นวัตกรรมการศึกษากับการเรียนรู้ในยุค 4.0
นวัตกรรมการศึกษา
ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
รูปแบบใหม่ๆ ของการน าเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาการศึกษา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพิ่มคุณค่า (Productivity) ให้กับการเรียนการสอน การอบรม การนำเสนอ ภายใต้ทรัพยากรการเรียนรู้ที่จำกัด
วิวัฒนาการของนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ระยะที่หนึ่ง
บทเรียนโปรแกรม และบทเรียนฝึกปฏิบัติ
ระยะที่สอง
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ระยะที่สาม
การสอนผ่านเว็บ
ระยะที่สี่
e-Learning
ระยะที่ห้า
Social Media for Learning
ระยะที่หก
MOOC Mobile First and Gamification
ระยะที่เจ็ด
Next Generation Digital Learning Platform
ขอบเขตของนวัตกรรมการศึกษา
จะเป็นความหมายกว้างและไม่ได้จำกัดเฉพาะฮาร์ดแวร์เครื่องมือชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์วัสดุสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่จับต้องได้เพียงอย่างเดียว
ประโยชน์ของนวัตกรรมการศึกษา
เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพบรรลุตามเป้าหมายและจุดประสงค์
ทำให้ผู้เรียนเกิดประสิทธิผลการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น สามารถเรียนรู้ได้ดีเข้าใจ และจดจำเนื้อหาได้ดี
เพิ่มคุณค่าให้กับการเรียนการสอน การอบรม การนำเสนอ แก้ปัญหาข้อจำกัดด้านการเรียนรู้
ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนที่กระตือรือร้น มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้นและสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
ช่วยผู้เรียนในการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อใช้เป็นฐานไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
ช่วยผู้เรียนในการพัฒนาทักษะต่างๆ ที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทักษะ 4Cs
ช่วยเพิ่มศักยภาพผู้เรียนด้านทักษะดิจิทัล (Digital Literacy) เมื่อผู้สอนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ช่วยในการประเมินผลผู้เรียนได้อย่างสะดวกรวดเร็ว สามารถนำมาใช้ในการทดสอบความเข้าใจและใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพในหลากหลายรูปแบบ
ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนทางด้านการศึกษา Education Transformationหรือ Education Disruption เพื่อไปสู่การเรียนรู้แห่งอนาคต
สามารถนำไปใช้ในการลดช่องว่าง เพิ่มความเท่าเทียม โดยการให้โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพกับผู้ที่ขาดโอกาสในการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการศึกษา
ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม
ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีจากการได้รับข้อมูลเนื้อหาสาระ
ต่างๆ จากผู้สอนหรือผู้รู้ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นสิ่งเร้า
ผู้สอนจะต้องมีการให้ผลป้อนกลับและการเสริมแรง
การได้ลงมือปฏิบัติซ้ำๆ (Repetition)
วิธีการสอนที่นิยม ได้แก่ วิธีการสอนแบบสอนตรง บรรยาย อธิบาย ยกตัวอย่างให้ผู้เรียนทำกิจกรรม ฝึกปฏิบัติและการให้ผลป้อนกลับ เน้นการให้ผู้เรียนท่องจำและการสอบแบบปรนัย
นวัตกรรมการศึกษา คือ บทเรียนโปรแกรมโดยคุณลักษณะของบทเรียนโปรแกรมทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่จัดวางไว้เป็นลำดับขั้นตอน
ทฤษฎีปัญญานิยม
ผู้เรียนบางคนสามารถเรียนรู้ได้ ในขณะที่ผู้เรียนบางคนกลับได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน จึงทำให้เกิดความสนใจในเรื่องของกระบวนการการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในของผู้เรียนที่ไม่สามารถสังเกตได้
ผู้สอนควรมีการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายมากกว่า
แบบเดียวหรือเชิงเส้นตรง เพื่อตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียนรายบุคคล
โดยวิธีการสอน เช่น วิธีการสอนด้วยเทคนิคช่วยใน การจำการเชื่อมโยงความรู้เดิม การสอนตรงโดยใช้เครื่องมือช่วยนำเสนอ เช่น Mind Maps , Flowchart การสอบแบบอัตนัย
นวัตกรรมการศึกษา ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากประสบการณ์ในการลงมือกระทำของผู้เรียน
(Learning By Doing) ภายใต้กิจกรรมการเรียนรู้หรือสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่ผู้สอนเป็นผู้ออกแบบไว้ให้
ผู้สอนเป็นผู้ที่มีความสำคัญในการออกแบบการสอนที่ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเกื้อหนุน (Scaffold) และส่งเสริมอำนวยความสะดวก
วิธีการสอน ได้แก่ การสอนแบบโครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) การสอนแบบปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) และการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นฐาน (Inquiry-Based Learning) เป็นต้น
นวัตกรรมการศึกษา เช่น e-Learning Webquest และ Scratch
ทฤษฎีคอนเนคติวิสต์
ทฤษฎีดั้งเดิมที่เกิดขึ้นก่อนหน้ายุคดิจิทัล ไม่สามารถตอบสนองต่อผู้เรียนยุคใหม่ที่เติบโตขึ้นท่ามกลางการพัฒนาของเทคโนโลยีต่างๆ
ปัจจุบันพบว่าผู้สอนเริ่มมีการนำโซเชียลมีเดียมาใช้กับการเรียนการสอน แต่การใช้งานมักจำกัดอยู่กับการใช้เพื่อการสื่อสารกับผู้เรียนเป็นหลัก
วิธีการสอน ผู้สอนจะต้องเข้าใจแนวคิดของคอนเนคติวิสต์เป็นอย่างดีและต้องเป็นคนทันสมัย ชอบเครื่องมือการเรียนรู้แนวใหม่ มีทักษะด้านดิจิทัล (Digital Literacy)
ตัวอย่างการสอน ได้แก่ การค้นหา - ทำความเข้าใจ - แบ่งปันเนื้อหาและแหล่งเรียนรู้ (Seek-Sense-Share Method) การเรียนรู้แบบกำกับตนเอง (Self-Regulated Learning) ผสานกับการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้รายบุคคล (Personal Learning Network) การเรียนรู้แบบร่วมมือกันผ่านเครือข่าย (Online Collaborative Learning) เป็นต้น
นวัตกรรมการศึกษา ได้แก่ Social Media for Learning , Open Educational Resources (OER) และ MOOC (Massive Open Online Course)
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการสอนยุคใหม่
คุณลักษณะจำเป็น 8 ประการ
ความรับผิดชอบและพึ่งพาตนเองในการเรียนรู้ (Autonomous Learning)
ทักษะด้านการคิด (Thinking Skills)
ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
(Effective Collaborators)
ทักษะในการสืบเสาะค้นหา (Enquirers)
ความกระตือรือร้น (Active Learners)
ทักษะพื้นฐานด้านดิจิทัล (Digital Literacy)
ทักษะในด้านการใช้ภาษาสากล (Second Language Skills)
ความสนใจในวัฒนธรรม (Engaged with Cultures) และความตระหนักถึงความเป็นไปในโลก (World Awareness)
คุณลักษณะของผู้สอน
Content (ผู้เชี่ยวชาญเนื้อหา)
Caring (ใส่ใจในผู้เรียน)
Construct (สร้างความรู้)
Connectivity (เน้นการเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อม)
Collaboration (จัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นกลุ่ม)
Communication (มีทักษะในการสื่อสาร)
Creativity (มีความคิดสร้างสรรค์)
Computer (ใช้ ICT ในการจัดการเรียนการสอน)
Critical Thinking (การคิดเชิงวิพากษ์)
รูปแบบการเรียนรู้แนวใหม่
การเรียนแบบครูนำ (Teacher-Led)
