พระราชบัญญัติ
กลุ่ม หมูเด้งมิ้บๆ

c2r

รายชื่อสมาชิก

หมวด ๒ สมาชิก

มาตรา ๑๒

สมาชิกสภาการแพทย์แผนไทย ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(๑) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์

(๒) มีความรู้ในวิชาชีพการแพทย์แผนไทยดังต่อไปนี้

(ก) ได้รับการฝึกอบรมจากสถาบันหรือสถานพยาบาลที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรองโดยมีผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยซึ่งได้รับอนุญาตให้ถ่ายทอดความรู้เป็นผู้ให้การอบรมและต้องสอบผ่านความรู้ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย หรือ

(ข) ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาสาขาการแพทย์แผนไทยหรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์จากสถาบันการศึกษาที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรองและ ต้องสอบผ่านความรู้ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย หรือ

(ค) เป็นผู้ที่ส่วนราชการรับรองความรู้การแพทย์พื้นบ้านไทย โดยผ่านการประเมินหรือการสอบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

(๓) ไม่เป็นผู้ประพฤติเสียหายซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

(๔) ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่คณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

(๕) ไม่เป็นผู้วิกลจริต จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือไม่เป็นโรคที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

มาตรา ๑๓

สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกมีดังต่อไปนี้

(๑) ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ขอหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์หรือขอหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพการแพทย์แผนไทย โดยปฏิบัติตามข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย ว่าด้วยการนั้น

(๒) แสดงความเห็นเป็นหนังสือเกี่ยวกับกิจการของสภาการแพทย์แผนไทยส่งไปยังคณะกรรมการเพื่อพิจารณา และในกรณีที่สมาชิกร่วมกันตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไปเสนอให้คณะกรรมการ พิจารณาเรื่องใดที่เกี่ยวกับกิจการของสภาการแพทย์แผนไทย คณะกรรมการต้องพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เสนอทราบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับเรื่อง

(๓) เลือก รับเลือก หรือรับเลือกตั้งเป็นกรรมการ เฉพาะสมาชิกที่มีใบอนุญาต

(๔) ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพและปฏิบัติตนตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๑๔

สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเมื่อ

(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติมาตรา ๑๒ (๒)
(๔) คณะกรรมการมีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพ เพราะเห็นว่าเป็นผู้นำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพตามมาตร ๑๒ (๓) หรือ (๔)
(๕) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๒ (๕) และผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ซึ่งคณะกรรมการกำหนด ลงความเห็นว่าไม่สามารถบำบัดรักษาให้หายเป็นปกติได้ หรือต้องใช้ระยะเวลาในการบำบัดรักษาเกินกว่าสองปี
ในกรณีที่สมาชิกผู้ใดมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๒ (๕) แต่ยังไม่ถึงขนาดที่สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่ง (๕) คณะกรรมการอาจมีมติให้พักใช้ใบอนุญาตของสมาชิกผู้นั้นได้โดยมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินสองปี และให้นำความในมาตรา ๓๑ มาบังคับใช้โดยอนุโลม

หมวด3 เกี่ยวกับคณะกรรมการ

มาตรา15

(1)กรรมการที่เป็นตำแหน่ง (2)กรรมการคณบดี/หัวหน้าภาควิชาที่ผลิตบัณฑิตแพทย์แผนไทย/ประยุกต์
(3)กรรมการมูลนิธิที่เกี่ยวกับแพทย์แผนไทย/ประยุกต์
(4)หัวหน้าสถาบัน/พยาบาลที่ได้รับการรับรองจากสภาแพทย์แผนไทยเลือกกันเองให้เหลือ3คน
(5)กรรมการที่ (1)(2)(3)(4)เลือกกันโดยให้คิดเป็นสัดส่วนตามมาตรา4

มาตรา16

คณะกรรมการสามารถแต่งตั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ปรึกษาได้

มาตรา17

ให้คณะกรรมการจากมาตรา15เลือกอุปนายกคนที่1คนที่2ภายใน30วัน

มาตรา18

เลือกคณะกรรมการในมาตรา 15 16 และ17 /เลื่อนการเลือกตั้งตามมาตรา23เป็นไปตามข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

มาตรา19

กรรมการมาตรา15 (3)(4)(5)ต้องมีคุณสมบัติ
1.เป็นผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย/ประยุกต์
2.ไม่ถูกพัก/เพิกถอนใบอนุญาต
3.ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

