวนเทียบเคียง เนื่องจากวรรรกรรมเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมเยาวชน การใช้สำนวนเทียบเคียงอาจเป็นที่เข้าใจได้ยากกับกลุ่มผู้อ่านซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็ก ดังที่หอมหวล ชื่นจิตร กล่าวในวรรรกรรมเด็กไว้ว่า คำเทียบบางคำใช้อย่างหลวมๆ สำหรับผู้ใหญ่อาจสื่อความหมายกับเด็กไม่ได้ จึงต้องมีกลวิธีหาคำเทียบ

นอกจากผลการวิจัยนี้จะพบกลวิธีกริยาวลีที่หลากหลายแล้ว ยังพบว่าผู้แปลพยายามคงรูปแบบหน้าที่ของกริยาวลีให้เหมือนกับภาษาต้นฉบับ เพื่อรักาาความหมายและเพื่อให้ผู้อ่านได้รับอรรถรสเทียบเท่ากับการอ่านภาษาต้นฉบับ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กลวิธีการแปลกริยาวลีจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยในวรรณกรรมเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ ตอน ถ้วยอัคนี แต่งโดย J.K. Rowling แปลบทภาษาไทยโดย งามพรรณ เวชชาชีวะ

วิธีการดำเนินการวิจัย

ปรับจากหลักการแปลของ โมนา เบเคอร์ (Baker, 1992) ฌอง ปอล วิเนย์ และฌอง ดาร์เบนเนท (Vinay and Darbelnet, 1958) และ สัญฉวี สายบัว (2550)

ผลการวิจัย

มีคำกริยาวลีปรากฎอยู่ในเนื้อเรื่องทั้งหมด 442 คำ กลวิธีที่ผู้แปลใช้มากที่สุดคือ การแปลตรงตัว และกลวิธีที่ใช้น้อยที่สุด คือ การใช้สำนวนเทียบเคียง จากกลวิธีที่ผู้แปลใช้ในการแปลมีจำนวน 5 กลวิธี ดังนี้

การแปลตรงตัว ร้อยละ 66.97

การแปลเอาความ ร้อยละ 25.57

การแปลขยายความ ร้อยละ 6.33

การละไม่แปล ร้อยละ 0.68

การใช้สำนวนเทียบเคียง ร้อยละ 0.45

บทนำ

คำถามวิจัย

1. ผู้แปลเลือกใช้กลวิธีการแปลใดบ้างในการแปลกริยาวลีจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยในวรรณกรรมเรื่อง แฮร์รี่พอตเตอร์ กับถ้วยอัคนี

2. ผู้แปลเลือกใช้กลวิธีการแปลใดมากที่สุดและน้อยที่สุดในการแปลกริยาวลีจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยในวรรณกรรมเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ตอนถ้วยอัคนี

ขอบเขตของงานวิจัย

ศึกษากลวิธีการแปลและถ่ายทอดความหมายเฉพาะกริยาวลีที่ปรากฏอยู่ในเนื้อเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ ตอนถ้วยอัคนี โดยมีทั้งหมด 37 บท

ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย

วรรณกรรมเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ ตอนถ้วยอัคนี ฉบับแปลเป็นภาษาไทย โดย งามพรรณ เวชชาชีวะ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ศึกษาการแปล ตลอดจนผู้สนใจในการแปลได้เรียนรู้และนำไปใช้ประโยชน์ในการแปลให้มีคุณภาพมากขึ้นต่อไป

นิยามคำศัพท์เฉพาะ

กริยาวลี

กลุ่มคำที่รวมกันขึ้นโดยมีคำกริยาเป็นตัวหลักและประกอบด้วยบุพบทหรือกริยาวิเศษณ์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างก็ได้

กลวิธีการแปล

กระบวนการแปลที่ผู้แปลใช้เพื่อถ่ายทอดความหมายของข้อเขียนในภาษาต้นฉบับไปเป็นภาษาฉบับแปล โดยรักษารูปแบบและลีลาของข้อเขียนเดิมไว้ให้มากที่สุด

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

ใช้ตารางการวิเคราะห์กลวิธีการแปลกริยาวลีเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับถ้วยอัคนี โดยสังเคราะห์จากหลักการและแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญด้านการแปล คือ โมนา เบเคอร์ (Baker, 1992) ฌอง ปอล วิเนย์ และฌอง ดาร์เบนเนท (Vinay and Darbelnet, 1958) และ สัญฉวี สายบัว (2550) โดยแบ่งเครื่องมือที่ใช้ออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้

1. ส่วนที่บันทึกข้อมูลประโยคภาษาต้นฉบับที่พบกริยาวลี

2. ส่วนที่บันทึกข้อมูลภาษาฉบับแปลภาษาไทยของกริยานั้น

3. ส่วนของกลวิธีการแปล

4. ส่วนของการวิเคราะห์กลวิธี

การเก็บรวบรวมข้อมูล

1. รวบรวมกริยาวลีที่พบจากววรรณกรรมต้นฉบับภาษาอังกฤษเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ ทั้ง 37 บท

2. นำกริยาวลีภาษาอังกฤษที่พบจากวรรรกรรมต้นฉบับมาเทียบเคียงความหมายกับฉบับแปลภาษาไทยเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับถ้วยอัคนี ซึ่งแปลโดย งามพรรณ เวชชาชีวะ

3. หาความหมายกริยาวลีที่พบจากวรรณกรรมต้นฉบับภาษาอังกฤษเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับถ้วยอันคี ในพจนานุกรมอังกฤษ-ไทย หรือพจนานุกรมอังกฤษ-อังกฤษ

4. จัดเก็บข้อมูลประโดยคที่มีกริยาวลีภาษาอังกฤษในต้นฉบับและความหมายเทียบเคียงเป็นภาษาไทยในฉบับแปลลงในตารางการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป