บทที่ 5
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
นิยามภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีทางอ้อมที่จัดเก็บจากฐานการบริโภค ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคลใดๆ หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่า
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ บุคคล ดังต่อไปนี้
1. ผู้ประกอบการ
2. ผู้นำเข้า
3. ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/1
1. ผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการจะมีองค์ประกอบ ดังนี้
1.1) บุคคล หมายถึง
- บุคคลธรรมดา หมายความรวมถึง กองมรดก
- คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
-นิติบุคคล
1.2) กิจการที่ต้องเสียภาษี ได้แก่ กิจการที่ขายสินค้า หรือการให้บริการในทางธุรกิจ หรือวิชาชีพไม่ว่าจะได้รับประโยชน์หรือได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม
1.3) ประกอบกิจการในราชอาณาจักร ได้แก่
- การขายสินค้าที่จะอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องเป็นการขายสินค้าในราชอาณาจักรเท่านั้น
- การให้บริการที่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ การให้บริการใน ราชอาณาจักรเท่านั้น หากเป็นการให้บริการนอกราชอาณาจักรไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การรับเหมาก่อสร้างในต่างประเทศ
2. ผู้นำเข้า
ผู้นำเข้า ได้แก่ ผู้ประกอบการหรือบุคคลอื่นซึ่งนำเข้า ผู้นำเข้าสินค้าจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเสมอ โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นผู้ประกอบการหรือเป็นบุคคลอื่นซึ่งนำเข้า
“นำเข้า” หมายความว่า นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรและให้หมายความรวมถึงการนำสินค้าที่ต้องเสียอากรขาเข้าหรือที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออกโดยมิใช่เพื่อการส่งออกด้วย
3. ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กำหนดให้บุคคลดังต่อไปนี้ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
3.1) ตัวแทน ในกรณีที่ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระ โดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร
3.2) ผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการ ในกรณีการขายสินค้าหรือการให้บริการได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ให้กับองค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล และภายหลังได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือโอนสิทธิในบริการนั้นไปให้กับบุคคลอื่น
3.3) ผู้ที่มีความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร หรือผู้รับโอนสินค้า ถ้ามีการโอนสินค้าในกรณีสินค้านำเข้าที่จำแนกไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
3.4) ผู้ที่ควบเข้ากันและผู้ประกอบการใหม่ ในกรณีที่มีการควบเข้ากัน
3.5) ผู้โอนและผู้รับโอน ในกรณีโอนกิจการ
3.6) ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร และได้เข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
3.7) ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรให้ผู้ประกอบการดังกล่าวมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
กฎหมายกำหนดให้ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และยังได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับข้อกำหนดตามกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ ไม่มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี เป็นต้น การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 กิจการที่ได้รับการยกเว้นแต่สามารถขอเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้
1. การขายสินค้าหรือให้บริการของผู้ประกอบการที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
2. การขายพืชผลทางการเกษตรภายในราชอาณาจักร เช่น ข้าว ข้าวโพด ปอ มันสำปะหลัง ผักและผลไม้
3. การขายสัตว์ทั้งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตภายในราชอาณาจักร เช่น โค กระบือ ไก่หรือเนื้อสัตว์ กุ้ง ปลา
4. การขายปุ๋ย
5. การขายปลาป่น อาหารสัตว์
6. การขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ เพื่อบำรุงรักษาป้องกัน ทำลายหรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์
7. การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน จากคำวินิจฉัยคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 32/2538 ให้การขายเทปประกอบการกับตำราเรียน ถือเป็นการขายตำราเรียนที่ได้รับการยกเว้น
ให้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันแจ้งต่ออธิบดี
กลุ่มที่ 2 กิจการที่ได้รับการยกเว้นและไม่สามารถขอเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้
1. การนำเข้าสินค้าของกลุ่มที่ 1 ข้อ 2-7
2. การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
3. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางนํ้าหรือทางอากาศ
4. การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศทางบกและทางเรือซึ่งมิใช่เรือเดินทะเล
5. การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลทางราชการและเอกชน
6. การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์
7. การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น
8. การให้บริการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ
9. การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ
10. การให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรม ในสาขาและลักษณะการประกอบกิจการที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
11. การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ ซึ่งต้องมีลักษณะการประกอบกิจการตามที่กรมสรรพากรกำหนด
12. การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน
13. การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์
14. การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ไม่รวมถึงบริการที่เป็นการพาณิชย์ของราชการส่วนท้องถิ่น
15. การขายสินค้าหรือการให้บริการของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งส่งรายรับทั้งสิ้นให้แก่รัฐโดยไม่หักรายจ่าย
16. การขายสินค้าหรือการให้บริการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนาหรือการสาธารณกุศลภายในประเทศ ซึ่งไม่นำผลกำไรไปจ่ายในทางอื่น
17. การบริจาคสินค้าให้แก่สถานพยาบาล และสถานศึกษาของทางราชการ หรือให้แก่องค์การหรือสถานสาธารณกุศล
18. การขายบุหรี่ซิกาแรต ที่ผลิตโดยโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ซึ่งผู้ขายเป็นบุคคลอื่นที่มิใช่โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง
19. การขายสลากกินแบ่งของรัฐบาล สลากออมสินของรัฐบาล และสลากบำรุงสภากาชาดไทย
20. การขายแสตมป์ไปรษณีย์ แสตมป์อากร หรือแสตมป์อื่นของรัฐบาล องค์การของรัฐบาล
21. การให้บริการสีข้าว
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ผู้ประกอบการขายสินค้าหรือให้บริการในกลุ่มที่ 1 ที่มีความประสงค์ใช้สิทธิขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ซึ่งได้มีขายสินค้าหรือให้บริการราชอาณาจักรเป็นปกติธุระ มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร ซึ่งผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วเรียกว่า “ผู้ประกอบการจดทะเบียน”
ผู้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน1.8 ล้านบาทต่อปี
2. ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
3. ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศและได้ใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
4. ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร
5. ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว
กำหนดระยะเวลาการจดทะเบียน
1. สำหรับผู้ประกอบการที่มีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
2. สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มแต่มีสิทธิขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น กิจการขายหนังสือ ขายปุ๋ย ขายปลาป่น อาหารสัตว์ เป็นต้น ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน 30 วัน
3. ผู้ประกอบการซึ่งจะเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม มีสิทธิ์ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก่อนวันเริ่มประกอบกิจการได้ในเมื่อ
(1) ผู้ประกอบการดังกล่าวมีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้เตรียมการเพื่อประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและ
(2) มีการดำเนินการเพื่อเตรียมประกอบกิจการอันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้าหรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน การสร้างอาคารสำนักงานหรือการติดตั้งเครื่องจักร
แบบคำขอจดทะเบียนและเอกสารหลักฐาน
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ใช้แบบ ภ.พ.01 ที่กรมสรรพากรจัดพิมพ์ขึ้นเป็นแบบคำขอจดทะเบียนซึ่งขอรับได้จากสำนักงานสรรพากรที่รับจดทะเบียนทุกแห่ง โดยให้ยื่นพร้อมกัน 3 ฉบับ แสดงรายการให้ถูกต้องตรงกัน
ในการกรอกรายการในแบบ ภ.พ. 01 เพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นผู้ประกอบการต้องแสดงสถานภาพต่างๆของการประกอบการให้ครอบถ้วนดังมีสาระสำคัญ ได้แก่ ชื่อผู้ประกอบการ ที่อยู่สถานที่ตั้งสถานประกอบการ พร้อมทั้งลงชื่อและประทับตรานิติบุคคล(ถ้ามี) ในแบบ ภ.พ. 01 ด้วย พร้อมกับแนบเอกสาร
สถานที่จดทะเบียน
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.01 พร้อมกับแนบเอกสารดังกล่าวข้างต้น ณ สถานที่ดังต่อไปนี้
1. กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตพื้นที่ที่ สถานประกอบการตั้งอยู่
2. กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (อำเภอ) ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
3. กรณีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในท้องที่ที่สถานประกอบการอันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่เพียงแห่งเดียว
ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ใบทะเบียน ภ.พ.20 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งจะมีผลให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตามกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นต้นไป และผู้ประกอบการจดทะเบียน จะต้องแสดงใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ณ ที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่ายในสถานประกอบการเป็นรายสถานประกอบการ
การเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ การเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม ย้าย หรือโอนกิจการ ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนดังกล่าวก่อนวันที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ไม่น้อยกว่า 15 วัน
การเปลี่ยนแปลงรายการที่ประกอบกิจการ การปิดกิจการ การเลิกกิจการต้องแจ้งต่อนายทะเบียนฯ ภายใน 15 วันนับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ โดยใช้แบบ ภ.พ. 09 เป็นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีซื้อต้องห้าม
ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่นเรียกเก็บ (ภาษีซื้อ) มาหักภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บ (ภาษีขาย) เพื่อการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือนนั้นได้ต่อเมื่อภาษีซื้อนั้นเป็นภาษีซื้อที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ประมวลรัษฎากรกำหนดเท่านั้น ภาษีซื้อที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ไม่สามารถนำไปหักจากภาษีขายได้ ซึ่งเรียกว่า “ภาษีซื้อต้องห้าม” ได้แก่
1. กรณีไม่มีใบกำกับภาษี
2. กรณีมีใบกำกับภาษี แต่ไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ว่ามีการชำระภาษีซื้อ
3. กรณีมีใบกำกับภาษี แต่ใบกำกับภาษีดังกล่าวมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามมาตรา 86/4
4. ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียน
5. ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
6. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีซึ่งออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี
ภาษีซื้อที่ต้องห้ามตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
1. ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
2. ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ หรือรับโอนรถยนต์ ที่มิใช่รถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งเกิน 10 คน
3. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ
4. ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้ หรือจะนำไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
5. ภาษีซื้อที่เฉลี่ยเป็นของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
6. ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการ
7. ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น
8. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่รายการคำว่า “ใบกำกับภาษี” ตามมาตรา 86/4(1) มิได้ตีพิมพ์ขึ้นหรือมิได้จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ
9. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่รายการข้อความ หรือคำว่า “ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ประกอบการทะเบียน” ตามมาตรา 86/4(2) มิได้ตีพิมพ์ขึ้นหรือมิได้จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ
10. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป
11. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปของสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ ซึ่งสถานประกอบการสาได้นำมาออกและส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ โดยไม่มีข้อความว่า “สาขาที่ออกใบกำกับภาษีคือ...”
12. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ซึ่งออกโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการสถานบริการนํ้ามัน ในกรณีซื้อนํ้ามันเชื้อเพลิง หรือสินค้า หรือบริการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับรถยนต์
13. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบที่รายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนา (Copy) เว้นแต่ใบกำกับภาษีที่เป็น “เอกสารออกเป็นชุด”
14. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปซึ่งรายการในใบกำกับภาษีได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง เว้นแต่รายการซึ่งได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงตาม หลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
การยื่นแบบแสดงรายการ
และการชำระภาษี
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ประกอบการจดทะเบียน ได้แก่
ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 10 (ปัจจุบันอัตราภาษี มูลค่าเพิ่มลดลงเหลืออัตราร้อยละ 7 ตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 477 พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2553) หรือผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 โดยคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี
กลุ่มที่ 2 ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่
1. ผู้จ่ายเงินที่จ่ายค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ได้แก่
(1) ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ซึ่งได้เข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว หรือ
(2) ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
กลุ่มที่ 3 ผู้นำเข้า
ผู้นำเข้า ได้แก่
ผู้ซึ่งนำสินค้าเข้ามาจากต่างประเทศทั้งนี้ว่าจะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือบุคคลใดก็ตาม
แบบแสดงรายการที่ใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ได้แก่
แบบใบขนสินค้าขาเข้า ใช้สำหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เป็นผู้นำเข้าไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือไม่ก็ตาม ผู้นำเข้าต้องชำระภาษีพร้อมกับการชำระอาการขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
เครดิตภาษีและการขอคืนภาษี
ผู้ประกอบการจดทะเบียนหากคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วปรากฏว่า ภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายส่วนต่างดังกล่าวให้ถือเป็นเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ และมีสิทธิได้รับคืนภาษีหรือเครดิตภาษีไปชำระภาษี มูลค่าเพิ่มได้ตามเงื่อนไขตามมาตรา 84
การนำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม
เครดิตภาษีที่เหลืออยู่จากการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย) ผู้ประกอบการมีสิทธินำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือนถัดไปได้ โดยจะต้องพันยอดยกไปทุกเดือน จะยกเครดิตภาษีไปชำระในเดือนภาษีอื่นไม่ได้ กรณีที่ไม่ได้นำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือนถัดไป ก็ให้ขอคืนเป็นเงินสด (ใช้แบบ ภ.พ. 30 เป็นแบบคำร้องขอคืน)
การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
1. ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีเครดิตภาษีเหลืออยู่ในแต่ละเดือนภาษี (กรณีที่ไม่ประสงค์ที่จะยกไปชำระภาษีของเดือนถัดไป) (ขอคืนในแบบ ภ.พ. 30)
2. ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มไว้เกิน ผิดหรือซํ้า (ใช้แบบ ค.10)
3. ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีซึ่งนำส่งภาษีไว้เกิน ผิด หรือซํ้า (ใช้แบบ ค.10)
4. ผู้ไม่มีหน้าที่เสียภาษีแต่ได้ชำระภาษีไว้ (ใช้แบบ ค.10)
เงื่อนไขการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีดังนี้
1. การขายสินค้าหรือให้บริการในกรณีที่มีภาษีต้องขอคืน แต่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมิได้ขอคืน ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนภาษี (แบบ ค.10) ภายใน 3 ปีนับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีสำหรับเดือนภาษีนั้น
2. การขายสินค้าหรือการให้บริการกรณีอื่นให้ยื่นคำร้องขอคืนภายใน 3 ปีนับแต่วันที่ได้ชำระภาษี (มาตรา 84/1)
ความผิดทางภาษี
ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จะต้องรับผิดทางภาษีตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบด้วย
1. ความผิดทางแพ่ง ได้แก่
เบี้ยปรับ
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือบุคคลซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือมิใช้ผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีจะต้องเสียเบี้ยปรับเมื่อกระทำความผิดในกรณีดังต่อไปนี้ แต่เบี้ยปรับอาจงดหรือลดลงได้ตามระเบียบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
เงินเพิ่ม
บุคคลใดไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ จะต้องเสียภาษีเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเดือนภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ
2. ความผิดทางอาญา
การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มในประมวลรัษฎากรบุคคลผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจะต้องรับผิดทางอาญาดังนี้
ความผิดเกี่ยวกับการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1) โทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
(2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่คืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
(3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการย้ายสถานประกอบการ
(4) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการหยุดประกอบกิจชั่วคราว
(5) ผู้ครอบครองทรัพย์มรดก ผู้จัดการมรดกหรือทายาทของผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่คืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
2) โทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ตัวแทนละเลยไม่ดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนของผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร
(2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แสดงใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
(3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติมหรือปิดสถานประกอบการ
(4) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการโอนกิจการบางส่วนหรือการรับโอนกิจการทั้งหมด
(5) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการเลิกกิจการหรือการโอนกิจการทั้งหมด
การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มแบ่งออกเป็น 2 ช่วงระยะเวลา ดังนี้
1. การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเรียกเก็บ (ภาษีขาย) ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ซึ่งต้องพิจารณาทั้งจุดความรับผิดในการเสียภาษีและฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งการคำนวณเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มแยกออกเป็น 2 วิธี
2. การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ ผู้ประกอบการจดทะเบียน มีหน้าที่ต้องคำนวณหาจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระหรือขอคืนเป็นรายเดือนตามปีปฏิทิน โดยคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระได้
ใบกำกับภาษี
คือ เอกสารหลักฐานสำคัญ เนื่องจากเป็นหลักฐานในการยื่นภาษีขายและภาษีซื้อในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทำทันทีที่เกิดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม(Tax Point) พร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้า หรือรับบริการในแต่ละครั้ง
ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี
ผู้ไม่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษี
กรณีที่ไม่จำเป็นต้องออกใบกำกับภาษี
ประเภทของใบกำกับภาษี
กิจการที่ได้รับการผ่อนปรนไม่ต้องออกใบกำกับภาษี
ความรับผิดในการเสียภาษี
หมายถึง จุดที่ผู้ประกอบการถูกกำหนดโดยกฎหมายว่ามีภาระภาษีเกิดขึ้นแล้ว และเป็นจุดที่ก่อให้เกิดสิทธิบางอย่างของผู้ประกอบการจดทะเบียน เช่น มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
แยกพิจารณาตามลักษณะของการประกอบกิจการได้เป็น 4 กรณี ดังนี้
1. การขายสินค้า
2. การให้บริการ
3. การนำเข้า
4. การขายสินค้าหรือการให้บริการบางกรณี
1. การขายสินค้า
- ขายเสร็จเด็ดขาด, สัญญาจะขาย
- เช่าซื้อ/ขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อ
- การฝากขายที่เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 8)
- การส่งออก
- การขายกระแสไฟฟ้า นํ้าประปา หรือสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง
- การขายสินค้าด้วยเครื่องอัตโนมัติ
- กรณีจำหน่าย จ่าย โอนสินค้าโดยไม่มีค่าตอบแทน
- กรณีนำสินค้าไปใช้ในกิจการอื่น
- สินค้าขาดจากรายงาน
- กรณีมีสินค้าหรือทรัพย์สินในวันเลิกกิจการ
- กรณีรับโอนกรรมสิทธิ์สินค้าที่เคยเสีย VAT 0%
ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
- เมื่อมีการส่งมอบสินค้าเว้นแต่มีการโอนกรรมสิทธิ์/ รับชำระราคา/ ออก ใบกำกับภาษีก่อนการส่งมอบ
- ตามงวดที่ถึงกำหนดชำระ เว้นแต่มีการชำระราคา/ ออกใบกำกับภาษีก่อนถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด
- เมื่อตัวแทนส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า เว้นแต่ตัวแทนได้โอนกรรมสิทธิ์/ รับชำระราคา/ ออกใบกำกับภาษี/ ตัวแทนนำสินค้าไปใช้
- เมื่อมีการผ่านพิธีการทางศุลกากร
- เมื่อรับชำระราคา เว้นแต่มีการออกใบกำกับภาษีก่อน
- เมื่อนำเงินออกจากเครื่องอัตโนมัติ
- เมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่มีการโอนกรรมสิทธิ์ก่อนส่งมอบสินค้า
- เมื่อนำไปใช้
- เมื่อตรวจพบ
- เมื่อเลิกกิจการ
- เมื่อโอนกรรมสิทธิ์สินค้า
2. การให้บริการ
- การให้บริการโดยมีค่าตอบแทน
- การให้บริการโดยไม่มีสิ่งตอบแทน
- การให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและใช้บริการนั้นในไทย
- การให้บริการด้วยเครื่องอัตโนมัติ
- การรับชำระค่าบริการด้วยบัตรเครดิต
- กรณีรับโอนสิทธิ์ในบริการที่เสียภาษี VAT 0%
ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
- เมื่อรับชำระราคาเว้นแต่มีการออกใบกำกับภาษีก่อนรับชำระราคา
- เมื่อมีการใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือคนอื่น
- เมื่อชำระราคาค่าบริการ (นำส่ง VAT 7% โดยยื่น ภ.พ.36)
- เมื่อนำเงินออกจากเครื่อง (กรณีการ์ดโฟนถือว่าชำระราคาก่อนให้บริการ)
- เมื่อมีการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต
- เมื่อชำระราคาค่าบริการ
3. การนำเข้า
- การนำเข้าสินค้าทุกกรณี
- การขายของตกค้าง (โดยกรมศุลกากร)
- กรณีผิดเงื่อนไขเกี่ยวกับสินค้านำเข้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า
ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
- เมื่อผ่านพิธีการทางศุลกากร
- เมื่อได้ขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่น
- เกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
ผู้ประกอบการจะมีสิทธิหน้าที่ คือ
1. เรียกเก็บภาษีขายจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ คำนวณโดย
- คำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79/3
- คูณด้วยอัตราภาษีตามมาตรา 80 และพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 353)
2. ออกใบกำกับภาษีตามมาตรา 86
3. นำยอดขายไปลงในรายงานภาษีขายภายใน 3 วันตามมาตรา 87
4. นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขาย – ภาษีซื้อในแต่ละเดือน ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ.30
อัตราภาษี
อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่ใช้เป็นอัตราคงที่ที่รวมภาษีท้องถิ่นไว้ด้วยร้อยละ 10 อัตราภาษีที่จัดเก็บให้จัดเก็บตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร
1. อัตราทั่วไป มาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากรกำหนดให้จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 10 (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มของราชการบริหารท้องถิ่นร้อยละ 1) แต่มีพระราชกฤษฎีกาให้ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราวจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 6.3 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2559 และเมื่อรวมกับภาษีท้องถิ่นร้อยละ 0.7 จะเท่ากับ ร้อยละ 7
2. อัตราร้อยละ 0 ใช้สำหรับประกอบกิจการ 6 ประเภท ดังต่อไปนี้
2.1) การส่งออก การส่งออกสินค้าอาจแยกลักษณะการส่งออกได้เป็น 3 กรณี คือ
(1) การส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร
(2) การนำสินค้าเข้าไปในเขตอุตสาหกรรมส่งออก
(3) การขายสินค้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากร
2.2) การขายสินค้าในราชอาณาจักรและใช้บริการนั้นในต่างประเทศ การให้บริการในกรณีนี้เป็นลักษณะของการส่งออกบริการซึ่งมีดังนี้ ได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0
(1) การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรแก่ผู้รับบริการในต่างประเทศ และได้ส่งผลของการให้บริการนั้นไปใช้ในต่างประเทศทั้งหมดจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 เช่น บริษัทไทยให้บริษัทต่างประเทศใช้ลิขสิทธิ์และได้รับค่าลิขสิทธิ์ เป็นต้น
(2) การให้บริการต่อเรือเดินทะเล การให้บริการซ่อมแซมอากาศยานหรือเรือเดินทะเลที่กระทำในราชอาณาจักรโดยผู้รับบริการต้องเป็นผู้ประกอบกิจการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเล ทั้งนี้ไม่ว่าผู้รับบริการดังกล่าวจะเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศก็ตาม
(3) การให้บริการรับประกันวินาศภัยตามกฎหมายการประกันวินาศภัยโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนสำหรับทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศหรือสินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
(4) การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรเพื่อใช้ผลิตสินค้าในเขตอุตสาหกรรมส่งออกเพื่อส่งออกและการให้บริการที่กระทำในเขตอุตสาหกรรมส่งออกเพื่อใช้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกโดยผู้ประกอบการจดทะเบียน
2.3) การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเลที่กระทำโดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ไม่ว่าผู้ประกอบการนั้นจะเป็นนิติบุคคลไทยหรือนิติบุคคลต่างประเทศ
2.4) การขายสินค้าหรือการให้บริการกับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
2.5) การขายสินค้าหรือให้บริการกับองค์การสหประชาชาติ สถานทูต สถานกงศุล
2.6) การขายสินค้าหรือการให้บริการของคลังสินค้าทัณฑ์บนและของผู้ประกอบการที่อยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออกเฉพาะการขายสินค้าหรือการให้บริการที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด
การขายสินค้าหรือการให้บริการระหว่าง
(1) คลังสินค้าทัณฑ์บนกับคลังสินค้าทัณฑ์บน หรือ
(2) คลังสินค้าทัณฑ์บนกับผู้ประกอบการที่อยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก
(3) ผู้ประกอบการรับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก ไม่ว่าจะอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออกเดียวกันหรือไม่
ฐานภาษี
ฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีตามอัตราอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งแยกพิจารณาได้ดังนี้
1. การขายสินค้าหรือการให้บริการทั่วไป
2. การขายสินค้าหรือการให้บริการเฉพาะอย่าง
3. การนำเข้าสินค้า
4. การนำเข้าและการขายยาสูบ นํ้ามันดิบและผลิตภัณฑ์นํ้ามัน
5. กรณีอื่นที่กฎหมายกำหนดไว้กรณีเป็นพิเศษ