ความรู้พื้นฐานของการวิจัย
(Foundation of Research)

สรุป

การวิจัย คือการแสวงหาความรู้อยางเป็นระบบ ซึ่งจะนำเสนอตามวัตถุประสงค์
ที่ผู้วิจัยได้กำหนด ซึ่งเปนประโยขน์ การศึกษาคนควาของตนเอง หรือองค์กร เป็นการตอบปรากฏการณ์สภาพการ การแก้ปัญหา หรือการประเมิน ซึ่งมีการ กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยที่สามารถอ้างอิงได้ โดยใช้เครื่องมือในการประเมินอย่างมีคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้หลักการ ตามกระบวนการ วิทยาศาสตร์ผ่านการตีความหมายอย่างถูกตอง

นิยาม "การวิจัย"

เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ที่มีระบบ มีขั้นตอนที่ชัดเจนปราศจาก
อคติส่วนตัว สามารถตรวจสอบได้ที่ผู้วิจัยนำมาใช้ศึกษา ค้นคว้าข้อเท็จจริง เพื่อนำไปใช้อธิบาย ปรากฏการณ์ ทางสังคมม หรือพัฒนาเป็นกฎ ทฤษฏี หรือนำไปใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่าง ถูกต้อง แม่นยำและเชื่อถือได้

จุดมุ่งหมายของการวิจัย

มุ่งหาคำตอบเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา โดยศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรที่มีความเป็นเป็นผลซึ่งกัน

เป็นการรวบรวมข้อมูลหรือปรากฎการณ์ที่สังเกตได้มาใช้ในการสรุป

เป็นการสรุป หลักเกณฑ์และทฤษฎีที่ใช้ในการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

แนวคิดพื้นฐานของการวิจัย

กฎเหตุและผลของธรรมชาติ (Deterministic Law of Nature)

ปรากฏการณ์ใดๆ ที่เกิดขึ้นนั้นจะสามารถแสวงหาสาเหตุที่ ก่อให้เกิดปรากฏการณ์นั้นได้เสมอ ๆ

กฎความเป็นระบบของธรรมชาติ (Systematic Law of Nature)

ปรากฏการณ์ใดๆ ที่เกิดขึ้นตามกฎของเหตุและผลของธรรมชาติจะมีรูปแบบของความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ค่อนข้างจะชัดเจน

กฎความสัมพันธ์ของธรรมชาติ (Associative Law of Nature)

ในการเกิดปรากฏการณ์ใดๆ ที่แตกต่างกันนั้น จะมีความมากน้อยของตัวแปรที่เป็นสาเหตุและตัวแปรผลที่แตกต่างกัน

กฎองค์ประกอบหลักของธรรมชาติ (Principle Component of Nature)

ตัวแปรสาเหตุและตัวแปรผลที่เกิดขึ้นนั้นๆ ไม่ได้เป็นความสัมพันธ์เชิงเดี่ยว แต่จะมีตัวแปรอื่นๆ ที่มักจะมาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ๆ

กฎความน่าจะเป็นของธรรมชาติ (Probabilistic Law of Nature)

ปรากฏการณ์ใดๆนั้นความรู้ความจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จะเป็นผลลัพธ์ของปรากฏการณ์ ที่มีความน่าจะเป็นในการเกิดขึ้นที่ค่อนข้างสูง

คุณลักษณะของการวิจัย

การวิจัย เป็นวิธีการๆหนึ่งที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ความจริง ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่มีระบบและขั้นตอนชัดเจน และมีการกำหนดจุดมุ่งหมายของการวิจัย ในแต่ละครั้งอย่างชัดเจนว่าต้องการอะไร ที่ผู้วิจัยจะใช้เป็นแนวทางในการแสวงหาคำตอบ เพื่อใช้อธิบายพยากรณ์และควบคุมปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นนั้น ๆ

