ใบความรู้หน่วยที่ 5/6

Unit 6
หลักการและวิธีการตรวจสอบความปลอดภัย

การตรวจสอบความปลอดภัย

r

เป็นวิธีการป้องกันอุบัติเหตุ โดยการเข้าไปตรวจค้นหาสาเหตุของอุบัติเหตุจากสภาพการทำงานและวิธีการทำงานที่ไม่ปลอดภัย แล้วหาวิธีการป้องกันแก้ไข

หลักการตรวจความปลอดภัย

การจัดลำดับสิ่งที่สำคัญของสิ่งที่จะทำการตรวจสอบ

r

โอกาสการเกิดอุบัติเหตุอันตราย 2. ระยะเวลาที่พนักงานสัมผัสต่อสิ่งที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ 3. ความร้ายแรง หรือผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้น 4. ความยากง่ายในการตรวจหาสาเหตุ 5. เวลาและค่าใช้จ่าย 6. ความผิดพลาดของบุคคล 7. การเห็นคุณค่าหรือประโยชน์

แผนการตรวจและแบบตรวจ

วิธีการตรวจสอบความปลอดภัย

ใครมีหน้าที่ตรวจความปลอดภัย

r

ผู้บริหารโรงงาน หรือ ผู้บริหารบริษัทผู้บังคับบัญชาระดับต้น หรือหัวหน้าหน่วยงาน หัวหน้าหน่วยจะตรวจความปลอดภัยใน 3 ลักษณะคือ - การตรวจอย่างต่อเนื่อง - การตรวจทั่วไป - การตรวจเป็นระยะ 3. วิศวกร และงานซ่อมบำรุง 4. พนักงาน 5. คณะกรรมการความปลอดภัย 6. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย

กระบวนการตรวจ

r

ขั้นตอนและกระบวนตรวจอาจแตกต่างกันบ้างในแต่ละโรงงานพนักงานตรวจต้องทราบนโยบาย, กฎหมาย, กฎกระทรวงต่าง ๆควรตรวจเพื่อยกระดับความปลอดภัยให้มีมาตรฐานสูงขึ้นการวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติอุบัติเหตุจะเป็นข้อมูลที่ดีการตรวจควรมี -แบบตรวจ : จะระบุหัวข้อที่ต้องการตรวจ โดยแต่ละแห่งจะพัฒนาขึ้นเอง -แบบรายงานการตรวจ : เป็นแบบที่ใช้รายงานขั้นสุดท้าย -บัตรวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย : เป็นบัตรรายงานวิเคราะห์งานโดยละเอียด ที่เจาะจงสาเหตุการเกิดได้

ขั้นตอนการตรวจ

การจัดทำรายงาน

r

รายงานการตรวจควรมีลักษณะดังนี้.-มีรายการสภาพการปฏิบัติงานจริงที่สมบูรณ์รายละเอียดที่ต้องปรับปรุงแก้ไขรายการการตรวจมี 3 ประเภทคือรายงานฉุกเฉิน : มีการสั่งการให้แก้ไขทันทีรายงานปกติ : รายงานการตรวจสภาพไม่พึงประสงค์รายงานเป็นระยะ : สรุปการดำเนินกิจกรรมความปลอดภัย ผลการดำเนินงานเป็นระยะ (ช่วง ๆ ) พร้อมแนบรายงานปกติไว้ด้วย

การเสนอแนะ

r

พนักงานตรวจหากมีข้อเสนอแนะควรจัดลำดับไว้ เช่น เร่งด่วน สำคัญมาก เป็นต้นข้อเสนอแนะเมื่อรับการอนุมัติจากฝ่ายบริหารก็บรรจุไว้ในโครงการปรับปรุงโรงงานพนักงานตรวจควรเฝ้าติดตามการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะอีกทางด้วยควรรายงานข้อเสนอแนะที่ปฏิบัติแล้วให้คณะกรรมการความปลอดภัยได้ทราบเป็นระยะ

