การสืบค้นสารสนเทศและความรู้

การสืบค้นด้วย OPAC

OPAC หรือ Online Public Access Catalog เป็นเครื่องมือที่บันทึกรายละเอียดข้อมูลบรรณานุกรมของทรพัยากร สารสนเทศที่มีในห้องสมุดไว้ในฐานข้อมูลบรรณานุกรมด้วยระบบคอมพิวเตอร์
ผู้ใช้สามารถป้อนคำสำคัญหรือหัวเรื่องที่ต้องการสืบค้นและ แสดงผลการสืบค้นได้ทางจอภาพ

รูปแบบการค้นแบบ OPAC

Author : ชื่อผู้แต่ง (บุคคล หน่วยงาน นามแฝง)

Call Number : เลขเรียกหนังสือ

Subject : หัวเรื่อง (คำที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ)

Title : ชื่อหนังสือ ชื่อเรื่อง

General Keyword: คำในชื่อเรื่อง หัวเรื่อง หรือคำในสารบัญ

สถานภาพ (Status)

Repaired ส่งซ่อม

Due 16Aus18 ถูกยืมออก

Non Circ ห้ามยืมออก

Available ยืมได้ดูที่ชั้นเก็บ

Missing หนังสือหาย

On Hold ถูกจอง

On Reserved หนังสือจอง

วิธีการสืบค้น

จากหน้าจอรายการหลักของOPACให้เลือกรายการที่ต้องการจะใช้ เป็นทางเลือกในสืบค้นจากเมนู เช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง เป็นต้น

ป้อนข้อมูลที่ต้องการสืบค้นตามรายการที่ใช้เป็นทางเลือกเช่นเลือก ทางเลือกผู้แต่ง พิมพ์ชื่อผู้แต่ง

หากต้องการได้รายละเอียดโดยย่อของรายการใด ให้คลิกเม้าส์ที่ รายการที่ต้องการ ระบบจะแสดงรายละเอียดของรายการดังกล่าว ซึ่ง จะประกอบไปด้วยชื่อเรื่อง ชื่อผู้รับผิดชอบ และปีพิมพ์

หากต้องการได้รายละเอียดที่สมบูรณ์ของรายการใดให้คลิกเม้าส์ที่ รายการที่ต้องการระบบจะแสดงรายละเอียดที่สมบูรณ์ของรายการ นั้นๆ หากเป็นหนังสือหรือโสตทัศนวัสดุรายละเอียดที่ได้ประกอบด้วย เลขเรียกหนังสือ สถานที่ที่มีทรัพยากรสารสนเทศนั้น รายละเอียดทาง บรรณานุกรม สถานภาพของหนังสือว่ามีกี่เล่ม มีอยู่ที่ใด อยู่บนชั้นหรือ มีผู้ยืมไป ถ้ามีผู้ยืมจะบอกวันที่กาหนดส่งคืน (date due) หากเป็น บทความวารสาร ระบบจะแสดงผลการสืบค้นเป็นรายการย่อ ซึ่ง ประกอบด้วยชื่อบทความ ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ และปีพิมพ์ ของ วารสารที่ตีพิมพ์บทความนั้น รวมทั้งบอกด้วยว่าห้องสมุดมีวารสารนั้น ตั้งแต่ปีใดถึงปีใด

ความหมาย

กระบวนการค้นหาสารสนเทศที่ต้องการ โดยใช้เครื่องมือสืบค้น

การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์

ฐานข้อมูลออนไลน์ เป็นแหล่งสารสรเทศที่มีขนาดใหญ่และขอบเขตกว้างซึ่งผู้จัดได้จัดทำขึ้นเพื่อให้บริการสำหรับผู้ที่ต้องการสืบค้นสารสนเทศไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม

ประเภทของฐานข้อมูลออนไลน์
ฐานข้อมูลออนไลน์ท่ีห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศบอกรับเป็นสมาชิก คือฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดหรือศูนยส์ารสนเทศน้ันๆบอกรับหรือซื้อฐานข้อมูลน้ันมาให้บริการกับผู้ใช้
เช่น IOP Electronic Journals, Wilson Omnifile, AGRICOLA เป็นต้นฐานข้อมูลทดลองใช้ฐานข้อมูลลักษณะน้ีเป็นฐานข้อมูลที่ห้องสมุดหรือ ศูนย์สารสนเทศนำมาทดลองให้บริการกับผู้ใช้ก่อนที่ศูนย์สารสนเทศจะตัดสิใจซื้อหรือสมัครเป็นสมาชิกของฐานข้อมูลน้ันจริงๆ

การสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต

นามานุกรม (Web Directories) เป็นเครื่องมือในการสืบค้นที่รวบรวมสารสนเทศ บนอินเทอร์เน็ต และคัดแยกสารสนเทศเหล่านั้นออกเป็นกลุ่ม ตามสาขาวิชาหรือตามหลักเกณฑ์ท่ี ผู้จัดทำกำหนดขึ้น

เครื่องมือสืบค้น (Search engine) เป็นเครื่องมือในการสืบค้นที่อาศัยการทำงาน ของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น โดยแต่ละตัวได้รับการพัฒนาจากบุคคลหลายๆ หน่วยงาน มีผลให้ Search Engine แต่ละตัวมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป โดยทั่วไป องค์ประกอบของกลไกการสืบค้นสารสนเทศของSearch Engine มี 3 ส่วน ซึ่ง ส่วนต่างๆ ทั้ง 3 ส่วน

