โรคในศตวรรษที่ 21

ซาร์ส

ชื่อเรียก

โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง

เชื้อที่ทำให้เกิดโรค

SARS-CoV

ประเทศที่พบครั้งแรก

มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน

สัตว์ที่ก่อให้เกิดโรค

ถูกถ่ายทอดจากชะมดไปยังคน

ระยะฟักตัว

2-10 วัน (โดยเฉลี่ย 4-5 วัน)

การแพร่กระจายเชื้อ

แพร่กระจายเชื้อทางอากาศและจากการสัมผัสละอองฝอยขนาดใหญ่และขนาดเล็ก

อาการ

ไม่มีอาการที่บ่งบอกชัดเจน แต่อาการส่วนใหญ่จะคล้ายไข้หวัดใหญ่

การป้องกัน

วัคซีนอยู่ระหว่างการพัฒนา

การรักษา

เป็นไปตามอาการของผู้ป่วย

ไข้หวัดนก

ชื่อเรียก

Avian Influenza

เชื้อที่ทำให้เกิดโรค

เชื้อไวรัส Avian Influenza virus type
A ในตระกูล Orthomyxoviridae

ประเทศที่พบครั้งแรก

ประเทศอิตาลี

สัตว์ที่ก่อให้เกิดโรค

สัตว์ปีก เช่น นก ไก่ เป็ด ห่าน

ระยะฟักตัว

2-8 วัน (โดยเฉลี่ย 4 วัน) บางรายอาจยาวนานถึง
17 วัน

การแพร่กระจายเชื้อ

การสัมผัสกับเชื้อ ในรูปแบบของอุจจาระของสัตว์ปีก
เช่น ไก่ นกพิราบ

การสัมผัสใกล้ชิดกับนกป่วยหรือซากนกที่ติดเชื้อ

การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ

อาการ

มีไข้สูง ท้องเสีย อาเจียน ปวดท้อง
ตาแดง หรืออาการไข้หวัดใหญ่ทั่วไป

การป้องกัน

หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกและสิ่งคัดหลั่งที่มาจากสัตว์ปีกโดยตรง

การรักษา

รักษาด้วยยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่

เมอร์ส

ชื่อเรียก

โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง

เชื้อที่ทำให้เกิดโรค

MERS-CoV

ประเทศที่พบครั้งแรก

ประเทศซาอุดีอาระเบีย

สัตว์ที่ก่อให้เกิดโรค

ติดต่อจากอูฐสู่คน

ระยะฟักตัว

2-14 วัน (โดยเฉลี่ย 5 วัน)

การแพร่กระจายเชื้อ

แพร่จากคนสู่คนผ่านการสัมผัสอย่างใกล้ชิด

อาการ

ไม่มีอาการหรือมีไข้ ไอ หายใจถี่
ปอดบวม ท้องเสีย

การป้องกัน

วัคซีนอยู่ระหว่างการพัฒนา

การรักษา

เป็นไปตามอาการของผู้ป่วย

โคโรนา

ชื่อเรียก

โรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019
(COVID-19)

เชื้อที่ทำให้เกิดโรค

SARS-CoV-2

ประเทศที่พบครั้งแรก

ประเทศจีน

สัตว์ที่ก่อให้เกิดโรค

คาดว่ามีต้นกำเนิดมาจากค้างคาว, ตัวลิ่น

ระยะฟักตัว

มีตั้งแต่ 0-24 วัน แต่โดยทั่วไปคือภายใน
14 วัน

การแพร่กระจายเชื้อ

แพร่ผ่านละอองฝอยจากการไอหรือจาม

อาการ

ส่วนมากมักจะคัดจมูก เจ็บคอ ไอ และมีไข้

การป้องกัน

วัคซีนอยู่ระหว่างการพัฒนา

การรักษา

เป็นไปตามอาการของผู้ป่วย

ไวรัสซิกา

ชื่อเรียก

ไข้ซิกา

เชื้อที่ทำให้เกิดโรค

เชื้อไวรัสซิกา ซึ่งเป็นไวรัสในตระกูลฟลาวิไวรัส

ประเทศที่พบครั้งแรก

ประเทศยูกันดา

สัตว์ที่ก่อให้เกิดโรค

ยุงลายเป็นพาหะนำโรค

ระยะฟักตัว

3-12 วัน (โดยเฉลี่ย 4-7 วัน)

การแพร่กระจายเชื้อ

การถูกยุงลายที่มีเชื้อไวรัสซิกากัด

การแพร่ผ่านทางเลือด

การแพร่จากมารดาที่ป่วยสู่ทารกในครรภ์

อาการ

มีไข้ อ่อนเพลีย มีผื่นแดง เยื่อบุตาอักเสบ
ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ปวดข้อ

การป้องกัน

ระมัดระวังไม่ให้ยุงกัด

การรักษา

เป็นไปตามอาการของผู้ป่วย

อีโบลา

ชื่อเรียก

โรคอีโบลาไวรัส

เชื้อที่ทำให้เกิดโรค

เชื้อไวรัสอีโบลา

ประเทศที่พบครั้งแรก

สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

สัตว์ที่ก่อให้เกิดโรค

ติดต่อจากค้างคาวหรือลิงสู่คน

ระยะฟักตัว

2-21 วัน

การแพร่กระจายเชื้อ

ผ่านทางเลือดหรือสารคัดหลั่ง ทั้งการสัมผัสโดยตรงและการสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อ

อาการ

คล้ายกับโรคไข้เลือดออก

การป้องกัน

วัคซีนอีโบล่า rVSV-ZEBOV (Ervebo)

การรักษา

รักษาแบบประคับประคองและใช้ยาต้านเชื้อโรค