การสอบสวนอุบัติเหตุ

r

เพื่อค้นหาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ แล้วหาทางป้องกันมิให้อุบัติเหตุทำนองนี้เกิดขึ้นอีกค้นหาวิธีการปฏิบัติงานที่ทำให้เกิดความผิดพลาดเป็นการค้นหาข้อเท็จจริง มิใช่หาผู้กระทำผิด โดยอาศัยบรรทัดฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องฝ่ายจัดการต้องทำความเข้าใจ เพราะอาจจะมีบางคนกลัวถูกลงโทษถ้าพนักงานไม่ให้ความร่วมมือ ความล้มเหลวในการสอบสวนจะเกิด ไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุได้ อุบัติเหตุก็ไม่หมดไปได้ลักษณะอุบัติที่มีการทำการสอบสวนอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดบาดเจ็บถึงขั้นพิการ หรือตายอุบัติเหตุที่มีการบาดเจ็บเล็กน้อย เช่น ลื่นหกล้มอุบัติเหตุที่อุปกรณ์เครื่องจักร วัตถุดิบ หรือทรัพยากรบุคคลเช่น ลื่นล้มชนเก้าอื่นไปชนกระจกแตก 4.อุบัติที่เกือบจะเกิดการบาดเจ็บ เช่น ลื่นไม่ล้ม และไม่มีการบาดเจ็บที่อวัยวะส่วนสำคัญ

เทคนิคในการสอบสวนอุบัติเหตุ

r

เทคนิคทั่วไปไป : สถานที่เกิดในทันทีที่ได้รับการแจ้งพูด : สอบถามผู้ที่เห็นเหตุการณ์ และพยานผู้ที่เห็นเหตุการณ์ฟัง : ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์สนทนา หรือวิจารณ์ส่งเสริม : ผู้ที่เห็นเหตุการณ์ออกความคิดเห็นศึกษา : สาเหตุอุบัติเหตุประชุม : ปรึกษาผู้ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการแก้ไขเขียน : รายงานอุบัติเหตุ/บันทึกอุบัติเหตุติดตามผล : ยืนยันการแก้ไขปัญหาประชาสัมพันธ์ : เพื่อผลการป้องกันอุบัติเหตุเทคนิคในการสัมภาษณ์ใครคือผู้บาดเจ็บ (บุคคล)อุบัติเหตุเกิดขึ้นที่ใด ( สถานที่ ,แผนก)อุบัติเหตุเกิดขึ้นเมื่อไร (เวลาทำไม จึงเกิดอุบัติเหตุขึ้น (ลำดับเหตุการณ์)จะสามารถป้องกันอุบัติเหตุคล้าย ๆ กัน มิให้เกิดขึ้นอีก (วิธีป้องกัน)

การรายงานอุบัติเหตุ

r

เป็นการรวบรวมข้อมูลการประสบอุบัติเหตุที่มีประสิทธิภาพ การรายงานจะกระทำโดยผ่านใบรายงานที่มีรายละเอียดบ่งชี้ทราบถึงสาเหตุอุบัติเหตุ และหาแก้ไขที่ต้นเหตุได้ การกระทำที่ไม่ปลอดภัย สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยเป็นข้อมูลสนับสนุนให้มีระบบการควบคุมการเกิดอุบัติเหตุ การจัดระบบขจัด, การป้องกันอุบัติเหตุ เช่น ระบบ JSA , KYT เพราะในแบบรายงานจะเสนอแนะวิธีการที่เป็นไปได้มาด้วยเป็นข้อมูลข้อมูลเกี่ยวกับกาารจ่ายเงินทดแทน ในรายงานจะมีความประเมินความเสียหายจากประสบเหตุ ทำให้องค์กรทราบได้ว่า ต้นเหตุจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นคิดเป็นกี่ส่วนลักษณะการรายงานอุบัติเหตุจัดระเบียบ วิธีการบันทึก และสอบสวนอย่างมีระบบมีแบบฟอร์มการบันทึก และวิธีการใช้แบบฟอร์ม ให้มีการรายงานอุบัติเหตุทุกรายไม่ว่าจะทำให้เกิดความเสียหายหรือบาดเจ็บ หรือไม่ก็ตามดำเนินการสอบสวนอุบัติเหตุทุกครั้งจัดส่งรายงานอุบัติเหตุทำให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการทุกระดับได้ทราบนำรายงานอุบัติเหตุ และมาตรการแก้ไขเข้าสู่การประชุมระดับคณะกรรมการความปลอดภัยโรงงานข้อมูลที่ควรจะได้จากการสอบสวนอุบัติเหตุลักษณะการบาดเจ็บอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไรอุบัติเหตุมีสาเหตุอย่างไรมีความบกพร่องจากการสื่อสารจนเกิดอุบัติเหตุหรือไม่ปัจจัยที่พร้อมจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรือไม่การกำหนดวิธีการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหการแยกประเภทอุบัติเหตุค่าความสูญเสีย