ขั้นตอนในการวิจัย

เลือกหัวข้อปัญหา

การกำหนดขอบเขตของปัญหา

การศึกษาเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

กำหนดสมมติฐาน

สมมติฐานแบบมีทิศทาง

สมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง

การเขียนเค้าโครงการวิจัย

การสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล

ขั้นดำเนินงานเก็บรวบรวมข้อมูล

การใช้แบบทดสอบ

การใช้แบบวัดเจตคติ

การส่งแบบสอบถาม

การสัมภาษณ์

การสังเกตุ

การใช้เทคนิคสังคมมิติ

การทดลอง

การจัดกระทำข้อมูล

Input

Processing

Output

การสรุปผลการวิจัยและการเขียนรายงาน

ประเภทของการวิจัย

จำแนกตามประโยชน์ที่ได้รับหรือเหตุผลในการวิจัย

การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์(Basic Research or Pure Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหาความรู้ความจริงเชิงทฤษฎี/ปรากฏการณ์ ที่นำมาใช้ในการสนับสนุน หรือขัดแย้งกับ กฎเกณฑ์ หรือทฤษฎีที่มีอยู่

การวิจัยการนำไปใช้(Applied Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ใน การนำผลการวิจัยจากการวิจัยพื้นฐานมาใช้ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต

จำแนกตามลักษณะ(ความลึก/ความกว้าง)ของข้อมูล

การวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) เป็นการวิจัยที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวแปรที่มีลักษณะเป็นตัวเลข

การวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) เป็นการวิจัยที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวแปรที่มีลักษณะเป็นข้อความที่บรรยาย

จำแนกตามระเบียบวิธีวิจัย(Methodology)

การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์(Historical Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ ใช้ข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีตที่มีหลักฐานปรากฏอยู่

การวิจัยเชิงบรรยาย(Descriptive Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้บรรยายคุณลักษณะ

จำแนกตามลักษณะของวิชา หรือศาสตร์

การวิจัยทางวิทยาศาสตร์(Scientific Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ที่มักจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ

การวิจัยทางสังคมศาสตร์(Social Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์

จำแนกตามเวลาที่ใช้ในการทำวิจัย

การวิจัยแบบตัดขวาง/ระยะสั้น(Cross-section Research) เป็นการวิจัยที่ใช้เวลาในการวิจัยช่วงใดช่วงหนึ่งที่ผู้วิจัยสนใจแล้วนำมาสรุปผลในภาพรวม

การวิจัยแบบต่อเนื่อง (Longitudinal Research) เป็นการวิจัยที่ใช้เวลาอย่างต่อเนื่องในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำให้ได้ผลสรุป

จำแนกประเภทการวิจัยตามเป้าหมายหลักของการวิจัย

การวิจัยที่มุ่งบรรยายตัวแปร(Descriptive-Oriented Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อบรรยายลักษณะของตัวแปรในประชากร

การวิจัยที่มุ่งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร(Correlation-Oriented
Research)
ทำนายค่าตัวแปร

การวิจัยที่มุ่งแสวงหาความเป็นเหตุเป็นผลระหว่างตัวแปร(Causal-Oriented Research) เป็นการวิจัยที่แสวงหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ของปรากฏการณ์ต่าง ๆ

ประเภทของการวิจัยจำแนกตามการจัดกระทำ

การวิจัยแบบทดลองเบื้องต้น

การวิจัยกึ่งทดลอง

การวิจัยแบบทดลองที่แท้จริง

ธรรมชาติของการวิจัย

การวิจัยเป็นกระบวนการเชิงประจักษ์

การวิจัยเป็นการดำเนินการที่เป็นระบบ

การวิจัยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน

การวิจัยมีความเที่ยงตรง (Validity)

การวิจัยมีความเชื่อมั่น (Reliability)

การวิจัยมีเหตุผล

การวิจัยเป็นการแก้ปัญหา

การวิจัยต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่

การวิจัยมีวิธีการที่หลากหลาย

การวิจัยต้องใช้ศักยภาพของผู้วิจัย

Klikkaa tästä keskittääksesi karttasi.
Klikkaa tästä keskittääksesi karttasi.