มาตรา20

กรรมการมาตรา15(2)(3)(4)(5)ให้ดำรงตำแหน่ง3ปีต่อไม่ได้แต่ถ้าหาคนมาดำรงตำแหน่งไม่ได้ให้ปฏิบัติงานต่อ

มาตรา21

ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อคณะกรรมการมาตรา15(3)(4)(5)
1.สมาชิกภาพสิ้นสุดตามมาตรา14
2.ขาดคุณสมบัติ/มีข้อห้ามในมาตรา19
3.ลาออก

คณะกรรมการมาตรา15(2)พ้นตำแหน่งเมื่อ
1.พ้นจากตำแหน่งคณบดี
2.ลาออก
มาตรา22คณะกรรมมาตรา15(2)(3)(4)ให้หาคนภายใน30วันไม่งั้นตำแหน่งจะว่าง แต่ถ้าหาไม่ได้จริงๆให้คนที่ปฏิบัติหน้าที่ครบแต่หาคนมาแทนไม่ได้ให้ปฎิบัติหน้าที่ต่อไม่ถึง90วัน

มาตรา23

ถ้าตำแหน่งมาตรา15(5)ว่างไม่เกิน1ใน3ของจำนวนดังกล่าวทั้งหมดใหเลื่อนสมาชิกที่คุณสมบัติมาตรา19ได้รับเลือกให้เป็นคณะกรรมการมาตรา15(5)เป็นแทนภายใน30วันที่ตำแหน่งว่าง

กำหนด

มาตรา24

ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1. บริหารและดำเนินการสภาการแพทย์แผนไทยตามมาตรา(8)(9)(10)
2. แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย / ประยุกต์
3. กำหนดแผนการดำเนินงานและงบประมาณสภาการแพทย์แผนไทย
4. ออกข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย
ก) การเป็นสมาชิก
ข) กำหนดมาตรา 12(5)
ค) กำหนดค่าจดทะเบียนสมาชิกค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมนอกเหนือจากพระราชบัญญัติ
ง) เลือกเลือกตั้งกรรมการเลื่อนผู้มีคุณสมบัติขึ้นเป็นกรรมการแทนการแต่งตั้งที่ปรึกษาและเลือกกรรมการเพื่อดำรงตำแหน่งตามมาตรา18
จ) การประชุมคณะกรรมการคณะอนุกรรมการและคณะที่ปรึกษา
ฉ) กำหนดหน้าที่ผู้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาตามมาตรา16
ช) กำหนดอำนาจหน้าที่ ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นตามมาตรา17วรรค2
ซ) คุณสมบัติผู้กำกับวิชาชีพแพทย์แผนไทย / ประยุกต์ตามมาตรา35
ฌ) แบบและประเภทใบอนุญาตหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขทะเบียนการออก อายุการต่ออายุใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต
ญ) หลักเกณฑ์และออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้
ฎ) หลักเกณฑ์และพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอน
ฏ) จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
ฐ) การจัดตั้งการดำเนินการและการรักษาที่ฝึกอบรมผู้ชำนาญการของวิชาชีพแพทย์แผนไทย รวมถึงการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการตลอดจนการศึกษาต่อเนื่องเพื่อเสริมทักษะการประกอบวิชาชีพ
ฑ) หลักเกณฑ์ที่การละเงื่อนไขในการสอบความรู้หรือประเมินตาม12
ฒ) หลักเกณฑ์และการสืบสวนหรือสอบสวนในตอนนี้มีการกล่าวหาหรือกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย / ประยุกต์
ณ) ข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย /ประยุกต์
ด) เรื่องอื่นๆที่อยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของสภาไทยตามพระราชบัญญัติภายใต้บังคับมาตรา 30

มาตรา 25

ให้แต่ละตำแหน่งมีหน้าที่ดังนี้ (1) นายกสภาการแพทย์แผนไทย
ก) บริหารดำเนินกิจการของสภาการแพทย์แผนไทยเป็นไปตามพระราชบัญญัติหรือตามมติของคณะกรรมการ
ข) เป็นผู้แทนสภาการแพทย์ไทยในกิจการต่างๆ
ค) เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการ

2) อุปนายกสภาการแพทย์แผนไทยคนที่1เป็นผู้ช่วยนายกสภาการแพทย์แผนไทยเมื่อนายกไม่อยู่หรือปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้

3) อุปะนายกสภาการแพทย์แผนไทยคนที่2 เป็นผู้ช่วยนายกสภาการแพทย์แผนไทยและกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่เมื่อนายกและนายกไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

4) เลขาธิการ
ก) ควบคุมบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่สภาการและแผนไทยทุกระดับ
ข) ควบคุมรับผิดชอบในงานธุรการทั่วไปของสภาการแพทย์แผนไทย
ค) รับผิดชอบในการดูแลรักษาทะเบียนสมาชิก ทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย / ประยุกต์ของสภาการแพทย์แผนไทย
ง) ควบคุมดูแลทรัพย์สินของการแพทย์แผนไทย
จ) เป็นเลขานุการคณะกรรมการ

5) ลองเลขาธิการ เป็นผู้ช่วยเลขาทำการแทนเลขาเมื่อเลขาไม่อยู่หรือปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้

6) ประชาสัมพันธ์มีหน้าที่ประชาสัมพันธ์และนำเผยแพร่กิจการของสภาการแพทย์แผนไทยแก่ประชาชนและองค์กรอื่น

7) เหรัญญิก มีหน้าที่ควบคุมดูแลรับผิดชอบการบัญชีการเงินและงบประมาณของสภา

8) ผู้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาตามมาตรา 16 มีหน้าที่ตามที่กำหนด

9) ดำรงตำแหน่งอื่นตามมาตรา 17 วรรคสองมีหน้าที่ตามกำหนด

มาตรา 26

คณะอนุกรรมการการประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยคณะหนึ่งมีอำนาจหน้าที่องค์ประกอบคุณสมบัติและวิธีได้มาซึ่งอนุกรรมการตามข้อบังคับของสภา

มาตราที่ 27

ให้คณะอนุกรรมการประกอบวิชาชีพ แพทย์แผนไทยประยุกต์มีอำนาจหน้าที่องค์ประกอบคุณสมบัติและวิธีการที่ได้มาซึ่งอนุกรรมการตามข้อบังคับของสภา

หมวด ๖ พนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา ๕๐

ในการปฏิบัติหน้าที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้

๑) เข้าไปในสถานที่ทำการของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบ วิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ในเวลาทำการของสถานที่นั้น เพื่อตรวจสอบหรือควบคุมให้เป็นไป ตามพระราชบัญญัตินี้

(๒) เข้าไปในสถานที่หรือยานพาหนะใด ๆ ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า จะมีการกระทำ ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการ ของสถานที่นั้นเพื่อตรวจค้นเอกสารหรือวัตถุใด ๆ ที่อาจใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้ประกอบกับกรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าหากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ เอกสารหรือวัตถุดังกล่าวจะถูกยักย้าย ซุกซ่อน ทำลายหรือทำให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม

(๓) ยึดเอกสาร หรือวัตถุใด ๆ ที่อาจใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีการกระทำ ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง อำนวยความสะดวกตามสมควร

มาตรา ๕๑

ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัว บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๕๒

ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวล กฎหมายอาญา

หมวด ๗

มาตรา๕๓

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา๓๑ หรือ ๔๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน๓ปี หรือปรับไม่เกิน60,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา๕๔

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา๓๒หรือมาตรา๓๓ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน๑ปี หรือปรับไม่เกิน20,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา๕๕

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา๓๕วรรคสาม หรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา๕๐วรรค๒ ระวางโทษปรับไม่เกิน2,000บาท

มาตรา๕๖

ไม่มาให้ถ้อยคำหรือไม่ส่งเอกสารหรือวัตถุใดๆตามที่เรียกหรือแจ้ง ส่งตามมาตรา๔๒ ระวางโทษจำคุกไม่เกิน1เดือน หรือปรับไม่เกิน1,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา๕๗

พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่าฝืนมาตรา๕๑วรรค๑ โดยไม่มีเหตุอันควร ระวางโทษประบไม่เกิน2,000บาท

หมวด ๑ สภาการแพทย์แผนไทย

มาตรา ๗

ให้มีสภาการแพทย์แผนไทยเป็นนิติบุคคล ซึ่งมีวัตถุประสงค์และอํานาจ หน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๘

สภาการแพทย์แผนไทย มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(๑) ส่งเสริมการศึกษา การพัฒนา การวิจัย การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์
(๒) ควบคุม กํากับ ดูแล และกําหนดมาตรฐานการให้บริการของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์
(๓) ควบคุมความประพฤติ จริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและผู้
ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ให้เป็นไปตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
(๔) ช่วยเหลือ แนะนํา เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชนและองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย
(๕) ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
(๖) ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก
(๗) ผดุงไว้ซึ่งสิทธิความเป็นธรรม และส่งเสริมสวัสดิการให้แก่สมาชิก
(๘) เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ของประเทศไทย