Unit 5
Principles and guidelines for organizing safety promotion activities หลักการและแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย

r

เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากถึงแม้ว่าองค์กรนั้นจะมีการออกแบบด้านความปลอดภัยเป็นอย่างดี หรือผู้ปฏิบัติงานได้รับการฝึกอบรมอย่างทั่วถึง หรือขั้นตอนปฏิบัติงาน จะปลอดภัยและได้บังคับใช้อย่างต่อเนื่องก็ตาม การส่งเสริมที่มีประสิทธิภาพมีความสำคัญยิ่ง เพราะการป้องกันอุบัติเหตุขึ้นอยู่กับการจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานด้วยความปลอดภัย ผู้ปฏิบัติงานต้องอาศัยความคิดของตัวเอง และต้องรักษาระเบียบวินัย เพื่อป้องกันตัวผู้ปฏิบัติงานเอง พฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานสามารถถูกกระตุ้น หรือบังคับให้เกิดได้ด้วยการส่งเสริมความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ เป็นกิจกรรมหนึ่งของสถานประกอบการ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อการรณรงค์ส่งเสริมความปลอดภัยแก่ลูกจ้างอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและแผนการดำเนินงานของสถานประกอบการนั้น ๆ จากที่ศึกษาเพิ่มเติมนอกเหนือจาก17หัวข้อในใบงาน แบ่งเป็น5หัวข้อดังนี้

1. การจัดนิทรรศการ

r

เช่น นําภาพอุบัติเหตุ สถิติการเกิดอันตราย รวมถึงภาพเหตุการณ์จริงมาจัดแสดงในวันสําคัญ เพื่อให้ลูกจ้างเกิดความตระหนักและมีจิตสํานึกในการทํางานอย่างปลอดภัย

2. การบรรยายพิเศษ

r

เช่น เชิญวิทยากรมาให้ความรู้แก่บุคลากรในหน่วยงานอันเป็นการปลูก จิตสํานึกให้ปฏิบัติตามกฎแห่งความปลอดภัย     

3. การสนทนาความปลอดภัย

r

เป็นกิจกรรมที่สถานประกอบการจัดในรูปแบบการประชุม การพูดคุย หรือการอภิปรายเกี่ยวกับความปลอดภัย มีการสนทนา เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เสนอแนะ แลกเปลี่ยนความรู้ด้านความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงาน หรือโดยนำผู้ชำนาญการเฉพาะเรื่องมาร่วมสนทนาพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้มีการซักถามทำให้เกิดแนวคิดสร้างสรรค์ และได้ข้อสรุปนำไปดำเนินการต่อไป ตัวอย่าง ประชุมงานความปลอดภัยประจำสัปดาห์ , การประชุม Safety Talk หรือ Morning Talk เป็นต้น

4. การประกวดคำขวัญความปลอดภัย

r

เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้พนักงานทุกระดับได้มีส่วนร่วมในการรณรงค์ โดยการพัฒนาจิตสำนึก และทัศนคติของพนักงานในรูปข้อความ หรือคำขวัญที่เป็นการเตือนให้เกิดความระมัดระวัง หรือเสริมสร้างความปลอดภัยในการทำงาน สถานประกอบการสามารถจัดการประกวดเอง ส่วนกติกาการประกวดอาจกำหนดขึ้นเอง

5. การประกวดภาพโปสเตอร์

r

เป็นกิจกรรมเพื่อให้ลูกจ้างของสถานประกอบการมีส่วนร่วมในการผลิตสื่อ ประชาสัมพันธ์ในการกระตุ้นจิตสำนึกด้านความปลอดภัย ส่วนกติกาของการประกวดสถานประกอบการสามารถกำหนดได้เอง 

6. การประกวดการรายงานสภาพงานที่ไม่ปลอดภัย

r

เป็นกิจกรรมเพื่อให้พนักงานได้สำรวจสภาพการทำงาน ค้นหาจุดที่ไม่ปลอดภัย ดำเนินการถ่ายภาพ บันทึกจากจุดอันตรายจากขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ เสนอภาพและรายงานข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาคัดเลือก สามารถนำมาปรับปรุงแก้ไขสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย

7. การประกวดความสะอาด

r

เป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากลูกจ้างทุกคนในแต่ละแผนก และเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดกิจกรรม 5ส เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน การประกวดความสะอาดจะเป็นกิจกรรมที่ง่าย และก่อให้เกิดสุขภาพอนามัยที่ดีของลูกจ้างและผู้บริหาร อันนำไปสู่ความปลอดภัยในการทำงาน

