กรณีศึกษา (case study)
Closed fracture neck left femur
ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไปอผู้ป่วย: นางสงบ แสงเปล่า อายุ 83 ปี เพศ หญิง สถานะภาพสมรส: สมรส เชื้อชาติ ไทย สัญชาติไทย ศาสนาพุทธ
ระดับการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4
ที่อยู่ ปัจจุบัน อ.เมือง จ.อุดรธานี
วันที่รับไวในโรงบาล : 27 กุมภาพันธ์ 2568
วันที่ได้รับไว้ในความดูแลตั้งแต่3 มีนาคม 2568 ถึง 5 มีนาคม 2568
อาการสำคัญ (cc): ปวดสะโพกซ้าย 1 วันก่อนมา
การวินิจฉัยโรคแรกรับ : Closed fracture neck left femur ( กระดูกคอของกระดูกต้นขาซ้ายหักแบบปิด )
แผนการรักษา Skin traction รอการผ่าตัด
ล่าสุด ผ่าตัด: Bipolor hemiorthorplasty left hip วันที่ 04/03/68
ข้อมูลการเจ็บป่วย
อาการสำคัญ (cc): ปวดสะโพกซ้าย 1 วันก่อนมา
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต (PH): HNP (Herniated Nucleus Pulposus ภาวะหมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ) รักษา กายภาพที่โรงพยาบาลอุดร รักษาหายแล้ว ไม่ต้องติดตามอาการอีกต่อไป
ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน( PI) : 8 ชม.ก่อนมา ผู้ป่วยเดินเข้าห้องน้ำแล้วหกล้ม ปวดสะโพกซ้าย ไม่มีศรีษะกระแทกพื้น หลังล้มเดินไม่ได้ และปวดสะโพกซ้ายมาก ญาติจึงนำส่งโรงพยาบาล
ประวัติการแพ้ยา : ปฎิเสธการแพ้ยาประวัติการใช้สิ่งเสพติด : ปฎิเสธการใช้ยาเสพติด ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว(PH) : ปฎิเสธการเจ็บป่วยในครอบครัว
แบบประเมินสภาพผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพของการ์ดดอน ที่พบปัญหา
1.แบบแผนการรับรู้สุขภาพและการดูแลสุขภาพแลสุขภาพ
ข้อมูลจากการสัมภาษณ์
ก่อนการเจ็บป่วยครั้งนี้:
ผู้ป่วยทราบว่าตนเองมีอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นรักษาด้วยการกายภาพที่โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี เวลาเจ็บป่วยเล็กน้อยก็จะไปรักษาที่อนามัยใกล้บ้านและ โรงพยาบาลอุดรศูนย์อุดรธานีตรวจสุขภาพ เป็นประจำ ได้รับวัคซีนโควิด 2 เข็ม ผู้ป่วยบอกว่ามีอาการท้องผูกบ่อยๆ บางครั้งต้องกินยาระบาย ออกกำลังกาย
โดยการเดิน เเกว่งแขน บริเวณบ้าน ไม่ดื่มเหล้าสูบบุหรี่ ขณะเจ็บป่วย:
ผู้ป่วยบอกว่า ตนเองล้มปวดต้นขามากเดินไม่ได้ลูกจึงนำส่งโรงพยาบาล ไม่เคยรักษาด้วยการผ่าตัดมาก่อน ไม่รู้ต้องเตรียมตัวยังไงและรับรู้ว่าตนเองไม่แข็งแรงเหมือนเดิม ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง พูดคุยรู้เรื่อง
รู้วันเวลาสถานที่ให้ความร่วมมือกับการรักษาเป็นนอย่างดี ผู้ป่วยคาดหวังว่าอยากหายและได้กลับบ้าน เป็นห่วงลูกหลาน
