อาการนอนไม่หลับ (Insomnia)

สาเหตุของโรคนอนไม่หลับ

ปัจจัยทางด้านร่างกาย

มีอาการเจ็บป่วยของโรคอยู่แล้ว หรือเจ็บปวดตามจุดและอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย จึงทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับแทรกซ้อน เช่น โรคกระเพาะอาหาร ไมเกรน ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ โรคมะเร็ง หรือโรคการหายใจผิดปกติขณะนอนหลับ (Sleep Related Breathing Disorders) หรือกรนขณะนอนหลับก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สัมพันธ์ต่ออาการนอนไม่หลับ

ปัจจัยทางด้านจิตใจ

มีความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า หดหู่ ดีใจ หรือตื่นเต้นประหม่าเกิดเป็นความเครียด จนเกิดการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในร่างกาย ทำให้ไม่สามารถนอนหลับตามปกติได้

ปัจจัยภายนอก

มีสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมมารบกวนประสาทสัมผัสในขณะนอนหลับ เช่น เสียงดังรบกวน แสงที่สว่างจ้า และการรับรู้กลิ่นต่าง ๆ ที่มากจนรบกวนสภาวะผ่อนคลายก่อนการนอนหลับ และการเข้ารับการรักษาบางชนิดก็มีผลให้ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวดจนนอนไม่หลับ เช่น การทำเคมีบำบัด (Chemotherapy) หรือที่เรียกกันติดปากว่าคีโมในผู้ป่วยมะเร็ง ความเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด เป็นต้น

ปัจจัยอื่น ๆ

อาการนอนไม่หลับอาจเกิดจากลักษณะนิสัยเฉพาะตัว การนอนผิดเวลาไปจากเวลาปกติที่ร่างกายคุ้นเคย เช่น การทำงานเป็นกะ หรือการปรับตัวไม่ทันจากการเดินทางข้ามเขตเวลาโลก (Jet Lag) การกินอาหารที่มากเกินไปก่อนนอนทำให้นอนหลับไม่สบายตัว การดื่มและใช้สารเสพติด เช่น คาเฟอีนในกาแฟหรือชา นิโคตินในบุหรี่ และยาเสพติดต่าง ๆ ที่มีสารกดประสาททำให้นอนไม่หลับ

การวินิจฉัยโรคนอนไม่หลับ

การวินิจฉัยด้วยตนเอง

สามารถทำได้โดยสังเกตและบันทึกพฤติกรรมการนอนในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ เช่น นอนยากหรือไม่ ต้องใช้เวลานานเกินกว่า 30 นาทีเพื่อนอนให้หลับ หรือตื่นขึ้นกลางดึกแล้วไม่สามารถกลับไปนอนหลับได้อีก มีสภาพแวดล้อมที่รบกวนในขณะนอนหรือไม่ มีเรื่องให้คิดรบกวนจิตใจหรือไม่ และมีอาการอ่อนเพลียเหนื่อยล้ามากผิดปกติในเวลากลางวันหรือไม่

การวินิจฉัยโดยแพทย์

แพทย์จะซักถามประวัติการนอนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา หาสาเหตุทางด้านร่างกาย เช่น มีโรคประจำตัว หรือมีการเจ็บป่วยอื่นด้วยหรือไม่ นอนกรนหรือไม่ และหาสาเหตุทางด้านจิตใจ เช่น มีความเครียด อยู่ในภาวะซึมเศร้า หรือมีความวิตกกังวลใดอยู่หรือไม่ เพื่อหาแนวทางการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

ลิงค์อ้างอิง

c1a

ความหมาย

เป็นโรคความผิดปกติในการนอน นอนยาก ไม่ง่วงเมื่อถึงเวลานอน นอนหลับไม่สนิท นอนแล้วตื่นกลางดึก ตื่นแล้วกลับไปนอนไม่ได้อีก หรือแม้จะรู้สึกอ่อนเพลียเพียงใดก็ไม่สามารถนอนหลับได้ กลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่รบกวนจิตใจและกระบวนการทำงานของร่างกาย ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน และความสัมพันธ์กับผู้อื่น

c2a

อาการของโรคนอนไม่หลับ

นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ใช้เวลานานกว่าจะนอนได้

หลับยาก นอนดึก ตื่นสาย

นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ รู้สึกตัว ตื่นขึ้นกลางดึก

ตื่นแล้วไม่สามารถนอนหลับต่อไปได้อีก

อ่อนล้า หมดแรง ไม่สดชื่นกระปรี้กระเปร่า

การรักษาโรคนอนไม่หลับ

การรักษาด้วยตนเอง

เข้านอนและตื่นนอนตามเวลาเดิมเป็นประจำ นอนหลับให้เพียงพอตามกับความต้องการตามวัยของตน หลีกเลี่ยงการหมกมุ่นอยู่กับความคิดฟุ้งซ่าน ความเครียดและความวิตกกังวล ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลายก่อนเข้านอน

การรักษาด้วยยา

โดยยาบางชนิดต้องใช้ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์และสั่งยาโดยแพทย์เท่านั้น ยาที่ใช้จะอยู่ในกลุ่มยาเมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งเป็นยาที่ใช้เพื่อเพิ่มระดับฮอร์โมนเมลาโทนิน มักใช้เมื่อเกิดปัญหาการปรับตัวไม่ทันเมื่อข้ามเขตเวลาโลก (Jet Lag) Antidepressants หรือยาต้านเศร้า และ Antipsychotics หรือยารักษาอาการทางจิต ช่วยผ่อนคลายและลดอาการวิตกกังวล ทำให้นอนหลับง่าย

การบำบัดและการรักษาทางการแพทย์

การวัดระดับความรุนแรงของอาการด้วยเครื่องมือและแบบทดสอบทางการแพทย์

การให้คำปรึกษา

การบำบัดด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อให้เกิดภาวะผ่อนคลาย เช่น ดนตรีบำบัด วารีบำบัด