พฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ชั้นปีที่ 1
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่กำลังศึกษาในปี 2563 ชั้นปีที่1 สำนักวิชาสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ จำนวนทั้งหมด 947 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ชั้นปีที่1 ในสำนักวิชาสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ สำนักวิชาแพทยศาสตร์ สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ สำนักวิชาสาธารณสุข สำนักวิชาทันตแพทย์ สำนักวิชาสัตวแพทย์ จำนวนทั้งหมด 100 คน
นิยามศัพท์เฉพาะ
สุขภาพ
สภาวะแห่งความสมบูรณ์ของร่างกาย และ จิตใจ รวมถึง การปรับตัวอยู่ในสังคมด้วยดีมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น มีคุณธรรม และจิตวิญญาณที่ดี ปราศจากการเป็นโรค และปราศจากความพิการ
พฤติกรรม
การแสดงและกิริยาท่าทางซึ่งสิ่งมีชีวิต ระบบหรืออัตลักษณ์ประดิษฐ์ ที่เกิดร่วมกันกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมระบบอื่นหรือสิ่งมีชีวิตโดยรวมเช่นเดียวกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ พฤติกรรมเป็นการตอบสนองของระบบหรือสิ่งมีชีวิตต่อสิ่งเร้าหรือการรับเข้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอก มีสติหรือไม่มีสติระลึก ชัดเจนหรือแอบแฝง และโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ
โรคประจำตัว
โรคประจำตัวของนักศึกษาแต่ละคนที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ชั้นปีที่1 ในสำนักวิชาสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ สำนักวิชาแพทยศาสตร์ สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ สำนักวิชาสาธารณสุข สำนักวิชาทันตแพทย์ สำนักวิชาสัตวแพทย์
ความรู้
สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้าหรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะความเข้าใจ หรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือการปฏิบัติองค์วิชาในแต่ละสาขา
ทัศนคติ
ความรู้สึก ความคิดหรือความเชื่อ และแนวโน้มที่จะแสดงออกซึ่งพฤติกรรมของบุคคล เป็นปฏิกิริยาโต้ตอบ โดยการประมาณค่าว่าชอบหรือไม่ชอบ ที่จะส่งผลกระทบต่อการตอบสนองของบุคคลในเชิงบวกหรือเชิงลบ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ได้นำผลการวิจัยเพื่อเป็นฐานข้อมูลมาพัฒนาพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษา
เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการวิจัยนำไปเผยเเพร่ให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงความรู้เเละประโยชน์ในการออกกำลังกาย
ระเบียบวิธีวิจัย
รูปแบบและประเภทของงานวิจัย : งานวิจัยเชิงปริมาณ
ประชากร : ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักศึกษาสำนักวิชาสายวิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่กำลังศึกษาในปี 2563 ชั้นปีที่1 จำนวนทั้งหมด 947 คน
กลุ่มตัวอย่างและขนาดตัวอย่าง : กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ชั้นปีที่1 ในสำนักวิชาสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ สำนักวิชาแพทยศาสตร์ สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ สำนักวิชาสาธารณสุข สำนักวิชาทันตแพทย์ สำนักวิชาสัตวแพทย์ จำนวนทั้งหมด 100 คน
วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง : แบบ purposive sample
เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล : แบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ชั้นปีที่ 1 เป็นแบบสอบใน Google Form โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน โดยส่วนที่1 เป็นข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 เป็นคำถามเลือกตอบ
สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล : ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ความสำคัญเเละที่มาของปัญหาการวิจัย
การออกกำลังกายนั้นเป็นการเสริมสร้างสุภาพและสร้างความแข็งแรงของร่างกาย รวมทั้งช่วยป้องกันโรคภัยต่างๆให้กับผู้ออกกำลังกายได้อีกด้วย หลายคนก่อนจะออกกำลังกายมักจะอ้างเหตุผลของการไม่ออกกำลังกาย เช่น ไม่มีเวลา ไม่มีสถานที่ มีปัญหาสุขภาพ และมีปัญหาเกี่ยวกับอากาศ ทั้งหมดมักเป็นข้ออ้างที่ไม่ออกกำลังกาย แต่ลืมไปว่าการออกกำลังกาย อาจจะให้ผลดีมากกว่าที่เขาเสียไป เป็นที่น่าดีใจว่าการออกกำลังกายให้สุขภาพดีไม่ต้องใช้เวลามากมาย เพียงแค่วันละครึ่งชม.ก็พอและไม่ต้องใช้พื้นที่หรือเครื่องมืออะไร มีเพียงพื้นที่ในการเดินก็พอแล้ว การออกกำลังกายจะทำให้รูปร่างดูดี กล้ามเนื้อแข็งแรง ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคอ้วน การออกกำลังกายทำให้สดชื่น นอกจากนั้นยังสามารถลดความเครียดได้ด้วย
การเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมเศรษฐกิจการเมืองวัฒนธรรมและความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย ทำให้ประชาชนในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของตนเองและบุคคลภายในครอบครัวต้องทำงานแข่งกับเวลา จึงเน้นความสะดวกในการบริโภคอาหารจานด่วน หรืออาหารฟาสต์ฟู้ด
พบว่าในประเทศไทยภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในวัยเรียนและวัยรุ่นเป็นปัญหาสาธารณะสุขสำคัญของประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน หากปล่อยให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนจะส่งผลกระทบต่อบุคคลทั้งร่างกายและจิตใจ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายอย่างถูกต้องสม่ำเสมอเพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวการออกกำลังกายเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญประการหนึ่งในการสร้างความแข็งแรงด้านสุขภาพ เป็นพฤติกรรมสุขภาพที่มีประโยชน์เพราะทำให้ระบบอวัยวะต่างๆของร่างกายได้รับการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของปอดและหัวใจระบบภูมิคุ้มกันระบบต่อมไร้ท่อและการเผาผลาญพลังงานระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ชั้นปีที่1
เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ชั้นปีที่1
คำถามการวิจัย
ปัจจัยต่างๆ เช่น ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ส่วนสูง น้ำหนัก สังกัดสำนักวิชา โรคประจำตัว เวลาว่าง ความถี่ในการออกกำลังกาย เวลาในการออกกำลังกาย จุดประสงค์ในการออกกำลังกาย กีฬาที่เล่นประจำ
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สถานที่และเครื่องอำนวยความสะดวกในการออกกำลังกาย มีผลต่อการตัดสินใจออกกำลังกายและไม่ออกกำลังกายของนักศึกษาหรือไม่
พฤติกรรมการออกกำลังกายส่งผลต่อสุขภาพของนักศึกษาหรือไม่ อย่างไร
ทัศนคติและแรงจูงใจมีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาหรือไม่
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
นพดล นิ่มสุวรรณ (2562:บทคัดย่อ) ศึกษาสมรรถภาพทางกาย และพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาว่ายน้ำ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ทั้งผู้หญิงและผู้ชายมีสมรรถภาพทางกายต่ำทั้งๆที่นักศึกษา ส่วนใหญ่บอกว่าออกกำลังกายบ่อยครั้ง อีกทั้งเพศและชั้นปีของนักศึกษาไม่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สมเกียรติยศ วรเดช ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ (2557:บทคัดย่อ) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการออกกำลังกายของนิสิต มหาวิทยาลัยทักษิณ ผลการศึกษาพบว่า นิสิตมีเจตคติและพฤติกรรม การออกกำลังกายในระดับสูงและพบว่า เพศ อายุ ชั้นปี คณะที่ศึกษา เจตคติ และพฤติกรรมการออกกําลังกายมีความสัมพันธ์ ต่อการออกกําลังกายอย่างมีนัยสําคัญทางสถิต
ฌัชสกร คงชีวสกุล สุนทรา กล้าณรงค์ จุฑารัตน์ สถิรปัญญา (2557:บทคัดย่อ) ศึกษาพฤติกรรมการออกกําลังกายเพื่อสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการออกกําลังกายเพื่อสุขภาพอยู่ในระดับดีมาก มีเจตคติต่อการออกกําลังกายเพื่อสุขภาพอยู่ในระดับดี และมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการออกกําลังกายเพื่อสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศแตกต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับการออกกําลังกายเพื่อสุขภาพแตกต่างกัน
สมมติฐานของการวิจัย
ปัจจัยสิ่งเเวดล้อม ได้แก่ สถานที่เเละเครื่องอำนวยความสะดวกในการออกกำลังกาย ส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ชั้นปีที่1
ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ส่วนสูง น้ำหนัก สังกัดสำนักวิชา โรคประจำตัว เวลาว่าง ความถี่การออกกำลังกาย เวลาในการออกกำลังกาย จุดประสงค์ในการออกกำลังกาย กีฬาที่ชอบ ความรู้และทัศนคติในการออกกำลังกายส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ชั้นปีที่1