สังคมความรู้ (Knowledge Society)

1.นิยาม

สังคมที่มีการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเครือข่ายสารสนเทศสูง จาก
ความรู้ที่มีบุคลากรทำงานโดยใช้ทักษะและความรู้สูง

2.ยุคของสังคมความรู้ (Knowledge Society Era)

2.1 สังคมความรู้ยุคที่1 เป็นสังคมความรู้ที่มีพลังและอำนาจอยู่ด้วยกัน เกิดการผลิต มีความสามารถในการแข่งขัน กลไกตลาด และความอยู่รอด มี 5 ด้าน ดังนี้

1) Knowledge Access คือ การเข้าถึงความรู้ด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ การเข้าถึงความรู้ ทาง Internet หรือ ICT Connectivity ต่าง ๆ

2) Knowledge Validation คือ การประเมินความถูกต้องของความรู้ ความรู้มีทั้งของจริงและของหลอก

3) Knowledge Valuation คือ การตีค่า การตีความรู้ ว่าเมื่อมีการใช้ความรู้นั้นแล้วมีความคุ้มค่าหรือไม่ ซึ่งในการตีค่าความรู้ที่มีหลักฐานถูกต้องตามหลักวิชาการแต่ไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้

4) Knowledge Optimization คือ การทำความรู้ให้ง่ายที่จะใช้ การนำความรู้ออกมาเป็นกฎเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ

5) Knowledge Dissemination คือ การกระจายความรู้ ปัจจุบันความรู้เป็นสมบัติสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ อยู่ที่ความสามารถของแต่ละคนที่จะเข้าถึงความรู้การวิจัยหรือ ความรู้จึงเป็นเครื่องมือสำคัญ

2.2 สังคมความรู้ยุคที่ 2 เป็นสังคมความรู้แบบพอเพียง สมดุล บูรณาการ ประชาชนและทุกภาคส่วนมีบทบาทในการร่วมกันเป็นเจ้าของ และเป็นผู้ใช้ความรู้ให้เป็นพลัง มีความเป็นอิสระ และพึ่งตนเอง

ลักษณะสำคัญ

1. มีการสะสมความรู้ภายในสังคม
2. มีการถ่ายโอนความรู้ภายสังคม
3. มีการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ในสังคม
4. มีการประยุกต์ความรู้มาใช้ภายในสังคม

3.ลักษณะสังคมแห่งการเรียนรู้

3.1 ไม่จำกัดขนาดและสถานที่ตั้ง

3.2 เน้นการจัดการเรียนรู้เป็นปัจจัยหลัก

3.3 ประชาชนได้รับโอกาสการพัฒนา (Key Individuals)

3.4 สถาบันทางสังคมในพื้นที่เป็นตัวหลักในการริเริ่ม/ดำเนินการ (Key Institutions)

3.5 มีกลุ่มภาคประชาชนเป็นแกนกลาง (Core Groups) เพื่อรวมตัวกันจัดกิจกรรมพัฒนาชุมชน

3.6 มีการพัฒนานวัตกรรมและระบบการเรียนรู้

3.7 มีภาคีเครือข่ายที่ร่วมดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

3.8 การริเริ่ม/การเปลี่ยนแปลงมีอยู่ตลอดเวลา

3.9 สถานศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนแห่งการเรียนรู้

3.10 ความรับผิดชอบเป็นหน้าที่ของบุคคลและชุมชนร่วมกัน

3.11 ทุกคนเป็นครูและผู้เรียน

5. กระบวนการจัดการความรู้ (Processes of Knowledge)

5.1 การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าจะทำอย่างไรให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย

5.2 การสร้างและแสวงหาความรู้ ซึ่งสามารถทำได้หลายทาง

5.3 การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบ

5.4 การประมวลและกลั่นกรองความรู้

5.5 การเข้าถึงความรู้

5.6 .การจัดการความรู้ในองค์กรการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้

5.7 การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน

4.ความรู้ (Knowledge)

4.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ความรู้
ข้อมูล สารสนเทศและความรู้ มีความหมายที่เกี่ยวข้องกันจนในบางครั้งไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ซึ่งคำทั้ง 3 คำมีนักวิชาการหลายๆ ท่านได้อธิบายความสัมพันธ์ ระหว่างข้อมูล สารสนเทศและความรู้

4.1.1 ความหมายของข้อมูล (Data) สรุปได้ว่า ข้อมูล คือ กลุ่มของสัญลักษณ์ ข้อเท็จจริง ตัวเลข ข้อความ
ภาพ และเสียงที่ยังไม่ผ่านกระบวนการประมวลผล วิเคราะห์หรือสังเคราะห์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์

4.1.2 ความหมายของสารสนเทศ (Information) สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความรู้ต่างๆ ที่ผ่านการประมวลผลแล้วและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ โดยสารสนเทศนั้นบันทึกไว้ในรูปแบบของวัสดุตีพิมพ์ได้แก่ หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสาร แผ่นพับ จุลสาร เอกสารจดหมายเหตุและวัสดุไม่ตีพิมพ์

4.1.3 ความหมายของความรู้ (Definition of Knowledge) ความรู้ หมายถึง ความเข้าใจในเรื่องบางเรื่อง หรือสิ่งบางสิ่ง ซึ่งอาจจะรวมไปถึงความสามารถในการนำสิ่งนั้นไปใช้เพื่อเป้าหมายบางประการ โดยอาศัยกระบวนการที่แปรผลมาจากข้อมูล สารสนเทศ การศึกษา ประสบการณ์ต่างๆ ที่สะสมในอดีต และสามารถเพิ่มขึ้นได้อย่างไม่จำกัดในอนาคต

4.2 ประเภทรูปแบบความรู้ (Type of Knowledge)
ประเภทของความรู้มีหลายลักษณะทั้งความรู้จากข้อเท็จจริง ความรู้จากประสบการณ์ ความรู้ที่ได้รับถ่ายทอดมาหรือความเชื่อ ความรู้ส่วนบุคคล (Individual knowledge) และความรู้องค์กร (Organizational knowledge) จากลักษณะต่างๆ ดังกล่าวสามารถแบ่งความรู้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

1.Tacit Knowledge ความรู้ที่ซ่อนอยู่ในแต่ละบุคคลหรือความรู้ที่ซ่อนเร้น เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญหรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำ ความเข้าใจในสิ่งต่างๆ

2.Explicit Knowledge ความรู้ที่เด่นชัดหรือความรู้ที่บันทึกไว้ เป็นความรู้ที่สามารถ
รวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น ฐานข้อมูล ระบบผู้เชี่ยวชาญ รายงาน ทฤษฎี คู่มือต่างๆในบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

Klikkaa tästä keskittääksesi karttasi.
Klikkaa tästä keskittääksesi karttasi.