สังคมความรู้ (knowledge)
นิยามหรือความหมายของสังคมความรู้
เป็นกระบวนการทางสังคมที่เกื้อหนุนส่งเสริมให้ บุคคลหรือสมาชิกในชุมชนหรือสังคมเกิดการเรียนรู้โดยผ่านสื่อ เทคโนโลยี สารสนเทศ แหล่งการ เรียนรู้ องค์ความรู้ต่าง ๆ จนสามารถสร้างความรู้ สร้างทักษะ มีระบบการจัดการความรู้และระบบ การเรียนรู้ที่ดี มีการถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทุกภาคส่วนในสังคม
ลักษณะสังคมแห่งการเรียนรู้
ไม่จากัดขนาดและสถานที่ต้ัง
เน้นการจัดการเรียนรู้เป็นปัจจัยหลัก
ประชาชนได้รับโอกาสการพัฒนา (Key Individuals)
สถาบันทางสังคมในพื้นที่เป็นตัวหลักในการริเริ่ม/ดาเนินการ (Key Institutions)
มีกลุ่มภาคประชาชนเป็นแกนกลาง (Core Groups) เพื่อรวมตัวกันจัดกิจกรรมพัฒนาชุมชน
มีการพัฒนานวัตกรรมและระบบการเรียนรู้
มีภาคีเครือข่ายที่ร่วมดาเนินการอย่างต่อเนื่อง
การริเริ่ม/การเปลี่ยนแปลงมีอยู่ตลอดเวลา
สถานศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนแห่งการเรียนรู้
ความรับผิดชอบเป็นหน้าที่ของบุคคลและชุมชนร่วมกัน
ทุกคนเป็นครูและผู้เรียน
ความรู้ (Knowledge)
ความหมายของข้อมูล (Data)
บันทึกที่แสดงความเป็นไปหรือเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์หนึ่งๆ หรือเกี่ยวกับ คน สิ่งของ หรือ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งข้อมูลสามารถแบ่งเป็น 5 ประเภท
1) ข้อมูลตัวเลขหรือข้อมูลเชิงจานวน (Numeric Data) เป็นข้อมูลตัวเลข ที่สามารถ นามาบวก ลบ คูณ หารได้
2) ข้อมูลตัวอักษรหรือข้อมูลที่เป็นข้อความ (Text Data) เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถนามา คานวณได้
3) ข้อมูลกราฟิก (Graphical Data) เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างภาพกราฟิก
4) ข้อมูลภาพลักษณ์ (Image Data) เป็นข้อมูลที่เกิดจากการถ่ายภาพกล้องดิจิตอล หรือ การสแกนเอกสารด้วยเครื่องสแกนเนอร์ ข้อมูลประเภทนี้จัดเก็บเป็นจุดภาพและไม่สามารถนาไป คานวณได้
5) ข้อมูลเสียง (Voice Data) คือ เสียงต่างๆ
ความหมายของสารสนเทศ (Information)
ข้อมูลที่ถูก มนุษย์วิเคราะห์และตีความแล้ว มีคุณค่าสูงกว่าข้อมูล เนื่องจากสามารถสื่อความหมายได้โดยมีความ ครอบคลุมที่กว้างกว่า และยังเป็นข้อมูลที่มีคุณค่าและ คุณประโยชน์ ทั้งในเชิงจำนวนและคุณภาพ เช่น ข้อมูลความเป็นจริงในการปฏิบัติงาน
ความหมายของความรู้ (Definition of Knowledge)
ส่วนผสมท่ีเกิดจาก ประสบการณ์การทางาน และประสบการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ที่พร้อมจะถูกนาไปใช้เพื่อการตัดสินใจและ การกระทำต่างๆ นอกจากนั้นความรู้ดังกล่าวยังสามารถสูญหายและ เกิดการทดแทนขึ้นมาใหม่ได้
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1.อธิบายลักษณะสาคัญของสังคมความรู้ในแต่ละยุคได้
2. อธิบายความหมาย ประเภทของความรู้ได้
3. อธิบายกระบวนการจัดการความรู้ได้
แบ่งเป็น 2 ยุค
ยุคที่ 2 เป็นสังคมความรู้แบบพอเพียง สมดุล บูรณาการ ประชาชนและทุก ภาคส่วนมีบทบาทในการร่วมกันเป็นเจ้าของ
ลักษณะสาคัญของสังคมความรู้ยุคที่ 2 คือ
1) มีการสะสมความรู้ภายในสังคม
2) มีการถ่ายโอนความรู้ภายสังคม
3) มีการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ในสังคม
4) มีการประยุกต์ความรู้มาใช้ภายในสังคม
ยุคที่ 1 เป็นสังคมความรู้ที่มีพลังและอานาจอยู่ด้วยกันซึ่งบุคคลเหล่าน้ีจะมีความสามารถ 5 ด้านดังนี้
1) Knowledge Access คือ การเข้าถึงความรู้ด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ การเข้าถึงความรู้ ทาง Internet
2) Knowledge Validation คือ การประเมินความถูกต้องของความรู้
3) Knowledge Valuation คือ การตีค่า การตีความรู้ ว่าเมื่อมีการใช้ความรู้น้ันแล้วมี ความคุ้มค่าหรือไม่
4) Knowledge Optimization คือ การทำความรู้ให้ง่ายที่จะใช้ การนาความรู้ออกมา เป็นกฎเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ต้องมีพื้นฐานมาจากความรู้
5) Knowledge Dissemination คือ การกระจายความรู้ ปัจจุบันความรู้เป็นสมบัติ สาธารณะท่ีทุกคนสามารถเข้าถึงได้
ประเภทรูปแบบความรู้ (Type of Knowledge)
1) Tacit Knowledge ความรู้ที่ซ่อนอยู่ในแต่ละบุคคลหรือความรู้ท่ีซ่อนเร้น เป็น ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ ความเช่ียวชาญหรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทาความเข้าใจ ในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่สามารถอธิบายได้และไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคาพูดหรือลายลักษณ์ อักษรได้โดยง่าย
2) Explicit Knowledge ความรู้ที่เด่นชัดหรือความรู้ที่บันทึกไว้ เป็นความรู้ที่สามารถ รวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น ฐานข้อมูล ระบบผู้เชี่ยวชาญ รายงาน ทฤษฎี คู่มือต่างๆ ในบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
กระบวนการจัดการความรู้ ( Processes of Knowledge)
1.การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าจะทาอย่างไรให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย โดยจะคัดเลือก ว่าจะใช้เครื่องมืออะไร และขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร โดยอาจจะ พิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร
2.การสร้างและแสวงหาความรู้ ซึ่งสามารถทาได้หลายทาง เช่น การสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กาจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
3.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสาหรับการเก็บ ความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อการเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องในอนาคต
4.การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น การปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ ภาษาเดียวกัน และปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์และเหมาะสม
5.การเข้าถึงความรู้ เป็นการทาให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก โดย การใช้พวกระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ(IT) หรือการประชาสัมพันธ์บน Web board
6.การจัดการความรู้ในองค์กรการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทาได้หลายวิธีการซึ่งจะแบ่งได้ สองกรณีได้แก่ Explicit Knowledge อาจจะจัดทาเป็นเอกสาร ฐานความรู้ และเทคโนโลยี สารสนเทศต่างๆ หรือ Tacit Knowledge จัดทาเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ และนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว และเวทีการ แลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
7.การเรียนรู้ ควรทาให้การเรียนรู้เป็นส่วนหน่ึงของงาน เช่น การเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนาความรู้ไปใช้ให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ และนาความรู้ที่ได้ไปหมุนเวียนต่อไป อย่างต่อเนื่อง