ข้อมูลจากการสังเกต, การตรวจร่างกายและรายงานผู้ป่วย
ผู้ป่วยเพศหญิง สูงอายุ อายุ 83ปี ผิวขาวเหลือง รูสึกตัวดี ผู้ป่วย ช่วยเหลือตัวเองได้บางส่วน Barthel ADL = 10 คะแนน อยู่ในกลุ่ม ภาวะพึ่งพาผู้อื่นบางส่วน มีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสขณะพูดคุย และ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดี เต็มใจในการตอบคำถาม ลักษณะทั่วไป(Generalappearance):
ผู้ป่วยเพศหญิง วัยสูงอายุ อายุ 83 ปี รูปร่างผอม ผิวสีขาวเหลือง ผมสีดำแชมงอกหายใจได้เองไม่มีหอบเหนื่อยและรู้สึกตัวดี ถามตอบรู้เรื่อง บริเวณต้นขาซ้ายมีอาการปวดขาซ้าย on skin traction ขาซ้าย On Haparin lock แขนข้างขวา ผู้ป่วยสามารถกระดกเท้าได้เล็กน้อย ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้บางส่วน (เดินไม่ได้) ระดับความรู้สึกตัว ประเมิน Glasgow Coma Scale ได้ EAVSM6 คือ ลืมตาเอง พูดคุยได้ตามปกติ ทำตามคำสั่งได้ สีหน้ายิ้มแย้มดี
สรุปปัญหา 1.ขาดความรู้ในการปฎิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัด
แบบแผนที่ 4แบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
ก่อนการเจ็บป่วย:
การรับประทานอาหาร การอาบนํ้า การขับถ่าย
การเคลื่อนไหวร่างกายทั่วไป การปฏิบัติกิจกรรมอื่นๆ
กิจกรรม ที่ทําในเวลาว่าง อยู่ในระดับ 0 คือ ช่วยเหลือตนเองได้เต็มที่
-กิจกรรมที่ทำในเวลาว่าง ดูโทรทัศน์ ดูข่าว
-การออกกำลังกาย โดยการเดินแกว่งแขนบริเวณรอบบ้าน
ขณะเจ็บป่วย:
การรับประทานอาหาร การขับถ่าย การอาบนํ้า
การเคลื่อนไหวร่างกายทั่วไป
อยู่ในระดับ 2 คือ ต้องได้รับความช่วยเหลือและการดูแลจากบุคคลอื่น
กิจกรรมที่ทําในเวลาว่างผู้ป่วยให้ข้อมูลว่า นอนหลับพักผ่อน
-การออกกำลังกาย ไม่ได้ออกกำลังกาย
ข้อมูลจากการสังเกต, การตรวจร่างกายผู้ป่วยหายใจได้เอง ไม่มีอาการหอบเหนื่อย
-Pain score 7/10 เวลาขยับขามากๆ
ผู้ป่วย on skin traction ที่ขาซ้าย
-ผู้ป่วยมีแผลผ่าตัดที่บริเวณขาซ้าย
การตรวจทางห้องปฎิบัติ/การตรวจพิเศษ28/02/68
แลป CBC
Hb 11.4 ต่ำ
(ค่าปกติ12-15 gm/dl)
WBC 10760 cells ปกติ
(ค่าปกติ: 4,000 - 11,000 cells/µL)
PLT173,000 ปกติ
(ค่าปกติ150,000–400,000 cells/up)
INR 1.05 สูง
(ค่าปกติ 0.8 – 1.1)
HCT 34.2 ต่ำ
( ค่าปกติ37-47%)
PTT 23.2 วินาที ต่ำ
(ค่าปกติ25-35 วินาที)
- PT 11.8 ปกติ
(ค่าปกติ 11-13.5
แลป bun creatine
-BUN 15 mg/dl ปกติ
(ค่าปกติ 10-20 mg/dl )
-Cr 0.67 mg/dl ปกติ
(ค่าปกติ 0.6-1.2 mg/dl)
สรุปปัญหา 1.ผู้ป่วยปวดต้นขาซ้ายจากการผ่าตัด
2.ผู้ป่วยเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการดึงถ่วงน้ำหนักแบบ skin traction