มาตรา ๙

สภาการแพทย์แผนไทย มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์
(๒) ออกคําสั่งตามมาตรา ๔๕
(๓) รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพการแพทย์แผนไทยของสถาบันต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิก
(๔) รับรองหลักสูตรสำหรับการฝึกอบรมเป็นผู้ชํานาญการในด้านต่าง ๆ ของวิชาชีพการแพทย์แผนไทยของสถาบันที่ทําการฝึกอบรมดังกล่าว
(๕) รับรองวิทยฐานะของสถาบันที่ฝึกอบรมใน (๔)
(๖) ออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ และออกหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
(๗) จัดทําแผนการดําเนินงานและรายงานผลการดําเนินงานเสนอต่อสภานายกพิเศษอย่างน้อยปีละครั้ง
(๘) ดําเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาการแพทย์แผนไทย
(๙) บริหารกิจการใด ๆ ตามวัตถุประสงค์ และอํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ตลอดจนกิจการใด ๆ ของสภาการแพทย์แผนไทย

มาตรา ๑๐

สภาการแพทย์แผนไทยอาจมีรายได้ดังต่อไปนี้

(๑) เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
(๒) ค่าจดทะเบียนสมาชิก ค่าบํารุง และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
(๓) ผลประโยชน์ที่ได้จากการจัดการทรัพย์สินและกิจกรรมตามวัติถุประสงค์ที่ กําหนดในมาตรา ๘
(๔) เงินและทรัพย์สินซึ่งมีผู้ให้แก่สภาการแพทย์แผนไทย
(๕) ดอกผลของเงินและทรัพย์สินตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔)

มาตรา ๑๑

ให้รัฐมนตรีดํารงตําแหน่งสภานายกพิเศษแห่งสภาการแพทย์แผนไทยและมีอํานาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้

หมวด ๔ การดำเนินการของคณะกรรมการ

มาตรา ๒๘

การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า ๕๐% ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ให้ถือเสียงข้างมาเป็นมติ โดย ๑ คน/คะแนนเสียง ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานออกเสียงเพิ่มอีกหนึ่งเพื่อชี้ขาด
มติในกรณีที่ให้สมาชิกพ้นสภาพตามมาตรา ๑๔ (๔) ให้ถือคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
การประชุมคณะอนุกรรมการ ให้นำความวรรคหนึ่งและสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
การประชุมคณะที่ปรึกษา ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

มาตรา ๒๙

สภานายกพิเศษจะเข้าฟังและชี้แจงแสดงความเห็นในที่ประชุม หรือส่งความเห็นเป็นหนังสือไปยังสภาการแพทย์แผนไทยเรื่องใดก็ได้

มาตรา ๓๐

มติของที่ประชุมเรื่องต่อไปนี้ต้องเห็นชอบจากสภานายกพิเศษก่อนดำเนินการ
(๑) การออกข้อบังคับ
(๒) การกำหนดแผนการดำเนินงานและงบประมาณของสภาการแพทย์แผนไทย
(๓) การให้พ้นจากสมาชิกสภาพตามมาตรา ๑๔ (๔)
(๔) การวินิจฉัยชี้ขาดพักใช้/เพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๔๕ วรรคสาม (๔) หรือ (๕)
ให้นายกสภาการแพทย์แผนไทยเสนอมติตามวรรคหนึ่งต่อสภานายกพิเศษ โดยสภาพิเศษมีคำสั่งยับยั้งมติได้ ในกรณีที่ไม่ได้ยับยั้งมติวรรคหนึ่งภายใน ๑๕ - ๓๐ วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับมติที่นายกสภาการแพทย์แผนไทยเสนอ จะถือว่าสภานายกพิเศษเห็นชอบมตินั้น
ถ้าสภานายกพิเศษยับยั้งมติไหนให้จัดการประชุมอีกครั้งภายใน ๓๐ วัน นับตั้งแต่ได้รับการยับยั้ง โดยต้องมีเสียงยืนยันมติไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด

หมวด ๕

การควบคุมการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์

มาตรา ๓๑

ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ กระทำการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือการ ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ เว้นแต่ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑) การกระทำต่อตนเอง
(๒) การช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยตามหน้าที่ ตามกฎหมาย ตามหลักมนุษยธรรมหรือตาม ธรรมจรรยาโดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน
(๓) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรม ซึ่งทำการฝึกหัดหรือฝึกอบรมใน ควบคุมของสถาบันการศึกษาวิชาชีพการแพทย์แผนไทยของรัฐหรือที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ จัดตั้งสถาบันทางการแพทย์ของรัฐ หรือสถาบันการศึกษา หรือสถาบันทางการแพทย์อื่นที่สภา การแพทย์แผนไทยรับรอง ทั้งนี้ ภายใต้ความควบคุมของเจ้าหน้าที่ผู้ฝึกหัดหรือผู้ให้การฝึกอบรมซึ่ง เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์
(๔) บุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การ บริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษอื่นตามที่มี กฎหมายกำหนดหรือสภากาชาดไทย มอบหมายให้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยในความ ควบคุมของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา
(๕) บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในสถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลกระทำ การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ในความ ควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๖) การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ของที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญของทางราชการ ทั้งนี้ โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่คณะกรรมการกำหนด

(๗) หมอพื้นบ้าน ซึ่งมีความรู้ความสามารถในการส่งเสริมและดูแลสุขภาพของ ประชาชนในท้องถิ่นด้วยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ตามวัฒนธรรมของชุมชนที่สืบทอดกันมานาน ไม่น้อยกว่าสิบปีเป็นที่นิยมยกย่องจากชุมชน โดยมีคณะกรรมการหมู่บ้านหรือองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นเสนอให้หน่วยงานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเป็นผู้รับรอง ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรี กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๓๒

ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิได้รับปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพ การแพทย์แผนไทย ใช้คำหรือข้อความด้วยอักษรไทยหรืออักษรต่างประเทศว่าแพทย์แผนไทย หรือใช้ อักษรย่อของคำดังกล่าว หรือใช้คำแสดงวุฒิการศึกษาทางแพทย์แผนไทย หรือใช้อักษรย่อของวุฒิ
งกล่าวประกอบกับชื่อหรือชื่อสกุลของตน หรือใช้คำหรือข้อความอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกัน ซึ่งทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ การแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทั้งนี้ รวมถึงการใช้ จ้าง วาน หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำดังกล่าวให้แก่ ตน

มาตรา ๓๓

ห้ามมิให้ผู้ใดใช้คำหรือข้อความที่แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มี ความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์ แผนไทยประยุกต์ หรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิเป็นผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าว ทั้งนี้ รวมถึงการใช้ จ้าง วาน หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำดังกล่าวให้แก่ตน เว้นแต่ผู้นั้นเป็นผู้ได้รับ หนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรว่าเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์จากสภาการแพทย์แผนไทย หรือที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรอง หรือเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพ การแพทย์แผนไทยประยุกต์ ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย
มาตรา ๓๔ การขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การต่ออายุ ใบอนุญาตการออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และหนังสือแสดงวุฒิอื่น รวมทั้งการออกใบแทนในการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและการ ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

มาตรา ๓๕

ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตต้องสมัครเป็นสมาชิกแห่งสภา การแพทย์แผนไทยและมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทยเมื่อสมาชิกภาพของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพ การแพทย์แผนไทยประยุกต์ผู้ใดสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๔ ให้ใบอนุญาตของผู้นั้นสิ้นสุดลงให้ผู้ซึ่งสมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๔ (๓) และ (๔) ส่งคืนใบอนุญาตต่อ เลขาธิการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบการสิ้นสุดสมาชิกภาพ

มาตรา ๓๖

ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์ แผนไทยประยุกต์ต้องประกอบวิชาชีพภายใต้บังคับแห่งข้อจำกัดและเงื่อนไขและต้องรักษา จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการแพทย์แผนไทยตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย
บุคคลอื่นมีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบ วิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ว่าประพฤติผิดตามมาตรา ๓๖ โดยทำคำกล่าวโทษเป็นหนังสือยื่น ต่อสภาการแพทย์แผนไทย
กรรมการมีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบ วิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ว่าประพฤติผิดตามมาตรา ๓๖ โดยแจ้งเรื่องต่อสภาการแพทย์ ไทย