ครูมีบทบาทเป็นผู้ป้อนเนื้อหาในขณะที่ผู้เรียนจะมีหน้าที่รับเนื้อหาและเป็นผู้ฟังเพียงอย่างเดียว
สังคม / ชุมชนนำ (Community-Led)
ผู้สอนมีบทบาทในการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ มีการแบ่งงานในกลุ่มอย่างเป็นระบบ ผู้เรียนแต่ละคนมีบทบาทที่ชัดเจน ผู้สอนมีหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก
ผู้เรียนเป็นผู้นำ / ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner-Led)
ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้สอนมีบทบาทในการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (Facilitator) ให้กับผู้เรียน
การศึกษา 4.0
วิวัฒนาการ
ระยะที่หนึ่ง
อุตสาหกรรมยุค 1.0 หมายถึง อุตสาหกรรมในยุคต้นๆ ที่เริ่มมีการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ การผลิตเครื่องจักรกลที่อาศัยพลังงานจากน้ำและพลังงานไอน้ำแทนการใช้แรงงาน มนุษย์และเครื่องฟแรง สำหรับในประเทศไทยนั้นยุคอุตสาหกรรม 1.0 คือยุคแห่งสินค้าเกษตรกรรม
ระยะที่สอง
อุตสาหกรรมยุค 2.0 หมายถึง อุตสาหกรรมในยุคที่เน้นการผลิตสินค้าจำนวนมหาศาลด้วยแรงงานจำนวนมาก จากพลังงานไฟฟ้า สำหรับในประเทศไทย คือยุคแห่งอุตสาหกรรมเบา เช่น การผลิตเครื่องไฟฟ้า เสื้อผ้าและสิ่งทอ อาศัยแรงงานราคาถูกต้นทุนต่ำในการผลิตสินค้าส่งออก
ระยะที่สาม
อุตสาหกรรมยุค 3.0 หมายถึง อุตสาหกรรมในยุคที่นำมอเตอร์แขนกล เครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เทคโนโลยีสารสนเทศระบบอัตโนมัติและระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาใช้ในกระบวนการการผลิตสินค้า สำหรับในประเทศไทย คือยุคแห่งอุตสาหกรรมหนักที่มีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ในกระบวนการผลิตมากขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเคมียานยนต์และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งการรับจ้างผลิต เพื่อการส่งออก
ระยะที่สี่
อุตสาหกรรมยุค 4.0 หมายถึง ระยะการพัฒนาอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นยุคที่อาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลระดับสูงในการผลิตสินค้าต่าง ๆ โดยทำให้กระบวนการผลิตสินค้าสามารถเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีดิจิทัลได้โดยอัตโนมัติ เช่น การนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ (Robot) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าต่าง ๆ โดยในประเทศไทยนั้น ยุคอุตสาหกรรม 4.0 คือ ยุคแห่งอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลและความคิดสร้างสรรค์เป็นยุคแห่งความพยายามในการสร้างผลิตภัณฑ์ของไทย ภายใต้แนวคิดสมาร์ทไทยแลนด์ (Smart Thailand)
ทักษะ 8Cs
Creative and Innovation ทักษะการคิดสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรม
Critical Thinking and Problem Solving ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และแก้ปัญหา
Collaboration, Teamwork and Leadership ทักษะการทำงานร่วมกันผู้อื่นการทำงานเป็นทีมและการเป็นผู้นำ
Communication, Information and Media Literacy ทักษะการสื่อสาร ทักษะการรู้ สารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ
Cross-Cultural Understanding ความเข้าใจข้ามวัฒนธรรม
Computing and ICT Literacy การคำนวณและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ
Career and Learning Skills ทักษะด้านการงานอาชีพและการเรียนรู้
(วิธีการเรียน)
Compassion ความเห็นอกเห็นใจและการเอาใจเขามาใส่ใจเรา
ทักษะ 3Rs
การอ่าน (Read)
การเขียน (Write)
การคำนวณ (Arithmetic)