ความรู้พื้นฐานของการวิจัย📝🔎📚
(Foundation of Research)

🍄ความหมายของงานวิจัย

เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ที่มีระบบ มีขั้นตอนท่ีชัดเจนปราศจาก อคติส่วนตัว สามารถตรวจสอบได้ท่ีผู้วิจัยนำมาใช้ศึกษา ค้นคว้าข้อเท็จจริง เพื่อนำไปใช้อธิบาย ปรากฏการณ์ ทางสังคม หรือพัฒนาเป็นกฎ ทฤษฏี หรือนำไปใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่าง ถูกต้อง แม่นยำ และเช่ือถือได้

🍊ประเภทของการวิจัย

จำแนกตามประโยชน์ที่ได้รับหรือเหตุผลในการวิจัย

การวิจัยการนำไปใช้(Applied Research)

เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ใน การนำผลการวิจัยจากการวิจัยพื้นฐานมาใช้ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้ในปัจจุบัน

การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์(Basic Research or Pure Research)

เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหาความรู้ความจริงเชิงทฤษฎี/ปรากฏการณ์ ที่นำมาใช้ใน การสนับสนุน หรือขัดแย้งกับกฎเกณฑ์ หรือทฤษฎีท่ีมีอยู่

จำแนกตามลักษณะ(ความลึก/ความกว้าง)ของข้อมูล

การวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research)

เป็นการวิจัยที่เก็บรวบรวมข้อมูล จากตัวแปรที่มีลักษณะเป็นข้อความท่ีบรรยายลักษณะ เหตุการณ์หรืออธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่า เป็นอย่างไรตามสภาพแวดล้อม

การวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research)

เป็นการวิจัยที่เก็บรวบรวมข้อมูล จากตัวแปรท่ีมีลักษณะเป็นตัวเลขที่ระบุระดับความมาก/น้อยของปรากฏการณ์ตามเกณฑ์ที่กำหนดให้ ค่อนข้างชัดเจน

จำแนกตามระเบียบวิธีวิจัย(Methodology)

การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์(Historical Research )

เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ ใช้ ข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีตที่มีหลักฐานปรากฏอยู่ อาทิ รูปภาพ สิ่งพิมพ์ บันทึกเหตุการณ์ หรือซากวัสดุ ต่าง ๆ เป็นต้น

การวิจัยเชิงบรรยาย(Descriptive Research)

การวิจัยเชิงสำรวจ(Survey Research)

เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้ บรรยายคุณลักษณะหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร อาทิ การสำรวจโรงเรียน/ชุมชน/ ประชามติ เป็นต้น

การศึกษาความสัมพันธ์ (Interrelationship Studies)

เป็นการวิจัยที่มี วัตถุประสงค์เพื่อใช้บรรยายความสัมพันธ์ของคุณลักษณะ หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น อาทิ การศึกษา เฉพาะกรณี(Case Study) การศึกษาสหสัมพันธ์(Correlation) การศึกษาเปรียบเทียบสาเหตุ การศึกษา ติดตามผล หรือ การวิเคราะห์เอกสาร เป็นต้น

การศึกษาพัฒนาการ(Developmental Studies)

การศึกษาความเจริญงอกงาม(Growth Studies)

การศึกษาแนวโน้ม(Trend Studies)

จำแนกตามลักษณะของวิชา หรือศาสตร์

การวิจัยทางวิทยาศาสตร์(Scientific Research)

r

เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ที่มักจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติที่เกี่ยวกับสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต หรือใน สถานการณ์จำลองในการทดลองที่สามารถควบคุมความแปรปรวนที่เกิดขึ้นได้ โดยใช้เครื่องมือ ที่เป็น มาตรฐาน หรือใช้กฎเกณฑ์มาตรฐานในการพิจารณาตัดสินผลที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ

การวิจัยใดๆจำเป็นต้องมีความเที่ยงตรง ใน 2 ลักษณะ

การวิจัยทางสังคมศาสตร์(Social Research)

r

 เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ศึกษาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม การเมือง การ ปกครอง และการศึกษา เป็นต้น

จำแนกตามเวลาที่ใช้ในการทำวิจัย

การวิจัยแบบตัดขวาง/ระยะสั้น(Cross-section Research)

r

เป็นการวิจัยท่ีใช้ เวลาในการวิจัยช่วงใดช่วงหน่ึงที่ผู้วิจัยสนใจแล้วนำมาสรุปผลในภาพรวมของปรากฏการณ์นั้น ๆ ใน อนาคตมากกว่าสภาพในปัจจุบันหรืออดีต มีข้อดี คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่อาจจะไม่เห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น  

การวิจัยแบบต่อเนื่อง (Longitudinal Research)

r

เป็นการวิจัยที่ใช้เวลาอย่าง ต่อเนื่องในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำให้ได้ผลสรุปของข้อมูลที่ชัดเจน ละเอียด และได้เห็นกระบวนการ การเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ผู้วิจัยจะต้องใช้ค่าใช้จ่าย/เวลาที่ค่อนข้างสูง

จำแนกประเภทการวิจัยตามเป้าหมายหลักของการวิจัย

การวิจัยที่มุ่งบรรยายตัวแปร(Descriptive-Oriented Research)

r

 เป็นการวิจัยที่ มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อบรรยายลักษณะของตัวแปรในประชากร ที่อาจเป็นเฉพาะกรณี การสำรวจ ปรากฏการณ์ในอดีต หรือปัจจุบัน หรือการเปรียบเทียบหรือประเมินความแตกต่างระหว่างประชากร

การวิจัยที่มุ่งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร(Correlation-Oriented Research)

r

 เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวหรือมากกว่า การทำนายค่าของ ตัวแปรที่สนใจ

การวิจัยที่มุ่งแสวงหาความเป็นเหตุเป็นผลระหว่างตัวแปร(Causal-Oriented Research)

r

เป็นการวิจัยที่แสวงหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่อาจจะเป็น การศึกษา ท่ีสืบหาสาเหตุย้อนหลังระหว่างตัวแปรภายใต้สภาวะธรรมชาติ การจัดกระทาเพื่อทดสอบ ความเป็นเหตุ และเป็นผลระหว่างตัวแปรภายใต้สภาพการทดลองที่จัดขึ้น

ประเภทของการวิจัยจำแนกตามการจัดกระทำ

การวิจัยแบบทดลองเบื้องต้น(Pre Experimental Research)

r

เป็นการวิจัยที่ ศึกษาปรากฏการณ์ที่เป็นธรรมชาติ โดยไม่ได้มีการจัดกระทำสิ่งทดลองให้ในการทดลองเนื่องจาก อาจจะมี ปัญหาจริยธรรมในการวิจัย ได้แก่ การวิจัยสหสัมพันธ์ การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิง อนาคต หรือ การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ เป็นต้น

การวิจัยกึ่งทดลอง(Quasi Experimental Research)

r

เป็นการวิจัยที่ไม่สามารถ ดำเนินการในกระบวนการวิจัยได้อย่างครบถ้วน อาทิ การสุ่มตัวอย่าง หรือการนำกลุ่มตัวอย่างมา ศึกษาในห้องปฏิบัติการเนื่องจากปัญหาจริยธรรมในการวิจัย เป็นต้น

การวิจัยแบบทดลองท่ีแท้จริง(True Experimental Research)

✨คุณลักษณะของการวิจัย

r

เบสส์และคาน(Best and Khan,1998 :18-25)และไวร์มา(Wiersma,2000:3) ได้นำสนอ คุณลักษณะของการวิจัยที่คล้ายกัน มีดังนี้ 4.1 การวิจัย เป็นการแก้ปัญหาที่ช่วยให้สามารถบรรลุเป้าหมายสุดท้าย ที่เป็นการค้น ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล 4.2 การวิจัย เป็นการพัฒนาข้อสรุป หลักเกณฑ์และทฤษฎีที่สามารถนำไปใช้อ้างอิงหรือ คาดการณ์โดยเฉพาะในกรณีที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต 4.3 การวิจัย มีแนวคิดพื้นฐานของการได้รับข้อมูลที่สรุปจากประสบการณ์ที่ได้จากการสังเกต หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical) ดังนั้นในบางคำถามที่น่าสนใจไม่สามารถที่จะนำมาดำเนินการ วิจัยได้ เพราะไม่สามารถสังเกตหรือแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ได้ 4.4 การวิจัยจำเป็นจะต้องมีกระบวนการสังเกตที่ถูกต้อง ชัดเจน และบรรยายปรากฏการณ์ที่ เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณหรือวิธีการของการวิจัยเชิงคุณภาพ 4.5 การวิจัย เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่จากแหล่งปฐมภูมิ หรือใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วใน การตอบคำถามตามจุดประสงค์ใหม่ ไม่ใช่เป็นการจัดระบบใหม่ (Reorganizing) โดยการนำข้อมูล ที่ ผู้อื่นค้นพบแล้วมาสรุปอีกครั้งหนึ่ง เพราะทำให้ไม่ได้รับความรู้ใหม่ ๆ 4.6 การวิจัยจะต้องมีระบบ มีวิธีการ แบบแผนการวิจัย และการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง ชัดเจน ที่ จะทำให้ได้ข้อสรุปการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ 4.7 การวิจัย จะต้องเป็นการดำเนินการโดยใช้ความรู้ความช านาญของผู้วิจัยที่จะต้องรับรู้ ปัญหาที่ตนเองจะทำวิจัย และปัญหาดังกล่าวมีบุคคลใดประเด็นใดที่ได้ทำวิจัยไปแล้วบ้าง รวมทั้ง เรียนรู้ คำศัพท์เฉพาะที่ใช้ ความคิดรวบยอดและทักษะทางเทคนิค ที่จะสามารถนำมาใช้ใน การ วิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง 4.8 การวิจัย จะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ โดยใช้เหตุผลตามหลักความเป็นจริงที่จะสามารถ ทดสอบได้และวิธีการที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เป็นจริง มีเหตุผล และจะต้องไม่มีอคติของผู้วิจัย มาเกี่ยวข้อง 3Foundation of Research 5 4.9 งานวิจัย จะต้องเป็นการดำเนินการแสวงหาค าตอบที่นำมาใช้ตอบค าถามของปัญหาที่ ยัง ไม่สามารถแก้ไขได้ 4.10 การวิจัย เป็นกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการด้วยความอดทน ไม่เร่งรีบ และจะต้อง ยอมรับ/เผชิญอุปสรรคในวิธีการได้มาของคำตอบในการวิจัย 4.11 การวิจัย จะต้องมีการจดบันทึกข้อมูล และจัดทำรายงานการวิจัยด้วยความระมัดระวัง ในการใช้คำที่มีความหมาย วิธีการดำเนินการวิจัย หรือการอ้างอิงข้อมูลที่ได้นำมากล่าวอ้างอิงอย่าง ถูกต้อง

การวิจัย เป็นวิธีการ ๆ หนึ่งที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ความ จริง ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่มีระบบและขั้นตอนชัดเจน และมีการกำหนดจุดมุ่งหมายของการ วิจัย ในแต่ละครั้งอย่างชัดเจนว่าต้องการอะไร

💥ขั้นตอนการวิจัย

r

1) เลือกหัวข้อปัญหา เป็นการตอบคำถามที่ว่าเราจะทำวิจัยเรื่องอะไร ซึ่งจะต้องพิจารณาให้ รอบคอบด้วยความมั่นใจและเขียนชื่อเรื่องที่จะวิจัยออกมา2) การกำหนดขอบเขตของปัญหา เมื่อได้ปัญหาที่จะทำการวิจัยแน่นอนแล้วควรจะกำหนด ขอบเขตของปัญหาให้ชัดแจ้ง เนื่องจากการกำหนดปัญหาที่แน่นอนช่วยผู้วิจัยได้ดังนี้2.1 วางแผนรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสม2.2 รู้ถึงเทคนิคต่างๆ ที่เหมาะสมในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนการแปลผลการวิจัย2.3 มองเห็นภาพอย่างแจ่มชัดว่าจะต้องทำอะไรบ้าง3) การศึกษาเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยการศึกษาสาระความรู้ แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นในตำรา หนังสือ วารสาร รายงานการวิจัยและเอกสาร อื่น ๆ ซึ่งจะ มีประโยชน์ต่อผู้วิจัยในข้อต่อไปนี้3.1 ช่วยให้ไม่เกิดการซ้ำซ้อนในการวิจัย3.2 ช่วยให้กำหนดขอบเขตของการทำวิจัยได้ถูกต้องชัดเจน (กรอบแนวคิด)3.3 ได้แนวทางในการกำหนดสมมุติฐาน (กรณีที่มีสมมุติฐาน)3.4 ได้แนวทางในการสร้างเครื่องมือเพื่อรวบรวมข้อมูล3.5 ได้แนวทางในการสุ่มตัวอย่าง3.6 ได้แนวทางในการใช้ค่าสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล3.7 ได้แนวทางการแปลผลการวิจัยและการเขียนรายงานการวิจัย4) การกำหนดสมมุติฐาน หมายถึง การเขียนข้อความที่เป็นข้อคาดหวังเกี่ยวกับความ แตกต่าง ที่อาจเป็นไปได้ ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ซึ่งสมมุติฐานนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นจริงเสมอไป5) การเขียนเค้าโครงการวิจัย การเขียนเค้าโครงการวิจัยเป็นขั้นตอนที่ส าคัญขั้นหนึ่ง เนื่องจาก เค้าโครงการวิจัยนั้นจะเป็นแบบแผนในการดำเนินงานวิจัยอย่างมีระบบ ควรจะประกอบด้วย5.1 ชื่องานวิจัย5.2 ภูมิหลังหรือที่มาของปัญหา5.3 วัตถุประสงค์5.4 ขอบเขตของการวิจัย5.5 ตัวแปรต่าง ๆ ที่วิจัย 3Foundation of Research 115.6 ค านิยามศัพท์เฉพาะ (ในกรณีที่จำเป็น)5.7 สมมุติฐาน (ถ้ามี)5.8 วิธีด าเนินการวิจัย5.9 รูปแบบของงานวิจัย5.10 การสุ่มตัวอย่าง5.11 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล5.12 การวิเคราะห์ข้อมูล5.13 แผนการทำงาน5.14 งบประมาณ6) การสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล ก่อนที่จะดำเนินการรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยจะต้องทราบว่า จะใช้เครื่องมืออะไรในการเก็บรวบรวมข้อมูล และเครื่องมือนั้นมีหรือยัง ถ้ายังไม่มีต้องดำเนินการ สร้างและนำเครื่องมือนั้นไปทดลองใช้ เพื่อหาคุณภาพของเครื่องมือ อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยไม่จำเป็นต้อง สร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลเองเสมอไป กรณีที่ทราบว่ามีเครื่องมือที่สร้างขึ้นอย่างเป็นมาตรฐาน เหมาะสมกับการที่จะนำไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ก็อาจยืมเครื่องมือดังกล่าวมาใช้ได้ถ้าสงสัยใน เรื่องคุณภาพของเครื่องมือ เนื่องจากสร้างไว้นานแล้วก็อาจนำมาทดลองใช้และวิเคราะห์หาคุณภาพ ใหม่อีกครั้งหนึ่งเมื่อพบว่ามีคุณภาพเข้าเกณฑ์ก็น ามาใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้ (การวิจัยบางเรื่องอาจไม่ ใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลที่เป็นแบบแผนก็จะตัดขั้นตอนนี้ออกไป)7) ขั้นดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยจะต้องทราบว่า ในการทำการวิจัยนั้นสามารถจะรวบรวมข้อมูลจากกลุ่ม ประชากรทั้งหมด หรือสุ่มตัวอย่าง ซึ่งในการ สุ่มตัวอย่างนั้นก็ต้องทราบว่าจะต้องสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการใดที่จะให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดี ของกลุ่มประชากร ข้อมูลที่ผู้วิจัยจะทำการรวบรวมนั้นมาจากไหน ปฐมภูมิ (Primary Source) หรือ ทุติยภูมิ (Secondary Source) วิธีการรวบรวมข้อมูลที่นิยมใช้ในการวิจัยทางการศึกษา ได้แก่7.1 การใช้แบบทดสอบ7.2 การใช้แบบวัดเจตคติ7.3 การส่งแบบสอบถาม7.4 การสัมภาษณ์7.5 การสังเกต7.6 การใช้เทคนิคสังคมมิติ7.7 การทดลอง7.8 การจัดกระทำข้อมูล (Data Processing) การจัดกระทำข้อมูลเป็นวิธีการดำเนินการ อย่างมีระบบตามลำดับขั้นกับข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย 

🔍แนวคิดพื้นฐานของการวิจัย

กฎเหตุและผลของธรรมชาติ (Deterministic Law of Nature)

เป็นแนวคิดที่ระบุว่า ปรากฏการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นจะสามารถแสวงหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์นั้นได้เสมอ ๆ

กฎความเป็นระบบของธรรมชาติ (Systematic Law of Nature)

เป็นแนวคิดที่ระบุว่า ปรากฏการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นตามกฎของเหตุและผลของธรรมชาติจะมีรูปแบบของความสัมพันธ์ของ ตัวแปรท่ีค่อนข้างจะชัดเจน เพื่อที่ผู้วิจัยจะได้นำรูปแบบ ดังกล่าวไปใช้อธิบายในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น โดยท่ัว ๆ ไปได้

กฎความสัมพันธ์ของธรรมชาติ (Associative Law of Nature)

เป็นแนวคิดที่ระบุว่า ใน การเกิดปรากฏการณ์ใด ๆ ที่แตกต่างกันนั้น จะมีความมากน้อยของตัวแปรที่เป็นสาเหตุและตัวแปร ผลที่แตกต่างกัน

กฎองค์ประกอบหลักของธรรมชาติ (Principle Component of Nature)

เป็นแนวคิดที่ ระบุว่าตัวแปรสาเหตุและตัวแปรผลที่เกิดขึ้นนั้น ๆ ไม่ได้เป็นความสัมพันธ์เชิงเดี่ยว แต่จะมีตัวแปร อื่นๆ ท่ีมักจะมาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ๆ

กฎความน่าจะเป็นของธรรมชาติ (Probabilistic Law of Nature)

เป็นแนวคิดที่ระบุว่า ในปรากฏการณ์ ใด ๆ นั้น ความรู้ความจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จะเป็นผลลัพธ์ของปรากฏการณ์ ที่ มีความน่าจะเป็นในการเกิดขึ้นที่ค่อนข้างสูง

🌵ธรรมชาติของการวิจัย

การวิจัยเป็นกระบวนการเชิงประจักษ์

การวิจัยเป็นกระบวนการแสวงหาคำตอบที่ ต้องใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่มีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และมีความชัดเจนที่สามารถตรวจสอบได้

การวิจัยเป็นการดำเนินการที่เป็นระบบ

การวิจัยเป็นการดำเนินการตามขั้นตอน วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) ที่มีการวางแผนอย่างมีเหตุผลและลำดับขั้นตอนท่ี ชัดเจน ที่จะทำให้ได้ข้อค้นพบที่ถูกต้องและน่าเช่ือถือ

การวิจัยมีจุดมุ่งหมายท่ีชัดเจน

การวิจัยเป็นการดำเนินการที่มีจุดมุ่งหมายใน 4 ลักษณะ คือ บรรยาย อธิบาย พยากรณ์ และควบคุม ในปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

การวิจัยมีความเที่ยงตรง (Validity)

การวิจัยมีความเชื่อมั่น (Reliability)

การวิจัยมีเหตุผล

การวิจัยเป็นการดำเนินการที่จะต้องมีเหตุผลที่ชัดเจนในการดำเนินการทุกขั้นตอนเพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่ถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือและสามารถตรวจสอบ ได้อย่างชัดเจน

การวิจัยเป็นการแก้ปัญหา

การวิจัยเป็นการดำเนินการที่จะเริ่มต้นด้วยปัญหาที่ เกี่ยวพันกันระหว่างปัญหา(ตัวแปรตาม) กับวิธีการแก้ปัญหา(ตัวแปรต้น) แล้วจึงจะใช้วิธีการทาง วิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการในการดำเนินการตรวจสอบการแก้ปัญหานั้น ๆ

การวิจัยต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่

การวิจัยในแต่ละครั้งจะต้องมีการเก็บ รวบรวมข้อมูลใหม่เพื่อตอบคำถามตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้น ๆ แต่ถ้าใช้ข้อมูลเดิมจะต้องมี การกำหนดวัตถุประสงค์ใหม่ที่นำข้อมูลที่มีอยู่แล้วมาสังเคราะห์เพื่อให้เกิดคำตอบของปัญหาที่ชัดเจน ตามที่กาหนด

การวิจัยมีวิธีการที่หลากหลาย

การวิจัยจะมีวิธีการในการดำเนินการวิจัยที่ให้ ผู้วิจัยได้เลือกใช้อย่างหลายหลายวิธีการตามความเหมาะสมของปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์ หรือ การดำเนินการวิจัย

การวิจัยต้องใช้ศักยภาพของผู้วิจัย

การวิจัยที่มีประสิทธิภาพจะต้องดำเนินการ โดยที่ผู้วิจัยที่มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ในการวิจัยที่จะสามารถดำเนินการวิจัยตั้งแต่ การวิเคราะห์ปัญหา การวิจัยจนกระทั่งได้ผลการวิจัยถูกต้อง และน่าเชื่อถือ

🌷จุดมุ่งหมายของการวิจัย

เป้าหมายของการวิจัย

มุ่งหาคำตอบเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา โดยศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรที่มีความเป็นเหตุและเป็นผลซึ่งกันและกันอย่างชัดเจน

การวิจัยเป็นการสรุปผล

หลักเกณฑ์ และทฤษฏีที่ใช้ในการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะ เกิดขึ้นในอนาคต หรือเป็นการศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพื่อที่นำผลสรุปอ้างอิงไปสู่ประชากร

การวิจัยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล

หรือปรากฏการณ์ที่สังเกตได้มาใช้ในการสรุปผล โดย ที่ปัญหาในบางปัญหาไม่สามารถทำการวิจัยได้เนื่องจากไม่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้