สิทธิการกล่าวหาตามวรรคหนึ่งหรือสิทธิการกล่าวโทษตามวรรคสองหรือวรรคสาม สิ้นสุดลงเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ได้รับความเสียหายหรือผู้กล่าวโทษรู้เรื่องการประพฤติผิดตาม มาตรา ๓๖ และรู้ตัวผู้ประพฤติผิด ทั้งนี้ ไม่เกินสามปีนับแต่วันที่มีการประพฤติผิดตาม

มาตรา ๓๗

บุคคลอื่นมีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบ วิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ว่าประพฤติผิดตามมาตรา ๓๖ โดยทำคำกล่าวโทษเป็นหนังสือยื่น ต่อสภาการแพทย์แผนไทย
กรรมการมีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบ วิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ว่าประพฤติผิดตามมาตรา ๓๖ โดยแจ้งเรื่องต่อสภาการแพทย์ ไทย

สิทธิการกล่าวหาตามวรรคหนึ่งหรือสิทธิการกล่าวโทษตามวรรคสองหรือวรรคสาม สิ้นสุดลงเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ได้รับความเสียหายหรือผู้กล่าวโทษรู้เรื่องการประพฤติผิดตาม มาตรา ๓๖ และรู้ตัวผู้ประพฤติผิด ทั้งนี้ ไม่เกินสามปีนับแต่วันที่มีการประพฤติผิดตาม

มาตรา ๓๘

ื่อสภาการแพทย์แผนไทยได้รับเรื่องการกล่าวหาหรือการกล่าวโทษ ตามมาตรา ๓๗ หรือในกรณีที่คณะกรรมการมีมติว่ามีพฤติการณ์อันสมควรให้มีการพิจารณาเกี่ยวกับ การประพฤติผิดตามมาตรา ๓๖ ของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพ การแพทย์แผนไทยประยุกต์ให้เลขาธิการเสนอเรื่องดังกล่าวต่อประธานอนุกรรมการจรรยาบรรณโดย ไม่ชักช้า

มาตรา ๓๙

ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจรรยาบรรณจากสมาชิก ประกอบด้วยประธานคนหนึ่ง และอนุกรรมการมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่าสามคน มีอำนาจหน้าที่ สืบสวนหาข้อเท็จจริงในเรื่องที่ได้รับตามมาตรา ๓๘ แล้วทำรายงานพร้อมทั้งความเห็นเสนอ คณะกรรมการเพื่อพิจารณา
คณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจรรยาบรรณเกินกว่าหนึ่งคณะก็ได้
ให้คณะอนุกรรมการจรรยาบรรณดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดในวรรคหนึ่ง ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ประธานอนุกรรมการจรรยาบรรณแจ้งให้คณะกรรมการทราบก่อนครบ กำหนดเวลาดังกล่าว ในการนี้ให้คณะกรรมการพิจารณาขยายระยะเวลาดำเนินการออกไปได้ไม่เกิน สามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลา

มาตรา ๔๐

เมื่อคณะกรรมการได้รับรายงานและความเห็นของคณะอนุกรรมการ จรรยาบรรณแล้วให้คณะกรรมการพิจารณารายงานและความเห็นดังกล่าวแล้วมีมติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(๑) ให้คณะอนุกรรมการจรรยาบรรณสืบสวนหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อเสนอให้ คณะกรรมการพิจารณา
(๒) ให้คณะอนุกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนในกรณีที่เห็นว่าข้อกล่าวหาหรือ ข้อกล่าวโทษนั้นมีมูล

(๓) ให้ยกข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษในกรณีที่เห็นว่าข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษนั้นไม่มีมูล
มาตรา ๔๑ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนจากสมาชิก ประกอบด้วยประธานคนหนึ่ง และอนุกรรมการมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่าสามคน มีอำนาจหน้าที่สอบสวน สรุปผลการสอบสวนและเสนอสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งความเห็นต่อคณะกรรมการเพื่อสานวินิจฉัยชี้ขาด

คณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนเกินกว่าหนึ่งคณะก็ได้
ให้คณะอนุกรรมการสอบสวนดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดในวรรคหนึ่งให้ แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ประธานอนุกรรมการสอบสวนแจ้งให้คณะกรรมการทราบก่อนครบ กำหนดเวลาดังกล่าว ในการนี้ ให้คณะกรรมการพิจารณาขยายระยะเวลาดำเนินการออกไปได้ไม่เกิน สามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลา

หมวด ๕

มาตรา ๔๒

ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการจรรยาบรรณและของ คณะอนุกรรมการสอบสวนตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อนุกรรมการจรรยาบรรณและอนุกรรมการ สอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มีอำนาจเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำและมี หนังสือแจ้งให้บุคคลใด ๆ ส่งเอกสารหรือวัตถุเพื่อประโยชน์แก่การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการ ดังกล่าว

มาตรา ๔๓

ให้ประธานอนุกรรมการสอบสวนมีหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาหรือข้อ กล่าวโทษ พร้อมทั้งส่งสำเนาเรื่องที่กล่าวหาหรือกล่าวโทษให้ผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวโทษไม่น้อย กว่าสิบห้าวันก่อนวันเริ่มทำการสอบสวน
ผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวโทษมีสิทธิทำคำชี้แจงหรือนำพยานหลักฐานใด ๆ มาให้ คณะอนุกรรมการสอบสวน
คำชี้แจงหรือพยานหลักฐานให้ยื่นต่อประธานอนุกรรมการสอบสวนภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากประธานอนุกรรมการสอบสวน หรือภายในกำหนดเวลาที่คณะอนุกรรมการ สอบสวนจะขยายให้

มาตรา ๔๔

เมื่อคณะอนุกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้วให้เสนอ สำนวนการสอบสวน พร้อมทั้งความเห็นต่อคณะกรรมการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทำการสอบสวน เสร็จสิ้นและต้องไม่เกินกำหนดเวลาตามมาตรา ๔๑ วรรคสาม เพื่อให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด

มาตรา ๔๕

เมื่อคณะกรรมการได้รับสำนวนการสอบสวนและความเห็นของ คณะอนุกรรมการสอบสวนแล้ว ให้คณะกรรมการพิจารณาสำนวนการสอบสวนและความเห็นดังกล่าว ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับสำนวนการสอบสวนและความเห็นของคณะอนุกรรมการสอบสวน
คณะกรรมการอาจให้คณะอนุกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติมก่อน วินิจฉัยชี้ขาดก็ได้และให้นำความในมาตรา ๔๑ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม คณะกรรมการมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑) ยกข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษ
(๒) ว่ากล่าวตักเตือน
(๓) ภาคทัณฑ์
๔) พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินสองปี
๕) เพิกถอนใบอนุญาภายใต้บังคับมาตรา ๓๐ คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการตามมาตรานี้ ให้ทำเป็น คำสั่งสภาการแพทย์แผนไทยพร้อมด้วยเหตุผลของการวินิจฉัยชี้ขาด และให้ถือเป็นที่สุด

มาตรา ๔๖

ให้เลขาธิการแจ้งคำสั่งสภาการแพทย์แผนไทยตามมาตรา ๔๕ ไปยังผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวโทษเพื่อทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคำสั่งดังกล่าว และให้บันทึก ข้อความตามคำสั่งนั้นไว้ในทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพ การแพทย์แผนไทยประยุกต์ พร้อมทั้งแจ้งผลการวินิจฉัยชี้ขาดให้ผู้กล่าวหาหรือผู้กล่าวโทษทราบด้วย

มาตรา ๔๗

ภายใต้บังคับมาตรา ๓๑ ห้ามมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ซึ่งอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือซึ่งถูกสั่ง เพิกถอนใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็น ผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยนับแต่วันที่ทราบคำสั่งสภาการแพทย์แผนไทยที่สั่งพักใช้ ใบอนุญาตหรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนั้น

มาตรา ๔๘

ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์ แผนไทยประยุกต์ ซึ่งอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต ผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนตามมาตรา ๔๗ และ ถูกลงโทษจำคุกตามมาตรา ๕๓ โดยคำพิพากษาถึงที่สุด ให้คณะกรรมการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของผู้ นั้นนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด

มาตรา ๔๙

ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์ แผนไทยประยุกต์ ซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตอาจขอรับใบอนุญาตอีกได้เมื่อพ้นสองปีนับแต่วันที่ถูก สั่งเพิกถอนใบอนุญาตแต่เมื่อคณะกรรมการได้พิจารณาคำขอรับใบอนุญาตและปฏิเสธการออกฤษฎีกา ใบอนุญาต ผู้นั้นจะยื่นคำขอรับใบอนุญาตในครั้งต่อ ๆ ไปได้อีกต่อเมื่อสิ้นระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ คณะกรรมการปฏิเสธการออกใบอนุญาต

Subtopic

Subtopic