กฎหมายความปลอดภัย
พระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. ๒๕๕๔
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๓ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับได้แก่
(๑) ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น
(๒) กิจการอื่นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
นายจ้าง
ลูกจ้าง
ผู้บริหาร
หัวหน้างาน
สถานประกอบกิจการ
คณะกรรมการ
กองทุน
พนักงานตรวจความปลอดภัย
อธิบดี
รัฐมนตรี
มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานรักษาการตามพระราชบัญญัติ
หมวด ๑ บททั่วไป
มาตรา ๖ ให้นายจ้างมีหน้าที่จัดและดูแลสถานประกอบกิจการและลูกจ้างให้มีสภาพการทํางานและสภาพแวดล้อมในการทํางานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ
มาตรา ๗ ในกรณีที่พระราชบัญญัตินี้กําหนดให้นายจ้างต้องดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ต้องเสียค่าใช้จ่าย ให้นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใชจ้่ายเพื่อการนั้น
หมวด ๒ การบริหาร การจัดการ และการดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
มาตรา ๘ ให้นายจ้างบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๙ บุคคลใดประสงค์จะให้บริการในการตรวจวัด ตรวจสอบ ทดสอบ รับรอง ประเมินความเสี่ยง รวมทั้งจัดฝึกอบรมหรือให้คําปรึกษา
มาตรา ๑๐ ในกรณีที่สํานักความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานไม่รับ ขึ้นทะเบียนหรือเพิกถอนทะเบียน
มาตรา ๑๑ นิติบุคคลใดประสงค์จะให้บริการในการตรวจสอบ ประเมินความเสี่ยง จะต้องได้รับ ใบอนุญาตจากอธิบดี
มาตรา ๑๒ ในกรณีที่อธิบดีไม่ออกใบอนุญาต ที่ออกให้แก่นิติบุคคลนั้นมีสิทธิ อุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการ
มาตรา ๑๓ ให้นายจ้างจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคล
มาตรา ๑๔ ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํางานในสภาพการทํางานหรือสภาพแวดล้อมในการ ทํางานที่อาจทําให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย
มาตรา ๑๕ ในกรณีที่นายจ้างได้รับคําสั่งเตือน หรือคําวินิจฉัยของอธิบดี คําสั่งของ พนักงานตรวจความปลอดภัย ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ
มาตรา ๑๖ ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรม ความปลอดภัย
มาตรา ๑๗ ให้นายจ้างติดประกาศสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับ ความปลอดภัย
มาตรา ๑๘ ในกรณีที่สถานที่ใดมีสถานประกอบกิจการหลายแห่ง
มาตรา ๑๙ ในกรณีที่นายจ้างเช่าอาคาร สถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือสิ่งอื่นใด ที่นํามาใช้ในสถานประกอบกิจการ
มาตรา ๒๐ ให้ผู้บริหารหรือหัวหน้างานมีหน้าที่สนับสนุนและร่วมมือกับนายจ้างและบุคลากรอื่น
มาตรา ๒๑ ลูกจ้างมีหน้าที่ดูแลสภาพแวดล้อมในการทํางานตามมาตรฐานที่กําหนด
มาตรา ๒๒ ให้นายจ้างจัดและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
มาตรา ๒๓ ให้ผู้รับเหมาชั้นต้นและผู้รับเหมาช่วงตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
หมวด ๓ คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
มาตรา ๒๔ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน”
มาตรา ๒๕ คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบาย แผนงาน หรือมาตรการความปลอดภัย และการพัฒนาสภาพแวดล้อมในการทํางาน
(๒) เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวง ประกาศ และระเบียบ
(๓) ให้ความเห็นแก่หน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการส่งเสริมความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
(๔) วินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๒
(๕) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอํานาจหน้าที่ ของคณะกรรมการหรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา ๒๖ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละสองปี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งพ้นจากตําแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
มาตรา ๒๗ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระตามมาตรา ๒๖ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ พ้นจากตําแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) รัฐมนตรีให้ออก เมื่อขาดประชุมสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(๔) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๕) เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน
(๖) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๗) ต้องคําพิพากษาว่าได้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
(๘) ได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้ กระทําโดยประมาทหรือความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๒๘ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด
มาตรา ๒๙ คณะกรรมการมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการ อย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้
มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการและอนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุม และประโยชน์ตอบแทนอื่นตามระเบียบที่รัฐมนตรีกําหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
มาตรา ๓๑ ให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานรับผิดชอบงานธุรการ ของคณะกรรมการ และมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) สรรหา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลด้านความปลอดภัย