8. การจัดฉายวีดีโอความปลอดภัย

r

การจัดฉายวิดีโอความปลอดภัย เป็นกิจกรรมที่จัดไปพร้อมกับนิทรรศการในวันหรือสัปดาห์ ความปลอดภัย โดยขอยืมวิดีโอความปลอดภัยจากสถาบันความปลอดภัยในการทํางานหรือศูนย์ความ ปลอดภัย นําไปฉายให้เจ้าหน้าที่ได้ดู เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจ ความรู้สึกที่ดีต่อผู้ปฏิบัติหน้าที่จะทําให้การทํางานด้านความปลอดภัยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

9. การรณรงค์การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

r

เมื่อสถานประกอบการได้จัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยที่เหมาะสมให้ลูกจ้างสวมใส่แล้ว ควรจัดการรณรงค์ให้ลูกจ้างใช้ เนื่องจากสถานประกอบการส่วนใหญ่จะประสบปัญหาลูกจ้างไม่นิยมใช้ ทำให้เกิดการสูญเปล่า การรณรงค์จะดำเนินการในช่วงใดช่วงหนึ่ง มีการประกวด แข่งขัน ให้รางวัลแก่ลูกจ้างที่ส่วมใส่ถูกต้องและครบถ้วน

10. การรณรงค์กิจกรรม 5ส

r

สถานประกอบการต้องประกาศเป็นนโยบายและต้องกระทำโดยลูกจ้างทุกคน ทุกระดับโดยมีผู้บริหารระดับสูงลงมาตรวจตราเป็นระยะ ๆ เพื่อกระตุ้นเตือนให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญและปฏิบัติกิจกรรม 5ส (สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ และสร้างนิสัย) อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

11. การรณรงค์ด้วยโปสเตอร์และสัญลักษณ์ความปลอดภัย

r

โปสเตอร์และสัญลักษณ์ความปลอดภัยเป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการเตือนให้ระวังและสามารถสร้างจิตสำนึกของคนงานให้เกิดความตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น โปสเตอร์ต่าง ๆ

12. การรณรงค์ลดอุบัติเหตุเป็นศูนย์ด้วย KYT

r

การจัดกิจกรรมรณรงค์ความปลอดภัยเพื่อเชิญชวนให้ทุกคนร่วมกันปฏิบัติตามนโยบายของหน่วยงาน สถานประกอบการสามารถดำเนินการโดยใช้เทคนิค KYT ด้วยวิธีการฝึกอบรมลูกจ้างให้หยั่งรู้อันตรายที่จะเกิด และให้มีการย้ำเตือนตนเอง เพื่อให้สามารถลดอุบัติเหตุให้เป็นศูนย์  

13. การทำแผ่นป้ายแสดงสถิติอุบัติเหตุหรือป้ายประกาศ

r

สถานประกอบการสามารถจัดทำแผ่นป้ายขนาดใหญ่แสดงสถิติอุบัติเหตุ หรือป้ายประกาศกิจกรรมด้านความปลอดภัยปิดไว้หน้าโรงงานในตำแหน่งที่เห็นได้ชัด บางแห่งอาจเขียนไว้ข้างฝาด้านหน้าของโรงงาน เพื่อให้คนงานมีจิตสำนึกให้ความร่วมมือในการลดสถิติของอุบัติเหตุ

14. การตอบปัญหาชิงรางวัล

r

สถานประกอบการอาจจัดให้มีการตอบปัญหาชิงรางวัลในช่วงงานสัปดาห์ความปลอดภัยของสถานประกอบการ วิธีการตอบปัญหาจากภาพนิทรรศการ หรือเอกสารที่แจกในงาน หาจุดอันตรายจากภาพเหตุการณ์จริง และมอบรางวัลโดยคณะกรรมการจัดงาน

15. การกระจายเสียงบทความ

r

สถานประกอบการบางแห่งมีการประชาสัมพันธ์ โดยการส่งเสียงตามสายภายในบริเวณโรงงานหรือโรงอาหาร คณะกรรมการความปลอดภัยฯ นำบทความเกี่ยวกับความปลอดภัยออกเสียงตามสาย เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้แก่ลูกจ้าง รวมทั้งมาตรการแก้ไขสภาพการทำงานจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจริงในบริเวณโรงงานด้วย

16. การเผยแพร่บทความในวารสาร

r

สถานประกอบการที่ได้จัดทำวารสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ แจกจ่ายแก่ลูกจ้างหรือลูกค้าสามารถนำบทความเกี่ยวกับความปลอดภัยไปตีพิมพ์ในวารสาร เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านความปลอดภัยได้มากยิ่งขึ้น