3.ผู้ป่วยเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
4.ผู้ป่วยเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากการเคลื่อนไหวร่างกายลดลง
แบบแผนที่ 5แบบแผนการพักผ่อนและนอนหลับ
ก่อนการเจ็บป่วย:
ผู้ป่วยนอนหลับ 3-4 ชั่วโมง
ผู้ป่วยบอกว่านอนไม่หลับ หลับๆตื่น ขณะเจ็บป่วย:
ผู้ป่วยนอนหลับ 3-4 ชั่วโมง ผู้ป่วยบอกว่านอนหลับๆตื่นๆเนื่องจากถูกรบกวนจากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง ปกติเป็นคนนอนดึก นอนไม่หลับ
ข้อมูลจากการสังเกต, การตรวจร่างกายและรายงานผู้ป่วย ผู้ป่วยนอนระหว่างวัน มีสีหน้าอ่อนเพลียเล็กน้อย ผู้ป่วยบอกว่ากลางคืนนอนไม่หลับ เพราะมีเสียงรบกวนจากเพื่อนข้างเตียง
สรุปปัญหา 1.การนอนหลับพักผ่อนไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
2.ผู้ป่วยเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการดึงถ่วงน้ำหนักแบบ skin traction
ข้อมูลสนับสนุน: (SD and OD )
SD :
-ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายได้น้อยเนื่องจากปวดต้นขา on SkinTraction ขาซ้าย
OD :
-DX:Closed fracture neck left femur
( กระดูกคอของกระดูกต้นขาซ้ายหักแบบปิด )
-Pain score 7/10
วัตถุประสงค์
ป้องกันอาการแทรกซ้อนและ
ส่งเสริมการใส่ Skin traction
ให้มีประสิทธิภาพ
เกณฑ์การประเมิน:
1.การทำงานของ SkinTraction ถูกต้อง
2.ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ Skin traction ผิวหนังไม่มีรอยแดง
3. ข้อต่อต่างๆ เคลื่อนไหว
ได้ดีไม่ยึดตัด
4.กล้ามเนื้อไม่เหี่ยวลีบ เลือดไหลเวียนได้ดี
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
1.ประเมินสัญญาญชีพทุก4 ชั่วโมง(โดยเฉพาะความดันโลหิต)
2.ประเมินอาการและความรุนแรงของการปวด pain score
3.ย้ำถึงความจำเป็นในการดึงถ่วงน้ำหนักและความสำคัญของ
การจัดท่านอนผู้ป่วยให้ถูกต้องเพื่อให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือ เช่นนอนให้ขากางออก (abduction)เล็กน้อย ลำตัวและขาเป็น
แนวเดียวกับน้ำหนักที่ถ่วง
4. ดูแลการดึงถ่วงน้ำหนักให้มีประสิทธิภาพได้แก่ไม่ยกตุ้ม
น้ำหนักออกโดยไม่จำเป็น ตรวจ
เชือกที่ดึงถ่วงน้ำหนักให้ตึงและอยู่บนรอกเสมอ ตุ้มถ่วงน้ำหนักต้อง
แขวนลอยอย่างอิสระไม่ติดกับขอบเตียงหรือติดพื้น และไม่แกว่ง
ไปมา
5. ดูแลให้ Elastic bandage ที่พันไม่แน่นหรือหลวมเกินไป
6. หมั่นตรวจผิวหนังบริเวณที่พัน
Elastic bandage เพราะผู้ป่วยอาจแพ้ผ้าพัน (Adhesive plaster) ได้
7.ให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวล หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือน เพื่อไม่ให้เป็นการกระตุ้นให้เกิดความเจ็ปปวดมากขึ้น
