พฤติกรรมการกินอาหารคลีนของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประจำปีการศึกษา 2563
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาและสำรวจพฤติกรรมการกินอาหารคลีนของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประจำปีการศึกษา 2563
เพื่อนำข้อมูลเชิงสำรวจที่ได้ไปเผยแพร่ในรูปแบบสื่อเพื่อการศึกษาในรูปแบบต่างๆ
เพื่อรณรงค์ให้นักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีความสนใจในการดูแลสุขภาพและมีการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น
คำถามการวิจัย
ผู้กรอกแบบสำรวจมีความเห็นต่อการกินอาหารคลีนว่าอาหารคลีนนั้นดีหรือไม่
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
อาหารคลีนเป็นอาหารเพื่อสุขภาพอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นอาหารที่ผู้คนกำลังนิยมรับประทานอย่างมาก
หลักของอาหารคลีน คือการกินอาหารที่ผ่านการแปรรูปและการปรุงแต่งรสชาติของอาหารน้อยที่สุด
เน้นการรับประทานอาหารที่มาจากธรรมชาติที่ไม่ผ่านการแปรรูป คงรสชาติดั้งเดิมของวัตถุดิบที่นำมาปรุงแต่ง
อาหารแบบคลีนไม่ใช่การเน้นทานผักเยอะๆ แต่เป็นการทานอาหารทุกหมู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม
และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายที่ควรจะได้รับต่อวัน
สมมติฐานการวิจัย
นักศึกษาทุกชั้นปีมีความสนใจการกินอาหารคลีน
ระเบียบวิธีวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
นักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 100 คน ทั้งเพศชายและเพศหญิง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เป็นแบบสอบถามซึ่งกลุ่มตัวอย่างจะเป็นผู้กรอกแบบสอบถาม
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปได้แก่ เพศ ชั้นปีการศึกษา โดยให้ผู้ตอบแบบสอบถาม ตอบรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับตนเอง
ส่วนที่2 แบบสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารคลีนของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ศึกษาเอกสาร ข้อมูลหนังสือเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารคลีนของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เพื่อที่จะนำมาออกแบบสอบถามในการวิจัยครั้งนี้เพื่อที่จะได้ครอบคลุมกับเนื้อหาและกรอบแนวคิดในการวิจัยครั้งนี้
ร่างแบบสำรวจ
พิมพ์แบบสำรวจเพื่อเก็บข้อมูล
ความสำคัญและที่มาของปัญหาการ
อาหารคลีนเป็นอาหารที่ได้รับการตอบรับจากกลุ่มคนที่รักสุขภาพ
เนื่องจากอาหารคลีนเป็นอาหารที่ผ่านกระบวนการปรุงแต่งน้อย
ทำให้คงเหลือคุณประโยชน์ทางโภชนาการมากและช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรค
จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูล ก่อให้เกิดความสนใจแก่ผู้วิจัย
ที่จะศึกษาพฤติกรรมการกินอาหารคลีนของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประจำปีการศึกษา 2563
ขอบเขตการวิจัย
ขอบเขตด้านประชากร
กำหนดประชากรเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ทุกชั้นปี เป็นจำนวน 100 คน
ขอบเขตด้านตัวแปร
ตัวแปรต้น
คือ ปัจจัยด้านสุขภาพ
ตัวแปรตาม
คือ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาไปใช้ในการวางแผนด้านการตลาด
ของผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพรูปแบบอาหารคลีน
รวมถึงเป็นประโยชน์ในการค้นคว้า และวิจัยเชิงวิชาการในโอกาสต่อไป
ส่งเสริมให้ผู้บริโภคดูแลสุขภาพรวมถึงการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเพื่อลดอัตราการเกิดโรคต่างๆ
ได้ทราบถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหารคลีนของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประจำปีการศึกษา 2563
นิยามศัพท์
อาหาร
คือ สิ่งใดๆที่มนุษย์รับเข้าสู่ร่างกายแล้วก็ให้เกิดประโยชน์ ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต
สารอาหาร
สารเคมีที่มีส่วนประกอบในอาหารซึ่งมีความสำคัญต่อร่างกายผู้บริโภคโดยช่วยให้การทำหน้าที่ต่างๆ ของร่างกาย
อาหารคลีน
อาหารที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่และผ่านกระบวนการปรุงแต่งน้อยที่สุด เพื่อคงไว้ซึ่งคุณประโยชน์ทางโภชนาการ