สังคมความรู้ (Knowledge Socicety)
นิยามหรือความหมายของสังคมความรู้ (Definition of Knowledge Society)
สังคมที่มีการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเครือข่ายสารสนเทศสูงจากความรุ้ที่มีบุคลากรทำงานโดยใช้ทักษะและความรู้
เป็นกระบวนการทางสังคมที่ส่งเสริมให้บุคคลหรือสมาชิกในชุมชนหรือสังคมเกิดการเรียนรู้โดยผ่านสื่อ เทคโนโลยี สารสนเทศ
ยุคของสังคมความรู้ (Knowledge Society Era)
สังคมความรู้แบ่งเป็น 2 ยุค
สังคมความรู้ยุคที่ 1 เป็นสังคมความรู้ที่มีพลังและอำนาจอยู่ด้วยกัน เกิดการผลิต มีความสามารถในการแข่งขัน บุคคลจะมีความสามารถ 5 ด้าน
1. Knowledge Access คือ การเข้าถึงความรู้ด้วยวิธีการต่างๆ
2. Knowledge Validation คือ การประเมินความถูกต้องของความรู้
3. Knowledge Valuation คือ การตีค่า การตีความรู้
4. Knowledge Optimization คือ การทำความรู้ให้ง่ายในการนำมาใช้
5. Knowledge Dissemination คือ การกระจายความรู้
สังคมความรู้ยุคที่ 2 เป็นสังคมความรู้แบบพอเพียง สมดุล บูรณาการ ประชาชนและทุกภาคส่วนมีบทบาทในการร่วมกันเป้นเจ้าของ
ลักษณะสำคัญของสังคมความรู้ยุคที่ 2
1. มีการสะสมความรู้ภายในสังคม
2. มีการถ่ายโอนความรู้ภายในสังคม
3. มีการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ในสังคม
4. มีการประยุกต์ความรู้มาใช้ภายในสังคม
ลักษณะสังคมแห่งการเรียนรู้
1. ไม่จำกัดขนาดและสถานที่ตั้ง
2. เน้นการจัดการเรียนรู้เป็นปัจจัยหลัก
3. ประชาชนได้รับโอกาสการพัฒนา (Key Individuals)
4. สถาบันทางสังคมในพื้นที่เป็นตัวหลักในการริเริ่ม/ดำเนินการ (Key Institutions)
5. มีกลุ่มภาคประชาชนเป็นแกนกลาง (Core Groups) เพื่อรวมตัวกันจัดกิจกรรมพัฒนาชุมชน
6. มีการพัฒนานวัตกรรมและระบบการเรียนรู้
7. มีภาคเครือข่ายที่ร่วมดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
8. การริเริ่ม/ การเปลี่ยนแปลงมีอยู่ตลอดเวลา
9. สถานศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนแห่งการเรียนรู้
10. ความรับผิดชอบเป็นหน้าที่ของบุคคลและชุมชนร่วมกัน
11. ทุกคนเป็นครูและผู้เรียน
กระบวนการจัดการความรู้ (Processes of Knowledge)
1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าจะทำอย่างไรให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ ทำได้หลายทาง เช่น แสวงหาความรู้จากภายนอก
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็ว
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น การปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน
5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก
6. การจัดการความรู้ในองค์กรการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
7. การเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน
ความรู้ (Knowledge)
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับความรู้
ความหมายของข้อมูล (Data)
Ackoff (1989) กล่าวว่า ข้อมูล คือ สัญลักษณ์ที่ยังไม่ได้แปรความ
พรธิดา วิเชียรปัญญา (2547) กล่าวว่า ข้อมูล หมายถึง ข้อมูลดิบที่เกิดจากการทำงานประจำวัน
วิจารณ์ พานิช (2546) กล่าวว่า ข้อมูล หมายถึง ข้อมูลเชิงบรรยาย หรือข้อมูลเชิงปริมาณ
ประสิทธ์ ทีฆพุฒิ และครรชิต มาลัยวงศ์ (2549:35-37) กล่าวว่า ข้อมูล หมายถึง บันทึกที่แสดงความเป็นไปหรือเป็นข้อเท็จจริง
ซึ่งข้อมูลสามารถแบ่งเป็น 5 ประเภท
1. ข้อมูลตัวเลขหรือข้อมูลเชิงจำนวน (Numeric Data)
2. ข้อมูลตัวอักษรหรือข้อมูลที่เป็นข้อความ (Text Data)
3. ข้อมูลกราฟิก (Graphical Data)
4. ข้อมูลภาพลักษณ์ (Image Data)
5. ข้อมูลเสียง (Voice Data)
ความหมายของสารสนเทศ (Information)
ข้อมูล ข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความรู้ต่างๆ ที่ผ่านการประมวลผลแล้วและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
โดยสารสนเทศ บันทึกไว้ในรูปแบบของวัสดุตีพิมพ์ เช่น หนังสือ วารสารหนังสือพิมพ์ และวัสดุไม่ตีพิมพ์ เช่น สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
ความหมายของความรู้ (Definition of Knowledge)
ความเข้าใจในเรื่องบางเรื่อง หรือสิ่งบางสิ่ง ซึ่งอาจจะรวมไปถึงความสามารถในการนำสิ่งนั้นไปใช้เพื่อเป้าหมายบางประการ
ประเภทรูปแบบความรู้ (Type of Knowledge)
1. Tacit Knowledge ความรู้ที่ว่อนอยู่ในแต่ละบุคคลหรือความรู้ที่ซ่อนเร้น เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญหรือสัญชาติญาณ
2. Explicit Knowledge ความรู้ที่เด่นชัดหรือความรู้ที่บันทึกไว้ เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวมและถ่ายทอดได้