8. พลิกตะแคงตัวทุก 2 ชั่วโมงและหมั่นตรวจผิวหนังบริเวณที่ถูก
กดทับหรือบริเวณที่มีปุ่มกระดูก
9.กระตุ้นให้ผู้ป่วยออกกำลังกล้ามเนื้อและมีการเคลื่อนไหว
ข้อต่างๆ (ROM)
ประเมินผลการพยาบาล
ประเมินวันที่ 5 มีนาคม 2568
1.ขณะใส่SkinTraction ไม่ติดกับขอบเตียงหรือติดพื้นและไม่แกว่งไปมา Elastic bandage ที่พันไม่แน่นหรือหลวมเกินไป
2.ผิวหนังบริเวณที่พันElastic bandage ไม่มีแดงบวม หรืออาการแพ้ ผิวหนังไม่มีรอยแดง
3. ข้อต่อต่างๆ เคลื่อนไหว ได้ดีไม่ยึดตัดขัด ผู้ป่วยสามารถกระดกข้อเท้าได้
4.กล้ามเนื้อไม่เหี่ยวลีบ เลือดไหลเวียนได้ดี บริเวณปลายเท้าเล็บ ไม่ซีด
3.ผู้ป่วยเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
ข้อมูลสนับสนุน: (SD and OD )
SD :
-ผู้ป่วยมีแผลผ่าตัดที่บริเวณต้นขาซ้าย
OD :
-DX:Closed fracture neck left femur
( กระดูกคอของกระดูกต้นขาซ้ายหักแบบปิด )
-ผ่าตัด: Bipolor hemiorthorplasty left hip วันที่ 04/03/68
-Pain score 7/10
- T 37.5 c
วัตถุประสงค์
ป้องกันอาการอักเสบและติดเชื้อของแผลผ่าตัด
เกณฑ์การประเมิน:
1.สัญญาณชีพปกติ
2. แผลผ่าตัดสะอาด แห้ง บริเวณผิวหนัง
รอบๆ ไม่มี บวม แดง
3. สารคัดหลั่ง ไม่สัมผัสกับแผลผ่าตัดนาน
4.ไม่มีอาการปวด ไม่มีไข้
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
1.ประเมินสัญญาญชีพทุก4 ชั่วโมง(โดยเฉพาะความดันโลหิต)
2.ประเมินอาการและความรุนแรงของการปวด pain score
พูดคุย ปลอบโยน ให้กำลังใจ แสดงออกด้วยท่าทางเห็นอกเห็นใจ เข้าใจถึงความเจ็บปวด
3. ประเมินลักษณะของแผลและสารคัดหลั่ง ให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวล รวดเร็ว และรบกวนผู้ป่วยน้อยที่สุด
4.ให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวล หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือน เพื่อไม่ให้เป็นการกระตุ้นให้เกิดความเจ็ปปวดมากขึ้น
5.. ทำแผลโดยยึดหลักAseptic technique หมั่นเปลี่ยนผ้าก๊อซ ปิดแผลบ่อยๆ เมื่อมีสารคัดหลั่งไหลออกมาจากแผลเพื่อป้องกันการระคายเคืองต่อผิวหนัง
6.. สังเกตและบันทึกลักษณะ สี ของสารคัดหลั่ง
7. ดูแลบริเวณแผลและจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม สุขสบาย เพื่อให้ผู้ป่วยได้พักผ่อน
8. ติดตามผลการตรวจทาง ห้องปฏิบัติการ
9. ให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการ และติดตามผลข้างเคียงของยา
ประเมินผลการพยาบาล
ประเมินวันที่ 5 มีนาคม 2568
1.สัญญาณชีพ ผู้ป่วยมีไข้ต่ำๆ
- BP 127/79 mmhg T 37.5 c
P 65 ครั้งต่อนาที RR 18 ครั้งต่อนาที
2. แผลผ่าตัดแห้งสะอาดดี แผลเย็บติดกันสม่ำเสมอ ไม่มีอาการบวมแดง
3. แผลผ่าตัดแห้งดี ไม่มีเลือดซึมออกมา
4. ผู้ป่วยบอกว่าปวดลดลง
pain score6/10
5.ผู้ป่วยขาดความรู้ในการปฎิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัด
SD:
-ป่วยนอนหลับ 3-4 ชั่วโมง ผู้ป่วยบอกว่านอนหลับๆตื่นๆเนื่องจากถูกรบกวนจากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง ปกติเป็นคนนอนดึก นอนไม่หลับ
-ผู้ป่วยบอกว่าไม่ทราบการปฎิบัติตัวก่อนการผ่าตัด
-สีหน้าวิตกกังวล
OD :
-DX:Closed fracture neck left femur
( กระดูกคอของกระดูกต้นขาซ้ายหักแบบปิด )
-ผ่าตัด: Bipolor hemiorthorplasty left hip วันที่ 04/03/68
วัตถุประสงค์
1.เพื่อลดความวิตกกังวล
2.เพื่อให้ผู้ป่วยปฎิบัติตัวได้ถูกต้อง
เกณฑ์การประเมิน:
1.ผู้ป่วยสามารถคลายความกังวลได้
2ผู้ป่วยมีความรู้และความเข้าใจในการปฎิตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดสามาถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องทั้งก่อนและหลังผ่าตัด
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
ประเมินผลการพยาบาล
ประเมินวันที่ 5 มีนาคม 2568
1.ผู้ป่วยมีสีหน้าสดชื่น สัญญาณชีพก่อนผ่าตัด BP 116/56 mmhg T 36.7 c
P 67 ครั้งต่อนาที RR 18 ครั้งต่อนาที
2.ผู้ป่วยได้รับการอาบน้ำ สระผม ตัดเล็บ ใส่สายสวนปัสสาวะ ก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยเข้าใจและให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่
สัญญาณชีพหลังผ่าตัด BP 126/89 mmhg T 36.9 c P 64 ครั้งต่อนาที RR 18 ครั้งต่อนาที หลังผ่าตัดผู้ป่วยนอนกางขาเป็นไปตามแผนการรักษา
1.วัดสัญญาณชีพก่อนเข้าและออกจากห้องผ่าตัด
2.ประเมินความเข้าใจก่อนเข้ารับการผ่าตัด
3.อธิบายเหตุผลของการผ่าตัดในครั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจ
และไม่กังวน
4.แนะนำการปฎิบัติตัวก่อนและหลังได้รับการผ่าตัด สอนวิธีการหายใจ กระตุ้นให้หายใจเข้าออกลึกๆ ยาวๆ โดยหายใจเข้าเต็มที่ยาวๆ และผ่อนลมหายใจออกทางปากช้าๆ ในลักษณะการเป่าปาก เหมือนผิวปาก เพื่อให้ปอดขยายตัวได้เต็มที่ ถุงลมในปอดมีการยืดขยาย ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซได้ดี
5.แนะนำให้ผู้ป่วยดูแลตัวก่อนจะมีนัดเข้ารับการผ่าตัดเช่น ตัด โกนหนวด ตัดเล็บ อาบน้ำ สระผม ถอดฟันปลอม ถอดเครื่องประดับต่างๆให้เสร็จสิ้นก่อนเข้ารับการผ่าตัด
6.ดูแลผู้ป่วยให้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ อย่างน้อย 8 ชั่วโมง
ทั้งทางร่างกายและจิตใจเพื่อให้แข็งแรง ไม่อ่อนเพลียก่อนผ่าตัด
7.ก่อนการเข้ารับการผ่าตัด1วันจะงดน้ำงดอาหาร หลังเวลาเที่ยงคืนเป็นต้นไปจนถึงการผ่าตัดเสร็จ
9.ประเมินอาการผู้ป่วยหลังออกจากห้องผ่าตัด