17. การทัศนศึกษาในสถานประกอบการอื่น

r

การทัศนะศึกษาในสถานประกอบการอื่นเพื่อให้ลูกจ้างได้มีโอกาสไปพบการทํางานในสถานประกอบการที่ดีเด่น เพื่อนำมาปรับปรุงสภาพการทำงานของตนให้ดีขึ้น โดยขอความร่วมมือสถานประกอบการดีเด่นที่ได้รับรางวัล หรือสถานประกอบการที่ดำเนินการด้านความปลอดภัยที่เป็นตัวอย่างที่ดี เพื่อขอเข้าเยี่ยมชม

18. การประกวดพนักงานสวมเครื่องป้องกัน

19. การประกวดพนักงานตัวอย่าง

20. การประกวดพนักงานดีเด่นด้านความปลอดภัยประจำปี

21. เลี้ยงสังสรรค์ฉลองความสำเร็จด้านความปลอดภัย

22.Health checks and fitness tests
การตรวจสุขภาพและการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย

r

การตรวจสุขภาพของแต่สถานประกอบการ จะมีรายการตรวจแตกต่างกันไป แต่โดยพื้นฐานทั่วไปมักตรวจอยู่ที่ประมาณ 7 รายการ ซึ่งเป็นการตรวจหาปัจจัยเสี่ยงพื้นฐานสำคัญที่มักใช้ประกอบการพิจารณาหลังจากสัมภาษณ์งาน หรือสัมภาษณ์ผ่านแล้ว ได้แก่ ตรวจเอกซเรย์ปอด ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตรวจหาหมู่เลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ ตรวจวัดสายตาด้วยคอมพิวเตอร์ ตรวจตาบอดสี เป็นต้น

23. ชมเชยพนักงานที่ไม่เคยป่วยในงาน

24. การพบปะรายบุคคล

25. แถลงนโยบาย

26. ประกวดความคิด

27. Training การฝึกอบรม

r

เป็นการพัฒนาบุคลากรในสถานประกอบให้การมีความรู้ ด้านชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนทัศนคติ และ การปฏิบัติงาน ด้านความปลอดภัยที่ถูกต้อง สามารถทำได้ในรูปแบบ On the job training และ Out the job training ตัวอย่าง การอบรม 5 ส เพื่อความปลอดภัย, การอบรมความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องจักร,  การอบรมพนักงานใหม่ตามคู่มือความปลอดภัย

28. Emergency Preparedness Activities กิจกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับรับเหตุฉุกเฉิน

r

เหตุฉุกเฉิน คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสภาพการปฏิบัติงานที่ไม่ปกติ หรือนอกเหนือจากกระบวนการผลิตทั่วไป เมื่อเกิดแล้วมีผลกระทบรุนแรงต่อทรัพย์สิน สภาพแวดล้อม และบุคคลากร รวมทั้งไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์ได้ทันที ต้องอาศัยการควบคุมจากหน่วยงานภายใน และภายนอกสถานประกอบการ เหตุฉุกเฉินในสถานประกอบการต้องดำเนินการป้องกันอย่างเป็นระบบ และต้องมีการซ้อมแผนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งตัวอย่าง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการ , การป้องกันและระงับเหตุการณ์สารเคมีรั่วไหล เป็นต้น

29. Off-work safety activities
กิจกรรมความปลอดภัยนอกงาน

r

เป็นการดูแลสุขภาพอนามัย ความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานนอกเหนือจากการทำงานในสถานประกอบการ ตัวอย่าง 1. การดูแลความปลอดภัยรถรับส่งพนักงาน  2. กิจกรรมเมาไม่ขับ ตรวจวัดแอลกอฮอล์  3. กิจกรรมขับขี่ปลอดภัย เป็นต้น

30.Other safety activities
กิจกรรมด้านความปลอดภัยด้านอื่น ๆ

r

เป็นกิจกรรมที่เจ้าหน้าที่ด้านปลอดภัยในการทำงาน ต้องดำเนินการให้มีในสถานประกอบการเพื่อให้มีการดำเนินงานด้านความปลอดภัยอย่างเป็นระบบ ตัวอย่าง การจัดทำนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน , การจัดทำคู่มือความปลอดภัยในการทำงาน, กล่องรับความคิดเห็นด้านความปลอดภัย (Safety Suggestion)