ตัวสารวจหรือรวบรวมข้อมูล เป็นซอฟต์แวร์ สำหรับสำรวจเว็บ โดยจะทำหน้าท่ีตระเวนไปยังเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อทำการรวบรวม สารสนเทศ และส่งกลับมายังดรรชนีหรือฐานข้อมูลเพื่อทำการประมวลผล

ตัวดรรชนี (Indexer) หรือ Catalogซึ่งเป็นฐานข้อมูลทาหน้าที่รวบรวมคำและตำแหน่งทุกๆ เพจที่ตัวสารวจรวบรวมมาได้ ในส่วนน้ีจะมีโปรแกรมช่วยในการจัดทำดรรชนีเพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาสารสนเทศได้สะดวกข้ึน

โปรแกรมค้นข้อมูล (Search Engine Software หรือ Query Processor) ทำหน้าท่ีเปรียบเทียบความเก่ียวข้องระหว่างเว็บไซต์และความต้องการของผู้สืบค้นว่ามี ความเก่ียวข้องมากน้อยเพียงใด

เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ต

เทคนิคตรรกบูลลีน

การใช้ And, Or, Not ประกอบเป็นประโยคการค้น เช่นเดียวกับการสืบค้นใน
ระบบออนไลน์อื่นๆ โดยเครื่องหมาย หรือตัวกระทำของตรรกบูลลีนจะ แตกต่างกันไปในแต่ละกลไก

การใช้เทคนิคตรรกบูลลีนจากเมนูทางเลือก (Drop down menu) ว่าต้องการ สืบค้นการท่ีเกี่ยวข้องกับคำค้นอย่างไร

การใช้เครื่องหมาย + (Plus) หรือ – (Minus)กำหนดหน้าคำค้นท่ีต้องการ เครื่องหมาย + หมายถึงในผลการค้นต้องมีคำท่ีกำหนดน้ัน และเครื่องหมาย – หมายถึงไม่ต้องการให้พบคำน้ันในผลการสืบค้น

เทคนิคการตัดคำ

ใช้เครื่องหมาย * (asterisk) แทนการตัดคำส่วนใหญ่เป็นการตัดท้ายคำค้นท่ีต้องการ กลไกท่ีสามารถใช้เทคนิคการตัดคำได้ เช่น altavista เป็นต้น ส่วน Hotbot สามารถตัดคำได้ 2 ลักษณะคือ * และ ? โดย * หมายถึง ให้สืบค้นคำท่ีมีรากคำตามที่กำหนดโดยอาจมีตัวอักษรอื่น ๆ ต่อท้ายได้ไม่จากัดจำนวน และ ? หมายถึง ให้สืบค้นคำท่ีมีรากคำตามท่ีกำหนด และมีตัวอักษรตามหลังได้อีกไม่เกินจำนวน ? ที่กำหนดในคำค้น

การสืบค้นในลักษณะของ Stemming หมายถึง การสืบค้นจากรากคำเช่นคำค้นเป็น think กลไกจะสืบค้นคาอื่น ๆ ที่ข้ึนต้นด้วย think เช่น thinking

เทคนิคการใช้คำใกล้เคียง

โดยใช้คาว่า ADJ, NEAR, FAR และ BEFORE ประกอบ เป็นประโยคการค้น เพื่อกำหนดลักษณะของผลการสืบค้นที่ต้องการว่าต้องการให้มีคำใดอยู่ในลักษณะใด

เทคนิคการใช้รหัสกำกับคำค้น

สืบค้นจากเมนูทางเลือก (Drop down menu) ซึ่งกลไกสืบค้นหลาย ๆ กลไก กำหนดให้ผู้สืบค้นเลือกเขตข้อมูลที่ต้องการสืบค้นได้จากเมนูทางเลือก

สืบค้นโดยใช้เขตข้อมูลกำกับลงในประโยคการค้น เช่น title:nba หมายถึงให้ ค้นเพจที่มีคำว่า nba ปรากฏในช่ือเรื่อง before:30/9/99 หมายถึง ให้สืบค้น เอกสารท่ีมีการจัดทำก่อนวันที่ 30 ก.ย. 1999

62103239
Natthida Samwang
School of Pharmacy

สรุป

การสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูล OPAC ฐานข้อมูลออนไลน์และบนอินเทอร์เน็ตนั้น เป็นความสามารถของแต่ละบุคคล ซึ่งความสามารถดังกล่าวประกอบไปด้วยทักษะ และเทคนิคของ การสืบค้น ซึ่งผู้สืบค้นแต่ละคนจะมีมากน้อยเพียงใดนั้นข้ึนอยู่กับการฝึกฝนและพัฒนาทักษะอย่าง ต่อเนื่อง นอกจากนี้ผู้สืบค้นควรมีทักษะของการคัดเลือกและการประเมินสารสนเทศท่ีได้รับจาก อินเทอร์เน็ตร่วมด้วย ขณะเดียวกันผู้สืบค้นก็ต้องรู้จักวิธีการท่ีคัดเลือกและประเมินสารสนเทศท่ีค้น ได้ในแต่ละครั้งด้วย เพื่อท่ีจะได้นำสารสนเทศที่มีคุณค่า ถูกต้อง และตรงกับความต้องการของ ตนเองไปใช้งานได้อย่างเหมาะสม

Klikkaa tästä keskittääksesi karttasi.
Klikkaa tästä keskittääksesi karttasi.