(๒) จัดทําแนวทางการกําหนดมาตรฐานความปลอดภัย และสภาพแวดล้อม ในการทํางานเสนอต่อคณะกรรมการ
(๓) จัดทําแผนปฏิบัติการด้านความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ประจําปีเสนอต่อคณะกรรมการ
(๔) ประสานแผนและการดําเนินการของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการตลอดจน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๕) ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามมติของคณะกรรมการ
(๖) รับผิดชอบงานธุรการของคณะอนุกรรมการ
(๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการหรือคณะอนกรรมการมอบหมาย
หมวด ๔ การควบคุม กํากับ ดูแล
มาตรา ๓๒ เพื่อประโยชน์ในการควบคุม กํากับ ดูแลการดําเนินการด้านความปลอดภัย ให้นายจ้างดําเนินการดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีการประเมินอันตราย
(๒) ศึกษาผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทํางานที่มีผลต่อลูกจ้าง
(๓) จัดทําแผนการดําเนินงานด้านความปลอดภัย ในการทํางานและจัดทําแผนการควบคุมดูแลลูกจางและสถานประกอบกิจการ
(๔) ส่งผลการประเมินอันตราย การศึกษาผลกระทบ แผนการดําเนินงานและแผนการ ควบคุมตาม (๑) (๒) แล(๓) ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
มาตรา ๓๓ ผู้ใดจะทําการเป็นผู้ชํานาญการด้านความปลอดภัย ในการทํางานจะต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีตามพระราชบัญญัติ
มาตรา ๓๔ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการใดเกิดอุบัติภัยร้ายแรง หรือลูกจ้างประสบ อันตรายจากการทํางาน ให้นายจ้างดําเนินการดังต่อไปนี้
(๑) กรณีที่ลูกจ้างเสียชีวิต ให้นายจ้างแจ้งต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยในทันทีที่ทราบ
(๒) กรณีที่สถานประกอบกิจการได้รับความเสียหาย หรือมีบุคคล ในสถานประกอบกิจการประสบอันตรายหรือได้รับความเสียหาย แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ
(๓) กรณีที่มีลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๗๓ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
มาตรา ๗๔ ในระหว่างที่ยังมิได้ออกกฎกระทรวง ประกาศ หรือระเบียบเพื่อปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๘ บทกําหนดโทษ
มาตรา ๕๓ นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๕๔ ผู้ใดมีหน้าที่ในการรับรอง หรือตรวจสอบเอกสารหลักฐาน หรือรายงานตาม กฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๘ วรรคสอง
มาตรา ๕๕ ผู้ใดให้บริการตรวจวัด ตรวจสอบ ทดสอบ รับรอง ประเมินความเสี่ยง จัดฝึกอบรม
มาตรา ๕๖ นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๖ หรือมาตรา ๓๒ ต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๕๗ นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๔ หรือมาตรา ๓๔ ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินห้าหมื่นบาท
มาตรา ๕๘ นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๕ หรือมาตรา ๑๗ ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินสามเดอนื หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๕๙ นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน หนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๘ วรรคสอง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖๑ ผู้ใดขัดขวางการดําเนินการของนายจ้างตามมาตรา ๑๙
มาตรา ๖๒ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๒๓ ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖๓ ผู้ใดกระทําการเป็นผู้ชํานาญการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๓๓ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖๔ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อํานวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานตรวจ ความปลอดภัยตามมาตรา ๓๕ หรือมาตรา ๓๖ วรรคสอง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖๕ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัยตามมาตรา ๓๖ วรรคหนึ่ง ต้องระห่วางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖๖ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้สิ่งที่พนักงานตรวจ ความปลอดภัยสั่งให้ระงับการใช้หรือผูกมัดประทับตราไว้กลับใช้งานได้อีกระหว่างการปฏิบัติตามคําสั่ง ของพนักงาน
มาตรา ๖๗ นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๙ ต้องระวางโทษปรับครั้งละไม่เกินห้าหมื่นบาท
มาตรา ๖๘ นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๒ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับ ไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖๙ ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดเป็นนิติบุคคล
มาตรา ๗๐ ผู้ใดเปิดเผยข้อเท็จจริงใดที่เกี่ยวกับกิจการของนายจ้างอันเป็นข้อเท็จจริงต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๗๑ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีอัตราโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับ ไม่เกินสี่แสนบาท ถ้าเจ้าพนักงานดังต่อไปนี้ เห็นว่าผู้กระทําผิดไม่ควรได้รับโทษจําคุกหรือไม่ควร ถูกฟ้องร้อง ให้มีอํานาจเปรียบเทียบดังนี้
(๑) อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย สําหรับความผิดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร
(๒) ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย สําหรับความผิดที่เกิดขึ้น ในจังหวัดอื่น ในกรณีที่มีการสอบสวน
มาตรา ๗๒ การกระทําความผิดตามมาตรา ๖๖ ถ้าคณะกรรมการเปรียบเทียบ ซึ่งประกอบด้วยอธิบดี ผู้บัญชาการสํานักงานตํารวจแห่งชาติหรือผู้แทน
หมวด ๗ สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