10.ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์และเฝ้าระวังผลข้างเคียงของยา
4.ผู้ป่วยเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากการเคลื่อนไหวร่างกายลดลง
SD:
-ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายได้น้อยเนื่องจาก ปวดต้นขาซ้าย on SkinTraction ขาซ้าย
-ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระ น้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
-ผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะเนื่องจากผ่าตัด
OD:
-DX:Closed fracture neck left femur
( กระดูกคอของกระดูกต้นขาซ้ายหักแบบปิด )
-ผ่าตัด: Bipolor hemiorthorplasty left hip วันที่ 04/03/68
วัตถุประสงค์
ไม่เกิดแผลกดทับ ไม่มีอาการข้อติดแข็ง และอาการท้องผูก
เกณฑ์การประเมิน:
1.ผิวหนังไม่มีรอยแดงไม่เกิดการฉีกขาดของผิวหนังหรือแผลถลอก
2. ผิวหนังชุ่มชื้นและมีความยืดหยุ่นดี
3.ข้อต่างๆ ไม่เกิดการติดยึดสามารถเคลื่อนไหวได้ตามขอบเขตการเคลื่อนไหวของแขนขา
4.ขับถ่ายอุจจาระได้ตามปกติ.ลักษณะอุจจาระปกติไม่เป็นก้อนแห้ง แข็ง
ขับถ่ายอุจจาระได้ทุกมากกว่า3ครั้งต่อสัปดาห์
5.ไม่มีอาการท้องอืด ปวดแน่นท้อ
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
1. ประเมินสภาพผิวหนังโดยการสังเกตว่ามีรอยแดงหรือ
รอยกดทับหรือไม่โดยเฉพาะผิวหนังบริเวณที่มีปุ่มกระดูกต่างๆ และประเมินอาการไม่ถ่ายอุจจาระ
2. ดูแล perinem ให้สะอาดอยู่เสมอ ดูแลผ้าปูที่นอนให้สะอาดแห้ง และเรียบตึงอยู่เสมออาจเสริมที่นอนฟองน้ำหรือที่นอนลม (Apha-bed) ให้ผู้ป่วยเพื่อช่วยกระจายแรงกดทับไม่ให้กดผิวหนังบริเวณหนึ่งบริเวณใดมากเกินไป
3. ดูแลและสอนญาติให้นวดหลังและผิวหนังบริเวณที่มีปุ่มกระดูก เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ถ้าผิวหนังแห้งให้ทาน้ำมันหรือโลชั่น
ช่วยให้ผิวหนังมีความชุ่มขึ้นขึ้น
4.พลิกตะแคงตัวอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง การเลื่อนตัวผู้ป่วยขึ้นหัวเตียง การพลิกตะแดง ตัวผู้ป่วยควรทำด้วยความนุ่มนวลไม่ควรให้ผิวหนังดูเสียดสีกับที่นอนเพราะจะทำให้เกิดแผลถลอกได้ง่าย
5. จัดท่าศรีษะสูงเล็กน้อย เพื่อให้หายใจสะดวก กระตุ้นให้หายใจเข้าออกลึกๆ ยาวๆ โดยหายใจเข้าเต็มที่ยาวๆ และผ่อนลมหายใจออกทางปากช้าๆ ในลักษณะการเป่าปาก เหมือนผิวปาก เพื่อให้ปอดขยายตัวได้เต็มที่ ถุงลมในปอดมีการยืดขยาย ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซได้ดี
และดูแลส่วนต่างๆ ของร่างกายให้อยู่ในท่าที่ถูกต้องโดยใช้
เครื่องช่วย เช่น ใช้หมอนรอง
6.บริหารข้อต่างๆ กระดกข้อเท้า เหยียดแขนขา 10-15 ครั้ง
7.กระตุ้นให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6 - 8 แก้ว และ กระตุ้นให้รับประทานผักและผลไม้ให้มาก ๆ โดยสร้างความตระหนักถึงโทษของการเกิดท้องผูก
8. ดูแลให้ได้รับยาระบายหรือสวนอุจจาระเมื่อจำเป็นตามแผน
การรักษา
9. สังเกตความถี่ปริมาณ และลักษณะอุจจาระที่ขับถ่ายออกมา
ประเมินผลการพยาบาล
ประเมินวันที่ 5 มีนาคม 2568
1.ผิวหนัง ก้นกบ ไม่มีรอยแดงไม่เกิดการฉีกขาดของผิวหนังหรือแผลถลอกตามตัว
2. ผิวหนังผิวหนัง ชุ่มชื้นไม่แห้งหลุดลอกและมีความยืดหยุ่นดี
3.ข้อต่อต่างๆ เคลื่อนไหว ได้ดีไม่ยึดตัดขัด ผู้ป่วยสามารถกระดกข้อเท้าได้ ไม่มีการหอบเหนื่อย
4.ผู้ป่วยขับถ่ายอุจจาระน้อยกว่า3 ครั้งสัปดาห์ ได้รับการสวนอุจจาระ 1 ครั้ง จึงขับถ่าย
5.ไม่มีอาการท้องอืด ปวดแน่นท้อง
1.ผู้ป่วยไม่สุขสบายเนื่องจากปวดต้นขา
ข้อมูลสนับสนุน: (SD and OD )
SD :
-ผู้ป่วยบอกว่าปวดข้อเข่าเวลาขยับแสดงสีหน้า หน้านิ้ว คิ้วขมวดเวลาขยับตัว
OD:
- DX:Closed fracture neck left femur
( กระดูกคอของกระดูกต้นขาซ้ายหักแบบปิด )
-pain score =7/10
-ผ่าตัด: Bipolor hemiorthorplasty left hip วันที่ 04/03/68
วัตถุประสงค์
ไม่มีอาการปวดต้นขา
เกณฑ์การประเมิน:
1.ผู้ป่วยบอกว่าปวดแผลน้อยลงสุขสบายขึ้น pain score น้อยกว่า 5 หรือ 0
2.Vital signs stable (โดยเฉพาะ ค่าBP ความดันโลหิต )
3. การทำงานของ SkinTraction ถูกต้อง
4.ไม่มีพฤติกรรมแสดงว่าเจ็บปวด เช่น หน้านิ่วคิ้วขมวด มือกุมบริเวณบาดแผล
5.เคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายได้มากขึ้น
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
1.ประเมินสัญญาญชีพทุก4 ชั่วโมง(โดยเฉพาะความดันโลหิต)
2.ประเมินอาการและความรุนแรงของการปวด pain score
3. ดูแลการดึงถ่วงน้ำหนักให้มีประสิทธิภาพได้แก่ไม่ยกตุ้ม
น้ำหนักออกโดยไม่จำเป็น ตรวจเชือกที่ดึงถ่วงน้ำหนักให้ตึงและอยู่บนรอกเสมอ ตุ้มถ่วงน้ำหนักต้องแขวนลอยอย่างอิสระไม่ติดกับ
ขอบเตียงหรือติดพื้น และไม่แกว่งไปมา
4. แนะนำการเคลื่อนไหวของร่างกายให้ถูกต้องเพื่อลดอาการ
ปวด เช่น จัดท่านอนให้สุขสบาย ใช้หมอนรองขา
5.ให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวล หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือน เพื่อไม่ให้เป็นการกระตุ้นให้เกิดความเจ็ปปวดมากขึ้น
6. แนะนำเทคนิคหรือวิธีการ ที่ช่วยให้มีการผ่อนคลาย
(Relaxation technique)เพื่อบรรเทาอาการปวดแผล เช่นการหายใจเข้าออกลึกๆ ก การฟังเพลง การอ่านการ์ตูนการดูหนัง
7. พูดคุยและสัมผัสอย่างอ่อนโยนให้การพยาบาลด้วยท่าที่นุ่มนวล
8.ให้ยานอนหลับหรือยากล้อมประสาทเมื่อจำเป็นตามการรักษา
ของแพทย์
ประเมินผลการพยาบาล
ประเมินวันที่ 5 มีนาคม 2568
1.ผู้ป่วยบอกว่าปวดต้นขาขวา หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยบอกว่าปวดลดลงpain score 6/10
2. Vital signs
- BP 127/79 mmhg T 37.5 c P 65 ครั้งต่อนาที RR 18 ครั้งต่อนาที
3.ขณะใส่SkinTraction ไม่ติดกับขอบเตียงหรือติดพื้นและไม่แกว่งไปมา Elastic bandage ที่พันไม่แน่นหรือหลวมเกินไป
4.เวลาขยับตัวผู้ป่วยมีสีหน้านิ่วคิ้วขมวด ผู้ป่วยบอกว่าเวลาขยับจะรู้สึกปวด
5.การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายยีงไม่เต็มที่ยังมีอาการปวดอยู่
6.การนอนหลับพักผ่อนไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง
วัตถุประสงค์
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถพักผ่อนนอนหลับได้เต็มที่
เกณฑ์การประเมิน:
1. ผู้ป่วยนอนหลับ 6-8 ชั่วโมง
2. ไม่มีอาการที่บ่งชี้ว่านอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เช่นหาวบ่อย ปวดศรีษะมึนงง หงุดหงิด อ่อนเพลีย
3.ผู้ป่วยรู้สึกชดชื่นมีแรงในการทำกิจกรรมต่างๆได้
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
1. รับฟังปัญหาของผู้ป่วยเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกและซักถามปัญหา
2. จัดสิ่งแวดล้อมให้เย็นสบายและเงียบสงบ เช่น ปิดไฟ ไม่มีเสียงรบกวน
3. แนะนำผู้ป่วยให้ปฏิบัติในสิ่งที่จะช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้นก่อนนอน เช่น ดื่มเครื่องดื่มอุ่น ๆ อาบน้ำ อ่านหนังสือ หรือสวดมนต์ เป็นต้น
4. แนะนำให้หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนโดยเฉพาะมื้อเย็น เช่น น้ำชา กาแฟ น้ำอัดลม
5. วางแผนกิจกรรมการพยาบาลให้เหมาะสมเพื่อจะได้ไม่รบกวนผู้ป่วยบ่อยเกินไป หรือโดยไม่จำเป็นในเวลากลางคืน
6. กระตุ้นให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะก่อนนอนเพื่อจะได้ไม่ต้องตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อเข้าห้องน้ำ
7. รายงานแพทย์ เพื่อพิจารณาให้ยานอนหลับ /ยากล่อมประสาท
ประเมินผลการพยาบาล
ประเมินวันที่ 5 มีนาคม 2568
1. ผู้ป่วยนอนหลับ 5-6 ชั่วโมงมีหลับๆตื่นๆบางเวลา ผู้ป่วยบอกว่านอนหลับพักผ่อนมากขึ้น มีนอนหลับระหว่างวัน
2. ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย มีอาการปวด pain score6/10 ไม่มีหาวบ่อย ปวดศรีษะมึนงง หงุดหงิด
3.ผู้ป่วยรู้สึกอ่อนเพลีย เคลื่อนไหวร่างกายมากจะปวด
SD:
-ป่วยนอนหลับ 3-4 ชั่วโมง ผู้ป่วยบอกว่านอนหลับๆตื่นๆเนื่องจากถูกรบกวนจากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง ปกติเป็นคนนอนดึก นอนไม่หลับ
-ผู้ป่วยบอกว่าปวดต้นขา รบกวนการนอนเล็กน้อย
OD :
-DX:Closed fracture neck left femur
( กระดูกคอของกระดูกต้นขาซ้ายหักแบบปิด )