มาตรา ๕๒ ให้มีสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยในการทํางาน
(๑) ส่งเสริมและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัย ในการทํางาน
(๒) พัฒนาและสนับสนุนการจัดทํามาตรฐานเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย ในการทํางาน
(๓) ดําเนินการ ส่งเสริม สนับสนุน และร่วมดําเนินงานกับหน่วยงานด้านความปลอดภัย ในการทํางานของภาครัฐและเอกชน
(๔) จัดให้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการส่งเสริมความปลอดภัยในการทํางาน ทั้งในด้านการพัฒนาบุคลากรและด้านวิชาการ
(๕) อํานาจหน้าที่อื่นตามที่กําหนดในกฎหมาย ให้กระทรวงแรงงานจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย
หมวด ๖ กองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอมในการทำงาน
มาตรา ๔๔ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรียกว่า “กองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน”
มาตรา ๔๕ กองทุนประกอบด้วย
(๑) เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้
(๒) เงินรายปีที่ได้รับการจัดสรรจากกองทุนเงินทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
(๓) เงินค่าปรับที่ได้จากการลงโทษผู้กระทําผิดตามพระราชบัญญัตินี้
(๔) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
(๕) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้
(๖) ผลประโยชน์ที่ได้จากเงินของกองทุน
(๗) ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและใบสําคัญการขึ้นทะเบียนตามมาตรา ๙ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๓ และมาตรา ๓๓
(๘) ดอกผลที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
(๙) รายได้อื่น ๆ
มาตรา ๔๖ เงินกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการดังต่อไปนี้
(๑) การรณรงค์ส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน และการพัฒนา
(๒) ช่วยเหลือและอุดหนุนหน่วยงานของรัฐ สมาคม มูลนิธิ องค์กรเอกชน หรือบุคคล ที่เสนอโครงการ
(๓) ค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนและตามมาตรา ๓๐
(๔) สนับสนุนการดําเนินงานของสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทํางานตามความเหมาะสมเป็นรายปี
(๕) ให้นายจ้างกู้ยืมเพื่อแก้ไขสภาพความไม่ปลอดภัย หรือเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและ โรคอันเนื่องจากการทํางาน
(๖) เงินทดรองจ่ายในการดําเนินการตามมาตรา ๓๗
มาตรา ๔๗ เงินและทรัพย์สินที่กองทุนได้รับตามมาตรา ๔๕ ไม่ต้องนําส่งกระทรวงการคลัง
มาตรา ๔๘ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการบริหารกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน”
มาตรา ๔๙ ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๒๖ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๒๘ มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่ง
มาตรา ๕๐ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม ในการทํางานมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) กํากับการจัดการและบริหารกองทุน
(๒) พิจารณาจัดสรรเงินกองทุนเพื่อการช่วยเหลือและการอุดหนุน การให้กู้ยืม การทดรองจ่าย และการสนับสนุนเงิน
(๓) วางระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินกองทุนและการจัดหา ผลประโยชน์ของเงินกองทุน
(๔) วางระเบียบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วธิีการ และเงื่อนไขการให้เงินช่วยเหลือและเงินอุดหนุน
(๕) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกองทุนความปลอดภัย
มาตรา ๕๑ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี ให้คณะกรรมการบริหารกองทุน ความปลอดภัย
หมวด ๕ พนักงานตรวจความปลอดภัย
มาตรา ๓๕ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานตรวจความปลอดภัย มีอํานาจดังต่อไปนี้
(๑) เข้าไปในสถานประกอบกิจการหรือสํานักงานของนายจ้างในเวลาทําการหรือเมื่อเกิด อุบัติภัย
(๒) ตรวจสอบหรือบันทึกภาพและเสียงเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการทํางานที่เกี่ยวกับ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
(๓) ใช้เครื่องมือในการตรวจวัดหรือตรวจสอบเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ในสถานประกอบกิจการ
(๔) เก็บตัวอย่างของวัสดุหรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ มาเพื่อการวิเคราะห์เกี่ยวกับความปลอดภัย
(๕) สอบถามข้อเท็จจริง หรือสอบสวนเรื่องใด ๆ ภายในขอบเขตอํานาจและเรียกบุคคล ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง รวมทั้งตรวจสอบ
มาตรา ๓๖ ในกรณีที่พนักงานตรวจความปลอดภัยพบว่า ผู้ใดฝ่าฝืน ต้องปรับปรุง หรือปฏิบัติให้ถูกต้องหรือเหมาะสมภายในระยะเวลาสามสิบวัน
มาตรา ๓๗ ในกรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัย อธิบดีมอบหมายมีอํานาจสั่งให้พนักงานตรวจความปลอดภัย จัดการแก้ไข
มาตรา ๓๘ ให้อธิบดีมีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือให้ยึด อายัด และขายทอดตลาด ทรัพย์สินของนายจ้างซึ่งไม่จ่ายค่าใช้จ่าย
มาตรา ๓๙ ระหว่างหยุดการทํางานหรือหยุดกระบวนการผลิต จ่ายเงินทดแทนลูกจ้าง
มาตรา ๔๐ ในกรณีที่พนักงานตรวจความปลอดภัยมีคําสั่งตามมาตรา ๓๖ ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่เห็นด้วย ให้มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่ออธิบดีได้ภายในสามสิบวัน
มาตรา ๔๑ ในการปฏิบัติตามหน้าที่ พนักงานตรวจความปลอดภัยต้องแสดงบัตรประจําตัว
มาตรา ๔๒ ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง หรือโยกย้ายหน้าที่การงานของลูกจ้าง
มาตรา ๔๓ ในกรณีที่นายจ้าง ลูกจ้าง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัย